เรื่องมรดก ไม่ใช่ปัญหาเฉพาะแค่คนรวยๆเท่านั้น ถ้าเราไม่ได้วางแผนไว้ อย่างฉลาด ตั้งแต่เนิ่นๆ อาจต้องเจอกับ ขั้นตอนการจัดการเกี่ยวกับเรื่องมรดกที่ล่าช้า ความขัดแย้งกันของเหล่าทายาท การมีผู้จัดการที่เป็นกลางและเหมาะสม หรือแม้แต่การฟ้องร้อง และทะเลาะแย่งชิงกัน แบบไม่เป็นตามเจตนารมย์ของเจ้าของทรัพย์ คงเป็นเรื่องที่พ่อแม่ หรือพี่น้อง ไม่อยากจะให้เกิดขึ้น! เพื่อการส่งต่อการเงินที่มั่นคงให้กับลูกหลาน เราจึงต้องวางแผนเรื่องมรดกตั้งแต่ตอนนี้ เพราะทุกสิ่งบนโลก ตั้งอยู่บนความไม่แน่นอน ทรัพย์สมบัติเป็นร้อย หรือล้าน ถ้าไม่มีการเตรียมล่วงหน้า มันจึงยืดยาวได้แค่ไหน มาเตรียมตัวได้ก่อนใน 4 วิธี ดังนี้
1. เข้าใจสินทรัพย์และหนี้สิน
การทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย ของทรัพย์สิน และหนี้สิน เป็นวิธีเริ่มที่ดี จะต้องมีการกระจายออกมา เพื่อจดบันทึกอย่างละเอียดกันดู ว่าขณะนี้ เราเองมีจำนวนทรัพย์สินและหนี้สินเป็นอะไร จำนวนเท่าไร และอยู่ที่ไหน เพื่อให้มีความเป็นระเบียบ และเข้าใจในตัวมันอย่างละเอียด วิธีนี้ จะทำให้เราสามารถวางแผนในการปลดหนี้ได้เพิ่มเติม และมีเงินเหลือๆในช่วงปั้นปลายการเกษียณอีกด้วย
ความหมายของสินทรัพย์ที่ดี คือ การมีความคล่องตัว เราจึงต้องจัดเป็นหมวดหมู่ เช่น เงินสด เงินที่ฝากในบัญชีธนาคาร หรือทรัพย์สินที่ใช้ในการลงทุน อย่าง หุ้น กองทุน อสังหาริมทรัพย์ พวกสัญญาเช่า หรือโฉนดต่างๆ. แต่สำหรับ บ้าน รถยนต์ และเครื่องประดับ เราจะจัดเป็นทรัพย์สินส่วนตัว เพื่อรู้ว่า เป็นชื่อใคร มีเล่มทะเบียนและใบรับประกันไหม
ในส่วนของหนี้สิน จะเป็นแบ่งหนี้สินหมุนเวียนแบบหนี้ระยะสั้นๆ ไม่เกิน 1 ปี กับหนี้ระยาว ที่มีอายุเกิน 1 ปี. หนี้ระยะสั้น จะมาจากหนี้บัตรเครดิต หรือหนี้นอกระบบที่มีจำนวนและอัตราดอกเบี้ยแบบที่เรามีทางจะชำระให้หมดไปได้ กับหนี้ระยะยาว ที่อาจเป็นหนี้รถ หนี้บ้าน หรือหนี้เพื่อธุรกิจ แต่เมื่อผ่อนนานจนหมดไปก็กลายเป็นสินทรัพย์ได้ด้วย
2. ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับภาษี
กฎหมายเกี่ยวกับภาษี แบ่งออกเป็น ภาษีการให้ และ ภาษีมรดก ทำให้เราต้องวางแผนศึกษาในส่วนนี้ไว้ล่วงหน้าด้วย. ภาษีในการรับให้ของมรดก กรณีเป็นทายาทโดยตรงสืบสันดารจากบุพการี หรือคู่สมรส ถ้ามีทรัพย์สินเกิน 20 ล้านบาท จะต้องมีภาษีการให้ 5 % ต่อปี เป็นรายบุคคล แต่กรณีเป็นบุคคลอื่น ถ้าเกิน 10 ล้านก็ต้องเสียภาษีในส่วนนี้ 5 % ต่อปีด้วย แต่หากต่ำกว่าเกณฑ์นี้ก็ไม่ต้องเสียเพิ่มเติม
ส่วนภาษีมรดกโดยตรง จะมีข้อกำหนดที่แตกต่าง กรณีเป็นทายาทโดยตรงสืบสันดานจากบุพการี หรือคู่สมรส จะมีภาษีการให้กรณีทรัพย์สินเกิน 100 ล้านบาท จะต้องเสียภาษีการให้ 5 % ต่อปี เป็นรายบุคคล แต่กรณีเป็นบุคคลอื่น ภาษีการให้ในส่วนนี้จะอยู่ที่ 10 % ต่อปีต่อคน แต่หากต่ำกว่าเกณฑ์ก็ไม่ต้องจ่ายภาษี และหากเป็นคู่สมรสจะได้รับการงดเว้นภาษีแยกต่างหากอีกด้วย
สำหรับทรัพย์สินที่จะต้องเสียภาษี ตามประมวลรัษฎกร ระบุไว้ คือ หลักทรัพย์ตามกฎหมาย , อสังหาริมทรัพย์ , ยวดยานพาหนะ , เงินฝาก และทรัพยฺสินทางการเงินอื่น. ผู้ที่ทรัพย์สินส่วนมาก จึงเลือกการโอนมรดก ในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยทยอยส่งมอบทรัพย์สินในแต่ละปี ตามจำนวนที่เหมาะสม แล้วค่อยกันแค่บางส่วน เพื่อส่งมอบหลังจากเสียชีวิต
3. ข้อกฎหมายในการทำพินัยกรรม
ผู้รับมรดกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ ทายาทโดยธรรม และ บุคคคลผู้รับพินัยกรรมซึ่งอาจเป็นทายาทหรือไม่ก็ได้. ทายาทโดยธรรม จะเกิดขึ้นเมื่อมีการทำพินัยกรรมไว้ ซึ่งมีลำดับ คือ ผู้สืบสันดาน , บิดามารดา , พี่น้องร่วมบิดามารดา , พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดา , ปู๋ยา ตายาย และ ลุงป้า น้าอา ลำดับแบบนี้ จะตัดญาติที่ห่าง หรือญาติสนิทออกไป และให้ความสำคัญกับทายาทลำดับต้นมาก่อน ที่มีสิทธิรับมรดกโดยตรงตามพินัยกรรม. ส่วนกลุ่มที่ 2 คือ บุคคลผู้รับพินัยกรรมซึ่งอาจเป็นทายาทหรือไม่ก็ได้ ในพินัยกรรมก็ต้องระบุชัดลงไปว่า มอบทรัพย์สิน เป็นจำนวนเท่าใดอย่างชัดเจน เพื่อทายาทลำดับต่อๆมา จะยังมีสิทธิ์ในการรับมรดก ตามความจำนงค์ของเจ้าของทรัพย์ด้วย
4. เลือกการส่งต่อแบบที่เพิ่มประโยชน์ในระยะยาว
หากผู้เป็นเจ้าของมรดก มีทรัพย์สินที่ทยอยส่งมอบได้ยาก ก็อาจเปลี่ยนรูปแบบผลประโยชน์ระยะยาว โดย การทำประกันชีวิต (Life Insurance)ก็ได้ เพราะประกันชีวิตไม่ต้องเสียภาษี มีบริษัทประกันเป็นคนดูแลจัดการทุกอย่าง เวลาในการส่งมอบมรดกแก่ผู้สืบสกุลก็ใช้เวลาไม่นาน กระจายเงินสดตามชื่อผู้รับผลประโยชน์ ไม่มีค่าธรรมเนียม เพิ่มมูลค่าของเงินสดเพื่อการส่งต่อมรดก และป้องกันเจ้าหนี้ได้ แถมยังได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ไปอีกนานก่อนจะเกิดเหตุสุดวิสัยกระทันหันด้วย
อีกรูปแบบนึงที่กำลังได้รับความนิยม คือ ทรัสต์ (Trust) แต่จะเหมาะกับสินทรัพย์จำนวนที่สูง เพื่อคุ้มค่ากับการจัดตั้งที่มีค่าธรรมเนียม แต่ทรัสต์จะมีความหลากหลายในด้านสินทรัพย์ ทั้งหุ้น หรือที่ดิน ซึ่งสามารถลงทุนเพิ่มได้เรื่อยๆ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ โดยอาจมีการตั้งการส่งมอบมรดกไว้ ตามความปราถนาผู้ก่อตั้ง เช่น มอบเงินเดือนละ 200,000 บาท บวกลบตามค่าเงินเฟ้อ ตลอดชีวิตของบุตร แต่ต้องเสียภาษีกองทุนจำนวนเล็กน้อย จึงมักใช้ทรัสต์กัน กรณีมีบุตรพิการ หรือออทิสติก ที่ไม่พร้อมในการบริหารสินทรัพย์ เป็นต้น
ส่งมอบความมั่นคงให้กับคนที่เรารัก...ด้วยการวางแผนมรดกตั้งแต่วันนี้!
วิธีที่ดีกว่าในการส่งมอบมรดกก็คือ การจัดการทรัพย์สินแบบเตรียมพร้อมไว้อย่างดีก่อน ด้วยการรู้สถานะการเงินของตัวเองเป็นอย่างดี มีบัญชีทรัพย์สินตลอด เพื่อศึกษาข้อกฎหมายและวางแผนส่งมอบแก่ทายาท ในวิธีที่มีผลประโยชน์ทางภาษีดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการทยอยให้ หรือการเปลี่ยนรูปแบบของสินทรัพย์เป็นประกันชีวิตหรือทรัตส์ตามความเหมาะสม. เพราะการวางแผนมรดกเพื่อส่งมอบความมั่นคงไว้ให้กับลูกหลานหรือ คนที่เรารัก เป็นเรื่องสำคัญ และมีเทคนิคที่ไม่ยากเกินไป ยังช่วยลดความขัดแย้งในการแบ่งทรัพย์สินลงไปได้เยอะกว่าการไม่เตรียมตัวล่วงหน้า. เรื่องในครอบครัวเป็นเรื่องละเอียดอ่อน จึงต้องมีการประยุกต์ใช้ เพื่อให้ได้วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดกับกรณีของเรา โดยการมองการณ์ไกล ก็เป็นวิธีที่เริ่มได้เลย แม้อายุเราจะไม่ใช่ไม้ใกล้ฝั่ง! เพื่อทำให้รากฐานในการสร้างหลักประกันกับคนที่เรารักและคนในครอบครัวมั่นคงมากที่สุดนั่นเอง
สว่าง
บทความนี้เป็นประโยชน์มากค่ะสำหรับใครที่มีบริโภคเยอะๆ มีทรัพย์สมบัติมากมายแต่สุดท้ายก็ต้องแบ่งให้กับลูกหลาน คือช่วยให้สามารถคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของตัวเองให้กับคนอื่นๆในครอบครัวได้อย่างเป็นประโยชน์ที่สุดค่ะ และยังสามารถช่วยให้คิดถึงเกี่ยวกับภาษีจากมรดกดังกล่าว หรือวิธีที่จะสามารถจัดการแบ่งมรดกให้กับคนอื่นได้อย่างทั่วถึงด้วยค่ะ
อัญชลีพร
ใช่ค่ะ...ดีมากเลยบทความนี้ เราก็ชอบเหมือนกัน... เรารู้สึกว่าการจัดการเกี่ยวกับเรื่องมรดกเป็นเรื่องสำคัญมากและจำเป็นต่อคนในครอบครัว ถ้ามีเหตุการณ์เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดจะได้ไม่วุ่นวาย และเกิดการทะเลาะกันในภายหลัง ดีกว่าที่จะรู้ขั้นตอนล่วงหน้าว่าจะต้องจัดการทรัพย์สินมรดกยังงัยเพื่อที่จะเป็นประโยชน์และได้รับร่วมกันทุกคน
น้ำหวาน
แม้แต่การส่งมอบมรดกจากพ่อแม่สู่ลูกหลาน ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่พ่อแม่จำเป็นต้องคิดอย่างรอบคอบเกี่ยวกับการส่งต่อมรดกว่า จะต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรเพิ่มเติมและเพื่อช่วยให้ลูกหลาน สามารถต่อยอดทรัพย์สินได้อย่างมีประสิทธิภาพ บทความนี้ทำให้เห็นถึงวิธีที่จะช่วยให้ครอบครัว ส่งมอบมรดกให้ลูกหลานยังที่ได้รับผลประโยชน์มากที่สุดค่ะ
Samita
เราไม่มีมรดกจะส่งต่อให้ใคร แต่ถ้าใครมีมรดกอยากจะส่งต่อให้เราก็ยินดีนะคะ..ล้อเล่นค่ะ การวางแผนเรื่องมรดกไม่ใช่เรื่องเล็กๆเลยเนอะ ต้องดูและศึกษาหลายอย่างมากถ้าอยากให้เป็นไปตามที่เจ้าของมรดกนั้นตั้งใจไว้ เรื่องนี้ต้องเตรียมไว้แต่เนิ่นๆ เคยดูข่าวมั้ยที่ลูกหลอกให้พ่อหรือแม่เซ็นเอกสารยกเงินและทรัพย์สินให้กับตัวเองคนเดียวพี่น้องคนอื่นไม่ได้เลย ไม่ดีเลยค่ะ
ลุงจันทร์
โอ๊ย ! เรื่องมรดกนี่ ผมไม่มีมากขนาดเป็น ร้อยล้านหลอกครับ ทุกวันนี้หาเช้ากินค่ำยังแทบไม่ได้เลยครับ แต่ที่พอจะมมีคือมรดกที่ดินแหละครับ ผมมีลูก สามคน ครับ ตอนนี้ก็กำลังวางแผนแบ่งเป็นล๊อคให้กับเขาแล้วครับ ไม่อยากมาเห็นว่าพี่น้องจะต้องมาทะเลาะหรือแตกคอกันเองเพราะเรื่องที่ดิน เหมือนที่เป็นข่าวกันบ่อย ไม่อยากให้ลูกต้องฆ่ากัน
บิ๊กบอส
ผมชอบความคิดเห็นของลุงจันทร์นะครับ ผมเห็นด้วยเลย ถ้าคนทั่วไปมีได้ก็แค่ที่ดินที่นาบ้างเล็กน้อย บางคนแย่กว่าไม่มีเลย แบบนั้นก็ดีไปอย่างไม่ต้องกลัวลูกหลานมาทะเลาะแย่งอะไรกัน ผมก็เห็นข่าวนะลูกหลานคนรวยทะเลาะกัน ถึงกับฆ่าแกงกันเพื่อเงินทอง และทรัพย์สินมรดกนี่แหละ น่ากลัวจริงๆ ไม่มีก็ปลอดภัยดีนะครับ ไม่ปวดหัว
moony
เห็นในบทความบอกว่ามีการทำประกันชีวิตด้วย ยังไงขอนอกเรื่องนิดนึงนะคะอยากรู้ค่ะว่าประกันชีวิตตัวไหนที่น่าสนใจบ้างที่จ่ายเบี้ยไม่แพงมาก เพราะว่าตอนนี้อยากจะทำค่ะ เราทำงานคนเดียวและมีลูกหลายคน พอมาอ่านบทความนี้เรารู้สึกเป็นห่วงลูกก็เลยคิดว่าอยากจะทำประกันชีวิตไว้ ถ้าเพื่อนๆคนไหนรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้รบกวนช่วยบอกเราด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ
ล่า
จำเป็นต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับภาษีที่จะให้มรดกกับลูกหลานด้วยครับ เพราะว่าจำเป็นต้องเสียภาษี 5% ของมูลค่ามรดก เพื่อที่จะไม่เสียภาษีมากขนาดนั้นจำเป็นต้องวางแผนการให้มรดกแบบที่ทยอยให้แต่ละปี ไม่ต้องรอให้เสียชีวิตก่อนก็ได้ครับ สามารถทําพินัยกรรมและทยอยมอบสมบัติให้กับลูกหลานได้เลยตั้งแต่ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่
ลูกปลา
การส่งต่อมรดกแบบระยะยาวก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สามารถวางแผนและทำให้ลูกได้ โดยการเลือกทำประกันแบบสะสมทรัพย์และให้ผู้ได้รับผลประโยชน์เป็นผู้รับมรดกนั่นเอง การวางแผนให้มรดกในรูปแบบนี้ช่วยให้เราสามารถลดภาษี หลีกหนีจากผู้ที่เราเป็นหนี้ ทำให้ผู้ที่จะได้รับผลประโยชน์ได้รับเงินก้อนเป็นจำนวนเต็ม โดยที่ไม่ต้องเสียภาษีกับทางสรรพากรด้วยค่ะ
©ปราก
ลุงจันท์ นี่ความคิดเข้าท่าดีนะครับ กันลูกหลานต้องมาทะเลาะกัน แบ่งให้เลยตอนนี้ ถ้ามันจะตีกันหรือทะเลาะกัน ก็ได้จัดการไปเลยครับ แต่ผมอยากให้ลุงป้องกันอีกอย่างครับ เดี่ยวลูกๆจะว่าลำเอียงเรื่องแบ่งที่ดินครับ ผมว่าลุงจันทร์ให้ลูกๆทั้งสามคนมาจับฉลากเลยครับ ว่าใครจะได้ที่ดินตรงไหนครับ ทำแบบนี้ลูกๆว่าได้ว่าเราไม่ได้ครับ
LuLu
@k. moony ลองติดต่อกับทางบริษัทประกันดูดีไหมคะ จะได้คำตอบที่ตรงจุดอย่างที่คุณต้องการเลย เพราะว่าในห้องนี้ไม่ได้มีตัวแทนในการขายประกันนะคะ เลยอาจจะตอบคุณไม่ได้ หรือไม่ก็สามารถปรึกษาในเวปนี้ได้เลยนะคะถ้าคุณสนใจอยากรู้เกี่ยวเรื่องประกัน ทางเว็ปเค้าจะสามารถแนะนำคุณได้ค่ะ ลองไปแอด line ดูนะคะ เผื่อจะได้คำตอบค่ะ