ทุกวันนี้หลายคนมีความจำเป็นในการใช้ชีวิตแตกต่างกัน การใช้เงิน การเก็บเงินออมก็มีหลายรูปแบบแตกต่างกันไป เป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยากเกินความสามารถถ้าเราตั้งใจจริง แต่ก็ไม่ง่ายใช่มั๊ยล่ะ! เพราะสมัยนี้มีแอพพลิเคชั่นที่ทำให้เงินไหลออกได้ง่ายๆ เพียงแค่นิ้วมือคลิ๊ก แต่อาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับหลายท่านก็ได้สำหรับสังคมสมัยนี้ที่มีแต่ของน่ายั่วยวนให้ซื้อ การโฆษณาที่จูงใจให้เงินไหลออกจากกระเป๋า ดังนั้นถ้าไม่มีการนวางแผนที่ดีพออาจสับสนวุ่นวายเกิดปัญหาขึ้นในอนาคตได้อย่างแน่นอน

การจัดสรรเงินก้อนๆหนึ่งเปรียบเหมือนคุณจัดสรรเงินกองทุนไว้ 1กองเพื่อแบ่งไว้ใช้จ่ายสำหรับฉุกเฉินจริงๆ โดยไม่ต้องไปหยิบยืมกู้หนี้ยืมสินใคร นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายที่คุณใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ประจำเดือน เช่น หากคุณเกิดอุบัติเหตุโดยไม่คาดคิด รถเสีย ลูกเจ็บป่วยกระทันหันต้องนำส่งโรงพยาบาลทันที หรือในอนาคตที่ทำงานมีนโยบายเลิกจ้าง เพราะมีเทคโนโลยี เครื่องจักรหรือหุ่นยนต์ที่สามารถทำงานแทนคนได้ บริษัทเลยต้องจ้างพนักงานออก เพื่อลดรายจ่าย หรือบริษัทปิดตัวลงกระทันหัน สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของอนาคตที่เราไม่สามารถควบคุมได้ เเต่ถ้าเรามีการวางเเผนที่ดีสำหรับตัวเราเองก็ไม่ต้องหวั่นกลัวกับอนาคตอีกต่อไป ว่าเราจะเดินต่อไปยังไงดี เมื่อถึงช่วงหนึ่งที่เราต้องขาดรายได้อย่างกระทันหัน จะหมุนเงินก้อนจากส่วนใดได้ เงินออมฉุกเฉินก้อนนี้แหล่ะ ที่จะช่วยได้

แต่เราจะเก็บเงินอย่างไรไม่ให้สะดุด และมีเงินใช้ตลอดทั้งปี เมื่อถึงภาวะฉุกเฉินก็สามารถดึงเงินส่วนฉุกเฉินนี้ออกมาใช้ได้โดยไม่ต้องบากหน้าไปยืมใคร แล้วเราจะเก็บเงินออมไว้สำหรับยามฉุกเฉินนี้ไว้เท่าไรดีล่ะ? จึงจะพอไว้ใช้จ่ายในคราวจำเป็น ถ้าคุณอายุยังน้อยเพิ่งเริ่มจะทำงาน ยังไม่มีภาระต้องรับผิดชอบ คุณก็อาจจะเก็บมากหน่อย 10-20% ตามที่ตัวเองต้องการได้ถือว่าเป็นโอกาสดีมากๆ เลย ที่คุณอ่านเจอบทความนี้(โดยเฉพาะวัยรุ่น) แต่ถ้ามีครอบครัว มีลูกแล้ว ก็จะมีรายจ่ายเยอะ เพราะเราไม่ได้จ่ายคนเดียวก็ต้องแบ่งดีดี หักค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในแต่ละเดือนออกให้หมด เหลือเงินเก็บเท่าไร เก็บทั้งหมดไว้เป็นเงินออมฉุกเฉินก็ได้ หรือถ้าบางคนไม่เหลือเลย แถมติดลบอีกต่างหาก คุณก็ต้องกันส่วนของเงินออมฉุกเฉินนี้ไว้โดยอาจหักเก็บไว้สัก5-10% ของรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย หรือตามกำลังที่คิดว่าเหมาะสม หรือตามความจำเป็นของแต่ละท่าน กรณีนี้ เราไม่บังคับ แต่ควรรู้ไว้ว่าเงินออมฉุกเฉินก้อนนี้ต้องไม่ถอนออกมาใช้จ่ายถ้าไม่จำเป็น

เรามีเทคนิคต่างๆที่อยากจะเเนะนำท่าน 5 เทคนิค การออมเงินไว้ใช้สำหรับค่าใช้จ่ายฉุกเฉินในยามจำเป็น ลองดูกันครับ

save money

aslysun/shutterstock.com

1. จัดทำบัญชีงบรายได้-รายจ่าย

1. จัดทำบัญชีงบรายได้-รายจ่าย

หลายคนคงรู้จักหรือได้จัดทำงบรายได้-ค่าใช้จ่ายกันเป็นประจำทุกเดือนกันอยู่เเล้ว เเต่หากใครยังไม่เคยลองทำก็ให้ลองทำกันดูครับ ง่ายๆสำหรับคนที่ยังไม่เคยทำกัน เราลองทำเเบบง่ายๆกันก่อน นำสมุดมา1เล่ม เเบ่งเป็น2ฝั่ง ด้านซ้ายไว้เป็นรายได้ลงทุกรายการ ไม่ว่าเราจะมีรายได้จากส่วนใด จะเป็นรายได้พิเศษที่ไม่ใช่มาจากเงินเดือนประจำ ส่วนทางด้านขวาให้ลงเป็นรายจ่าย ต้องลงค่าใช้จ่ายประจำวันทุกรายการทุกวันที่เราจ่ายด้วย จากนั้นสรุปไว้เเต่ละวัน เพื่อง่ายต่อการสรุปรายเดือนด้วย เราจะเห็นว่าในเเต่ละวัน เราใช้อะไรไปบ้าง จำเป็นหรือไม่จำเป็น เมื่อมาสรุปค่าใช้จ่ายต่อเดือน หากรายได้คงเหลือมากกว่ารายจ่าย เราก็สามารถนำเงินจากก้อนที่เหลือสำหรับเดือนนี้ มาเก็บไว้สำรองในส่วนของเงินก้อนฉุกเฉินได้เลย เเต่เเนะนำว่าไม่ควรต่ำกว่า 5-20% ของรายได้ก่อนหักรายจ่าย ยกตัวอย่างเช่น คุณมีเงินเดือนรวมเงินพิเศษต่อเดือน 30,000 บาท ถ้าเก็บ10% ก็ต้องเก็บ 3,000 บาท เเต่ถ้าหากคุณมีรายจ่ายต่อเดือน สรุปเเล้วติดลบล่ะ! เเสดงว่า คุณต้องกลับไปดูว่า ในเเต่ละวันคุณใช้จ่ายอะไรที่ไม่จำเป็นบ้าง ให้ตัดส่วนที่ไม่จำเป็นออกไป เพื่อให้เหลือเงินไว้เก็บ สำหรับเงินฉุกเฉินก้อนนี้ด้วย เหลือเท่าไรก็เก็บไว้เท่านั้นเลย แม้จะน้อยนิดดีกว่าไม่เก็บเลย!

2. เพิ่มรายได้โดยหาอาชีพเสริม

new careers

nuu_jeed/shutterstock.com

หากมีรายได้จากเงินเดือนหรือจากอาชีพที่มีรายได้ไม่พอใช้จ่ายในแต่ละเดือนจนไม่มีเงินเหลือเก็บ การมองหารายได้จากอาชีพเสริมก็เป็นวิธีหนึ่งในการเพิ่มรายได้ ให้กับเงินออมได้เร็วขึ้น แต่ละคนอาจมีวิธีในการหารายได้ ตามวิธีของตัวเอง ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละคน บางคนอาจชอบทำอาหาร ใครมีฝีมือทำอาหารประเภทใด ก็ลองศึกษาหาร้านฝากขายดู หรือขายปลีกเอง หรือบางคนชอบขายของ ซื้อมาขายไป ได้ทั้งทางเว๊บไซด์ ค้าส่ง ก็จะมีสินค้าหลายประเภทให้คุณเลือกสรร ก็สามารถไปซื้อสินค้ายกแพคราคาส่งที่สำเพ็งมาขายปลีกได้ เพราะเดี๋ยวนี้ทุกจังหวัดก็มีร้านค้าส่ง สินค้าขายส่งมากมายให้เราเลือกสรรทั้งในร้านค้าทั่วไป ร้านค้าในอินเตอร์เน็ต เอาที่เราชอบเราถนัดว่าเป็นสินค้าชนิดใดที่เราอยากขาย ทำแล้วก็จะมีความสุขมากกว่า แอบแนะนำสถานที่ขายส่ง เช่น สำเพ็ง โบเบ๊ จัตุจักร หรือติดตามผ่านแอป Shopee, Lazada ที่ขายสินค้าช่วง Sale. สินค้าโปรโมชั่นลดพิเศษ 70-80% กว๊านซื้ิอมาเลย แต่ต้องคิดไว้ก่อนล่วงหน้า หาตลาดที่จะไปลงขายสินค้าชนิดน้้นๆ ก่อนที่เราจะไปซื้อทั้งหมด นี่ก็สามารถสร้างรายได้ให้เราเยอะดีครับ ขายผ่านเว๊ปก็จะไม่มีต้นทุนค่าที่ แต่ถ้ามีสินค้าหลายอย่างนำไปขายที่ตลาดนัด ขึ้นป้าย Sale ขายราคาถูกกว่าทั่วไป ก็ขายออกตัวเร็วสนุก อยากจะหาตัวอื่นมาทำเพิ่มอีกหนึ่งช่องทางครับ

3. เก็บเฉพาะแบงค์ใหม่ๆที่มีเลขสวยๆ สะสมไว้

3. เก็บเฉพาะแบงค์ใหม่ๆที่มีเลขสวยๆ สะสมไว้

วิธีนี้ค่อนข้างทำง่าย หลายๆคนคงชอบ เพราะทุกคนสามารถทำได้น่าจะถนัด และได้ผลดีนัก มีหลายแบบ หลายวิธีการในการเก็บง่ายๆ ไม่ว่าคุณจะมีเงินเดือนมาก หรือเงินเดือนน้อย นี่ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะไม่เก็บเงินก้อนไว้เผื่อฉุกเฉินสำหรับวิธีนี้ เมื่อวันเงินเดือนออก เบิกเงินออกจากธนาคาร ขอเบิกเป็นธนบัตรใหม่เลยครับ คำนวณให้เพียงพอต่อสัปดาห์หรือต่อเดือน ว่าต้องใช้เงินเท่าไรเบิกออกมา ยกตัวอย่่าง เดือนนี้คุณมีค่าใช้จ่ายเดือนละ 10,000.-บาท ขอเบิกเป็นแบงค์ 20.- 2,000.-บาทแบงค์ 50.- 2,000.-บาท แบงค์ 100.- 2,000.-บาท แบงค์ 500.- 4,000.-บาท ใหม่ๆเลยครับ เพราะส่วนใหญ่ทุกธนาคารมีเตรียมไว้ช่วงทุกสิ้นเดือนต้นเดือน แล้วลองนำมาเลือกดูว่ามีแบงค์ใบไหนที่มีเลขที่ชอบ อาจเป็นเลขลงท้ายเหมือนกัน 3 ตัว หรือ 2 ตัว หรือเลขเรียงกัน 3 ตัวท้าย อาจได้หลายใบเลย หรือถ้าไม่มีเลยก็เลือกเลขที่ชอบ เช่น ตรงกับเลขวันเกิดตัวเอง วันครบรอบแต่งงาน วันเกิดลูก แต่ต้องเป็นแบงค์ใหม่ จะได้ไม่ผิดวัตถุประสงค์ความตั้งใจเดิม จะได้มีกำลังใจในการเก็บกันครับ

4. เปิดบัญชีเงินฝากประจำที่ให้ดอกเบี้ยสูง ปลอดภาษี

fixed deposit account

Ba dins/shutterstock.com

การเปิดบัญชีเงินฝากก็มีหลายประเภท ในที่นี้ขอแนะนำบัญชีเงินฝากประจำแบบ 24 เดือน หรือ 36 เดือน ปลอดภาษี เพราะจะให้ดอกเบี้ยประมาณ 2.00-2.75%ต่อเดือน แล้วแต่ละธนาคาร เป็นการบังคับเราไปในตัวให้นำเงินไปฝากธนาคารทุกๆเดือนๆละเท่ากัน แต่ละธนาคารมีให้เลือกเปิดกันตั้งแต่ 1,000.-บาทขึ้นไป แล้วแต่ท่านประสงค์อยากจะฝากเดือนละเท่าไร เช่น อีก24 เดือนมีเป้าหมายจะแต่งงานก็กันไว้ส่วนหนึ่ง ตั้งเป้าไว้ว่าจะเก็บให้เกิน 100,000.-บาท คุณก็ต้องวางแผนอาจเปิดบัญชีฝากเดือนละ 4,000.-บาท พอครบ 24 เดือนคุณก็มีเงินเก็บถึง 96,000.-บาทแล้ว ยังไม่รวมดอกเบี้ย ที่ธนาคารจะมีผลตอบแทนให้ ถ้ารวมดอกเบี้ยก็ได้แสนกว่าบาท ตามที่ตั้งใจไว้ เห็นเงินก้อนสะสมง่ายๆแล้วแบบนี้ ก็รีบไปเปิดบัญชีเงินฝากประจำ ตามวิธีนี้กันนะครับ

5. มีเท่าไหร่ใช้เท่านั้นอย่างรู้ค่า

5. มีเท่าไหร่ใช้เท่านั้นอย่างรู้ค่า

ลองดูวิธีสุดท้ายที่อยากแนะนำกันครับ วิธีนี้อยากบอกให้รู้ว่าควรพกเงินในกระเป๋าเท่าที่จำเป็นกันครับ เมื่อเรารู้วิธีจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายต่อเดือนแล้ว เราก็จะรู้แล้วว่าในแต่ละเดือนควรพกเงินเท่าไร เราจะมีเงินเหลือเก็บเท่าไร เพื่อจะวางแผนการเงินในครอบครัวได้ถูก แต่เมื่อรู้ว่ามีเงินเหลือเเล้ว ก็รีบกันไว้ส่วนหนึ่ง อย่าเผลอเอาไปจ่ายก่อน พยายามคิดให้รอบคอบก่อนจะซื้อสิ่งใดว่าจำเป็นหรือไม่ ดังนั้น ต้องบริหารให้เป็นมีเงินในกระเป๋าเท่าใดควรใช้เท่านั้น อย่าใช้จ่ายเกินตัว

ตัวอย่างสำหรับคนที่ใช้เงินเก่ง แต่เก็บเงินไม่เก่ง มือเติบ ใจดี มีเท่าไหร่ใช้หมด เมื่อเงินเดือนออกก็ให้รีบแบ่งหรือกันเงินฉุกเฉินไว้ก่อน แบ่งไว้ 5-10% ของเงินเดือน โดยเปิดบัญชีไว้เฉพาะ สำหรับเงินออมไว้ฉุกเฉิน ไม่ต้องทำบัตร ATM แต่ให้แยกเงินก้อนนี้แยกไว้อีกธนาคารเฉพาะสำหรับบัญชีฉุกเฉินเท่านั้น หรือกำหนดจำนวนเงินที่พกต่อวัน ตั้งเป้าไว้เลยว่าวันนี้จะใช้จ่ายมีค่าอะไรบ้างพกเท่านั้น เช่นค่ากิน 200 ค่าโดยสาร 100 เผื่อฉุกเฉิน 200 แสดงว่าวันนี้เราจะมีเงินในกระเป๋า 500 บาทพอ หากเงินฉุกเฉินวันนี้ไม่ได้ใช้ก็ให้เก็บเพิ่ม รวมเป็นเงินออมฉุกเฉินสิ้นเดือนได้ แต่ถ้าหากเรามีเงินเดือนน้อย ค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนก็แทบจะไม่พอกิน ไม่พอเลี้ยงครอบครัวเลยล่ะ เราก็ต้องมานั่งคำนวณดูกันว่าในครอบครัวมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่เราสามารถประหยัดได้ โดยการลดค่าใช้จ่ายตัวนั้นลง เช่น หากเราเป็นคนติดยี่ห้อ ต้องใช้สินค้าแบรนด์เนม โดยเฉพาะเสื้อผ้า ของใช้ต่างๆ ที่เป็นสิ่งของฟุ่มเฟือย สินค้าเหล่านี้จะมีราคาสูง แม้ใส่แล้วดูดี แต่ก็สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ ให้ลองเปลี่ยนเป็นสินค้าที่ราคาถูกลง แต่มีคุณภาพใกล้เคียงกันใส่แล้วดูดีก็มีถมไป โดยดูที่ความจำเป็นที่เราต้องใช้มากกว่าครับ เราก็จะมีเงินเหลือไว้ออม หรือหากคุณมีรายได้หักลบค่าใช้จ่ายแล้วเดือนชนเดือน เเละไม่สามารถเก็บเงินได้เลย เราขอเเนะนำคุณ ให้บังคับตัวเองเก็บไว้เดือนละ 600 หรือจะเป็นรายสัปดาห์ๆ ละ200 หรือตามกำลังไหวครับ

ไม่ว่าเราจะมีวิธีการเก็บแบบไหน ขอให้จำไว้เสมอว่าอุบัติเหตุย่อมเกิดได้ทุกเวลา ดังนั้น ควรเลือกออมเงินสักวิธีหนึ่งครับ ถ้าไม่ทำเลยก็ไม่มีเงินเก็บในยามฉุกเฉินที่ต้องใช้เงินในวันข้างหน้า ลองเลือกวิธีที่เหมาะกับเราที่สุด ไม่ว่าจะเงินเดือนมากหรือน้อยพอจ่ายหรือไม่พอจ่ายในแต่ละเดือน ต้องกันเงินฉุกเฉินก้อนนี้ไว้เสมอ เก็บอย่างพอดีไม่ให้เดือดร้อนถึงเงินที่เราต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะ1% หรือ5% หรือ10% ก็ต้องออมเงินก้อนนี้ไว้ และต้องบังคับตัวเองไม่ให้เอาเงินส่วนนี้ออกไปใช้ ยกเว้นกรณีฉุกเฉินจริงๆ ให้สมกับที่เราตั้งชื่อไว้ว่า "เงินออมฉุกเฉิน" ไว้เผื่อใช้ในยามจำเป็นเท่านั้น ลองทำดูกันนะครับ แล้วเราจะภูมิใจ ถ้าเราทำได้