ผู้ครอบครองรถทุกประเภท มีหน้าที่ที่ต้องชำระภาษีรายปีตามกฎหมาย ซึ่งภาษีนี้เมื่อเราชำระแล้ว จะถูกนำไปใช้ในการปรับปรุง หรือสร้างถนนหนทางต่างๆให้ดีขึ้น ดังนั้น ถ้ารถเหล่านั้นยังมีการใช้งานตามท้องถนนอยู่ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องต่อภาษีตามระยะเวลาที่กำหนดเป็นประจำทุกปี
จะเป็นอย่างไรเมื่อเราไม่ต่อภาษีรถยนต์
- ต้องเสียค่าปรับหากพบว่ามีการนำรถที่ขาดการต่อภาษีประจำปีมาใช้บนท้องถนน
- เสียภาษีย้อนหลัง 1% ต่อเดือน หากขาดต่อภาษีไม่เกิน 3 ปี
- หากมีการขาดต่อภาษีเกิน 3 ปีขึ้นไป รถคันนั้นก็จะถูกตัดทะเบียนออกจากบัญชี หมายความว่าทะเบียนรถคันนั้นจะไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป และไม่สามารถซื้อขายได้ตามกฎหมาย หากต้องการนำรถมาใช้อีก เจ้าของรถต้องไปยื่นขอจดทะเบียนใหม่และนำแผ่นป้ายเดิมไปคืนเพื่อขอป้ายใหม่ และทำการชำระภาษีย้อนหลังตามจำนวนปีที่ขาดชำระนั้น ยุ่งยากอยู่ไม่น้อยใช้ไหมคะ? ดังนั้น ทางที่ดีเราควรต่อภาษีของรถเป็นประจำ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ แล้วการต่อภาษีมีขั้นตอนอะไรบ้าง? ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง? และทำได้ที่ไหนบ้าง? เรามาดูกันเลยค่ะ
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การจ่ายภาษีรถยนต์ 2022 ที่นี่
เอกสารที่ต้องเตรียมในการต่อภาษีรถยนต์
- สมุดรายการจดทะเบียนรถ หรือ สำเนารายการจดทะเบียนรถ (ในกรณีที่รถคันนั้นอยู่ระหว่างการเช่าซื้อรถ หรือติดไฟแนนซ์อยู่) เนื่องจากเป็นเอกสารสำคัญ ระบุรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับรถ และรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ครอบครองรถ 2. หลักฐานการตรวจสภาพรถ (เฉพาะในกรณีที่รถเกิน 7 ปี เท่านั้น) สามารถตรวจสภาพรถได้ที่สำนักงานขนส่งจังหวัด หรือที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ก็ได้ แต่หากรถมีการขาดต่อภาษีเกิน 1 ปี หรือมีการปรับแต่งและดัดแปลงรถ ซึ่งสภาพไม่ตรงกับที่ระบุไว้ในสมุดคู่มือประจำรถ จำเป็นต้องตรวจสภาพรถที่ขนส่งจังหวัดเท่านั้น 3. เอกสารการรับรองการติดตั้งแก๊ส (ถ้ามี) ในกรณีที่รถบางคันมีการเปลี่ยนจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมาเป็นแบบแก๊ส จะต้องมีใบรับรองในการติดตั้งระบบและใบตรวจสภาพจากวิศวกรแนบมาด้วย ซึ่ง หากเป็นระบบ LPG จะสามารถใช้รถได้ 5 ปี ต่อการตรวจ 1 ครั้ง และระบบ CNG จะต้องมีการตรวจใหม่ทุกปี 4. เอกสารการต่อ พรบ. (ประกันรถยนต์ภาคบังคับ) ที่มีอายุอย่างน้อย 3 เดือนขึ้นไป ซึ่งการต่อพรบ.หลายท่านส่วนใหญ่แล้วจะต่อพร้อมประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ หรือหากไม่มีประกันภาคสมัครใจ ก็สามารถต่อผ่านตัวแทนประกันรถยนต์ได้ทั่วไป ซึ่ง เมื่อต่อแล้ว จะมีหางกรมธรรม์ พรบ.ที่สามารถฉีกออกมาต่อทะเบียนรถได้
ขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์
สำหรับขั้นตอนการต่อภาษีนั้น ขึ้นอยู่กับว่า เราต่อภาษีผ่านช่องทางไหน โดยหลักแล้วคือการรวบรวมเอกสารให้ครบถ้วนก่อนเป็นอันดับแรก เราจะมาพิจารณาแต่ละช่องทางกันค่ะ
สำนักงานกรมการขนส่งทางบกทั่วประเทศ
ที่นี่เป็นช่องทางหลักและง่ายสุดในการต่อภาษี เพียงแค่รวบรวมเอกสาร แล้วไปที่ขนส่ง จับบัตรคิว ยื่นเรื่อง ชำระเงิน แล้วก็รอรับป้ายแสดงการเสียภาษีและกลับบ้านได้เลยค่ะ
เลื่อนล้อ ต่อภาษี (Drive Thru for Tax)
สำหรับวิธีนี้มีให้บริการที่ขนส่งเช่นกัน แต่อาจไม่ทั่วประเทศนะคะ ต้องเช็คกับขนส่งใกล้บ้านอีกทีค่ะ วิธีก็ง่ายมาก เพราะไม่ต้องลงจากรถเลย เจ้าหน้าที่จะอยู่ในตู้ เหมือนเราจ่ายเงินขึ้นทางด่วน นั่งรอต่อคิวในรถได้เลยค่ะ เมื่อถึงคิว ก็ยื่นเอกสารที่เตรียมมา ชำระเงิน รอป้ายแสดงการเสียภาษี และกลับบ้านได้ค่ะ วิธีนี้ถ้าหากเตรียมเอกสารมาไม่พร้อม อาจต้องขับรถออกมาก่อนและอาจถูกขอให้ไปทำเรื่องบนอาคารแทนนะคะ
ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ
วิธีการต่อภาษีที่ไปรษณีย์ก็ไม่ยุ่งยากมากนัก แต่จะไม่ได้ป้ายแสดงการเสียภาษีในวันนั้นเลยเพราะต้องส่งเรื่องไปทำที่กรมขนส่งก่อน อันดับแรกยื่นเอกสารให้กับเจ้าหน้าที่เลยค่ะ หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ก็จะให้ซองจดหมายมา 2 ซองด้วยกัน เขียนชื่อ-ที่อยู่ ของเราหน้าซองจดหมาย ซองแรกเขียนในช่องผู้รับ และอีกซองเขียนในช่องผู้ส่งค่ะ เสร็จแล้วกรอกแบบฟอร์มธนาณัติเพื่อส่งค่าธรรมเนียมไปที่กรมขนส่ง ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมก็จะมี ค่าธรรมเนียมธนาณัติ 44 บาท และค่าซองจดหมาย 6 บาทนะคะ (ราคาอาจไม่เท่ากันบางพื้นที่) เมื่อเสร็จแล้วก็กลับไปนอนรอที่บ้านได้เลยค่ะ ประมาณ 3-4 วันทำการ เอกสารและป้ายแสดงการเสียภาษีก็จะตามมาหาถึงหน้าบ้านกันเลยทีเดียว
ห้างสรรพสินค้าในโครงการ “ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี” (Shop Thru for Tax)
ช่องทางนี้ค่อนข้างง่ายและสะดวกสบายต่อขาช้อปทั้งหลาย เพราะเรียกได้ว่า ได้เที่ยวด้วยได้ทำธุระด้วย ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวเลย ขั้นตอนก็เช่นเคยค่ะ เตรียมเอกสารทั้งหมดให้พร้อม แล้วยื่นให้เจ้าหน้าที่จัดการได้เลย ช่องทางนี้เหมือนยกกรมขนส่งมาไว้ในห้าง เพราะทำที่นี่และรอรับป้ายที่นี่ได้เลยค่ะ และถ้าใครสงสัยว่ามีให้บริการที่ห้างไหนบ้าง สามารถเข้าไปเช็คได้ที่เว็บไซต์นี้เลยค่ะ : https://www.dlt.go.th/th/yearly-tax/view.php?_did=73
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.)
ธนาคารนี้มีสาขามากมายทั่วประเทศเลยทีเดียว ดังนั้น ช่องทางนี้ก็ถือว่าสะดวกไม่แพ้จ่ายในห้างเลยค่ะ เตรียมเอกสารให้พร้อมแล้วยื่นต่อเจ้าหน้าที่ธนาคาร โดยมีเงื่อนไขดังนี้ รถที่ต่อผ่านช่องทางนี้ต้องไม่ค้างชำระภาษีเกิน 1 ปี และสามารถยื่นขอต่อภาษีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือนค่ะ
จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ
ช่องทางนี้ถือว่าสะดวกที่สุดแล้วค่ะ เพราะแม้แต่หน้าปากซอยแถวบ้านก็มีเคาน์เตอร์เซอร์วิสด้วย เมื่อเตรียมเอกสารพร้อมแล้ว ก็ยื่นต่อพนักงานได้เลยค่ะ โดยมีเงื่อนไขดังนี้ - ต้องเป็นรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 7 ปี เนื่องจากไม่ต้องตรวจสภาพรถ - ถ้าเป็นรถจักรยานยนต์ก็ไม่เกิน 5 ปี - ช่องทางนี้ต้องกลับไปรอใบเสร็จและป้ายแสดงการเสียภาษีที่บ้านนะคะ ภายใน 10 วันทำการ - ค่าบริการ 20 บาท และค่าจัดส่งทางไปรษณีย์ 40 บาท - หากมียอดค้างชำระเกิน 3 ปี ต้องไปชำระที่ขนส่งเท่านั้น
ผ่านช่องทางออนไลน์
ช่องทางนี้ ทันสมัยที่สุดและสามารถต่อทะเบียนเมื่อไหร่ก็ได้ที่ต้องการ แต่ใช้ได้เฉพาะรถที่ไม่ต้องตรวจสภาพ คือ ไม่เกิน 7 ปีขึ้นไปนะคะ วิธีนี้มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ - เข้าสู่เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th/ - หากใครที่ยังไม่เคยลงทะเบียนไว้ ให้ทำตามขั้นตอน ดังนี้
- คลิกที่ลงทะเบียนผู้ใช้ใหม่ค่ะ - เมื่อกรอกข้อมูลทั่วไปครบแล้ว อย่าลืมจำรหัสผ่านไว้ให้ดีนะคะ
- ล็อกอินเข้าระบบโดยใช้รหัสที่เราเพิ่งสมัครไป แล้วเลือกที่ “ยื่นชำระภาษี”
- จะเข้าสู่หน้ารายการของรถที่เราลงทะเบียนไว้ กรณีผู้ใช้ใหม่ให้เลือก “ลงทะเบียนรถ”
- กรอกรายละเอียดรถที่ต้องการต่อภาษี - หากกรอกถูกต้องครบถ้วน จะเข้ามาที่หน้าชำระภาษีทันที และจะแสดงรายละเอียดรถของเราที่ลงทะเบียนไว้กับกรมขนส่ง
- กรอกรายละเอียด พรบ. ที่ทำไว้ โดยลงเลขกรมธรรม์ให้ครบถ้วน แต่หากยังไม่ได้ต่อพรบ.มา ให้คลิกถูกตรงช่อง “ไม่มีพรบ.”
- กรอกชื่อ ที่อยู่ จัดส่งเอกสาร หลังจากนั้นเลือกวิธีชำระเงิน ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่หักจากบัญชี หักผ่านบัตรเครดิต หรือแม้แต่ปริ๊นท์ใบจ่ายเงินไปจ่ายเองที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสก็ได้
- ติดตามรายละเอียดการชำระภาษีได้ที่ช่อง “ตรวจสอบผลการชำระภาษี” จะมีสถานะบอกเราว่าถึงขั้นตอนไหน และมีเลข EMS บอกด้วยว่าเอกสารเราถึงที่ไหนแล้ว เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
- วิธีนี้น่าจะเหมาะกับท่านที่ต้องการต่อล่วงหน้านะคะเพราะถ้าต่อใกล้ๆวันหมดอายุ อาจจะเลยวันครบกำหนดมาก็ได้ค่ะ สุดท้ายนี้ มีวิธีคำนวณว่ารถเราต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่มาฝากค่ะ
ประเภทของรถที่สามารถต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้
- รถยนต์ รถกระบะ รถตู้ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 7 ปี
- รถจักรยานยนต์ มีอายุการใช้งานไม่เกิน 5 ปี
- รถยนต์ รถกระบะ รถตู้ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี, รถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี, รถที่ค้างชำระภาษีเกิน 1 ปี สามารถต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้ แต่ต้องผ่านการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ก่อน
รถทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ หรือรถยนต์ส่วนบุคคลทั่วไปไม่เกิน 7 ที่นั่ง อัตราภาษีขึ้นอยู่กับขนาดเครื่องยนต์ (CC) โดยมีอัตราดังนี้
600 CC แรก CC ละ 0.5 บาท 601 - 1800 CC ราคา CC ละ 1.50 บาท เกิน 1800 CC ขึ้นไป ราคา CC ละ 4 บาท หากรถมีอายุเกินกว่า 6 ปี จะได้ลดภาษี 10%, 7 ปี ลด 20%, 8 ปี ลด 30% เป็นต้น แต่หากเสียภาษีล่าช้าจะถูกปรับเดือนละ 1% ของราคาภาษี (เศษวันนับเป็น 1 เดือน)
รถทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นกับน้ำหนักรถ ดังนี้
- 501-750 กก. เสียภาษี 450 บาท
- 751-1000 กก. เสียภาษี 600 บาท
- 1001-1250 กก. เสียภาษี 750 บาท
- 1251-1500 กก. เสียภาษี 900 บาท
- 1501-1750 กก. เสียภาษี 1050 บาท
- 1751-2000 กก. เสียภาษี 1350 บาท
- 2001-2500 กก. เสียภาษี 1650 บาท
รถทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือสีน้ำเงิน หรือรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นกับน้ำหนักรถ ดังนี้
น้อยกว่า 1800 กก. อัตราภาษี 1300 บาท 1800 กก. ขึ้นไป อัตราภาษี 1600 บาท
อ่านข้อมูล อัตราภาษีรถยนต์ เพิ่มเติม ที่นี่
ในการต่อภาษีรถยนต์ที่สามารถคำนวณได้ตามประเภทรถที่ระบุไว้ด้านบนโดยสามารถทำได้ล่วงหน้า 90 วันเพื่อป้องกันภาษีหมดอายุจนขาดต่อทำให้ต้องเสียค่าปรับซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นซึ่งหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่าง ๆ สามารถ**ปรึกษา MoneyDuck **เพื่อเป็นตัวช่วยในการวางแผนทางการเงินของคุณให้ราบรื่น ไม่มีสะดุด
ศศิธร
การต่อภาษีรถยนต์ผมว่าเป็นอะไรที่น่ารำคาญมากๆเลย ถึงแม้เราจะหาช้อมูลอย่างดีแค่ไหนมีคำนะนำที่ดีอย่างไร พอไปเจอในสถานการณ์จริงๆมันก็ยุ่งยาก เพราะดูเหมือนกรมขนส่งจะเปลี่ยนแปลกฎกติกาอยู่บ่อยๆ แล้วข้อมูลล่าสุดของกรมการขนส่งก็หาได้ยากมากครับ แล้วก็สับสนว่าอันไหนเป็นข้อมูลเก่าอันไหนเป็นข้อมูลใหม่ๆ ผมว่าผมงงทุกทีเวลาไปต่อภาษีรถยนต์ครับ
sukanya
ขอบคุณครับสำหรับความรู้เรื่องต่อทะเบียนรถยนต์ เดี๋ยวนี้ไม่ว่าเราจะใช้รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ ก็ตามกฎหมายมีการเรียกร้องให้เราสามารถที่จะทำการต่อภาษี บทความนี้ทำให้ผมรู้ว่ามีช่องทางหลายช่องทางในการเลือกต่อภาษี ตามแต่ที่เราสะดวกไม่ใช่แค่บริการจากรัฐบาล เดี๋ยวนี้มีบริการของเอกชนใกล้บ้านสามารถต่อภาษีได้ง่ายด้วย
น้ำตาล
การต่อพ. ร.บหรือภาษีรถยนต์เป็นอะไรอีกอย่างหนึ่งที่เราจำเป็นต้องทำทุกปี ก็ลำบากเหมือนกันนะคะในตอนที่เราต้องทำงานประจำแล้วต้องจับเวลาเพื่อที่จะไปต่อภาษีพ. รบด้วย บทความนี้อธิบายได้ดีจริงๆค่ะที่พูดถึงเกี่ยวกับช่องทางการต่อภาษีรถยนต์ด้วยตัวเอง ในหลายช่องทางเพื่อที่จะอำนวยความสะดวกให้กับเราในตอนที่เราไม่ว่างจริงๆก็สามารถทำได้หลายทาง
มนสิชา
โห! ให้รายละเอียดดีจังค่ะเรื่องการต่อภาษีจากบทความนี้ ดูเหมือนเป็นเรื่องที่ต้องทำกันแทบทุกปี แต่ก็ยังมีรายละเอียดที่ต้องเอาใจใส่กันมากพอสมควรนะคะ ปกติเราไม่ได้ไปต่อภาษีรถเอง มีคนที่บ้านเป็นคนดำเนินการค่ะ เห็นหัวข้อน่าสนใจเลยลองเข้ามาอ่านดู อยากรู้ว่าปกติเขาต้องทำยังไงกันบ้าง ถือว่าเป็นความรู้ใหม่กันเลยทีเดียว
คนยิ้มน้อย
ไม่เห็นเขาเปลี่ยนกฏกติกาตรงไหนเลยนะครับ คุณ ศศิธร รถยนต์ผมที่บ้านใช้มาจะ20ปีแล้ว เวลาไปต่อ ก็ไม่เห็นเขาจะเปลี่ยนอะไรเลยนะครับ ที่ต้องทำ ก็ ตรวจสภาพ ซื้อ พรบ. แล้วก่อไปขอต่อ ภาษี รถยนต์ แค่นั้นเองครับ ไม่ได้จะมีอะไรที่ลำบากเลยครับ แต่ถ้าคิดว่าลำบาก ก็ไปจ้าง พวกที่เป็น ตรอ. สิครับ เขารับจ้างต่อภาษีรถยนต์ให้ด้วยครับ
BM
เข้าใจเลยว่ามันน่าเบื่อมากนะที่ต้องไปดำเนินการเรื่องนี้อะ ผมก็เลยเลือกที่จะไม่สนใจมาก แล้วมักใช้บริการศูนย์ตรวจสภาพรถจัดการให้มากกว่าไม่ต้องไปที่ขนส่งเอง แต่ช่วงนี้ค่อนข้างว่างนะเลยเข้ามาหาข้อมูลในเรื่องที่ตัวเองไม่สนใจมาก่อน อ่านแล้วก็บอกกับตัวเองว่าไม่สนใจอะดีแล้วยุ่งยากชะมัดเลย ฝากให้ศูนย์ตรวจสภาพรถทำให้เหมือนเดิมดีแล้ว
ชอช้าง
ดีนะที่ไม่มีรถไม่ต้องวุ่นวายกับเรื่องนี้ แต่ก็ต้องรู้ไว้เหมือนกันเผื่อในอนาคตจะต้องซื้อรถอย่างจริงจัง เพื่อนๆคิดยังไงครับ การมีรถมันวุ่นวายไหม?? เสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้างนอกจากการต่อภาษีรถยนต์ค่าน้ำมันค่าซ่อม ? แล้วการไม่มีรถทำให้ชีวิตสะดวกสบายกว่าการมีรถไหม ?? ช่วยมาแสดงความคิดเห็นกันหน่อยครับ ผมอยากรู้จะได้ตัดสินใจถูกว่าควรจะซื้อรถดีไหม...
น้อยหน่า
เป็นสิ่งสำคัญและเป็นสิ่งจำเป็นหมดแล้วนะคะสำหรับการเตรียมตัวในการต่อพรบและภาษีรถยนต์ การวางแผนล่วงหน้าเพื่อที่จะเตรียมตัวต่อภาษีรถยนต์จะทำให้เราไม่ต้องเสียเวลามากค่ะ เดี๋ยวนี้มีบริการของเอกชนที่ออกมาให้เราสามารถต่อภาษีและพรบได้ง่ายแล้วไม่ต้องต่อคิวนานด้วย ให้เราสามารถที่จะเลือกใช้ได้ทั้งของรัฐบาลและเอกชน ดีมากเลยค่ะ
แมน
มีข้อมูลที่ดีในการต่อทะเบียนและทำภาษีนะครับ อย่างรถของผมเป็นรถ 4 ที่นั่ง ทำทั้งพรบและต่อภาษีปีนึงแค่ 1,500 ครับ ถือว่ายิ่งลดอายุมากขึ้นภาษีที่จะต้องจ่ายก็ลดลงไปด้วย แถมยังมีหลายช่องทางที่จะช่วยให้เราสามารถต่อภาษีได้แล้วเดี๋ยวนี้ไม่ต้องไปแค่ที่ขนส่งอย่างเดียว บ่มีบริการของเอกชนพี่ออกมาให้บริการอำนวยความสะดวกในการที่เราไม่ต้องไปต่อคิวยาว
ดานิกา
ทำไม่ต้องทำให้การต่อภาษีรถยนต์กลายเป็นเรื่องที่ลำบากยุ้งยากด้วยไม่เข้าใจ ทุกปีที่บ้านเราต่อทะเบียนรถยนต์ประมาณ3คันตลอดทุกๆปี แต่ไม่เคยไปที่ข่นสงเลย ส่วนใหญ่เราจะใช้บริการของ ตรอ. มากกว่า ไปที่เดียวจบเลยไม่ต้องเสียเวลาไปไหนแล้ว ให้ทาง ตรอ.จัดการให้เลย ทั้งตรวจสภาพรถยนต์ ต่อ พรบ. แล้วต่อภาษีรถยนต์ไปลย
nSarin
เอกสารที่ต้องเตรียมเมื่อไปต่อภาษีรถยนต์แต่บะช่องทางก็ไม่เหมือนกันเหรอครับ ผมใช้ช่องทางเดิมๆเลยไม่รู้ว่าช่องทางอื่นๆเขาต้องใช้เอกสารอะไรกันบ้าง แล้วช่องทางการต่อภาษีรถยนต์ที่ผมรู้ก็ไม่เยอะนะ มาอ่านบทความนี้ถึงได้รู้ว่ามันมีหลายช่องทางมาก ก็ดีนะครับเพราะแต่ละคนสะดวกจ่ายเงินตามช่องทางที่แตกต่างกัน จะได้มีทางเลือก
วิยะวิทย์
ถ้าเป็นรถยนใหม่ก็ดีไปครับ ไม่ต้องไปตรวจสถาพก่อนสามารถที่จะต่อทพเบียนได้เลย แต่ของผมรถยนต์หลายปีแล้วเวลาที่จะต้องต่อทะเบียนก็ต้องทำการตรวจสภาพก่อน ดังนั้นเวลาที่จะต่อทะเบียนก็ไม่ค่อยอยากเสียเวลาเท่าไรครับ ส่วนใหญ่ก็จะให้ทางที่ตรวจสภาพแหละครับ เป็นเดินเรื่องในการต่อภาษีแล้วก้ซื้อ พวก พรบ.ให้เลยครับ ทำที่เดียวจบ
แกง กะ ทิ
เห็นหัวข้อบทความนี้ คือ ขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์และเอกสารที่ต้องใช้ อ่านไปอ่านมาเจอหัวข้อ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) เอ๊ะ! ยังไง ไปทำที่ธนาคารนี้ได้ด้วยเหรอคะเนี่ย ดูแล้วไม่น่าจะเกี่ยวกันเลย หรือเป็นเพราะว่าสาขาของธนาคารนี้มีอยู่จำนวนมาก และยังกระจายไปทั่วประเทศด้วย จึงอาจจะสะดวก..เข้าใจถูกมั้ยอะ
lip2@
เอกสารที่ต้องใช้เมื่อไปต่อภาษีรถยนต์มันดูเยอะจังเลยนะคะ เห็นตัวหนังสือที่ติดๆกันในบทความแล้วแบบแอบตาลายนิดนึง ถ้าเอาไปไม่ครบนี่คือ ต้องกลับบ้านไปเอาเอกสารมาใหม่เลยหรือเปล่าเนี่ย ถึงว่า..เขาถึงได้มีช่องทางอื่นๆเพื่อเพิ่มความสะดวกและรวดเร็วในการต่อภาษีรถยนต์ จะได้ไม่ต้องเสียเวลากลับไปกลับมาก็ดีเหมือนกันนะ
-น้องเบสท์//
ค่าต่อภาษีรถยนต์มีแยกตามประเภทของป้ายทะเบียนด้วย ต้องดูป้ายทะเบียนรถยนต์ของตัวเองก่อนแล้วค่อยดูว่าต้องเตรียมเงินไปเท่าไหร่ ดีค่ะ บทความนี้มีข้อมูลมาให้ละเอียดเลย แต่ขออนุญาตบอกนิดนึงได้มั้ยอะ คือ ในบทความนี้บางย่อหน้าน่ะ ตัวหนังสือมันเยอะแล้วก็ติดๆกันเลย แอบตาลายนิดนึง คราวหน้าขอขยับหรือย่อหน้าใหม่สักนิดเนอะ