เรื่องจริงของเงินแข็งนั้นเป็นเรื่องที่ดีการที่ค่าเงินแข็งตัวได้ก็เพราะเศรษฐกิจของประเทศนั้นนั้นมีการเติบโต แต่เรื่องนี้ใช้ไม่ได้กับเศรษฐกิจในประเทศไทยเลยเพราะถึงแม้ว่าค่าเงินบาทของไทยจะแข็งตัวแต่เศรษฐกิจของเรายังคงเติบโตช้ามากมีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจในประเทศไทยจะเติบโตเพียง 3% เท่านั้นในปี 2019 และในปี 2020 ก็จะมีการเติบโตที่ลดลงไปอีกค่ะซึ่งเศรษฐกิจไทยนั้นเติบโตลดลงเรื่อยๆมาแล้กว่า 5 ปีค่ะ

ดังนั้นในฐานะที่เป็นประชาชนชาวไทยการทราบข้อมูลเหล่านี้เอาไว้ถือว่าจำเป็นอย่างมากเพราะการที่เศรษฐกิจของประเทศดำเนินไปในทิศทางไหนก็ย่อมส่งผลต่อคุณแน่นอนไม่ทางตรงก็ทางอ้อมค่ะ ก่อนอื่นเรามาดูสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจโดยส่วนมากของประเทศไทยเราก่อนว่าจะเติบโตจากด้านไหนมากที่สุด มีการสำรวจแล้วว่าส่วนใหญ่เศรษฐกิจของประเทศไทยนั้นเป็นแบบเปิด คือ เน้นเรื่องของการส่งออกมากที่สุดการส่งออกเป็นส่วนสำคัญมากในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยเราซึ่งข้อมูลในปี 2018 บอกว่าประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกประทาณ 7.6 ล้านบาทเลยค่ะ แต่ทุกวันนี้สาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจเติบโตช้าก็เนื่องด้วยสงครามการค้าระหว่างจีน และ สหรัฐอเมริกา จึงทำให้การส่งออกนั้นลดลงและเกิดปัญหามากขึ้นเพราะตลาดการส่งออกของไทยที่มีไปยังสองประเทศนี้มีถึง 23% ของการส่งออกทั้งหมดค่ะ โดยเฉพาะประเทศจีนที่เป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของไทยเมื่อจีนกำลังต่อสู้ในสงครามการค้าจึงส่งผลต่อประเทศไทยด้วยทำให้การส่งออกชะลอตัวลงนั่นเองค่ะ

ตอนนี้ประเทศไทยกำลังเกิดการสวนทางกันระหว่างค่าเงินบาทที่แข็งตัวแต่เศรษฐกิจในประเทศกลับเติบโตช้าลง ซึ่งสภาพการณ์ปกตินั้นถ้าสถานการณ์เศรษฐกิจเติบโตช้ามักจะทำให้ค่าเงินนั้นอ่อนตัวลงเรื่องนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2019 ที่เงินบาทเริ่มแข็งตัว 7% และถือว่าเป็นการแข็งค่ามากที่สุดใรอบ 6 ปีค่ะ ดังนั้นในบทความนี้เราจะมีทราบข้อมูลมากขึ้นว่าเงินแข็งตัวนั้นมาจากสาเหตุอะไรอีกได้บ้าง และเรื่องของเงินเฟ้อด้วยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยของเราตอนนี้ค่ะ เราจะมารู้จักกับคำสองคำนี้มากขึ้น คือ เงินแข็ง และ เงินเฟ้อ  แล้วมาดูว่าประเทศไทยเองและประเทศอื่นๆนั้นจะสามารถจัดการการสถานการณ์ทางการเงินที่ต้องเผชิญได้อย่างไรและผลเป็นอย่างไรบ้างค่ะ

เงินแข็ง

เงินแข็ง

เงินแข็ง คือ การที่เศรษฐกิจของประเทศนั้นๆเติบโตอย่างต่อเนื่องจึงทำให้เกิดค่าเงินแข็งตัวซึ่งมีทั้งผลดีและผลเสีย แต่เมื่อมองเศรษฐกิจโลกในตอนนี้ที่มีความไม่มั่นคงและผันผวนอย่างมากทำให้เศรษฐกิจในประเทศไทยกลับชะลอตัวลงแต่ค่าเงินบาทกลับแข็งตัวซึ่งสวนทางกันมากกับแนวโน้มตามวามเป็นจริงจึงเกิดข้อสงสัยว่าเป็นอย่างนั้นไปได้อย่างไร? แต่ก่อนที่เราจมาทราบว่าเรื่องนั้นเป็นไปได้อย่างไรก็ไม่สำคัญเท่าเมื่อเกิดสถานการณ์แบบนี้ตอนนี้เป็นผลดีหรือผลเสียอย่างไรเมื่อเงินบาทแข็งตัว?

ต้องบอกให้ทราบก่อนเลยว่าการที่ค่าเงินบาทแข็งตัวนั้นส่งผลทั้งดีและเสียได้ทั้งนั้นค่ะ ซึ่งจะส่งผลดีต่อต้นทุนการผลิตที่ลดลง แต่จะส่งผลเสียต่อการส่งออกนี่คือผลดีและผลเสียหลักๆจากการที่ค่าเงินบาทของไทยเราแข็งตัว เรื่องต่อมาก็คือปกติแล้วค่าเงินจะแข็งตัวนั้นเกิดจากอะไรบ้าง? ก็คือเกิดจากการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศหรือเงินสกุลอื่นๆที่เข้ามาในประเทศของเราเป็นตัวกลางในการกำหนดว่าค่าเงินจะแข็งตัวหรืออ่อนค่าลงนั่นเองยิ่งมีเงินไหลเข้ามาในประเทสมากก็ยิ่งทำให้ค่าเงินแข็งตัวมาก ละนี่อาจจะเนคำตอบของการสวนทางกันของเศรษฐกิจในประเทศไทยที่ชะลอตัวลงการบริโภคและการส่งออกลดลงแต่กลับมีเงินสกุลอื่นๆไหลเข้ามาขึ้นทำให้ค่าเงินบาทนั้นเกิดการแข็งตัวได้แม้เศรษฐกิจเติบโตช้านั่นเองค่ะ และการที่ค่าเงินแข็งตัวก็มีปัจจัยอื่นได้อีก เช่น ปัจจัยด้านเงินเฟ้อก็มีส่วน / ปัจจัยของอัตราดอกเบี้ย / ปัจจัยด้านการค้าระหว่างประเทศ  เรามาพิจารณารายละเอียดของปัจจัยเหล่านี้สั้นๆกันค่ะ

  • ปัจจัยด้านเงินเฟ้อ > เมื่อมีอัตราเงินเฟ้อน้อยลงในประเทสก็ยิ่งทำให้ค่าเงินนั้นแข็งตัวขึ้น ซึ่งกลับกันถ้ามีค่าเงินเฟ้อมากขึ้นค่าเงินก็จะอ่อนตัวลงค่ะ
  • ปัจจัยของอัตราดอกเบี้ย > อัตราดอกเบี้ยของประเทศไทยนั้นตอนนี้อยู่ที่ 1.5% ซึ่งถือว่าสูงมากกว่าประเทศอื่นๆในที่ใกล้เคียงกันจึงเป็นที่ดึงดูดใจของนักลงทุนชาวต่างชาติถึงผลตอแทนที่ดีกว่าทำให้มีการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติเพิ่มขึ้นส่งผลให้มีสกุลเงินต่างประเทศไหลเข้ามามากขึ้นจึงทำให้เงินแข็งตัวได้ค่ะ
  • ปัจจัยด้านการค้าระหว่างประเทศ > การค้าระหว่างประเทศทำให้เกิดการส่งออกและรับเงินตราจากต่างประเทศรวมไปจนถึงการท่องเที่ยวก็ทำให้เงินสกุลอื่นไหลเวียนเข้ามาในประเทศไทยมากมายนี่ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เงินแข็งตัวได้ค่ะ

ปัจจุบันที่เงินบาทแข็งค่าในประเทศไทยก็มีปัจจัยทั้งสามอย่างนี้รวมอยู่ด้วย และยังคงรวมกับปัจจัยอื่นๆทั้งภายในประเทศเองและภายนอกประเทศด้วยในแง่ของเศรษฐกิจที่ผันผวนและไม่มั่นคงค่ะ ซึ่งปัจจัยภายในนั้นคือ เงินเกินบัญชีดุลสะพัดมีมาก / การเมืองในประเทศไทย

ปัจจัยภายนอก คือ ภาวะตลาดโลกผันผวน / การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา / มีการคาดการณ์ว่าการลงทุนในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทยเป็นการลทุนที่ปลอดภัย ทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องของค่าเงินที่แข็งตัวและปัจจัยสำคัญที่ทำให้ค่าเงินบาทในประเทศไทยแข็งตัวสวนกระแสกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัว แล้วตอนนี้คุณคงทราบแล้วว่าการที่เงินบาทแข็งตัวนั้นมีทั้งผลดีและผลเสียแล้วยังเกี่ยวข้องกับคุณด้วยค่ะ

เงินเฟ้อ

เงินเฟ้อ

เงินเฟ้อนั้นมีสองรูปแบบ คือ เงินเฟ้อสูงและเงินเฟ้อต่ำ

เงินเฟ้อสูง > ประเทศไหนที่มีเงินเฟ้อสูงจะไม่มีใครอยากถือครองเงินส่วนนั้นจึงทำให้ค่าเงินในประเทศนั้นอ่อนตัวลงเพราะมีเงินสกุลอื่นไหลเวียนเข้ามาน้อย

เงินเฟ้อต่ำ > ประเทศไหนที่มีเงินเฟ้อต่ำจะทำให้เป็นที่ต้องการถือครองเงินนั้นส่งผลให้ค่าเงินในประเทศนั้นแข็งตัวขึ้นเพราะมีเงินสกุลอื่นไหลเวียนเข้ามามากขึ้น

ซึ่งสถานการณ์ในประเทศไทยตอนนี้อยู่ที่เงินเฟ้อต่ำและเกิดค่าเงินบาทแข็งตัวนั่นเองค่ะเงินเฟ้อทั่วไปของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2013 – 2018 อยู่ที่ 0.9% จึงเป็นที่ต้องการของนักลงทุนชาวต่างชาติอย่างมากค่ะจึงเกิดการลงทุนมากมายในประเทศไทยทำให้มีเงินสกุลอื่นไหลเวียนเข้ามาแบบไม่ขาดสายเลยค่ะ ดังนั้นสถานการณ์ทางการเงินของประเทศไทยนั้นจึงเป็นอย่างนี้โดยสรุปสั้นๆ คือ เงินเฟ้อต่ำค่าเงินแข็งนั่นเองค่ะ

แต่ละประเทศมีวิธีจัดการที่ต่างกัน และ ผลลัพท์ก็ต่างกันด้วย

แต่ละประเทศมีวิธีจัดการที่ต่างกัน และ ผลลัพท์ก็ต่างกันด้วย

เมื่อได้พิจารณาเรื่องราวการเงินของประเทศไทยไปแล้วและมีข้อสงสัยที่ไม่ปกติเรื่องของข้อเท็จจริงของค่าเงินกับเศรษฐกิจในประเทศที่สวนทางกันขอบอกเลยว่าไม่ใช่เพียงประเทศไทยเท่านั้นที่มีการสวนทางกันประเทศอื่นก็เช่นกันบทความนี้จะมัวอย่างของสถานการณ์ทางการเงินของประเทศอื่นมาเล่าให้ฟังด้วยค่ะเพื่อเป็นกรณีศึกษาค่ะ

ประเทศญี่ปุ่น > มีสถานการณ์ที่สวนทางก็คือ มีภาวะเงินเฟ้อต่ำแต่ค่าเงินก็อ่อนด้วยซึ่งนี่ก็ขัดแย้งกับความเป็นจริงไปเลยเรื่องราวเป็นอย่างไรมาดูกันค่ะ เมื่อย้อนกลับไปที่จริงประเทศญี่ปุ่นเองมีเงินเฟ้อต่ำมานานหลายปีแล้ว และก็เป็นไปตามปกติที่ค่าเงินจะแข็งตัวแต่จุดเปลี่ยนเกิดขึ้นเมื่อธนาคารกลางของประเทศใช้นโยบายพิเศษสุดๆโดยการอัดฉีดเงินเข้าระบบครั้งยิ่งใหญ่เพื่อให้เงินเฟ้อที่ต่ำนั้นกลับมาอยู่ที่ 2% และมีการลดอัตราดอกเบี้ยและให้คงที่ไว้ที่ 0% มาตั้งแต่ปี 2011 จนถึงปัจจุบันก็ยังมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 0.1% เท่านั้นค่ะ อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำนี้จึงเป็นเหตุให้ไม่มีใครอยากครอบครองเงินสกุลเยนของญี่ปุ่นสักเท่าไหร่เพราะจะได้ผลตอบแทนที่น้อยถึงแม้เงินเฟ้อจะต่ำก็ตามเมื่อไม่มีเงินสกุลอื่นไหลเวียนเข้ามาในประเทศจากนักลงทุนต่างประเทศก็ทำให้ค่าเงินนั้นอ่อนตัวลงได้ค่ะ ดังนั้นสรุปสถานการณ์การเงินของประเทศญี่ปุ่นก็คือ มีเงินเฟ้อต่ำ และมีค่าเงินอ่อนลงด้วยนโยบายพิเศษเรื่องการมีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆใกล้เคียง บวกกับเงินเฟ้อต่ำเป็นผลให้คนไทยอย่างเราสามารถไปเที่ยวญี่ปุ่นได้ง่ายขึ้นเพราะมีราคาลดลงค่ะ

ไม่ว่าจะเงินแข็ง หรือเงินอ่อน เงินเฟ้อต่ำ หรือเงินเฟ้อสูง ไม่มีอะไรแน่นอนสักอย่าง

ไม่ว่าจะเงินแข็ง หรือเงินอ่อน เงินเฟ้อต่ำ หรือเงินเฟ้อสูง ไม่มีอะไรแน่นอนสักอย่าง

เมื่ออ่านบทความนี้คุณคงได้ความรู้มากขึ้นถึงข้อเท็จจริงที่ควรจะเกิดขึ้นของภาวะเงินแข็ง เงินอ่อนค่า เงินเฟ้อแบบต่างๆ แต่เมื่อพิจารณาสถานการณ์ทางการเงินขงอประเทศเพื่อนบ้านอย่างญี่ปุ่นและแม้แต่ประเทศไทยเราเองก็ทำให้ตระหนักได้ว่าสถานการณ์การเงินในปัจจุบันนี้ไม่สามารถเอาแน่เอานอนได้เลยเนื่องจากเศรษฐกิจที่ผันผวนไม่มั่นคงทั้งในประเทศและของโลก ผลก็มาจากสงครามทางการค้าที่ยืดเยื้ออยู่ตอนนี้นั่นเองค่ะ ทำให้สถานการณ์ทางการเงินของแต่ละประเทศกลับเดินสวนทางกับความเป็นจริง ดังนั้นเมื่อย้อนกลับมามองดูที่ตัวคุณเองจะรับมือกับการเงินที่ไม่แน่นอนของประเทศและของโลกได้อย่างไรเมื่อไม่มีความมั่นคงให้พึ่งพา ทางที่ดีที่สุดคือพึ่งพาตัวเองสร้างการเงินที่มั่นคงด้วยตัวเองตั้งแต่ตอนนี้ให้ได้มากที่สุดเพราะเราไม่สามารถหวังพึ่งนโยบายหรือการขับเคลื่อนของเศรษฐกิจในประเทศของเราได้เลยไม่ว่าอยู่ในประเทศใดก็ตามย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อ การสร้างความมั่นคงทางการเงินด้วยตัวคุณเองอาจจะเริ่มจากการลงทุนในสินทรัพย์ที่ปลอดภัยก่อน หรือเลือกจะไม่ลงทุนเพราะมีความเสี่ยงสูงแต่สร้างวินัยการออมเงินไม่ใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่จำเป็นสร้างรายได้ให้เพียงพอต่อรายจ่ายเพียงเท่านั้นคุณก็สามารถอยู่รอดได้ไม่ว่าสถานการณ์ทางการเงินของประเทศและโลกจะไปทางไหนก็ตามค่ะ ขอฝากไว้เป็นทั้งคำแนะนำความรู้และข้อเตือนใจนะคะ