หนึ่งในหลายๆมาตรการที่รัฐบาลออกมาเพื่อช่วยในการเยียวยาประชนที่ขาดรายได้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19 นั่นก็คือ การแจกเงินเยียวยา 5,000 บาทเป็นเวลาสามเดือนให้กับผู้ทำอาชีพอิสระที่ไม่มีประกันสังคมที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19 ภายใต้โครงการที่ชื่อว่า “เราไม่ทิ้งกัน” ซึ่งเปิดให้ประชาชนได้เริ่มลงทะเบียนออนไลน์กันมาตั้งแต่เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมานั้น มีประชาชนให้ความสนใจและยื่นเรื่องขอรับเงินเยียวยากันอย่างมากมาย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเดือดร้อนของผู้คนทางด้านการเงินที่เกิดจากการขาดรายได้ในช่วงวิกฤติของโรคระบาดครั้งนี้ ถึงแม้ว่าเงิน 5,000 ต่อเดือนนั้นอาจดูไม่มากมายอะไร แต่หากเราจัดการบริหารเงินจำนวนนี้ให้ดี ก็จะสามารถมีใช้ได้เพียงพอต่อการดำรงชีพในแต่วันให้ผ่านพ้นไปได้ทั้งเดือนในระหว่างวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด 19 นี้ค่ะ ในวันนี้เราจึงนำบทความเรื่อง “วิธีอยู่อย่างฉลาดด้วยเงินเยียวยาเพียง 5,000” ที่จะทำให้ทุกท่านได้มองเห็นแนวทางการบริหารจัดการเงิน 5,000 บาทให้มีเพียงพอไปได้ตลอดทั้งเดือนว่าสามารถทำได้อย่างไรมาฝากกันค่ะ ส่วนจะมีวิธีการจัดสรรอย่างไร หรือมีอะไรที่ต้องดำเนินการกันบ้างนั้น ขอเรามาติดตามไปพร้อมๆกันได้เลยค่ะ

ต้องใช้เงินก้อนนี้เพื่อการยังชีพหรือเลี้ยงชีพจริงๆ

ต้องใช้เงินก้อนนี้เพื่อการยังชีพหรือเลี้ยงชีพจริงๆ

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ได้รับสิทธิ์จากมาตรการเยียวยาของรัฐบาล ที่ได้รับเงิน 5,000 บาทเป็นจำนวนสามเดือนนั้น ก่อนอื่นเลยคุณควรต้องทำความเข้าใจให้ดีเสียก่อนว่า คุณเองคือหนี่งในผู้เดือดร้อนที่รัฐบาลให้ได้รับสิทธิ์รับเงินเยียวยาครั้งนี้ เนื่องจากภาวะขาดรายได้ ซึ่งอาจเกิดจากการที่ต้องหยุดพักงานเพราะผลกระทบของโรคระบาดในครั้งนี้ แม้ว่าเงิน 5,000 บาทที่ได้รับอาจดูไม่ได้มากมายอะไร หรือบางทีอาจจะดูไม่เพียงพอสำหรับการดำรงชีวิตให้ครบเดือนเสียด้วยซ้ำ แต่คุณจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับตัว ปรับใจให้ดำรงชีวิตอยู่ต่อไปให้ได้ด้วยเงิน 5,000 บาทนี้ค่ะ ฉะนั้นการจัดสรรเงิน 5,000 บาทนี้ให้เพียงพอใช้ต่อไปได้ตลอดเดือนได้นั้นคือ คุณต้องใช้เงินก้อนนี้เพียงเพื่อการยังชีพหรือเลี้ยงชีพจริงๆเท่านั้น คุณถึงจะอยู่รอดได้ค่ะ

การจัดสรรเงิน 5,000 บาทให้เพียงพอต่อเดือนนั้น คุณอาจทำได้ง่ายๆเช่น นำเงิน 5,000 ÷ 30 = 166 นั่นคือคุณจะใช้เงินได้เพียงวันละ 166 บาทเท่านั้น โดยที่คุณจะต้องมีวินัย และซื่อสัตย์ที่จะไม่ใช้เงินเกินในแต่ละวัน  ซึ่งหากคุณอยู่ตัวคนเดียวก็คงพอที่จะอยู่ได้อย่างหนีบๆในแต่ละวันของช่วงที่ขาดรายได้ แต่หากคุณมีอีกหลายปากหลายท้องที่ต้องดูแลก็คงจะเกิดความขัดสนไม่น้อยเลยทีเดียว แต่ก็จำต้องอยู่ให้ได้ด้วยเงิน 166 บาทเช่นกันค่ะ ความเดือดร้อนที่เป็นผลกระทบที่ได้รับจากวิกฤติของโรคโควิด 19 นี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับแค่คนใดคนหนึ่ง แต่ได้แผ่กระจายไปสู่ผู้คนทั่วโลก ฉะนั้นในภาวะเช่นนี้ขอคุณได้ใช้ความอดทน ปรับสภาพกายใจให้ได้ เพื่อจะอยู่สู้ให้ผ่านพ้นวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกันค่ะ

เจรจาขอพักชำระหนี้ทั้งหมด

เจรจาขอพักชำระหนี้ทั้งหมด

อีกวิธีสำคัญที่พึงกระทำเพื่อจะอยู่ได้ตลอดเดือนด้วยเงินเยียวยาเพียง 5,000 บาทนั่นก็คือ การเจรจาขอพักชำระหนี้ทั้งหมดค่ะ ซึ่งในสภาพการณ์ของการเกิดวิกฤติโรคระบาดเช่นนี้ หากคุณเป็นหนี้นอกระบบ คุณควรขอเจรจาการพักหนี้กับเจ้าหนี้โดยตรง เล่าถึงความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นกับคุณที่เป็นสาเหตุให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อมาชำระหนี้ได้เหมือนดั่งปกติ มีเจ้าหนี้ที่ดีๆมีน้ำใจมากมายที่พร้อมช่วยเหลือลูกหนี้ในยามที่เกิดสถานการณ์วิกฤติเช่นนี้ แต่แม้หากการเจรจากับเจ้าหนี้บางรายนั้นคุณคิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหนี้จริงๆ ก็ขอให้ไปพึ่งศูนย์ดำรงธรรมของแต่ละจังหวัดเพื่อเข้าช่วยเหลือค่ะ ในส่วนของผู้ที่เป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินต่างๆ ในช่วงโควิด 19 นี้ทุกๆธนาคารก็ได้ออกหลายมาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ของธนาคาร โดยแต่ละธนาคารก็มีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งในวันนี้เราก็ได้รวบรวมมาฝากกันด้วยค่ะ คุณอาจดูสรุปข้อมูลเพื่อที่ใช้เข้าติดต่อขอเจรจาพักชำระหนี้ หรือขอรับความช่วยเหลือลูกหนี้จากธนาคารต่างๆได้ดังนี้ค่ะ

บัตรเครดิตและสินเชื่อหมุนเวียน

ในส่วนของบัตรเครดิตและสินเชื่อหมุนเวียนทางธนาคารต่างๆได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้อย่างเช่น การลดดอกเบี้ย ค่าปรับ และธรรมเนียม , ลดการชำระหนีขั้นต่ำลงที่จากเดิมต้องชำระขั้นต่ำอยู่ที่ 10% เหลือเพียง 5% โดยมีระยะเวลาตั้งแต่ปี 2563-2564 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 8% ในปี 2565 หลังจากนั้นก็จะกลับมาเป็น 10% ในปี 2566 ตามเดิมค่ะ นอกจากนี้ก็ยังมีการพักชำระหนี้ที่มีช่วงเวลาช่วยเหลือตั้งแต่ 3-6 เดือนที่มีเงื่อนไขแตกต่างกันไปตามแต่ละธนาคารค่ะ

สินเชื่อส่วนบุคคลที่ผ่อนชำระเป็นงวดๆและสินเขื่อทะเบียนรถ

ในส่วนของสินเชื่อส่วนบุคคลที่ผ่อนชำระเป็นงวดๆและสินเชื่อทะเบียนรถ ในส่วนนี้ทางธนาคารต่างๆก็ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่แตกต่างกันไป เช่น ปลอดเงินต้น โดยยกเว้นการผ่อนชำระเงินต้นเป็นเวลา 12 เดือน , การหยุดพักชำระหนี้เป็นเวลา 3 เดือน หรือลดยอดชำระต่อเดือนลดลง ซึ่งแต่ละมาตรการนั้นก็ต้องไปตามเงื่อนไขของแต่ละธนาคารด้วยค่ะ

สินเชื่อเช่าซื้อ สินเชื่อลิสซิ่ง  และสินเชื่อบ้าน

มาตรการของธนาคารต่างๆที่ช่วยเยียวยาสำหรับลูกหนี้ประเภทสินเชื่อเช่าซื้อ และสินเชื่อลิสซิ่งที่ออกมา อย่างเช่น การพักชำระการผ่อนค่างวดระยะเวลาสูงสุด 6 เดือน , การลดค่างวดต่อเดือนลง ซึ่งก็จะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละธนาคารค่ะ

มาถึงมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ของธนาคารต่างๆ ประเภทสินเชื่อบ้านกันค่ะ ซึ่งมาตรการที่ออกมาช่วยเหลือนั่นก็คือ พักการผ่อนชำระเงินต้น เป็นระยะเวลา 3-12 เดือน, ปรับยอดผ่อนชำระรายเดือน, ลดอัตราดอกเบี้ยและอื่น, ขยายเวลาการชำระหนี้, พักชำระหนี้เป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งทุกๆอย่างก็มีเงื่อนไขและระยะเวลาเป็นไปตามแต่ละธนาคารค่ะ

ฉลาดอยู่ เพียง 5,000 ก็รอดได้นะ

ฉลาดอยู่ เพียง 5,000 ก็รอดได้นะ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับ “วิธีอยู่อย่างฉลาดด้วยเงินเยียวยาเพียง 5,000” ที่เราได้มาฝากกันในวันนี้ หวังว่าคงช่วยเพื่อนๆที่ได้รับความเดือดร้อนที่ได้เงินเยียวจากทางรัฐบาล ได้เห็นเป็นแนวทางเพื่อให้สามารถอดทนสู้กับวิกฤติของโรคระบาดครั้งนี้ให้ผ่านพ้นไปได้แบบที่ไม่ต้องมีกดดันมากกันแล้ว แม้เงิน 5,000 อาจไม่สนองความต้องการได้เพียงพอ แต่หากเราจัดสรรให้ดี และรู้จักใช้มาตรการที่ออกมาช่วยเหลือด้านต่างๆจากทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างฉลาด เราก็จะสามารถรอดผ่านพ้นวิกฤติครั้งนี้ไปได้แม้เราจะมีเงินกันเพียงแค่เดือนละ 5,000 บาทเท่านั้นค่ะ

ขอบคุณสำหรับข้อมูล

https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/Pages/FI_Support.aspx