หลายคนอาจจะยังไม่ค่อยรู้ในเรื่องของ DOL ว่ามันคืออะไร หรือมีบทบาทอะไรในเรื่องของการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการลงทุนแบบไหนก็ตาม จริงๆถ้าใครที่อยากจะลงทุนในด้านของธุรกิจส่วนตัวหรือเปิดบริษัทเป็นของตัวเองนั้น ควรที่จะมีความรู้ในเรื่องของ DOL นี้สักนิดหน่อย จริงอยู๋ที่เรื่องนี้ค่อนข้างเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก แต่ถ้าคุณได้ลองอ่านจริงๆมันไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลย
ความหมายของ DOL
DOL หรือที่มีชื่อเรียกเต็มๆว่า Degree of Operating Leverage หลายคนเกิดความสงสัยว่าจริงๆแล้วมันคืออะไร DOL นั้นก็คือตัวเลขที่บ่งบอกถึงอัตราการเปลี่ยนแปลงของกำไรก่อนอัตราของดอกเบี้ยและภาษี เมื่อนำมาเทียบกับการเปลี่ยนแปลงของยอดขาย ตัวอย่างเช่น เมื่อDOL เทียบเท่ากับ 40 เท่า นั้นหมายถึงว่ายอดขายของเรามีการขยายโตขึ้น 10% และมีกำไรไรถึง 100% ดังนั้นแล้วค่าของ DOL จึงเป็นตัวเลขที่ดีมากในการใช้เป็นตัวบ่งบอกถึงโอกาสที่จะเติบโตของกำไร และในทางตรงกันข้ามนั้ยเองก็ยังเป็นตัวบ่บอกถึงโอกาสที่กำไรจะลดลงอย่างรุนแรงด้วยเช่นกัน
ต้นทุนผันแปรคืออะไร?
เมื่อเราได้ทำการพูดถึง DOL ไปแล้ว เราจะมาพูดถึงความสัมพันธ์ของต้นทุนผันแปรกันบ้าง ต้นทุนผันแปรคืออะไร ต้นทุนผันแปรก็คือต้นทุนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยอดขายนั้นๆ โดยที่หลักการก็คือถ้าขายมากเราก็จ่ายมาก ถ้าเราขายได้น้อยเราก็จะจ่ายน้อย และส่วนมากเรานั้นมักจะจ่ายให้กับพวกต้นทุนต่างๆไม่ว่าจะเป็นในด้านของวัตถุดิบหรือค่าคอมมิชชันต่างๆ เรามาดูตัวอย่างกันหน่อย
ตัวอย่างเช่น เรามีร้านขายน้ำปั่น ต้นทุนผันแปรก็คือพวกวัตถุดิบต่างๆที่เรานำมาทำเป็นเครื่องดื่มนี้ ก็มีพวกผลไม้ต่างๆ ส่วนผสมอื่นๆ เช่น น้ำเชื่อม เกลือ และรวมไปถึงพวกบรรจุภัณฑ์ต่างๆ หรือที่เราเรียกกันแบบต่างๆว่า ภารชนะ ไม่ว่าจะเป็นพวกแก้วขนาดต่างๆหรือหลอดนั้นเอง
ถ้าหากว่ากิจการของเรานั้นมีพวกค่าคอมมิชชั่น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วพวกนี้จะเป็นค่าที่เราต้องจ่ายนี้ก็นับเป็นต้นทุนผันแปรด้วยเช่น ส่วนพวกค่าเช่าหรือ หรือที่เรียกกันว่า ต้นทุนคงที่นี้ก็คือต้นทุนที่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยอดขายแต่อย่างใด ซึ่งมันอาจจะไม่ได้มีแค่ค่าเช่าที่ แต่มันยังมีพวกค่าดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายให้กับธนาคาร ค่าแรงหรือเงินเดือนให้กับพนักงาน ค่าน้ำค่าไฟ ซึ่งพวกนี้เป็นสิ่งที่เราต้องจ่ายไม่ว่าเดือนนั้นเราจะขายได้มาก หรือเราจะขายได้น้อยเราก็ต้องจ่าย ตัวอย่างที่เราได้เปิดกิจการน้ำปั่น ไม่ว่าวันนี้เราจะขายน้ำปั่นได้ 50 แก้ว หรือ 500 แก้ว เราก็ต้องจ่ายค่าเช่าที่ ค่าแรงพนักงานอยู่ดี โดยที่เจ้าของกิจการนั้นจะต้องมาแยกเองว่าค่าใช้จ่ายอันไหนเป็นค่าใช้จ่ายแบบผันแปรหรืออันไหนเป็นค่าใช้จ่ายแบบคงที่
ในส่วนต่อมาก็คือหลักของการผันแปรของกำไรที่จะขึ้นอยู่กับลักษณะค่าใช้จ่ายของธุรกิจ เรานั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทต่อไปนี้:
ค่าใช้จ่ายที่ผันแปรได้
ค่าใช้จ่ายที่ผันแปรได้จะมีการผันแปรไปตามจำนวนยอดขายของเราที่เราขายได้ ซึ่งจะอธิบายง่ายๆ เราจะพูดถึงในด้านของพวกต้นทุนสินค้า ดังนั้น เมื่อเรานั้นขายสินค้าอะไรก็ตามได้แล้ว ต้นทุนตรงนั้นก็จะเป็นต้นทุนในงบกำไรขาดทุนทันที
ค่าใช้จ่ายคงที่
ค่าใช้จ่ายคงที่ พวกนี้จะเป็นพวกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นแล้วและก็จะเป็นภาระของค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน ไม่ว่าเราจะมียอดขายเท่าไร น้อยหรือมากก็ตาม เหมือนพวกค่าจ้างของผู้บริหารนั่นเอง
ค่าใช้จ่ายของทั้งสองประเภทนี้นั้นจะมีผลต่อกำไรของธุรกิจ เมื่อเราเริ่มมีการจัดตั้งธุรกิจก็จะมีการเกิดความไม่แน่นอนของรายได้ที่มีอัตราสูงมาก แต่ในส่วนของพวกธุรกิจสัมปทาน พวกนี้จะมีความแน่นอนของรายได้ที่สูงมากเพราะเนื่องจากพวกนี้ไม่มีคู่แข่ง เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว การดำเนินงานโดยที่มีค่าใช้จ่ายคงที่สูงก็มักที่จะเกิดความเสี่ยงสูงด้วยเช่นกัน และยังส่งผลกระทบทำให้เกิดอัตราการขาดดทุนที่สูงตามไปด้วย ซึ่งมันจะต่างจากพวกธุรกิจที่มีค่าใช้จ่ายแบบคงที่ที่เป็นแบบต่ำ เพราะภาระที่จะมีค่าใช้จ่ายนั้นส่วนใหญ่แล้วนั้นจะเป็นค่าใช้จ่ายแบบผันแปร และความเสี่ยงในด้านการขาดทุนก็ต่ำตามลงไปด้วย เหตุผลก็คือเมื่อไม่มียอดขายค่าใช้จ่ายแบบนี้ก็จะไม่เกิดขึ้น
ถ้าอยากได้กำไรก็ต้องลองวิเคราะห์ดู
ต่อมาเราควรที่จะรู้จักการวิเคราะห์จุดค้มทุนกันสักนิด เพราะการวิเคาระห์จุดคุ้มทุนนี้เป็นวิธีการคำนวณหาปริมาณการขายหรือยอดขายที่ทำให้เกิดกำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี ซึ่งคือจุดที่รายได้รวมเข้ากับต้นทุนรวม และการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนยังเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือที่ใช้ในการววางแผนกำไร ที่มีอีกชื่อเรียกว่า CVP ตัวนี้จะเป็นการวิเคราะห์ผลของการเปลี่ยนแปลงราคาขายต้นทุนและปริมาณขายที่มีผลกำไร แนวคิดของภาระผูกพันในทางการเงินของธุรกิจ ตัวที่ใช้วัดคาดก็คือภาระการผูกที่คงที่ ซึ่งบางครั้งมันอาจจะเกิดผลดีหรืออาจจะเกิดผลเสียต่อการดำเนินกิจการของเราก็ได้ ซึ่งภาระผูกพันดำเนินการนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีต้นทุนที่คงที่ แต่เมื่อไหร่ที่กิจการของเรานั้นมีต้นทุนคงที่สูง การเปลี่ยนแปลงของยอดขายเพียงนิดเดียวก็อาจจะทำให้เกิดกำไรจากการดำเนินธุรกิจนั้นเปลี่ยนไปมาก
มีความเสี่ยงอะไรบ้าง?
แน่นอนความการทำธุรกิจนั้นย่อมต้องมีความเสี่ยงอยู่แล้ว ในที่นี้เราจะแบ่งความเสี่ยงของธุรกิจได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ อย่างแรกเลยก็คือ ความเสี่ยงในการดำเนินกิจการที่มักจะเกิดจากนโยบายและการตัดสินใจในเรื่องของการลงทุนซึ่งอาจจะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่คงที่ได้ในการดำเนินงาน ตัวอย่างเช่นค่าเสื่อมของเงินเดือนผู้บริหารสิ่งนี้มีอัตราการทำให้เกิดความเสี่ยงสูงที่จะขาดทุน เมื่อเรานั้นไม่สามารถทำยอดขายได้
ประเภทที่สองคือ ความเสี่ยงทางด้านการเงินซึ่งสามารถเกิดได้จากการตัดสินใจในเรื่องของการหาเงินลงทุน ถ้าเราตัดสินใจที่จะกู้มากก็จะเกิดค่าใช้จ่ายคงที่ในรูปแบบของดอกเบี้ยที่ต้องมีการจ่ายสูงและเสี่ยงต่อการขาดทุนที่สูงมาก เมื่อเรานั้นไม่สามารถทำยอดขายได้ ความเสี่ยงของธุรกิจที่เกิดจากการตัดสินใจนั้นเป็นสิ่งสำคัญต่อการประกอบธุรกิจมาก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการลงทุน หรือการตัดสินใจในการจัดหาเงินทุน ถ้าเราตัดสินใจไม่ดีย่อมทำให้เกิดความเสี่ยงในด้านของผลตอบแทน ดังนั้นความเสี่ยงนี้จึงทำให้เกิดวิธีการวัดค่าความเสี่ยงเพื่อที่ให้เรานั้นสามารถจะจัดการกับความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสมและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
วิธีการคำนวณที่ง่ายที่สุด
วิธีการคำนวณหาอัตราการเปลี่ยนแปลงของกำไร นั้นมีหลายวิธีด้วยกัน แต่เราจะขอมาสรุปในวิธีที่ง่ายที่สุดและเข้าใจง่ายที่สุด โดยมีสูตรดังนี้ DOL = (ยอดขาย - ต้นทุนผันแปร) / (ยอดขาย - ต้นทุนผันแปร - ต้นทุนคงที่)
เรานั้นจะใช้ตัวอย่างง่าย โดยกำหนดให้:
- ยอดขาย = 200 ล้านบาท
- ต้นทุนในการขาย 70% = 140 ล้าน
- ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 40 ล้าน
- DOL = (200-140) / (200-140-40) = 3 เท่า
นั่นแปลว่าอัตราการเติบโตของกำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษีนั้นจะเป็น 3 เท่าของการเติบโตของยอดขาย ซึ่งถ้าในปีหน้าเราสามารถทำรายได้ 220 เท่ากับว่ารายได้เพิ่มขึ้น 20% กำไรก่อนดอกเบี้ยแลละภาษีของเรานั้นก็จะโตขึ้น 60% หรือเทียบเท่าจำนวนเงินก็คือ 16 ล้านบาท
DOL นั้นจะเปลี่ยนไปทุกตำแหน่งของยอดขาย ตำแหน่งที่ใกล้จุดคุ้มทุนนั้นค่าของ DOL จะสูง โอกาสที่กำไรจะโตมีความเป็นไปได้สูงมาก แต่ถ้าตำแหน่งที่ไกลจุคุ้มทุนนั้นค่าของ DOL จะต่ำ และโอกาสที่กำไรจะโตมีความเป็นไปได้ต่ำมาก ต่อไปเราจะมาพูดถึงวิธีการคำนวณจุดคุ้มทุน
คำนวณจุดคุ้มทุนยังไง?
เพื่อให้เรานั้นสามารถคาดเดากำไรของเราได้ดีมากยิ่งขึ้น โดยที่เรานั้นจะเริ่มจากการคำนวณอัตรากไรส่วนเกิน โดยมีสูตรก็คือ อัตรากำไรส่วนเกิน = (รายได้-ต้นทุนผันแปร)/รายได้
เช่น หากเรามีรายได้ 200 ล้านบาท ต้นทุนในการขายของเราก็มี อุปกรณ์ไฟฟ้า 140 ล้าน คิดเป็นอัตรากำไรส่วนเกินได้ 70%
เมื่อเรานั้นได้ลงทุนในการซื้อของมาขายแล้ว เราจะต้องตั้งราคาขายบวกไป 25% การทำแบบนี้อัตรากำไรส่วนเกินของเราก็จะเท่ากับ 20% เช่นเราซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดมา 140 ล้านบาท เราก็ตั้งราคาขายไป 175 ล้านบาท เราก็จะได้กำไรส่วนเกินมา 35 ล้านบาท จากยอดขาย 175 ล้านบาท เมื่อเราที่เป็นเจ้าของกิจการคำนวณหาอัตรากำไรเกินแบบคร่าวๆแล้วว่าาซื้อของมาเท่าไร ขายได้เท่าไร ส่วนต่างตรงนั้นแหละที่เรียกว่ากไรส่วนเกิน ต่อมาจะเป็นการเริ่มคำนวณจุดค้มทุนแล้ว
สูตรของการคำนวณก็คือ จุดคุ้มทุน = ยอดขายที่กิจการไม่ขาดทุน = ต้นทุนคงที่ / อัตรากำไรส่วนเกิน
เมื่อกี้บริษัทของเราสามารถทำอัตรากำไรเกินไป 20% พวกค่าต้นทุนคงทุนก็คือ พวกค่าจ้างพนักงาน ค่าน้ำค่าไฟ ค่าเช่าสถานที่ เราอาจจะรวมๆกันแล้วประมาณ 30 ล้านบาทต่อเดือน จุดคุ้มทุนจะเท่ากับ 30 ล้าน / 0.2 หรือคิดเป็นจำนวนเต็มก็คือ 150 ล้านบาทต่อเดือน เทียบเท่ากับ 5 ล้านบาทต่อวัน นี้หมายความว่ายอดขายของเราต่อวันต้องห้ามต่ำกว่า 5 ล้านบาท และถ้าหากเรานั้นต้องการกำไร 200,000 บาทต่อเดือนล่ะ เราจะต้องมีเป้าของยอดขายเท่าไร?
คำนวณอัตรากำไรส่วนเกินมาจากการที่เราซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้ามา 140 ล้านบาท เราตั้งราคาขาย 175 ล้านบาท อัตรากำไรส่วนเกิน = 20/175 หรือเท่ากับ 11.43% หาจุดคุ้มทุนโดยใช้ต้นทุนคงที่มาหารกับอัตรากำไรส่วนเกิน จุดคุ้มทุนจึงอยู่ที่ 5 ล้าน/0.1143 เท่ากับ 43,744,532 บาทต่อเดือน หรือประมาณ 1.5 ล้านบาทต่อวัน เรานั้นมีเป้าหมายที่จะทำกำไรให้ได้ 200,000 บาทต่อเดือน เราก็แค่ใส่กำไรที่อยากได้ลงไปให้เป็นต้นทุนคงที่ จากเดิมเรามีต้นทุนคงที่อยู่ 30 ล้าน เราก็บวกเพิ่มไป 200,000 บาท ก็จะเป็น 30,200,000 บาท ยอดขายที่ต้องตั้งเป้าเพิ่มเป็น 30 ล้าน / 0.1143 จะได้เท่ากับ 262,467,192 บาทต่อเดือน หรือ 8,748,906 บาทต่อวันนั่นเอง
เทคนิคง่ายๆ ที่ช่วยเราให้วางแผนเรื่องการเงินให้ดีขึ้น!
เห็นไหมว่าคิดการคำนวณจริงๆไม่ยากเลย เพียงแค่เราต้องรู้ว่ารู้จักหลักการผันแปรของกำไร และต้นทุนคงที่ให้เป็นอย่างดีซะก่อน แค่นั้นเราก็สามารถที่จะวิเคราะห์ธุรกิจองเราให้ไม่เสี่ยงต่อการขาดทุนได้แล้ว
อรุณรัตน์
เอาแบบที่เราเข้าใจเลยนะ เจ้า DOL ที่บทความนี้บอกคือ ต้นทุนกับกำไรที่เราจะได้ใช่ไหม กำไรที่ได้อาจจะไม่เท่ากันทุกครั้ง ดังนั้นการที่เราคำนวนเรื่องนี้จะช่วยให้เราบริหารเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆภายในร้านของเราได้เป็นอย่างดี แบบนั้นใช่ไหม แต่ตอนนี้คิดว่าเรื่องของกำไรกับต้นทุน ช่วงที่มีโควิดแบบนี้น่าจะติดลบกันทุกคนแหละเราว่านะ
กะท้อน
ใช่เลยช่วง covid แบบนี้มันเป็นอะไรที่ไม่ได้เหมือนเมื่อก่อนแล้ว เมื่อก่อนถึงแม้ว่าขายไม่ดีก็ยังพอไปได้อยู่แต่ตอนนี้มันไม่ดีเอาซะเลย ถึงแม้ว่าจะมีคนละครึ่งแล้วก็เถอะยอดขายก็ยังไม่ได้ตามเป้าเหมือนเดิม แต่ก็ขอบคุณนะคะพี่ Admin เขียนบทความดีๆแบบนี้มาเพื่อช่วยให้ความรู้คนค้าขายอย่างเราให้เข้าใจได้มากยิ่งขึ้น
สนธยา
น่าจะต้องคำนวนแหละเรื่องของต้นทุนที่แปรพันในการลงทุน ช่วงโควิดแบบนี้ อย่างที่เพื่อนๆบอกเลยครับเงินที่เอามาลงทุนกับกำไรที่เราได้แทบไม่ได้กำไรอะไรเลย ตอนนี้ก็แค่ประครองให้มันอยู่รอดอย่างเดียว พอให้แต่ละเดือนมีเงินพอจ่ายลูกน้อง จ่ายค่าน้ำค่าไฟฟ้า กับค่าเช่า ได้แค่นี้ก็ถือว่าดีแล้ว เพื่อนๆที่รู้จักหลายคนตอนนี้ปิดร้านไปตามๆกันแล้ว
หมึกสด
จริงๆผมเองก็เป็นคนที่ทำธุรกิจนะ แต่ก็ไม่เคยคำนวณอะไรแบบนี้มาก่อนเลย อาจจะต้องศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้เหมือนกัน ปกติการทำธุรกิจก็แค่คำนวณกำไรขาดทุนเท่านั้นเอง แต่ก็ยังไม่เคยคำนวณหรือคิดเกี่ยวกับเรื่อง ต้นทุนผันแปรหรืออะไรประมาณนี้ ผมคิดแบบชาวบ้านหน่ะครับ คิดแบบง่ายๆ ตามหลักความเป็นจริง แต่ก็จะลองศึกษาไว้ดู