เรื่องมรดก ไม่ใช่ปัญหาเฉพาะแค่คนรวยๆเท่านั้น ถ้าเราไม่ได้วางแผนไว้ อย่างฉลาด ตั้งแต่เนิ่นๆ อาจต้องเจอกับ ขั้นตอนการจัดการเกี่ยวกับเรื่องมรดกที่ล่าช้า ความขัดแย้งกันของเหล่าทายาท การมีผู้จัดการที่เป็นกลางและเหมาะสม หรือแม้แต่การฟ้องร้อง และทะเลาะแย่งชิงกัน แบบไม่เป็นตามเจตนารมย์ของเจ้าของทรัพย์ คงเป็นเรื่องที่พ่อแม่ หรือพี่น้อง ไม่อยากจะให้เกิดขึ้น! เพื่อการส่งต่อการเงินที่มั่นคงให้กับลูกหลาน เราจึงต้องวางแผนเรื่องมรดกตั้งแต่ตอนนี้ เพราะทุกสิ่งบนโลก ตั้งอยู่บนความไม่แน่นอน ทรัพย์สมบัติเป็นร้อย หรือล้าน ถ้าไม่มีการเตรียมล่วงหน้า มันจึงยืดยาวได้แค่ไหน มาเตรียมตัวได้ก่อนใน 4 วิธี ดังนี้

1. เข้าใจสินทรัพย์และหนี้สิน

1. เข้าใจสินทรัพย์และหนี้สิน

การทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย ของทรัพย์สิน และหนี้สิน เป็นวิธีเริ่มที่ดี จะต้องมีการกระจายออกมา เพื่อจดบันทึกอย่างละเอียดกันดู ว่าขณะนี้ เราเองมีจำนวนทรัพย์สินและหนี้สินเป็นอะไร จำนวนเท่าไร และอยู่ที่ไหน เพื่อให้มีความเป็นระเบียบ และเข้าใจในตัวมันอย่างละเอียด วิธีนี้ จะทำให้เราสามารถวางแผนในการปลดหนี้ได้เพิ่มเติม และมีเงินเหลือๆในช่วงปั้นปลายการเกษียณอีกด้วย

ความหมายของสินทรัพย์ที่ดี คือ การมีความคล่องตัว เราจึงต้องจัดเป็นหมวดหมู่ เช่น เงินสด เงินที่ฝากในบัญชีธนาคาร หรือทรัพย์สินที่ใช้ในการลงทุน อย่าง หุ้น กองทุน อสังหาริมทรัพย์ พวกสัญญาเช่า หรือโฉนดต่างๆ. แต่สำหรับ บ้าน รถยนต์ และเครื่องประดับ เราจะจัดเป็นทรัพย์สินส่วนตัว เพื่อรู้ว่า เป็นชื่อใคร มีเล่มทะเบียนและใบรับประกันไหม

ในส่วนของหนี้สิน จะเป็นแบ่งหนี้สินหมุนเวียนแบบหนี้ระยะสั้นๆ ไม่เกิน 1 ปี กับหนี้ระยาว ที่มีอายุเกิน 1 ปี. หนี้ระยะสั้น จะมาจากหนี้บัตรเครดิต หรือหนี้นอกระบบที่มีจำนวนและอัตราดอกเบี้ยแบบที่เรามีทางจะชำระให้หมดไปได้ กับหนี้ระยะยาว ที่อาจเป็นหนี้รถ หนี้บ้าน หรือหนี้เพื่อธุรกิจ แต่เมื่อผ่อนนานจนหมดไปก็กลายเป็นสินทรัพย์ได้ด้วย

2. ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับภาษี

2. ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับภาษี

กฎหมายเกี่ยวกับภาษี แบ่งออกเป็น ภาษีการให้ และ ภาษีมรดก ทำให้เราต้องวางแผนศึกษาในส่วนนี้ไว้ล่วงหน้าด้วย. ภาษีในการรับให้ของมรดก กรณีเป็นทายาทโดยตรงสืบสันดารจากบุพการี หรือคู่สมรส ถ้ามีทรัพย์สินเกิน 20 ล้านบาท จะต้องมีภาษีการให้ 5 % ต่อปี เป็นรายบุคคล แต่กรณีเป็นบุคคลอื่น ถ้าเกิน 10 ล้านก็ต้องเสียภาษีในส่วนนี้ 5 % ต่อปีด้วย แต่หากต่ำกว่าเกณฑ์นี้ก็ไม่ต้องเสียเพิ่มเติม

ส่วนภาษีมรดกโดยตรง จะมีข้อกำหนดที่แตกต่าง กรณีเป็นทายาทโดยตรงสืบสันดานจากบุพการี หรือคู่สมรส จะมีภาษีการให้กรณีทรัพย์สินเกิน 100 ล้านบาท จะต้องเสียภาษีการให้ 5 % ต่อปี เป็นรายบุคคล แต่กรณีเป็นบุคคลอื่น ภาษีการให้ในส่วนนี้จะอยู่ที่ 10 % ต่อปีต่อคน แต่หากต่ำกว่าเกณฑ์ก็ไม่ต้องจ่ายภาษี และหากเป็นคู่สมรสจะได้รับการงดเว้นภาษีแยกต่างหากอีกด้วย

สำหรับทรัพย์สินที่จะต้องเสียภาษี ตามประมวลรัษฎกร ระบุไว้ คือ หลักทรัพย์ตามกฎหมาย , อสังหาริมทรัพย์ , ยวดยานพาหนะ , เงินฝาก และทรัพยฺสินทางการเงินอื่น. ผู้ที่ทรัพย์สินส่วนมาก จึงเลือกการโอนมรดก ในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยทยอยส่งมอบทรัพย์สินในแต่ละปี ตามจำนวนที่เหมาะสม แล้วค่อยกันแค่บางส่วน เพื่อส่งมอบหลังจากเสียชีวิต

3. ข้อกฎหมายในการทำพินัยกรรม

3. ข้อกฎหมายในการทำพินัยกรรม

ผู้รับมรดกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ ทายาทโดยธรรม และ บุคคคลผู้รับพินัยกรรมซึ่งอาจเป็นทายาทหรือไม่ก็ได้. ทายาทโดยธรรม จะเกิดขึ้นเมื่อมีการทำพินัยกรรมไว้ ซึ่งมีลำดับ คือ ผู้สืบสันดาน , บิดามารดา , พี่น้องร่วมบิดามารดา , พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดา , ปู๋ยา ตายาย และ ลุงป้า น้าอา ลำดับแบบนี้ จะตัดญาติที่ห่าง หรือญาติสนิทออกไป และให้ความสำคัญกับทายาทลำดับต้นมาก่อน ที่มีสิทธิรับมรดกโดยตรงตามพินัยกรรม. ส่วนกลุ่มที่ 2 คือ  บุคคลผู้รับพินัยกรรมซึ่งอาจเป็นทายาทหรือไม่ก็ได้ ในพินัยกรรมก็ต้องระบุชัดลงไปว่า มอบทรัพย์สิน เป็นจำนวนเท่าใดอย่างชัดเจน เพื่อทายาทลำดับต่อๆมา จะยังมีสิทธิ์ในการรับมรดก ตามความจำนงค์ของเจ้าของทรัพย์ด้วย

4. เลือกการส่งต่อแบบที่เพิ่มประโยชน์ในระยะยาว

4. เลือกการส่งต่อแบบที่เพิ่มประโยชน์ในระยะยาว

หากผู้เป็นเจ้าของมรดก มีทรัพย์สินที่ทยอยส่งมอบได้ยาก ก็อาจเปลี่ยนรูปแบบผลประโยชน์ระยะยาว โดย การทำประกันชีวิต (Life Insurance)ก็ได้ เพราะประกันชีวิตไม่ต้องเสียภาษี มีบริษัทประกันเป็นคนดูแลจัดการทุกอย่าง เวลาในการส่งมอบมรดกแก่ผู้สืบสกุลก็ใช้เวลาไม่นาน กระจายเงินสดตามชื่อผู้รับผลประโยชน์  ไม่มีค่าธรรมเนียม เพิ่มมูลค่าของเงินสดเพื่อการส่งต่อมรดก และป้องกันเจ้าหนี้ได้ แถมยังได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ไปอีกนานก่อนจะเกิดเหตุสุดวิสัยกระทันหันด้วย

อีกรูปแบบนึงที่กำลังได้รับความนิยม คือ ทรัสต์ (Trust) แต่จะเหมาะกับสินทรัพย์จำนวนที่สูง เพื่อคุ้มค่ากับการจัดตั้งที่มีค่าธรรมเนียม แต่ทรัสต์จะมีความหลากหลายในด้านสินทรัพย์ ทั้งหุ้น หรือที่ดิน ซึ่งสามารถลงทุนเพิ่มได้เรื่อยๆ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ โดยอาจมีการตั้งการส่งมอบมรดกไว้ ตามความปราถนาผู้ก่อตั้ง เช่น มอบเงินเดือนละ 200,000 บาท บวกลบตามค่าเงินเฟ้อ ตลอดชีวิตของบุตร แต่ต้องเสียภาษีกองทุนจำนวนเล็กน้อย จึงมักใช้ทรัสต์กัน กรณีมีบุตรพิการ หรือออทิสติก ที่ไม่พร้อมในการบริหารสินทรัพย์  เป็นต้น

ส่งมอบความมั่นคงให้กับคนที่เรารัก...ด้วยการวางแผนมรดกตั้งแต่วันนี้!

ส่งมอบความมั่นคงให้กับคนที่เรารัก...ด้วยการวางแผนมรดกตั้งแต่วันนี้!

วิธีที่ดีกว่าในการส่งมอบมรดกก็คือ การจัดการทรัพย์สินแบบเตรียมพร้อมไว้อย่างดีก่อน ด้วยการรู้สถานะการเงินของตัวเองเป็นอย่างดี มีบัญชีทรัพย์สินตลอด เพื่อศึกษาข้อกฎหมายและวางแผนส่งมอบแก่ทายาท ในวิธีที่มีผลประโยชน์ทางภาษีดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการทยอยให้ หรือการเปลี่ยนรูปแบบของสินทรัพย์เป็นประกันชีวิตหรือทรัตส์ตามความเหมาะสม. เพราะการวางแผนมรดกเพื่อส่งมอบความมั่นคงไว้ให้กับลูกหลานหรือ คนที่เรารัก เป็นเรื่องสำคัญ และมีเทคนิคที่ไม่ยากเกินไป ยังช่วยลดความขัดแย้งในการแบ่งทรัพย์สินลงไปได้เยอะกว่าการไม่เตรียมตัวล่วงหน้า. เรื่องในครอบครัวเป็นเรื่องละเอียดอ่อน จึงต้องมีการประยุกต์ใช้ เพื่อให้ได้วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดกับกรณีของเรา โดยการมองการณ์ไกล ก็เป็นวิธีที่เริ่มได้เลย แม้อายุเราจะไม่ใช่ไม้ใกล้ฝั่ง! เพื่อทำให้รากฐานในการสร้างหลักประกันกับคนที่เรารักและคนในครอบครัวมั่นคงมากที่สุดนั่นเอง