Forum
แก้ไขล่าสุด: 

เจ้าของ “หนี้บัตรเครดิต” เสียชีวิต ใครต้องรับผิดชอบชดใช้แทนบ้าง ?

ผมมีเรื่องทุกข์ใจครับ อยากช่วยเพื่อนพี่ชายของเขาเพิ่งเสียชีวิตแล้วทิ้งหนี้บัตรเครดิตไว้ให้เพื่อนผมใครมีความรู้ด้านนี้ขอช่วยบอกหน่อยครับว่าถ้าเจ้าของ “หนี้บัตรเครดิต” เสียชีวิต ใครต้องรับผิดชอบชดใช้แทนไหม

เลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินอะไรดีนะ..

คุยกับที่ปรึษาทางการเงินโดยตรงและรับข้อเสนอที่เหมาะกับคุณ

รับคำปรึกษาฟรี

User comments

  • user image

    Serena

    หากคุณมีฐานะเป็น “บุตร” หรือ “ทายาทโดยชอบธรรม” ต้องรับภาระหนี้สินต่อ แต่ทั้งนี้ สถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ สามารถมาทวงหนี้ได้เฉพาะกองมรดกของลูกหนี้ (เจ้าของบัตรเครดิตที่เสียชีวิต) เท่านั้น หากลูกหนี้ไม่มีทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาท ทายาทไม่ต้องรับผิดชอบเป็นการส่วนตัว หากเจ้าของบัตรมีการจดทะเบียนสมรส ประกอบกับหนี้เครดิต เกิดขึ้นหลังจากแต่งงาน สามีหรือภรรยาของผู้ที่เสียชีวิตอาจต้องเป็นรับผิดชอบหนี้สินก้อนนั้น ๆ หากพิสูจน์ได้ว่า หนี้บัตรเครดิตที่เกิดขึ้นเป็นการใช้จ่ายเพื่อคู่สมรส ซึ่งถือว่าเป็นหนี้ระหว่างสองบุคคล

    2019.10.21 16:38
  • user image

    สมชาย

    ในอดีต “ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้บัตรเครดิต” ไม่ต้องรับผิดชอบหนี้บัตรเครดิต แต่ปัจจุบันสถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าของบัตรเครดิตได้ออกกฎใหม่ เป็นผลให้ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้บัตรเครดิตต้องรับผิดชอบหนี้สินที่เกิดขึ้นด้วย และหากคุณเป็นผู้ถือบัตรเสริม เนื่องจากบัตรเสริมและบัตรหลักของบัตรเครดิตนั้น “ใช้วงเงินร่วมกัน” เมื่อมีหนี้เกิดขึ้น แม้เจ้าของบัตรหลักเสียชีวิตไปแล้ว คุณต้องร่วมรับผิดชอบหนี้บัตรเครดิต

    2019.11.24 22:30
  • user image

    ทิพย์

    ก็ถ้าค่าใช้จ่ายที่เกิดจากฉันการใช้หนี้บัตรเครดิตเป็นเพื่อคู่สมรสหรือว่าคนในครอบครัว ก็คนที่ได้รับผลประโยชน์จากการใช้จ่ายซึ่งเกิดจากหนี้ของบัตรเครดิตจะต้องช่วยกันรับผิดชอบค่ะ แต่ทีนี้ก็ต้องมาดูกันว่าค่าใช้จ่ายที่ว่าเนี่ย เพชรกองมรดกตกทอดหรือเป็นค่าใช้จ่ายจากหนี้ของบัตรเครดิตจริงๆหรือเปล่า สู้ๆนะคะ ถ้าเป็นเราเราคงเครียดตายเลย ขอให้มีทางออกนะคะ

    2020.07.09 2:15
  • user image

    ชัตชัย

    แล้วเป็นห่วงเหมือนกันนะคะในกรณีที่เจ้าของบัตรเครดิตก็เสียชีวิต และมีหนี้บัตรเครดิตตามมาแล้วถ้าเป็นหนี้ก้อนเล็กๆก็สามารถที่จะใช้คืนได้ แต่ถ้าเป็นหนี้ก้อนใหญ่เนี่ยก็ต้องดูเหมือนกันเขาว่าเอาเงินดังกล่าวมาใช้สำหรับอะไร มีทรัพย์สินหรือมรดกอะไรให้ทางสถาบันการเงินที่จะยึดเอาไปใช้หนี้ได้ไหม ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็จะจบอยู่ที่การใช้ทรัพย์สินของผู้ถือบัตรเครดิตครับ

    2020.07.15 13:26
  • user image

    หมอก🤗

    สรุปว่า หากเจ้าของบัตรเครดิตที่มีหนี้สินกับบัตรฯอยู่ด้วยเสียชีวิต คู่สมรสหรือทายาทต้องชดใช้มั้ยครับ หรือชดใช้เมื่อผู้เสียชีวิตทิ้งมรดกไว้ให้จึงไปเอาจากส่วนนั้นมาชำระหนี้ หรือชดใช้เมื่อคู่สมรสหรือทายาทถือบัตรเสริมร่วมด้วยเท่านั้นครับ? ผมอ่านจากความคิดเห็นต่างๆที่บอกมาเลยสับสนนิดหน่อย ใครที่รู้เรื่องนี้ช่วยบอกด้วยนะครับ

    2020.08.20 4:13
  • user image

    ฝน

    เราคิดว่าเพื่อคุณไม่ต้องรับผิดชอบนะถ้าไม่ได้มีส่วนเป็นผู้ค้ำตอนนที่พี่ของเขาสมัครบัตรเครดิตอะ แต่ถ้ามีส่วนเป็นผู้ค้ำก็น่าจะต้องรับผิดชอบหนี้บัตรเครดิตต่อจากพี่ชายอยู่นะ ตกลงมันเป็นแบบไหนคะ? หวังว่าจะเป็นแบบแรกนะคะคือไม่ได้มีส่วนเป็นผู้ค้ำประกันอะไร ยังไงก็แสดงความเสียใจด้วยจริงๆ คนเราเดี๋ยวอยู่ก็จากไปนะคะ

    2020.08.31 12:24
  • user image

    Somkid

    ปกติแล้วส่วนมากบัตรเครดิตเวลาขอหรือสมัครไม่ต้องใช้ผู้ค้ำนะครับดังนั้นบัตรเครดิตจึงเป็นสินเชื่อที่ไม่เหมือนคนอื่นๆเพราะถ้าเป็นสินเชื่ออื่นถ้าเจ้าของหนี้เสียชีวิตคนที่เป็นผู้ค้ำจะต้องรับผิดชอบหนี้สินแทนแต่สำหรับบัตรเครดิตคนในครอบครัวก็ไม่ต้องรับผิดชอบแทนนอกเสียจากว่าผู้ตายที่เป็นหนี้มีทรัพย์สินก็ต้องจ่ายหนี้คืนบัตรเครดิตด้วยทรัพย์สินที่เหลืออยู่เข้าใจง่ายๆแค่นี้แหละครับ

    2020.10.22 12:57
  • user image

    แอน

    สามีเป็นหนี้บัตร ktc 10,000 บาท เขาจะฟ้องเรามัย เราเป็นภรรยาแต่ไม่ได้จดทะเบียน เราไม่รู้เลยว่าเขาเป็นหนี้มารู้ตอนเขาตาย

    2020.11.30 6:30
  • user image

    Pornpa:)(:

    อ่านคอมเม้นท์ของท่านนึงให้รายละเอียดดีมากค่ะ พอพูดถึงเรื่องหนี้สินของคนที่เสียชีวิตไปแล้ว คนที่อยู่ข้างหลัง โดยเฉพาะคนในครอบครัวก็รู้สึกกังวลว่าจะต้องใช้หนี้แทนคนที่เสียชีวิตไปหรือเปล่า ยิ่งไม่มีทรัพย์สินเงินทองด้วยแล้ว เครียดหนักเลย กลัวว่าจะไม่มีเงินจ่าย แต่เรื่องหนี้บัตรเครดิตเนี่ยเป็นอีกเรื่องไปเลยนะคะ

    2021.09.29 15:21
  • user image

    ลืมไปหรือเปล่า?

    จัดการเรื่องหนี้บัตรเครดิตอย่างไรคะเจ้าของกระทู้มาบอกต่อให้รู้ด้วย เพื่อนของคุณต้องรับผิดชอบกับหนี้บัตรเครดิตก้อนนั้นหรือเปล่า น่าเห็นใจนะถ้าใครต้องมารับผิดชอบหนี้สินที่ตัวเองไม่ได้เป็นคนก่อขึ้นมา เราไม่ค่อยรู้เรื่องกฎหมายพวกนี้ด้วยสิที่เข้ามาอ่านก็เพราะว่าอยากรู้นี่แหละค่ะ ใครมีข้อมูลเพิ่มเติมมาบอกกันบ้างนะคะ

    2022.01.08 4:51
  • user image

    พีระยุทธ

    บัตรเครดิตส่วนใหญ่เขาจะมีให้เราทำพวกประกันด้วยนะครับ ผลประโยชน์ทางบัตรเครดิตเป็นผู้ได้รับไปนะ ยังไงต้องเชคก่อนละครับว่ามีตัวนี้ไหมจะมามั่วเอาเงินจากเราไม่ได้นะ ส่วนพี่ที่ถามเรื่องสามีมีหนี้บัตร แล้วพี่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสด้วย พี่สบายใจได้เลยครับ ไม่มีทางที่ทางบัตรเครดิตจะมาเรียกกับเงินจากพี่ได้อย่างแน่นอนครับ

    2022.03.13 14:1
  • user image

    น้องKulnidAดา

    แล้วนี่เพื่อนของเจ้าของกระทู้ต้องไปใช้หนี้บัตรเครดิตแทนพี่ชายของเขาหรือเปล่าคะ เป็นหนี้อยู่เยอะมั้ยอะ ถ้าพอมีเงินก็ไม่เท่าไหร่แต่ถ้าเงินไม่ค่อยมีก็ลำบากหน่อยนะคะ อาจจะต้องไปกู้เงินคนอื่นมาอีก ยังไงก็อย่าไปกู้เงินนอกระบบละกัน น่ากลัวมากอะ แต่ถ้าไม่ต้องใช้หนี้คืนแทนพี่ชาย ก็ดีใจด้วยนะคะ ลำพังพี่เสียชีวิตก็เสียใจมากแล้ว

    2022.04.11 13:14
  • user image

    :nonTiya:

    นั่นสิ ถ้าผู้ถือบัตรเครดิตเสียชีวิตโดยที่ยังมีการค้างชำระหนี้บัตรเครดิตอยู่ จะต้องมีใครมาชำระหนี้แทนมั้ย ตอนที่ไปสมัครบัตรเครดิตก็สมัครเองไม่ต้องมีการรับรองจากใคร ไม่ต้องมีคนค้ำประกันด้วย ในกรณีแบบนี้ทางธนาคารจะทำยังไงอะคะ ถ้าไม่ต้องมีใครมาชำระหนี้แทนผู้ถือบัตรที่เสียชีวิตไปแล้ว หนี้นั้นก็จบไป ธนาคารไม่ได้คืน..อย่างงั้นมั้ย

    2022.05.15 14:27

บอกเล่าความคิดเห็นและสิ่งที่คุณรู้ที่นี่

เพิ่มเราเป็นเพื่อนของคุณ

ถ้าคุณเพิ่มไลน์ของ MoneyDuck คุณจะได้รับคำแนะนำเรื่องการเงินและการแจ้งเตือนเมื่อที่ปรึกษาตอบคำถามของคุณ

ฟอรั่มที่เกี่ยวข้อง

All (หนี้สิน)

มีหนี้สินแล้วครอบครัวทะเลากันทำไงดี

การจัดการงบประมาณ,การจัดการเงิน,ลดค่าใช้จ่าย,All (การวางแผนการเงืน)

เงินไม่พอใช้

All (ธนาคาร),All (หนี้สิน)

เห็นหลายธนาคารมีมาตรการพักชำระหนี้ในช่วงนี้ ยังไม่ค่อยเข้าใจค่ะ

ตัวช่วยชำระหนี้

การยกเลิกการขายทอดตลาด

All (ธนาคาร)

รู้สึกว่าธนาคารออมสินจะให้มาตรการที่ชัดเจนสุด ณ เวลานี้ สำหรับการพักชำระหนี้ค่ะ

การจัดการเงิน,ตัวช่วยชำระหนี้,All (หนี้สิน)

ค้างค่าบริการรายเดือนโดนฟ้องไหมครับ

เลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินอะไรดีนะ..

คุยกับที่ปรึษาทางการเงินโดยตรงและรับข้อเสนอที่เหมาะกับคุณ

รับคำปรึกษาฟรี