ปัญหาสุขภาพยังเป็นปัญหาใหญ่ของคนไทย คนไทยกว่า 14 ล้านคนเป็นโรคในกลุ่ม NCDs เสียชีวิตมากกว่า 300,000 คน หรือ 73% ของการเสียชีวิตของประชากรทั้งหมด คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจถึง 25.2 พันล้านบาทต่อปี ข้อมูลน่าตกใจนี้คือความจริงที่เกิดขึ้นกับประชากรไทย ซึ่งนอกจากจะสร้างภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ป่วยแล้วยังส่งผลให้เศรษฐกิจโดย  นายกสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ลักษณะของโรค NCDs เป็นแล้วไม่หาย แต่เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยปัจจุบันแนวโน้มผู้ป่วยกลุ่มโรคนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอายุที่พบน้อยลงเรื่อยๆ

หากพิจารณาจากอัตราน้ำหนักตัวของประชากรที่อยู่ในเกณฑ์เกินมาตรฐานมีจำนวนเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงไม่ใช่โรคที่เกิดเฉพาะกับกลุ่มคนรวยหรือคนสูงอายุเท่านั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ก่อนที่จะเกิดโรค โดยอาหารถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด สามารถปรับโดยการลดหวาน มัน เค็ม บริโภคให้ครบ 5 หมู่  และควรลดหรือเลิกดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดหลายโรคเช่นกัน เพิ่มการออกกำลังกาย และหากิจกรรมคลายเครียด ก็จะเป็นวิธีป้องกันกลุ่มโรค NCDs ได้อย่างดีผู้อำนวยการสำนักรณรงค์สื่อสารสังคม สสส. กล่าวว่า สสส.ได้นำประเด็นกลุ่มโรค NCDs มาเป็นประเด็นในการสื่อสารหลักประจำปี 2557 โดยเน้นเตือนภัย 6-6-5 คือ 6 โรคที่มีผู้เสียชีวิตสูง 6 ปัจจัยเสี่ยงหลัก และ 5 แนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คือ ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ เลี่ยงอาหารหวาน-มัน-เค็ม เพิ่มผักผลไม้ การออกกำลังกาย อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน (5 ครั้งต่อสัปดาห์) และอารมณ์ดี

คิดบวก พักผ่อนให้เพียงพอ หากเราสามารถปรับเปลี่ยนอารมณ์ใหม่ให้เป็นไปในเชิงบวกได้ ก็จะช่วยให้ปรับเปลี่ยนลดพฤติกรรมเสี่ยงบางอย่างได้ด้วยเช่นกัน  พฤติกรรมต้นเหตุคนไทยฆ่าตัวตายก่อนวัยอันควร สสส. ร่วมกับเครือข่ายวิชาการ จัดทำแบบประเมินความเสี่ยงกลุ่มโรค NCDs (NCDs Quiz) หรือเรียกว่าการสแกนกรรม เพราะกลุ่มโรคนี้เกิดจากพฤติกรรม หรือเกิดจากกรรม ซึ่งก็คือการกระทำของเรานั่นเอง ตัวอย่างการสแกนกรรมต่อกลุ่มโรคที่ไวที่สุด 6 วินาที

พยากรณ์กลุ่มโรค NCDs คือ 1. ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2. สูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่ 3. กินอาหาร หวาน-มัน-เค็ม 4. ไม่ค่อยออกกำลังกาย 5. เครียดบ่อย 6. มีพ่อแม่ ญาติใกล้ชิดป่วยเป็น กลุ่มโรค NCDs หากใน 6 ข้อนี้ถ้าใช่ ข้อใดข้อหนึ่ง จะมีแนวโน้มเป็นหนึ่งในมนุษย์ NCDsรวมของประเทศที่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพให้แก่ผู้ป่วยอีกด้วย

โรค NCDs คืออะไร?

โรค NCDs หรือ non-communicable diseases เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งจะมีการดำเนินโรคอย่างช้า ๆ ค่อย ๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีอาการของโรคแล้วมักจะเกิดการเรื้อรังของโรคด้วย จึงอาจจัดว่าโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคเรื้อรังได้  ตัวอย่างของโรค NCDs

โรคเบาหวาน

เกิดจากการมีน้ำตาลในเลือดสูงอย่างควบคุมไม่ได้ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา เช่น ปลายประสาทถูกทำลาย เป็นแผลติดเชื้อ ตาบอด ซึ่งปัจจัยเสี่ยงได้แก่ การทานอาหารหวานมัน และขาดการออกกำลังกาย

โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง

เกิดจากผนังหลอดเลือดแข็งตัว ขาดความยืดหยุ่น เนื่องจากมีไขมันอุดตันและเกิดการอักเสบ จนทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจและสมองได้ไม่เพียงพอ ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่ การมีไขมันในเลือดสูงซึ่งมาจากอาหารและพันธุกรรม และไม่ออกกำลังกาย

โรคถุงลมโป่งพอง

เกิดจากการอักเสบของถุงลมขนาดเล็กในปอด จนทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซในปอดผิดปกติ ปัจจัยสำคัญนั้นมาจากการสูบบุหรี่

โรคมะเร็ง

เกิดขึ้นได้กับหลายอวัยวะ โดยมะเร็งที่พบบ่อยในคนไทย ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม สาเหตุการเกิดมะเร็งนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พฤติกรรมเสี่ยงของโรคนั้นมีมากมาย ทั้งอาหารการกิน การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ความเครียด เป็นต้น

โรคความดันโลหิตสูง

คือการมีความดันเลือดตั้งแต่ 130/80 มม.ปรอทขึ้นไป เป็นโรคที่พบได้บ่อยและอาจเป็นสาเหตุของโรคไต และโรคหลอดเลือดหัวใจในอนาคตด้วย ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง คือการทานอาหารมันเค็ม ทานเกลือมาก และมีไขมันในเลือดสูง

โรคอ้วนลงพุง

นิยามจากการมีรอบเอว 80 ซม.ขึ้นไป ในผู้หญิง และ 90 ซม.ขึ้นไป ในผู้ชาย ร่วมกับการมีระดับไขมันและน้ำตาลในเลือดผิดปกติ ซึ่งโรคอ้วนลงพุง อาจเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และอาการปวดตามข้อได้ในอนาคต

องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า โรคกลุ่ม NCDs ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งจะเกิดกับคนเมืองมากกว่าคนในชนบท จากสาเหตุพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่เร่งด่วน กินด่วน และไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย โดยโรคที่มีอัตราผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตสูงสุด คือ โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ และโรคเบาหวาน ซึ่งสามารถป้องกันและบรรเทาได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยงข้างต้น

สถิติการเสียเงินกับโรค NCDs

สถิติการเสียเงินกับโรค NCDs

โรค NCDs เป็นปัจจัยที่สร้างความเสียหายด้านค่าใช้จ่ายสูงสุดให้แก่ภาครัฐ ซึ่งปัจจุบันรัฐได้สูญเสียค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเฉลี่ยคนละ 6,286 บาท หรือประมาณ 4 แสนล้านบาทต่อปี ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 13 ของรายจ่ายทั้งประเทศ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หากประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยในอีก 15 ปีข้างหน้า ซึ่งคาดว่าอาจเพิ่มขึ้นถึง 1.4-1.8 ล้านล้านบาท สถิติของประเทศไทยในปี 2552 พบว่ามีประชากรเสียชีวิตจากกลุ่มโรค NCDs 300,000 คน ซึ่งคิดเป็น 73% ของการเสียชีวิตทั้งหมด และในปัจจุบันยังมีคนไทยที่ป่วยเป็นโรคในกลุ่ม NCDs ถึง 14 ล้านคน

นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ยังพบว่า ในแต่ละปีมีผู้ที่เสียชีวิตจากกลุ่มโรค NCDs ทั่วโลกกว่า 30 ล้านคน โดยเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจมากที่สุด รองลงมาคือโรคมะเร็ง โรคถุงลมโป่งพอง โรคปอด และโรคเบาหวาน ตามลำดับ จะเห็นได้ว่ากลุ่มโรค NCDs เป็นสาเหตุการเสียชีวิตหลักของคนทั่วโลก และเกินกว่าครึ่งของผู้ป่วยก็ล้วนเป็นประชากรในประเทศกำลังพัฒนา และอยู่ในวัยแรงงาน ดังนั้น นอกจากกลุ่มโรค NCDs จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและใจของประชากรแล้ว ยังต้องใช้งบประมาณสูงในการรักษา และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศด้วย

ปัจจัยความเสี่ยงต่อโรค NCDs

ปัจจัยความเสี่ยงต่อโรค NCDs

สาเหตุหลักใหญ่ที่เป็นตัวการความเสี่ยงก่อโรค NCDs ก็คือ พฤติกรรมการดำเนินชีวิตของแต่ละคนนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารรสจัดต่าง ๆ ทั้งหวานจัด เค็มจัด อาหารที่มีไขมันสูง อาหารปิ้งย่าง ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย นอนดึก มีความเครียดสูง รวมทั้งการรับประทานยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ยังมีการดำเนินชีวิตเช่นนี้อยู่ ก็ย่อมมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค NCDs ได้มากกว่าคนอื่น ๆ เช่นกัน

ความรุนแรงของโรค NCDs แม้โรค NCDs จะไม่ใช่โรคติดต่อ แต่จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า ตลอดช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมากลุ่มโรค NCDs เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย โดยมีคนไทยป่วยด้วยโรค NCDs ถึง 14 ล้านคน เสียชีวิตกว่า 300,000 คนต่อปี และคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี

เช็คดูว่าคุณมีความเสี่ยงไหม?

ลองมาสำรวจกันดีกว่าว่า คุณมีความเสี่ยงเป็นกลุ่มโรค NCDs หรือไม่ ดังนี้

  • ดื่มเหล้า ใช่/ไม่ใช่

  • สูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่เสมอๆ ใช่/ไม่ใช่

  • กินอาหารหวาน มัน เค็ม ใช่/ไม่ใช่ ใช่/ไม่ใช่

  • เครียดบ่อย ใช่/ไม่ใช่

-  ไม่ค่อยออกกำลังกาย ใช่/ไม่ใช่

  • ครอบครัวมีประวัติป่วยโรค NCDs ใช่/ไม่ใช่

หากเช็กแล้ว ใช่ แค่ข้อเดียว คุณก็มีสิทธิ์เป็นโรคในกลุ่ม NCDs แล้ว ดังนั้น รีบเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสี่ยงตั้งแต่วันนี้นะคะ เพื่อหลีกหนีให้ไกลจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ปรับพฤติกรรม ลดความเสี่ยงโรค NCDs

การป้องกันโรค NCDs ทำได้ง่ายๆ โดยเริ่มจากตัวเรา นั่นก็คือการปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ เน้นการรับประทานผักและผลไม้

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสหวานจัด เค็มจัด อาหารมัน รวมถึงอาหารปิ้งย่าง

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที/ครั้ง สัปดาห์ละ 5 ครั้ง

  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

  • งดสูบบุหรี่

  • พักผ่อนให้เพียงพอ

  • ผ่อนคลายความเครียด

  • ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ

  • รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ไม่ซื้อยารับประทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

  • หากมีอาการผิดปกติใดๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์

สรุป

สรุป

แม้โรค NCDs จะไม่เป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรง แต่หากเมื่อใดที่เป็นขึ้นมา ก็จะพบความรุนแรงได้เช่นกัน หากเราหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น รู้จักผ่อนคลาย และสร้างสมดุลให้กับชีวิตทั้งเรื่องอาหารการกิน การจัดการอารมณ์ และพักผ่อนให้เพียงพอ นอกจากจะช่วยให้มีสุขภาพดีแล้ว ความคุ้มค่ามหาศาลที่จะตามมาก็คือ ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพตนเองและภาครัฐโดยรวมได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ดังนั้น การดูแลอาหารการกินจึงสำคัญมาก ควรกินผลไม้ให้หลากหลาย ไม่ควรกินผลไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งติดต่อกันหลายๆ วัน เช่น กินแต่กล้วยน้ำว้าทุกวัน ควรกินผลไม้ชนิดอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย เพราะว่าผลไม้แต่ละชนิดที่มีสีแตกต่างกัน ต่างประเภทกันจะมีสารอาหาร และสารต่อต้านอนุมูลอิสระ หรือสารป้องกันมะเร็งที่แตกต่างกันไปด้วย หากเรากินผลไม้ที่หลากหลายแล้ว ก็จะทำให้ได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายที่หลากหลายด้วยเช่นกัน กินผลไม้ให้เพียงพอ อาหารที่ให้พลังงานต่ำ และช่วยให้รู้สึกอิ่มได้นาน กินผลไม้ตามฤดูกาล

เพราะราคาถูก คุณค่าทางโภชนาการมากกว่าผลไม้ที่ออกนอกฤดูกาล และปลอดภัยจากสารเคมี ผลไม้ทุกชนิดต้านโรคได้หมด มีโภชนาการเหมือนกัน เพียงแต่จะมากหรือน้อยเท่านั้นเอง ผลไม้แต่ละชนิดแต่ละสี สารอาหารอาจไม่เหมือนกัน แต่ที่มีในผลไม้ทุกชนิด คือวิตามินซี และผลไม้ที่มีสีอาจจะมีเบต้าแคโรทีนเยอะกว่าผลไม้สีชนิดอื่นๆ เพียงแค่ทำตามวิธีเหล่านี้คุณก็จะไม่ต้องเสี่ยงเป็นโรค NCDs และไม่เสียเงินไปกับการรักษาด้วยค่ะ