"สะดวกคุ้ม สนุกครบ จบในบัตรเดียว" คำกล่าวนี้ถือว่าเป็นเรื่องจริง ซ้ำยังอยู่ในเทรนด์ที่กำลังมาแรงด้วย คงจะเป็นอะไรไปไม่ได้ นอกจาก 'บัตรแรบบิท' นั่นเอง. เราทุกคนยอมรับว่าการใช้ชีวิตในเมืองได้อย่างสะดวกสบายนั้น ต้องการผู้ช่วยที่จะมาตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ในยุคดิจิตอลนี้ในแบบที่น่าวางใจและเชื่อถือได้ โดยบทความนี้ได้รวบรวมสิ่งที่เราควรรู้เกี่ยวกับบัตรแรบบิท ดีไหมมาไว้ที่นี่แล้ว
บัตรแรบบิท คืออะไร
บัตรแรบบิท (Rabbit Card) ก็คือ ระบบสำหรับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ แบบแรกในประเทศไทยที่มีการร่วมมือกันในการชำระตั๋วร่วมระหว่างรถไฟฟ้าบีทีเอสและระบบขนส่งมวลชนอื่น ๆ ตลอดจนถึงใช้ในการซื้อสินค้าและบริการชั้นนำต่างๆที่ครอบคลุม และ ตอบสนองต่อทุกการใช้จ่ายของคุณให้ง่ายและสะดวกมากขึ้นเหมาะอย่างยิ่งสำหรับยุคชาวเมืองในปัจจุบัน. ซึ่งบัตรแรบบิทแบบนี้ก็ยังแบ่งในหลายๆประเภทที่เหมาะสมตามการเลือกใช้งาน 5 ประเภท ดังนี้
- แรบบิทมาตรฐาน แบบที่ 1 เป็นแบบไม่มีค่ามัดจำบัตรใดๆ ออกได้ที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสารบีทีเอสทุกสถานีได้เลย
- แรบบิทมาตรฐาน แบบที่ 2 บัตรประเภทนี้ จำหน่ายในราคา 200 บาท (ราคารวมค่าธรรมเนียมการออกบัตร 100 บาทและ มูลค่าเริ่มต้นในบัตรแรบบิท 100 บาท พร้อมในการใช้งาน)
- บัตรแรบบิทมาตรฐานเพื่อการโฆษณา คือ บัตรแรบบิทรูปแบบพิเศษสำหรับ หน่วยงาน, ผู้สนับสนุน และพันธมิตรทางธุรกิจที่ต้องการโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าหรือองค์กรผ่านทางหน้าบัตรแรบบิท ซึ่งบัตรประเภทนี้สามารถออกบัตรได้ที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส ทุกสถานีซึ่งสามารถร่วมเป็นผู้สนับสนุน หรือ พันธมิตรทางธุรกิจนั้นๆ
- บัตรแรบบิทพิเศษ -เป็นรูปแบบพิเศษที่ออกจำหน่ายในจำนวนจำกัดโดย ทางบริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด เป็นผู้ให้บริการระบบบัตรแรบบิทนี้ -ออกวางจำหน่ายเพื่อเป็นของที่ระลึกหรือของในการสะสมเนื่องในโอกาสพิเศษต่าง ๆ -อาจมีการวางจำหน่ายในหลายรูปแบบ อาทิเช่น บัตร ในรูปแบบสินค้า หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ
- บัตรแรบบิทสำหรับองค์กร เป็นรูปแบบเฉพาะ สำหรับใช้ในองค์กรต่าง ๆ ที่ต้องการออกแบบบัตรแรบบิทเป็นของตัวเองเพื่อใช้งานเป็นหมู่คณะ
- บัตรแรบบิทร่วมแบรนด์ ทำการออกโดยสถาบันการเงินหรือองค์กรต่าง ๆ ที่ต้องการผนวกประโยชน์ใช้สอยของบัตรแรบบิทเข้ากันกับบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัตรและอุปกรณ์ชนิดอื่นใด
ใช้บัตรแรบบิทดีไหม
- เป็นระบบ แห่งแรกระบบเดียว ที่ที่รับรองการชำระเงินตั๋วทางอิเล็กทรอนิกส์ร่วมระหว่างรถไฟฟ้าบีทีเอสและระบบเครือข่ายขนส่งมวลชนอื่นๆ อีกทั้งยังชำระสินค้าและบริการทางร้านค้าต่างๆได้อย่างสะดวก
- ช่วยให้เราสะดวกรวดเร็วขึ้นในการเติมเงินหรือซื้อตั๋วโดยสาร ทั้งแบบรายเดือน เที่ยวเดียว ไม่ต้องเข้าแถวแลกเหรียญอีกต่อไป
- สะดวก ปลอดภัย ไม่ต้องเสียเวลากดเงินที่ตู้เอทีเอ็มเป็นจำนวนเยอะ เพราะสามารถใช้บัตรแรบบิทแทนเงินสดได้เลย
- ปลอดการชำระค่าธรรมเนียมรายปี
- รับเพิ่มในด้านสิทธิประโยชน์ โปรโมชั่นดีๆมากมายจากร้านค้าชั้นนำทั่วไป จากโปรแกรม “แรบบิทรีวอร์ส”
- ชำระเงินได้ตรงตามจริงถึงหน่วยสตางค์
- เติมเงินและใช้งานได้แม้แต่มือใหม่
- สามารถประยุกต์ใช้ในการระบุตัวบุคคล หรือเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยและควบคุมการเข้า/ออกอาคารและสถานที่
บัตรแรบบิทใช้ที่ไหนได้บ้าง
สำหรับใช้จ่ายชำระค่าโดยสาร ทำได้ง่ายๆ โดย เมื่อเดินทางใช้รถไฟฟ้าบีทีเอสหรือระบบขนส่งมวลชนอื่น ๆ ที่รองรับการใช้บัตรแรบบิท เพียงแตะบัตรแรบบิท ที่เครื่องอ่านแล้วรอสัญญาณดัง ค่าโดยสารจะถูกหักออกจากยอดเงินในบัตรแรบบิทโดยอัตโนมัติทันที เมื่อออกจากสถานีปลายทาง และในกรณีที่มีเที่ยวการเดินทางอยู่ในบัตรแรบบิท ระบบจะหักเที่ยวเดินทางก่อน หากเที่ยวเดินทางหมดหรือหมดอายุ ค่าโดยสารจึงจะถูกหักจากยอดเงินสะสมในบัตรแรบบิทต่อไป.และมีร้านค้าที่สามารถใช้บัตรแรบบิทชำระแทนเงินสดได้ ทั้งหมดกว่า 115 ร้านแบ่งในหม่วดหมู่ เช่น ร้านค้า ปั้มน้ำมันและขนส่ง, ศูนย์อาหาร ,สุขภาพและความงาม, ไลฟ์ส"ไตล์และบันเทิง อาทิเช่น McDonald’s, Burger King, Auntie Anne’s, Baskin Robbins, Coffee Today, Dairy Queen, Dunkin’ Donuts, ka-nom, KIN Donburi Café, Krispy Kreme, HKN, Ochaya, Starbucks, Subway,Tesco Lotus Express, TCDC, SF, Loft,mini Big Cและ Karmart เป็นต้น
บัตรแรบบิทซื้อจากที่ไหน
เรียกได้ว่าสะดวกสุดๆ เพราะเราสามารถมีบัตรแรบบิทในครอบครองได้ จากการซื้อหาที่ สถานี BTS ทุกแห่ง รวมถึงร้านค้าชั้นนำ เช่น ร้านแมคโดนัลด์(McDonald’s)และได้รับกาแฟฟรี หรือแม้แต่การมีบัญชีผูกกับบัตร ATM หรือ บัตรเครดิตบางธนาคาร เช่น ธนาคารกรุงเทพ เป็นต้นหรือทางเลือกพิเศษเช่นไลน์เพย์ทางสมาร์ทโฟนและเปลี่ยนซิมโทรศัพท์มือถือให้รองรับนั่นเอง
เติมเงินบัตรแรบบิทอย่างไร
- ในส่วนของการเติมเงินนั้นก็ทำได้ง่ายมากๆ เพียงเราติดต่อห้องจำหน่ายตั๋วโดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีใดก็ได้ หรือผู้ให้บริการเติมเงินที่ได้รับอนุญาต ที่มีสัญลักษณ์เติมเงินของบัตรแรบบิท
- กำหนดให้เติมเป็นจำนวนเท่าของ 100 บาท (เติมเป็นจำนวนเต็มโดยเพิ่มได้ทีละ100 บาท อาทิ 100, 500, 1,200 บาท เป็นต้น) โดยมูลค่ารวมต้องไม่เกิน 4,000 บาท
- ยอดเงินที่เติมเข้าไปแล้วจะเก็บเป็นยอดเงินสะสมในบัตรแรบบิท พร้อมสำหรับการใช้โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอสและระบบขนส่งมวลชนอื่นๆที่รองรับ รวมไปถึงสามารถใช้ชำระค่าสินค้าและบริการ ณ ร้านค้าและสถานบริการชั้นนำที่รองรับการใช้บัตรแรบบิท ได้ทันที ซึ่งสำหรับรถไฟฟ้าบีทีเอส หรือระบบขนส่งมวลชนอื่น ๆ สามารถเติมเที่ยวการเดินทางลงในบัตรแรบบิทได้อีกด้วย
- สามารถเติมเงินเข้าบัตรแรบบิทผ่านทาง Tesco Lotus Express, mini Big C, McDonald’s, McCafé, The Mall Foodhall, Food Park และ MBK Food Island ได้อีกด้วยเช่นกัน
อ่านเพิ่มเติม บัตรแรบบิท ใช้งานยังไง ที่นี่
ดังนั้น ในตอนนี้เราก็ได้รู้แล้วว่า บัตรแรบบิท ดีไหม เป็นระบบที่สามารถไว้วางใจได้จริงๆในการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยให้ชีวิตคนเมืองที่รีบเร่งได้สิทธิ์ที่ประโยชน์ เจ้าบัตรแรบบิทที่แสนฉลาดนี้จึงมีข้อดีมากมายให้เราได้ตัดสินใจที่จะลองใช้ รวมถึงทราบรายละเอียดในสถานที่ใช้จ่ายและการสะสมแต้ม ลดราคาสินค้า โปรโมชั่นดีและเด็ดมากมายที่รออยู่ จึงควรรีบซื้อรีบหามาลองดูนั่นเอง หากใครอยากได้ความรู้ หรือข้อมูลในการจัดการทางการเงินให้มีประสิทธิภาพก็สามารถสอบถาม**ผู้เชี่ยวชาญของ MoneyDuck **ได้ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย
Wonnapa
ใช้ดีสะดวก ชอบใช้บัตรนี้ที่ Dairy Queen กับ ร้านแมคโดนัลด์ ไอศครีมชอบลดราคาซื้อได้แค่บาทเดียว หรือบางทีก็ได้กาแฟฟรี ....คุ้มอ่ะ ชอบโปรโมชั่นของเค้า เติมเงินก็ง่ายไม่ยุ่งยาก แต่ถ้าค่าบัตรลดราคาอีกซักนิดนึงก็จะดีมากยิ่งขึ้น (สำหรับตั๋วของคนทั่วไป) เรารู้สึกว่ามันยังแพงไปหน่อย แต่ถ้าแลกกับความสะดวกที่ไม่ต้องไปต่อคิวยาวเพื่อรอแลกเหรียญก็โอเคอ่ะ...
วัลลภา
คิดว่าสะดวกสำหรับคนที่ใช้รถไฟฟ้าเท่านั้นซะอีก บัตรแรบบิทนี่ก็ใช้ได้หลายที่นะครับ ได้ส่วนลดได้โปรโมชั่นจากร้านค้า ร้านอาหารที่คุ้นเคยและเป็นที่นิยมทั้งนั้น เห็นความคิดแรกบอกว่าได้กาแฟฟรีด้วย ดีจังครับ ถ้าเป็นของที่ต้องใช้บ่อยๆอยู่แล้วมีบัตรนี้ไว้ก็คุ้ม เดี๋ยวนี้คนเราชอบความสะดวก รวดเร็ว แถมมาพร้อมกับของลดราคาอีกหลายอย่างใครๆก็ชอบครับ
พายุ
บัตรแรบบิทก็ดีเหมือนกันนะครับ อย่างน้อยก็เป็นบัตรที่สนับสนุนการเดินทางโดยสารสาธารณะของมวลชน และการที่เราจะเติมเงินเข้าไปเพื่อเอาไว้ใช้บริการสาธารณะเดินทางก็เป็นเรื่องที่ง่ายด้วย เราไม่ต้องมาคอยพบเรียนหรือว่าแลกเหรียญเพื่อที่จะเข้า bts อีกต่อไป ซึ่งช่วยให้การเดินทางและรูปแบบชีวิตของเราสะดวกสบายเพิ่มมากขึ้นด้วยเทคโนโลยีครับ
Chaiyakorn
ผมอยู่ต่างจังหวัดไม่ค่อยได้เข้าเมืองกรุง เคยได้ยินชื่อบัตรแรบบิทรู้แค่ว่าเหมาะกับการใช้งานของคนในเมือง แต่ไม่รู้ว่าใช้อะไรได้บ้าง พอดีเห็นบทความนี้เลยเข้ามาอ่านดู จึงได้รู้ว่ามันเหมาะกับการเดินทางของคนในเมืองใหญ่จริงๆ ลำพังการเดินทางก็ใช้เวลามากแล้ว ถ้าจะต้องมารอต่อแถวแลกเหรียญ หาเหรียญมาจ่ายค่าโดยสารก็ใช้เวลาพอดูครับ
มะปราง
บัตรกระต่าย เป็นอะไรที่แนวมากเลย จำได้ตอนที่เราเรียนที่ กรุงเทพฯ เพื่อนของเราทุกคนใช้บัตร กระต่ายกันทุกคนเลย จนเราต้องไปทำตามด้วย คือเทห์มากเลย เวลาจ่ายเงินแล้วเอาบัตรนี้ออกมาจ่าย จำได้ว่าคนมองกันเต็มเลย คงสงสัยมั๊งว่า อายุเท่านี้ เอาบัตรเครดิตใครมาใช้ คือ หารู้ไม่ว่าใครๆก็ทำได้ เขียนไปเขียนมาคิดถึงเพื่อนๆแล้วสิ
Dora
เราก็คนเมืองจะว่าบัตรแรบบิทจำเป็นก็จำเป็น จะว่าไม่จำเป็นก็ได้นะ เราไม่ค่อยได้ขึ้นรถไฟฟ้า รถไฟใต้ดินด้วยแหละเราเลยว่าไม่จำเป็น แล้วเดี๋ยวนี้มันไม่ค่อยพัฒนาแล้วอะบัตรใบนี้ คนหันไปใช้ App มากกว่าในการใช้จ่ายแบบผ่าน QR Code อะไรแบบนั้น คือเราอะไม่เคยมีแต่เพื่อนมี เพื่อนมีก็ไม่ค่อยได้ใช้ เราตั้งใจเข้ามาอ่านเพราะอยากรู้คุณสมบัตรของบัตรแรบบิทเฉยๆ
ขนมผักกาด
ชอบบัตรนี้ตรงที่ว่าสามารถใช้ใน The Mall Food Hall ได้ด้วย เพราะว่าชอบไปทานข้าวที่นั่นบ่อย บางทีคนเยอะๆขี้เกียจต่อคิวซื้อบัตรคูปองอาหาร สามารถใช้บัตรแรบบิทจ่ายได้เลย เป็นอะไรที่สะดวกดีแถมบางร้านมีโปรโมชั่นกับบัตรแรบบิท ทำให้ลดราคาได้ด้วย เป็นอะไรที่คุ้มมาก อีกอย่างนึงบางทีลืมพกเงินสดติดกระเป๋าไป ก็จะใช้บัตรนี้จ่ายได้หลายที่เลย เช่นพวก Lotus Express, mini Big C เลยเติมเงินในบัตรไว้เยอะๆเลยเผื่อฉุกเฉิน
ชาย
มีเงื่อนไขในการเติมเงินสะสมไว้ในบัตรอยู่นะครับว่าสามารถทำได้ไม่เกิน 4,000 บาท อาจจะเป็นการจำกัดสิทธิ์นี้เรื่องนี้เพื่อที่จะให้เราไม่สามารถสะสมเงินมากเกินไป แล้วยังมีอายุการใช้งานสามารถต่ออายุได้มากสุดแค่ 5 ปีเท่านั้นครับ สามารถซื้อมาใช้ได้ง่ายด้วย ไม่ต้องมาขออนุญาตหรือมีเงินเดือนขั้นต่ำในการสมัครใช้บริการสะดวกดีครับ
ฟรอส
ผมไม่เคยใช้ บัตร บัตรแรบบิท ครับ ที่ใช้น่าจะเป็นของไนไลน์นะครับ มันเป็นแบบเดียวกันไหมครับ เพราะว่าใช้งานคล้ายๆกันเลยครับ ผมอยู่ต่างจังหวัดดังนั้นโอกาศที่จะได้ใช้คงไม่บ่อยเท่าไรครับ ส่วนใหญ่ถ้าใช้ในไลน์ ก็เอาไว้ซื้อสติกเกอร์แจกสาวๆครับแล้วก็เอาไว้กินของฟรีตามห้างครับ หรือบางทีก็เอาไว้กินไอติมราคา1บาทครับ
กิมลั่ง
ถือว่าเป็นบัตรที่ออกแบบมาตอบโจทย์สำหรับคนที่ใช้บริการการเดินทาง BTS บ่อยๆค่ะ สามารถที่จะเติมเงินเข้าได้ก็จริงแต่ดูเหมือนว่าต้องเสียค่าแรกเข้าสำหรับการใช้บริการบัตรครั้งแรกด้วยค่ะ โดยมีค่าธรรมเนียมในการใช้บัตรครั้งแรกคือ 100 บาท ถ้าเราเสียครั้งแรก 200 บาทจะมีเงินอยู่ในบัตร 100 บาท และอีก 100 บาทเป็นค่าธรรมเนียม ซึ่งเราสามารถใช้บัตรได้ยาวๆและเติมเงินเข้าบัตรได้ด้วยค่ะ
รักษ์พิเชฐ
บัตรแบบนี้ ไม่คิดว่าจะยังมีคนที่ใช้นะครับ เพราะผมเองก็ยกเลิกไปนานแล้วครับ เพราะตอนนี้เขามีแบบที่ใช้งานผ่านมือถือเราได้แล้วนะครับ ของ เรบ บิท ไลน์ เพย์ ไม่ทราบว่าเพื่อนๆเคยได้ใช้กันไหมครับ แอพฯตัวนนี้ผมคิดว่า๔ูกเอามาแทนที่บัตรตัวนี้นะครับ การใช้งานใช้ได้หลากหลายกว่านะครับ ยังไง ศึกษาการใช้งานก่อนนะครับ อาจจะไม่สะดวกบางอย่าง
thirdthird
ได้ยินชื่อมานานละนะ rabbit pay เออ..มีใครรู้บ้างครับว่าทำไมถึงใช้ชื่อนี้ เจ้ากระต่ายน้อยมันมีที่มายังไง อยู่ๆผมก็นึกสงสัยขึ้นมา บัตรนี้ผมไม่ได้ใช้นะ ไม่ได้อยู่ในเมืองใหญ่ครับ ไม่เหมาะกับผม ถ้ามีใครรู้ก็มาบอกด้วยนะครับ ตอนนี้คนในเมืองก็ยังใช้กันอยู่ใช่มั้ย ถ้ามีสิทธิประโยชน์ดีๆ ใช้งานได้หลากหลายก็น่าใช้อยู่นะครับ
spring time
เราไม่ได้อยู่กรุงเทพฯเลยไม่ได้ใช้บัตรแรบบิท ตอนแรกคิดว่าเหมาะกับคนที่ใช้รถไฟฟ้าเท่านั้น แต่ที่จริงเอาไปใช้ที่อื่นได้เยอะนะคะ ใช้ได้หลายที่เลย อย่างนี้ก็น่าใช้มากสำหรับคนในกรุงเทพฯที่เดินทางโดยรถไฟฟ้าเป็นประจำ ทั้งประหยัด ทั้งสะดวก เลือกการใช้งานได้ตามแต่เราเลย ตอนนี้ก็ยังมีบัตรแรบบิทให้ใช้กันอยู่ใช่มั้ยคะ