สิ่งที่หายากมากที่สุดอย่างหนึ่งในการทำธุรกิจ ณ ขณะเวลาปัจจุบัน คำตอบก็คือการทำธุรกิจโดยปราศจากการขอกู้ยืมเงินทุนจากทางธนาคารนั่นเอง ซึ่งเชื่อว่าทุกบริษัทในทุกสาขาธุรกิจต่างต้องเคยผ่านประสบการณ์ในจุดดังกล่าวมาด้วยกันแล้วทั้งสิ้น มิหนำซ้ำ อาจจะอยู่ในช่วงของการรอฟังคำตอบหรือไม่ ก็อาจจะมีแนวคิดในการขอกู้ยืมเงินมาลงทุนในอนาคตจากทางธนาคารอยู่ก็เป็นได้ และชื่อเสียงที่ได้รับการกล่าวขานร่ำลือกันมาอย่างยาวนานอยู่คู่กันกับการขอ สินเชื่อ จากทางธนาคารก็คือเรื่องขอการถูกปฏิเสธ ในสภาวะทางเศรษฐกิจยุคปัจจุบัน ผู้ประกอบการหลายคนไม่เข้าใจว่าทำไมการขอ สินเชื่อ ให้ธุรกิจของตนเองจึงถูกปฏิเสธทั้งๆที่มีแผนงานและการเขียนโครงการอย่างอลังการ ซึ่งความจริงแล้วสาระสำคัญมันไม่ได้อยู่ที่จุดนั้นแต่เพียงอย่างเดียว มันมีอะไรที่สลับซับซ้อนกว่านั้นมาก ดังนั้นให้เรามาดูขั้นตอนด้วยกัน

loan apply

aslysun/shutterstock.com

เอกสารที่ต้องใช้

เอกสารที่ต้องใช้

ก่อน ที่เราจะสมัครสินเชื่อประเภทต่างๆนั้นทางธนาคารหรือสถาบันการเงินจะต้องมีการขอเอกสารและหลักฐาน ต่างๆจากเราเพราะเอกสารหลักฐานเหล่านี้คือสิ่งที่จะแสดงถึงตัวตนของเรา และความน่าเชื่อถือของเราด้วยว่าเรามีศักยภาพและความสามารถในการชำระหนี้คืนสถาบันการเงินหรือไม่และยังช่วยให้ธนาคารหรือสถาบันการเงินสามารถกำหนดเงื่อนไขวงกูที่บอกกับตัวเรา ได้อีกด้วยถ้ามองมาที่หลักฐานที่ใช้ในการสมัครสินเชื่อส่วนบุคคล ก็จะมีเอกสารสำคัญๆ ต่อไปนี้ให้เรามาดูด้วยกันว่ามีอะไรบ้าง

เอกสารยืนยันตัวตน

เอกสารจำพวกแรกของการยื่นสมัคร สินเชื่อส่วนบุคคล ที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินต้องการจากเราก็คือหลักฐานความมีตัวตนของคุณ ในการทำธุรกรรมกับสถาบันการเงินซึ่งเอกสารหลักๆที่ใช้คือ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ กรณีใช้สำเนาบัตรข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ต้องแนบสำเนาทะเบียนบ้านด้วย ซึ่งจะต้องมีการลงลายมือชื่อรับรอง สำเนาถูกต้องด้วยนั่นเอง

เอกสารแสดงรายได้ ว่ามีความสามารถชำระหนี้ในระดับไหน

เพราะแต่ละคนมีที่มาของรายได้ไม่เหมือนกัน มีทั้งแบบที่ตรวจสอบได้ง่าย เช่น พนักงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัทเอกชน ที่รับเงินเดือนผ่านธนาคารและมีสลิปเงินเดือน และที่ตรวจสอบได้ยาก เช่น พนักงานที่รับเงินเดือนเป็นเงินสด บุคคลที่ทำมาค้าขายมีรายได้ไม่แน่นอน หรือ บุคคลผู้มีอาชีพอิสระ เอกสารเกี่ยวกับรายได้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการยื่นขอ สินเชื่อส่วนบุคคล และผู้ที่มีรายได้ประจำก็จะมีความได้เปรียบเพราะสามารถตรวจสอบได้ง่ายกว่า แล้วเอกสารนั้นมีอะไรบ้างให้เรามาดูด้วยกันดีกว่า

เอกสารประกอบการสมัคร สินเชื่อส่วนบุคคล สำหรับพนักงานประจำ/ข้าราชการ

สลิปเงินเดือนเดือนล่าสุดหรือไม่เกิน 60 วัน ในกรณีที่มีรายได้ไม่ประจำ เช่น โอที/คอมมิชชั่น/เซอร์วิส ชาร์จ/ โบนัส สามารถนำสลิปเงินเดือนย้อนหลัง 3 – 6 เดือนแนบประกอบพิจารณา เพื่อใช้เพิ่มการคำนวณรายได้ต่อเดือนของผู้สมัครขอกู้ สินเชื่อส่วนบุคคล ได้อีกด้วย หนังสือรับรองเงินเดือน จากนายจ้าง ไม่เกิน 60 วัน แต่ในกรณีสำหรับพนักงานประจำในบริษัทชั้นนำหรือบริษัทขนาดใหญ่ อาจจะไม่จำเป็นต้องใช้หนังสือรับรองเงินเดือนแสดงเพิ่มอีก เพราะสลิปเงินเดือนจะเป็นสลิปคาร์บอน ที่ทำการปลอมแปลงได้ยากอยู่แล้ว แต่ขึ้นอยู่กับนิยามของแต่ละสถาบันการเงินในการกำหนดว่า บริษัทใดที่จะนับเป็นบริษัทชั้นนำหรือบริษัทขนาดใหญ่ บัญชีธนาคารที่ใช้รับเงินเดือน 3 – 6 เดือน แล้วแต่สถาบันการเงิน ใบรายการแสดงภาษีรายได้ส่วนบุคคลในปีที่ผ่านมา ในกรณีสำหรับ พนักงานที่รายได้ส่วนใหญ่ได้มาจากค่าคอมมิชชั่น หรือพนักงานที่ไม่มีเงินเดือนประจำที่เท่ากันทุกเดือนถึงเกณฑ์ขั้นต่ำของสถาบันการเงิน

เอกสารประกอบการสมัคร สินเชื่อส่วนบุคคล สำหรับเจ้าของกิจการหรือผู้มีอาชีพอิสระ

หนังสือรับรองจดทะเบียนบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ ใบทะเบียนการค้า บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (กรณีบริษัท) บัญชีธนาคารของผู้ขอกู้ที่ใช้เป็นหลัก 6 เดือน อาจจะใช้บัญชีของกิจการประกอบได้ในกรณีให้บัญชีกิจการเป็นบัญชีหลัก หลักฐานประกอบกิจการอื่นๆ เพื่อพิสูจน์ที่มาของรายได้และอายุกิจการ เพราะเป็นปัจจัยสำคัญในการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงิน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสถาบันการเงิน ยิ่งมีเอกสารประกอบมากขึ้น วงเงินอนุมัติก็มีโอกาสมากขึ้นได้ง่ายๆ เพราะสถาบันการเงินมีความมั่นใจในรายได้และความสามารถในการชำระหนี้ของเรามากขึ้นนั่นเอง ใบประกอบวิชาชีพ สำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ เช่น แพทย์, สถาปนิก, ทนายความ เป็นต้น งบการเงิน สำหรับ บริษัท/ห้างหุ้นส่วนจำกัด ใบสั่งซื้อ สำหรับ บริษัท/ห้างหุ้นส่วนจำกัด ใบกำกับภาษี สำหรับ บริษัท/ห้างหุ้นส่วนจำกัด ใบรายการแสดงภาษีนิติบุคคล สำหรับ บริษัท/ห้างหุ้นส่วนจำกัด หนังสือสัญญาการสั่งงาน หรือใบเสร็จรับเงิน สำหรับ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับจำนวนเงินที่ฝากเข้ามาในบัญชีด้วย ใบรายการแสดงภาษีรายได้ส่วนบุคคลในปีที่ผ่านมา สำหรับ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ

การยื่นขอสินเชื่อ

การยื่นขอสินเชื่อ

เกณฑ์การอนุมัติสินเชื่อ ผู้สมัครสินเชื่อต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป โดยสามารถเลือกระยะเวลาผ่อนชำระได้สูงสุด 40 ปี ทั้งนี้เมื่อนำอายุของผู้สมัครรวมกับระยะเวลาผ่อนชำระหนี้แล้วจะต้องไม่เกิน 70 ปี ขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ

ยื่นคำขอสินเชื่อที่สาขาธนาคาร

ท่านสามารถยื่นคำขอสินเชื่อพร้อมเอกสารประกอบได้ที่สาขาธนาคารที่เราสะดวก พนักงานจะพิจารณาสินเชื่อเบื้องต้นจากข้อมูลการสัมภาษณ์ และเอกสารของเรา เช่น รายได้ ค่าใช้จ่ายครอบครัว หนี้สินอื่นๆ เพื่อประเมินความสามารถในการผ่อนชำระของเรา

สรุปวิเคราะห์และนำเสนอคำขอสินเชื่อพร้อมเอกสารประกอบเพื่อรอการพิจารณาอนุมัติ

เมื่อพิจารณาแล้วว่าเรามีความสามารถในการผ่อนชำระเงินงวดได้ตามวงเงินที่ยื่นขอสินเชื่อไว้ พนักงานจะส่งเรื่องต่อให้งานประเมินหลักทรัพย์ โดยจะมีเจ้าหน้าที่จากบริษัทประเมินราคา ติดต่อท่านเพื่อนัดหมายเข้าไปประเมินมูลค่าหลักประกัน ตามวันและเวลาที่ท่านสะดวก ภายใน 3 วันทำการ หลังจากที่ท่านได้ยื่นใบคำขอสินเชื่อแล้ว หลังจากนั้นพนักงานสาขาจะทำการบันทึกข้อมูลลงในระบบตามการสัมภาษณ์ และเอกสารของเรา เช่น รายได้ ค่าใช้จ่ายครอบครัว หนี้สินอื่นๆ เพื่อส่งให้ผู้อนุมัติสินเชื่อพิจารณาต่อไป โดยพิจารณาจาก วัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ เช่น ซื้อที่ดินอาคาร ,ซื้อห้องชุด ,ไถ่ถอนจำนอง ฯลฯ คุณสมบัติผู้ขอกู้ เช่น สถานภาพ, การศึกษา, อาชีพ ฯลฯ ความสามารถในการผ่อนชำระสินเชื่อ ประเภทและมูลค่าของหลักประกัน

แจ้งผลการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ

ธนาคารจะติดต่อและแจ้งผลการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้เราทราบภายใน 7 วันทำการ นับจากวันที่ท่านยื่นใบคำขอสินเชื่อ พร้อมเอกสารประกอบ(ครบถ้วน) เพื่อเตรียมนัดวันทำสัญญา

ทำสัญญากู้เงิน และสัญญาจดจำนอง

หากท่านได้รับอนุมัติสินเชื่อ ธนาคารจะนัดหมายท่านเพื่อทำสัญญากู้เงินที่สาขาของธนาคาร และนัดวันทำนิติกรรม ณ กรมที่ดิน ที่หลักประกันหรือโฉนดที่ดิน จดทะเบียนไว้ กรณีมีผู้กู้ร่วม หรือคู่สมรส ท่านจะต้องนัดหมายให้บุคคลเหล่านั้นมาร่วมลงนามในสัญญาทุกฉบับ สำหรับค่าใช้จ่ายในวันทำสัญญา พนักงานธนาคารจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งในวันที่นัดหมาย

การส่งใบขอสินเชื่อและเอกสารที่ต้องใช้เพื่อรอการพิจารณา

การส่งใบขอสินเชื่อและเอกสารที่ต้องใช้เพื่อรอการพิจารณา

ยื่นคำขอสินเชื่อที่สาขาธนาคาร

เราสามารถยื่นคำขอสินเชื่อพร้อมเอกสารประกอบได้ที่สาขาของธนาคารที่เราสะดวกที่สุด ให้กับเจ้าหน้าที่ของธนาคาร จากนั้นเจ้าหน้าที่จะพิจารณาสินเชื่อเบื้องต้น จากข้อมูลของเรา อย่างเช่น รายได้ ค่าใช้จ่ายครอบครัว หนี้สินอื่น ๆ เพื่อประเมินความสามารถในการผ่านชำระคืนเงินกู้ของเรา

ส่งใบคำขอสินเชื่อพร้อมเอกสารประกอบ เพื่อรอการพิจารณาอนุมัติ

ทางเจ้าหน้าที่ของธนาคารจะทำการส่งใบคำขอสินเชื่อของคุณ พร้อมเอกสารต่าง ๆ ประกอบคำขอสินเชื่อไปยังศูนย์สินเชื่ออุปโภค บริโภค เพื่อพิจารณาอนุมัติสืนเชื่อ โดยพิจารณาจาก วัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ คุณสมบัติของผู้ขอกู้ ความสามารถในการขอผ่อนชำระสินเชื่อ ประเภทและมูลค่าของหลักประกัน เจ้าหน้าที่ส่วนประเมินทรัพย์จะติดต่อเราเพื่อนัดหมายเข้าไปประเมินมูลค่าหลักประกัน ตามวันและเวลาที่เราสะดวกภายใน 7 วันทำการ หลังจากเราได้ยื่นใบคำขอสินเชื่อแล้ว

แจ้งผลการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ

ธนาคารจะติดต่อและแจ้งผลการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้กับเรา ทราบภายใน 10 วันทำการ นับจากวันที่เราได้ยื่นใบขอสินเชื่อ เพื่อเตรียมนัด วันทำสัญญา ทำสัญญากู้เงิน และสัญญาจำนอง หากคุณได้รับอนุมัติสินเชื่อ ธนาคารจะนัดหมายคุณ เพื่อทำสัญญากู้เงิน สัญญาจำนอง ณ กรมที่ดินในเขตท้องที่ที่โฉนดที่ดิน หรือ หลักประกันจดทะเบียนไว้ กรณีมีผู้กู้ร่วม หรือผู้ค้ำประกัน เราจะต้องนัดหมายให้บุคคลเหล่านั้น มาร่วมลงนามในสัญญาทุกฉบับด้วย ทั้งนี้ เราจะต้องเตรียมค่าใช้จ่ายมาในวันทำสัญญา โดยเจ้าหน้าที่ธนาคารจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง ในวันที่นัดหมาย

การแจ้งผลการพิจารณาอนุมัติ

การแจ้งผลการพิจารณาอนุมัติ

  1. แจ้งความจำนงขอกู้ ผู้กู้จะต้องติดต่อขอแบบฟอร์มและยื่นความจำนงขอกู้ พร้อมทั้งนำหลักฐาน ประกอบการขอกู้ให้ครบตามที่ธนาคารกำหนด 2. การยื่นกู้ สถาบันการเงินจะเก็บค่าธรรมเนียมประเมินราคาหลักประกันด้วย (แต่ละแห่งไม่เท่ากัน ) จากนั้น สถาบันการเงินจะไปสำรวจและประเมินราคาบ้านและที่ดินที่จะนำมาเป็นหลักประกัน จะใช้เวลาประมาณ 2-5 วัน) และสถาบันการเงินจะพิจารณาคำขอกู้โดยวิเคราะห์รายได้และหลักประกันของ ผู้กู้ รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ และ จะแจ้งผลการขอกู้ ให้ผู้กู้ทราบภายใน 5-10 วัน)

หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุมัติเงินกู้

หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุมัติเงินกู้

โดยทั่วไปในการพิจารณาเงินกู้ของสถาบันการเงินต่างๆ จะคล้ายกัน คือ ดูจากความสามารถในการผ่อนชำระเงินกู้ของผู้กู้ เอง (เงินรายได้) ว่าสามารถที่จะชำระหนี้ได้ตลอดระยะเวลากู้หรือไม่ และดูจากหลักทรัพย์ที่ผู้กู้นำมาเป็นหลักประกัน เนื่องจากในกรณีที่ผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ สถาบันการเงิน ก็สามารถ บังคับเอาจากหลักประกัน ที่ผู้กู้นำมาค้ำประกัน เมื่อผู้กู้ได้รับแจ้งจากธนาคารว่าได้อนุมัติกู้แล้ว ผู้กู้จะต้องติดต่อเจ้าหน้าที่สถาบันการเงิน เพื่อมาลงนามในสัญญากู้เงินและสัญญาจำนอง พร้อมทั้งนัดวันไปทำ นิติกรรม จำนองที่สำนักงานที่ดิน กรณีที่นัดวันแล้ว หากมีเหตุจำเป็นไม่อาจจะไปดำเนินการตามวันที่นัดไว้ได้ ผู้กู้ก็สามารถแจ้งเลื่อนนัด และขอ นัดวันทำสัญญากับธนาคารใหม่ได้ โดยในวันจดทะเบียนจำนองที่สำนักงานที่ดิน ผู้กู้ ผู้ขาย และเจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงินจะไปพร้อมกันที่สำนักงานที่ดิน ในเขต ที่หลักทรัพย์ตั้งอยู่ ค่าใช้จ่ายที่ผู้กู้จะต้องเตรียม ในวันจดทะเบียนจำนองที่สำนักงานที่ดิ ผู้กู้จะต้องเตรียมเงินค่าจดจำนองจำนวน 0.1% ของวงเงินกู้ และค่าธรรมเนียม ในการโอนกรรมสิทธิ์ 2% ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมินของกรมที่ดิน (โดยทั่วไปผู้ขายมักจะเป็นผู้จ่าย ยกเว้นจะมี การตกลงกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย) จากนั้นผู้กู้ก็จะต้องมีภาระในการผ่อนชำระเงินงวดทุกเดือน ภายในเวลาที่กำหนด เช่น ก่อนวันสิ้นเดือน ทั้งนี้อาจชำระเป็น เงินสด หรือให้ธนาคารหักจากบัญชีเงินฝากของตนก็ได้ ขึ้นอยู่กับสถาบันการเงินแต่ละแห่ง ในส่วนของค่าใช้จ่าย อีกส่วนที่ผู้กู้ไม่ควรมองข้ามหลังจากผ่อนกับแบงก์แล้ว คือ ค่าปรับต่างๆ เช่น กรณีที่ผู้กู้ต้องต้องการไถ่ถอนคืนก่อนครบเวลาตามสัญญากู้ สถาบันการเงินส่วนใหญ่จะคิดค่าปรับกับผู้กู้ในกรณีที่มีการ ชำระคืนในระยะแรก โดยกำหนดภายใน 2-3 ปีแรกนับจากวันที่ทำสัญญากู้ หากชำระหมดหลังจากนั้น ก็ไม่ต้องเสียเบี้ย ปรับ ซึ่งค่าเบี้ยปรับในส่วนนี้ ธนาคารจะคิดไม่เหมือนกัน โดยทั่วไป ธนาคารพาณิชย์จะคิดประมาณ ร้อยละ 2 ของวงเงินกู้ เช่น กู้เงิน 700,000 บาท หากต้องการชำระหนี้หมดภายใน 3 ปี จะต้องเสียเบี้ยปรับจำนวน 14,000 บาท เป็นต้น

สรุป เพื่อชี้ให้เห็นถึงวิธีการสมัครสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่ออื่นๆ ซึ่งในชั้นตอนนั้นจะแบ่งออกเป็นสองส่วนหลักๆ คือ ชั้นตอนการศึกษาข้อมูลเปรียบจุดเด่นและจุดด้อยของสินเชื่อแต่ละสถาบันการเงิน เมื่อสามารถทำการเลือกสินเชื่อของสถาบันการเงินที่ต้องการได้แล้ว จึงมาสู่ขั้นตอนการสมัครขอสินเชื่อ ซึ่งในขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนที่สำคัญเนื่องจากการสมัครขอสินเชื่อไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อส่วนบุคคลหรือสินเชื่ออื่นๆ ผู้สมัครจะต้องจัดเตรียมเอกสารให้ครบตามที่สถาบันการเงินร้องขอ รวมถึงผู้สมัครจะต้องไม่มีประวัติค้างชำระหรือมีประวัติในข้อมูลเครดิตบูโร เพราะการตรวจสอบข้อมูลของสถาบันการเงินจะตรวจสอบจากเครดิตบูโรเป็นอันดับแรก เมื่อมาถึงขั้นตอนการพิจารณาแล้วผลปรากฎว่าผ่านการอนุมัติ ก็มาถึงขั้นตอนการรับสินเชื่อ ซึ่งในส่วนนี้ก็เป็นส่วนที่สำคัญที่ผู้ขอสินเชื่อจะต้องทำการอ่านรายละเอียดและเอกสารให้ละเอียดเพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของตนเอง และเพื่อจะทราบเงื่อนไขที่จำเป็นด้วย ดังนั้นการขอสินเชื่อจึงไม่ใช่เรื่องที่ยาก แต่สิ่งที่ยากกว่าคือวินัยของผู้ขอสินเชื่อนั้นเอง ที่จะต้องสามารถชำระค่างวดในแต่ละเดือนให้ครบและไม่ขาดส่งค่างวดนั่นเอง