เพื่อนๆที่ทำงานประจำคงรู้กันใช่ไหมครับว่าตัวเองนั้นมีสิทธิประกันสังคมอยู่ด้วย เวลาที่เกิดเจ็บไข้ได้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลได้โดยใช้สิทธิของประกันสังคม ซึ่งสาเหตุที่ผมบอกว่าพนักงานประจำมีสิทธิประกันสังคมกันทุกคนนั้นก็เพราะว่าเป็นกฏหมายข้อบังคับของประเทศไทย ที่ให้พนักงานประจำทุกคน และทางบริษัทผู้ว่าจ้างจำเป็นจะต้องทำประกันสังคมให้ซึ่งความคุ้มครองของทางประกันสังคมก็มีมากมาย เพื่อนๆสามารถไปศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ แต่ในบทความนี้ผมจะพูดถึงเรื่องของประกันสังคม และประกันกลุ่มแตกต่างกันอย่างไร? เป็นเรื่องปกติที่พนักงานประจำจะมีประกันสังคม เพราะเป็นกฏหมายข้อบังคับ แต่ในบางบริษัทเองก็มีประกันกลุ่มให้กับพนักงานของบริษัทเป็นสวัสดิการการทำงานเพิ่มเติมขึ้นมาด้วย ซึ่งในบทความนี้ก็จะมาอธิบายถึงความแตกต่างของประกันสังคม และประกันกลุ่มที่เพิ่มเติมขึ้นมาในบางบริษัท ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ถ้าเพื่อนๆพร้อมแล้วเราไปดูรายละเอียดกันเลยครับ

ความแตกต่างของผู้ทำประกัน

ความแตกต่างของผู้ทำประกัน

เริ่มด้วยความแตกต่างของผู้ทำประกัน ระหว่าง ผู้ทำประกันสังคม และ ผู้ทำประกันกลุ่ม มีความแตกต่างอย่างไร? ให้เพื่อนๆไปดูกันก่อนที่ ผู้ทำประกันสังคม และ ต่อด้วยผู้ทำประกันกลุ่ม ผู้ทำประกันสังคม อย่างที่บอกว่าประกันสังคมเป็นกฏหมายข้อบังคับ เพราะฉะนั้น ประกันสังคมถือเป็นหลักประกันที่กฏหมายได้กำหนดเอาไว้ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้

มาตรา 33

สำหรับลูกจ้างในสถานประกอบการ หรือ พนักงานเอกชน โดยลูกจ้างและนายจ้างจะต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ซึ่งจะหักจากฐานเงินเดือน 5% สูงสุดไม่เกิน 750 บาทต่อเดือน    มาตรา 39

สำหรับลูกจ้างที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาแล้วอย่างน้อย 12 เดือน แล้วสมัครเข้ามาตรา 39 ภายใน 6 เดือน นับจากวันที่ออกจากงาน โดยจ่ายเงินสมทบเดือนละ 432 บาท

มาตรา 40

สำหรับอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ ส่วนการจ่ายเงินสมทบขึ้นอยู่กับทางเลือกของความคุ้มครองโดยเริ่มต้นที่ 70 บาทต่อเดือน

ผู้ทำประกันกลุ่ม อย่างที่บอกไปแล้วนิดหน่อยว่า ประกันกลุ่มนั้นเป็นประกันที่ทางบริษัทหรือนายจ้างจัดทำขึ้นมาเพื่อเป็นสวัสดิการให้กับพนักงานเพิ่มเติมมา ซึ่งประกันกลุ่มก็คือประกันภัยบุคคลหลายคนภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดียว โดยผู้ที่สามารถทำประกันกลุ่มได้จะมีแค่เฉพาะ บริษัท นายจ้าง หรือ องค์กรต่างๆเท่านั้น คนทั่วไปไม่สามารถที่จะสมัครหรือดำเนินการได้ด้วยตัวเอง ซึ่งก็จะพบเห็นประกันกลุ่มได้ไม่มากสักเท่าไร จะมีแค่บางบริษัทหรือบางองค์กรเท่านั้น ไม่แปลกที่คนส่วนใหญ่จะรู้จักกับประกันสังคมมากกว่าประกันกลุ่ม

ความแตกต่างเรื่องความคุ้มครอง

ความแตกต่างเรื่องความคุ้มครอง

ต่อมาจะเป็นเรื่องของความคุ้มครอง ระหว่าง ประกันสังคม และ ประกันกลุ่ม ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร? ให้เพื่อนๆไปดูที่ความคุ้มครองของทางด้านประกันสังคมกันก่อนตามด้วยประกันกลุ่มนะครับ  ความคุ้มครองของประกันสังคม ประกันสังคมจะมีการคุ้มครองเรื่องของค่ารักษาพยาบาลและเงินทดแทน แต่ค่ารักษาพยาบาลและเงินทดแทนนั้นก็จะถูกขึ้นอยู่กับมาตราที่ผู้ประกันตนสมัครเอาไว้ โดยแบ่งได้เป็น 3 มาตรา ดังนี้

มาตรา 33

ประกันสังคมจะให้ความคุ้มครองอยู่ที่ 7 กรณี เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ชราภ่พ สงเคราะห์บุตร ว่างงาน และ เสียชีวิต

มาตรา 39

ประกันสังคมจะให้ความคุ้มครองอยู่ที่ 6 กรณี เจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ สงเคราะห์บุตร และ เสียชีวิต

มาตรา 40

เป็นมาตราที่ผู้ประกันตนสมัครใจสมัครประกันสังคม เพราะฉะนั้นความคุ้มครองก็จะอยู่ที่ผู้ประกันตนเป็นคนเลือก ได้แก่ ขาดรายได้ เจ็บป่วย-ทุพพลภาพ เงินค่าทำศพ บำเหน็จชราภาพ สงเคราะห์บุตร

ความคุ้มครองของประกันกลุ่ม เนื่องจากประกันกลุ่มนั้นเป็นประกันที่มีเงื่อนไขตามกรมธรรม์ ซึ่งผู้ที่เลือกกรมธรรม์ได้ก็จะเป็นนายจ้าง บริษัท หรือ องค์กรต่างๆเท่านั้น ซึ่งก็มีมากมายหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การประกันกันชีวิตแบบกลุ่ม การประอุบัติเหตุแบบกลุ่ม การประกันทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงกลุ่ม การประกันสุขภาพกลุ่ม ซึ่งประกันกลุ่มเหล่านี้เพื่อนๆจะได้รูปแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับ บริษัท นายจ้าง หรือ องค์กรที่เพื่อนๆอยู่ และอีกหนึ่งอย่างคือ ประกันกลุ่มนั้นสามารถใช้สิทธิร่วมกับประกันสังคมได้อีกด้วย แต่ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลที่ระบุสิทธิประกันสังคมเอาไว้ โดยทางค่ารักษาพยาบาลจะถูกเรียกเก็บกับประกันสังคม

ความแตกกต่างของระยะเวลาสิ้นสุดความคุ้มครอง

ความแตกกต่างของระยะเวลาสิ้นสุดความคุ้มครอง

สุดท้ายจะเป็นเรื่องของความแตกต่างกันของเรื่องการสิ้นสุดความงามคุ้มครอง ระหว่าง ประกันสังคม กับ ประกันกลุ่ม โดยจะเริ่มอธิบายของประกันสังคมก่อนแล้วตามด้วยประกันกลุ่มนะครับ  การสิ้นสุดความคุ้มครองของประกันสังคม อย่างที่รู้ว่าประกันสังคม นั้น มีผู้ทำประกันอยู่ถึง 3 แบบ โดยแบ่งตามมาตรา เพราะฉะนั้นแล้วการสิ้นสุดความคุ้มครองก็แบ่งงออกเป็น 3 แบบ ตามมาตราดังนี้

มาตรา 33

ประกันสังคมจะถูกยกเลิกเมื่อผู้ทำประกันไม่ได้ทำงานแล้ว แต่ถ้าในกรณีที่ผู้ทำประกันลาออกจากงานแล้วเข้าทำงานที่ใหม่ก็ยังได้รับความคุ้มครองเหมือนเดิม

มาตรา 39

ประกันสังคมจะถูกยกเลิกทันทีเมื่อผู้ทำประกันเสียชีวิต หรือกลับกลายเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือไม่ก็ขาดส่งเงินเบี้ยประกันเกิน 3 เดือนติดต่อกัน หรือ ภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบได้ไม่ครบ 9 เดือน   มาตรา 40

จะไม่ได้รับความคุ้มครองทันที เมื่อผู้ประกันตนไม่ส่งเงินสมทบตามระยะเวลาที่กำหนด

การสิ้นสุดความคุ้มครองของประกันกลุ่ม โดยประกันกลุ่มก็อย่างที่รู้ๆกันไปแล้วว่าเป็นประกันภัยบุคคลของหลายคนที่อยู่ภายใต้กรมธรรม์ฉบับเดียวกันโดยผู้ที่จะสามารถทำได้จะต้องเป็น นายจ้าง บริษัท หรือ องค์กรต่างๆ และเมื่อไรที่เพื่อนๆลาออกจากงาน จากบริษัท หรือองค์กรที่มีการทำประกันกลุ่มไว้ให้ ประกันกลุ่มก็จะยกเลิกการคุ้มครองทันที