สถานการณ์ปัจจุบันของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19ในประเทศไทยดูเหมือนว่าจะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนจากยอดของผู้ติดเชื้อที่น้อยลงเป็นอย่างมากจนแทบจะกลายเป็นศูนย์จากที่เคยติดกันวันละเป็นร้อยกว่าคน แต่ถึงแม้สถานการณ์จะดีขึ้นขนาดนี้แล้วก็ตามการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19ก็ยังถือว่าไม่ได้สิ้นสุดลงแต่อย่างใด ยังคงมีการแพร่ระบาดอยู่เหมือนเดิม ถึงแม้ในประเทศไทยจะน้อยลงแต่ต่างประเทศก็ยังคงมี เพราะฉะนั้นในฐานะประชาชนชาวไทยเราจึงยังจำเป็นที่จะต้องเตรียมการรับมืออยู่เสมอ และเช่นเดียวกันในฐานะของรัฐบาลไทยก็คงยังจะต้องดำเนินการใช้มาตรการช่วยเหลือต่างๆเหมือนเดิมจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายไปจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการการช่วยทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว และในบทความนี้มาตรการการช่วยเหลือที่เราจะมาพูดถึงถึงรายละเอียดของมันกัน นั้นก็คือ มาตรการการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 2 จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่ามีมาตรการอะไรบ้าง และ มีรายละเอียดอย่างไร ถ้าเพื่อนๆพร้อมแล้วเราไปดูด้วยกันเลยครับ

มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระยะที่ 2

มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระยะที่ 2

และมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระยะที่ 2 ที่เรากำลังจะมาพูดถึงกันนั้นเกี่ยวกับรายละเอียดของแต่ละมาตรการนั้นจะมีกำหนดการเริ่ม ในวันที่ 1 ก.ค. 2563 โดยข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดนั้นทาง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นคนเผยแพร่ข้อมูลเองเลย ซึ่งเป็นรายละเอียดล่าสุด ณ วันที่ 19 มิ.ย. 2563 ซึ่งจะสามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักๆ ได้ดังนี้ ส่วนที่หนึ่ง ปรับลดเพดานดอกเบี้ย ส่วนที่สอง เพิ่มวงเงินบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ประเภทวงเงินหมุนเวียนหรือที่ผ่อนชำระเป็นงวด ส่วนที่สาม มาตรการขั้นต่ำเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยในระยะที่ 2 ส่วนที่สี่ ส่วนสุดท้าย ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ถ้าเพื่อนพร้อมแล้วเราไปดูรายละเอียดกันเลยครับ

ปรับลดเพดานดอกเบี้ย

สำหรับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยในระยะที่ 2 การปรับลดเพดานดอกเบี้ย ถือเป็นส่วนที่หนึ่งเลยครับในมาตรการช่วยเหลือ ซึ่งเพดานดอกเบี้ยจะถูกปรับลดเป็น ร้อยละ 2-4 ต่อปี สำหรับบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ซึ่งมาตรการช่วยเหลือดังกล่าวนี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 สิงหาคม 2563 โดยมาตรการช่วยเหลือนี้ เป็นการตัดสินใจโดยผ่านการหารือกันแล้วระหว่าง ธปท. และ ผู้ให้บริการทางการเงิน ที่ประกอบไปด้วย สถาบันการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจ สมาคมและชมรมของผู้ให้บริการทางการเงินรวม 9 แห่ง

เพิ่มวงเงินภายใต้การกำกับประเภทวงเงินหมุนเวียนหรือที่ผ่อนชำระเป็นงวด

และนี้คือส่วนที่สองในมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19ระยะที่ 2 นั้นก็คือ การเพิ่มวงเงินบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับประเภทวงเงินหมุนเวียนหรือที่ผ่อนชำระเป็นงวด ซึ่งมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยในส่วนนี้ก็จะเป็นสำหรับลูกหนี้ที่มีความจำเป็นต้องใช้วงเงินเพิ่มเติม และมีพฤติรรมการชำระหนี้ที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะต้องมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 30,000 บาท โดยจะได้รับการขยายวงเงินจากเดิม 1.5 เท่า เป็น 2 เท่า ของรายได้เฉลี่ยต่อเดือน เป็นการชั่วคราว ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 และมาตรการช่วยเหลือนี้ก็จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2563

มาตรการขั้นต่ำเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 2

ในมาตรการนี้คือจะให้ผู้บริการทางการเงินต้องจัดให้มีทางเลือกความช่วยเหลือขั้นต่ำให้กับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบได้เลือกตามประเภทสินเชื่อ เช่น การผ่อนชำระขั้นต่ำ การเปลี่ยนสินเชื่อระยะสั้นเป็นระยะยาว การลดค่างวด การเลื่อนชำระค่างวดหรือเงินต้น เป็นต้น และยังกำหนดให้ผู้ให้บริการทางการเงินต้องมีการอำนวยความสะดวก รวมทั้งให้ข้อมูลที่ครบถ้วนเพียงพอต่อการตัดสินใจของลูกหนี้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น เปรียบเทียบภาระหนี้เดิมและหนี้ใหม่ จำนวนหนี้และจำนวนงวดที่เพิ่มขึ้น และดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ต้องจ่ายเพิ่มจากการขอเลื่อนชำระหนี้ โดยทั้งหมดทั้งมวลนี้จะผลบังคับใช้วันที่ 1 กรกฏาคม 2563

การปรับปรุงโครงสร้างหนี้

และแล้วก็มาถึงมาตรการช่วยลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 2 มาตรการสุดท้าย นั้นก็คือ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยในมาตรการช่วยเหลือในส่วนนี้นั้น ทางผู้ให้บริการทางการเงินนั้นจะต้องเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ ลูกหนี้ โดยที่ต้องคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ เพื่อที่จะได้สามารถช่วยบรรเทาภาระให้กับลูกหนี้ได้จริงๆ ยกตัวอย่างเช่น การขยายระยะเวลาการชำระหนี้ เปลี่ยนสินเชื่อจากระยะสั้นให้กลายเป็นระยะยาว เลื่อนการชำระค่างวด ลดดอกเบี้ย และในกรณีที่ลูกหนี้ได้รับผลกระทบจนเป็น NPLs ก็จะต้องขอให้มีการพิจารณาชะลอการยึดทรัพย์ ด้วย

มาตรการนี้คงจะสามารถทำให้ลูกหนี้นะหมดภาระหนี้ไปได้เยอะ

มาตรการนี้คงจะสามารถทำให้ลูกหนี้นะหมดภาระหนี้ไปได้เยอะ

และนี้คือข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19ในระยะที่ 2 ที่จะเริ่มในวันที่ 1 ก.ค. 63 นี้ ซึ่งดูจากข้อมูลแล้วก็ดูแล้วว่าจะเป็นมาตรการช่วยเหลือที่จะสามารถช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยได้จริงๆและตรงจุด ผมเชื่อว่ามาตรการเหล่านี้จะสามารถที่จะช่วยลดภาระหนี้ให้กับลูกหนี้ได้มากจริงๆ ซึ่งทางด้านธนาคารแห่งประเทศไทยกมีความคิดเหมือนกัน คือ ธนาคารแห่งประเทศไทยนั้นมีความเชื่อมั่นว่า มาตรการช่วยลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 2 นี้ จะทำให้ลูกหนี้ได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที และผมก็หวังว่าข้อมูลเหล่านี้ที่นำมาให้กับเพื่อนๆได้อ่านจะเป็นประโยชน์กับตัวเพื่อนๆเองนะครับ และสุดท้ายนี้ถ้าเพื่อนๆต้องการที่จะทราบข้อมูลเพิ่มเติม สามารถไปดูรายละเอียดได้ที่เว็บไชต์ของ ธปท.ได้เลยครับ https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/2020/Pages/n3263.aspx