สำหรับคนที่เป็นหนี้หลายอย่างมากมายจนทำให้ไม่สามารถผ่อนชำระได้ตรงตามกำหนด บทความนี้จะพามารู้จักในเรื่องของการปรับโครงสร้างหนี้ ว่าการปรับโครสร้างหนี้คืออะไร มีผลดีและมีผลเสีย อย่างไร การปรับโครงสร้างหนี้เหมาะกับหนี้แบบไหน หนี้แบบไหนที่เหมาะสมควรที่จะทำการปรับโครงสร้างหนี้ และ หนี้ประเภทไหนที่ไม่เหมาะที่จะปรับโครงสร้างหนี้

การปรับโครงสร้างหนี้คืออะไร?

การปรับโครงสร้างหนี้คืออะไร?

การปรับโครงสร้างหนี้ หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Debt restructuring คือ การขยายระยะเวลาในการชำระหนี้ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้เก่าหรือเจ้าหนี้ใหม่ก็ได้ เป็นวิธีการที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ไม่เหมาะสมกับสภาพธุรกิจของลูกหนี้ในขณะนั้น หรือมีแนวโน้มว่าในอนาคตโครงสร้างลูกหนี้ของลูกหนี้ซึ่งทำไว้แต่เดิมอาจไม่เหมาะสมกับสภาพธุรกิจของลูกหนี้ หรือก็คือ จ่ายไม่ทันนั้นเองภาษาบ้านๆ ซึ่งการปรับโครงสร้างหนี้ไม่ได้จะทำให้หนี้ที่มีอยู่นั้นหายไปแต่จะเป็นการยืดระยะหรือเพิ่มเวลาในการผ่อนให้นานขึ้น ซึ่งการปรับโครงสร้างหนี้นั้น มีจุดประสงค์สำหรับลูกหนี้ที่เกิดปัญหาเรื่องการเงิน ทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามสัญญา  โดยสาเหตุอาจจะเกิดจากเหตุสุดวิสัยต่าง ๆไม่ว่าจะเป็น ตกงาน หรือประสบอุบัตติเหตุจนทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด ซึ่งทางสถาบันการเงินจะเปิดโอกาสให้ลูกหนี้มาตกลงกัน เพื่อหาหนทางร่วมกันในการยืดระยะเวลาในการผ่อนให้นานขึ้น โดยสัญญาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จะเป็นยึดตามแนวทางที่ลูกหนี้สามารถที่จะชำระหนี้ได้ตลอดสัญญานั่นเองครับ และสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ก็มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ 1.เป็นการแปลงหนี้ใหม่ 2.ไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่

เป็นการเปลี่ยนแปลงหนี้ใหม่

การเปลี่ยนแปลงหนี้ใหม่ หมายถึง หนี้ตัวเดิมจะถูกระงับ และคู่สัญญาผูกผันกันตามหนี้ใหม่ ซึ่งรูปแบบนี้ ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับจำนวนหนี้ เป็นการเพิ่มจำนวนหนี้ให้มีมากขึ้นที่จะต้องทำการผ่อนชำระและเปลี่ยนประเภทหนี้ คือ การที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ ตกลงกันก่อหนี้ขึ้นใหม่ โดยมีเจตนาให้หนี้เดิมระงับไป

ไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงหนี้ใหม่

ไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงหนี้ใหม่ หมายถึง การปรับโครงสร้างหนี้ที่ไม่ได้ระงับหนี้เดิมซึ่งรูปแบบนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงแค่อัตราดอกเบี้ย แต่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญเกี่ยวกับหนี้

มีหนี้อะไรที่ไม่เหมาะหรือไม่เกิดประโยชน์ถ้าปรับโครงสร้างหนี้ใหม่

มีหนี้อะไรที่ไม่เหมาะหรือไม่เกิดประโยชน์ถ้าปรับโครงสร้างหนี้ใหม่

หนี้ที่ไม่เหทาะและไม่เกิดประโยชน์หากทำการปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ นั้ก็คือ หนี้ที่เกิดมาจากการทุจริจ คดโกง ลูกหนี้ไม่มีความสามารถพอที่จะทำการชำระหนี้ หรือ ในกรณีที่ลูกหนี้เสียชีวิต ลูกหลานไม่มีความประสงค์ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการชำระหนี้ หนี้ประเภทที่เห็นอยู่แล้วว่า ลูกหนี้นั้นไม่มีความสามารถทำการชำระหนี้ หรือกิจการธุรกิจไม่มีโอกาศที่จะกลับมาฟื้นฟูได้ สรุปแล้วก็คือ หนี้ที่เราไม่สามารถและไม่มีกำลังที่จะทำการชำระหนี้อยู่แล้วหนี้แบบนี้ยิ่งถ้าไปทำการปรับโครงสร้างหนี้ ก็จะมีแต่สร้างภาระหนี้เพิ่ม เป็นเรื่องที่แน่นอนว่าถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับการชำระหนี้อยู่แล้ว ก็จะยิ่งส่งผลเสียต่อตัวคุณเอง

ผลดีจากการปรับโครงสร้างหนี้

ผลดีจากการปรับโครงสร้างหนี้

ผลดีอย่างแรกของการปรับโครงสร้างหนี้เลยก็คือทำให้ยืดระยะเวลาการชำระหนี้ออกไป ในกรณีที่เรานั้นไม่สามารถที่จะทำการชำระหนี้ได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไม่จะด้วยเหตุผลอะไร เกิดอุบัติเหตุ ตกงาน หรือ มีเรื่องฉุกเฉินอะไรก็ตามที่สร้างปัญหาทางการเงินให้กับตัวเราจนทำใหไม่สามารที่จะการชำระหนี้ได้ตรงตามกำหนด ซึ่งธนาคาร หรือ สถาบันการเงิน หรือเจ้าหนี้ ของเราอาจจะมีข้อเสนอพิเศษให้รวมหนี้เข้ากับบัตรเครดิตสินเชื่อส่วนบุคคล มาเป็นหนี้ยอดเดียวกัน และคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าเดิม เช่นอาจจะ 12% ต่อปี

ผลเสียจากการปรับโครงสร้างหนี้

ผลเสียจากการปรับโครงสร้างหนี้

ผลเสียจากการปรับโครงสร้างหนี้ 1.การทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ เจ้าหนี้/แบงค์ จะยอดหนี้เดิมที่บวกดอกเบี้ย+ค่าปรับ+ค่าทวงถาม มาแล้วในช่วงที่ลูกหนี้หยุดชำระหนี้ นำมาเป็นยอดหนี้ใหม่ และทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ โดยคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 เปอร์เซ็นต์ต่อปี คนที่ได้ประโยชน์ก็คือเจ้าหนี้ ไม่ต้องเอาเงินมาจ่ายเพิ่ม แต่เป็นการต่อยอดหนี้ให้กับลูกหนี้ออกไปอีก 2.การทำหนี้บัตรเครดิต+สินเชื่อมารวมกัน กลายเป็นสัญญาฉบับใหม่ ตอนทำสัญญาก็ยังจ่ายไหว แต่พอสักระยะเกิดจ่ายไม่ไหว สัญญาฉบับใหม่หนี้ เจ้าหนี้จะใช้ในการส่งฟ้อง ซึ่งโดยการฟ้องจะไม่ใช้สัญญาเก่าของหนี้แต่ละตัว และทำให้พอถึงตอนถูกฟ้องลูกหนี้ไม่มีข้อต่อสู้ เนื่องจากเป็นสัญญาใหม่ และทำได้เพียงยื่นคำให้การต่อสู้เพื่อขอระยะเวลา และพอศาลนัดครั้งที่ 2 ก็จะต้องไกล่เกลี่ย แต่ยอดหนี้ก็ไม่สามารถลดลงได้ เนื่องจากเจ้าหนี้ทำสัญญาใหม่ดอกเบี้ยต่ำ ลูกหนี้จะหมดข้อต่อสู้ 3.หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล มีอายุความต่างกัน การคิดดอกเบี้ยก็อยู่ในอัตราที่ต่างกัน ซึ่งในปัจจุบันเราก็ทราบกันดีอยู่หากไม่มีเงินชำระหนี้ในกรณีที่มีหนี้หลายตัว ก็ไม่ควรปรับโครงสร้างหนี้ และหากจะปรับโครงสร้างหนี้ก็ควรจะเป็นเฉพาะนี้แต่ละตัวไป แต่เนื่องจากแบงค์/เจ้าหนี้ปัจจุบันจะปล่อยทั้งบัตรเครดิตและสินเชื่อ เวลาเสนอปรับโครงสร้างหนี้ก็จะเสนอให้เห็นว่าคิดดอกเบี้ยต่ำ แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ อยากให้เพื่อนไตร่ตรองให้ดี ใช่ "มีหนี้ต้องชำระ" แต่อย่ายอมเสียเปรียบเจ้าหนี้ 4.หากมีการฟ้องแล้วไปไกล่เกลี่ยที่ศาล และมีการตกลงชำระหนี้ตามที่ตกลงกันที่ศาล และมีการบันทึก ก็ถือว่าคดีสิ้นสุดแล้ว หากไม่ชำระหนี้มีผลมาถึงการอายัดทรัพย์, อายัดเงินเดือนเร็วขึ้น

สรุป

สรุป

การปรับโครงสร้างหนี้ ก็คือ การประนอมหนี้ชนิด ซึ่งมีทั้งข้อดและข้อเสีย และการปรับโครงสร้างหนี้ก็เหมาะสำหรับผู้ที่มีกำลังในการจ่ายหนี้ไหวแต่เพราะมีหนี้อยู่ด้วยกันหลายเจ้าหรือหลายอย่างหรือมีปัญหาทำให้หมุนเงินไม่ทันในการที่จะจ่ายหนี้ให้ตรงตามกำหนดก็เหมาะที่จะไปทำการปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ แต่ไม่แนะนำสำหรับผู้ที่เป็นหนี้และไม่มีกำลังจะชำระอยู่แล้วเพราะถ้าไปปรับโครงสร้างหนี้ก็ไม่ใช่คำตอบหรือทางออกของคนที่ไม่มีกำลังจะชำระหนี้มีแต่จะเพิ่มภาระให้มากกว่าเดิม แนะนำการปรับโครงสร้างหนี้เหมาะกับผู้ที่มีกำลังและรายรับพอในการผ่อนชำระแต่อาจจะหมุนไม่ทันจ่ายตามกำหนดแต่สำหรับผู้ที่ไม่มีกำลังและไม่มีรายรับจะมาผ่อนจ่ายหนี้อยู่แล้วให้หาทางออกทางอื่นไม่แนะนำการปรับโครงสร้างหนี้นะครับ