เพื่อนๆเคยซื้อขายหุ้นกันไหมครับ? ถ้าไม่เคยก็คงไม่รู้ แต่ถ้าเคยก็คงจะต้องรู้เป็นอย่างดี ว่าการซื้อขายหุ้นนั้นจะต้องมีการเสียค่าธรรมเนียมหรือค่าคอมมิชชันให้กับโบรกเกอร์หรือก็คือบริษัทหลักทรัพย์ที่ให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์นั้นเอง ไม่ว่าเพื่อนๆจะซื้อหรือจะขายจะได้กำไรหรือจะขาดทุนเพื่อนๆก็จะต้องจ่าย แต่ในตอนนี้ต่างประเทศ ได้มีแอป Robinhood แอปซื้อขายหุ้นที่ไม่ได้เก็บค่าธรรมเนียมเกิดขึ้น ทำให้มันไปรบกวน ธุรกิจโบรกเกอร์ออนไลน์อื่นๆที่จะต้องหันมาทำตามแอป Robinhood โดยการไม่เก็บค่าธรรมเนียมตามไปด้วย โดยในบทความนี้ เราก็จะมาพูดทุกสิ่งเกี่ยวกับแอป Robinhood ไม่ว่าจะเป็น ที่ไปที่มา  ตัวอย่างการซื้อขายที่ไม่เหมือนใคร และถ้า Robinhood ไม่เก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าคอมมิชชัน Robinhood เอารายได้มาจากไหน?

ที่มาที่ไปของแอปซื้อขายหุ้นที่มีชื่อว่า Robinhood

ที่มาที่ไปของแอปซื้อขายหุ้นที่มีชื่อว่า Robinhood

แอปซื้อขายหุ้น ที่มีชื่อว่า Robinhood เป็นสตาร์ตอัปด้านอุตสาหกรรมการเงิน(Fin Tech) จากประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ก่อตั้งขึ้นในปี คริสต์ศักราช 2013 โดยบริษัทที่สร้างแอป Robinhood เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มสำหรับซื้อขายหลักทรัพย์ กองทุน ตราสารอนุพันธ์ และเงินดิจิทัล แต่ด้วยเป้าหมายของทางบริษัท ที่มีความต้องการให้โอกาสกับนักลงทุนรายย่อยที่จะสามารถเข้าถึงโลกแห่งการเงินให้ง่ายขึ้น จึงได้ทำการเสนอบริการที่แตกต่างจาก บริษัทโบรกเกอร์อื่นๆเขาทำกันนั้นก็คือ การไม่เก็บค่าคอมมิชชัน ซึ่งนั้นเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อหลายๆบริษัทโบรกเกอร์ที่ให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา เพราะ บริษัทหลักทรัพย์ที่ให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา จะมีการคิดค่าธรรมเนียมอยู่ที่เฉลี่ย 200 บาทต่อการซื้อขาย

แต่ในเมื่อมีบริษัทที่สร้างแอปอย่าง Robinhood ขึ้นมาที่ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมทำให้บริษัทอื่นๆก็ต้องทำตามเพื่อที่จะได้รักษาฐานลูกค้าเอาไว้ โดยในเดือน ตุลาคม 2019 บริษัทใหญ่ที่เป็นผู้นำตลาด อย่างเช่น E-Trade , Charles Schwab , TD Ameritrade ที่ประกาศยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าคอมมิชชันเป็นที่เรียบร้อยไปแล้ว และ นอกจากนี้ยังเกิดการรวมกิจการกันเกิดขึ้นอีกด้วย ระหว่าง Charles Schwab และ TD Ameritrade เพื่อที่จะสามารถเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้มากขึ้น

บริการตัวใหม่ที่น่าสนใจของ Robinhood ในการซื้อขายหุ้นที่ไม่เหมือนใคร

บริการตัวใหม่ที่น่าสนใจของ Robinhood ในการซื้อขายหุ้นที่ไม่เหมือนใคร

หลังจากที่ Robinhood ได้ก่อตั้งและตีตลาดมาด้วยเป้าหมายในการให้โอกาสนักลงทุนรายย่อยได้เข้ามามีโอกาสทางการเงินมากขึ้น โดยการไม่เก็บค่าธรรมเนียมในการซืท้อขายหุ้นผ่านแพรตฟอร์มออนไลน์ และผู้นำตลาด อย่าง E-Trade , Charles Schwab , TD Ameritrade ก็ได้ทำตามเพื่อที่จะรักษาลูกค้าของตนในบริษัทเอาไว้ไม่ให้หันไปหา Robinhood แต่ Robinhood ก็ยังไม่จบเพียงเท่านี้ในการให้โอกาสกับนักลงทุนรายย่อย โดยทาง Robinhood ได้เปิดบริการใหม่ที่น่าสนใจและดึงดูดลูกค้าเป็นอย่างมาก โดยบริการนี้เกิดมาจากความคิดเห็นของบริษัท ที่มองว่า การลงทุนนั้นไม่ควรที่จะจำกัด ว่านักลงทุนควรมีเงินต้นอยู่เท่าไร ซึ่งเปิดบริการนี้จะเปิดให้บริการ

ในปี 2020 ที่จะเปิดให้ลูกค้าของ Robinhood นั้นสามารถซื้อขายหุ้นได้ตามสัดส่วนเงินทุนที่ตัวเองมี แทนที่จะเป็นจำนวนหุ้น (Fraction Trade) ผมจะยกตัวอย่างให้เพื่อนๆดูนะครับ เช่นถ้าเพื่อนซื้อหุ้นที่มีราคาแพงที่สุดในโลกอย่าง Berkshire Hathaway เพียง 1 หุ้น เพื่อนๆจะต้องใช้เงินสูงถึง 10.3 ล้านบาท ซึ่งปกติการซื้อขายหุ้นก็จะเป็นการบังคับว่าเพื่อนๆจะต้องซื้อขั้นต่ำที่ 1 หุ้น แล้วหุ้นนั้นมีราคาเท่าไรเพื่อนๆก็ต้องเตรียมเงินเท่านั้นเพื่อที่จะสามารถซื้อหุ้นนั้นได้ นั้นจึงเป็นสาเหตุที่คนมีเงินน้อยถึงลงทุนได้แค่ที่กองทุนรวม

แต่ในบริการนี้เพื่อนๆจะสามารถเลือกซื้อหุ้นอะไรก็ได้ที่ต้องการไม่ว่าหุ้นนั้นจะมีราคาแพงขนาดไหนก็ได้ โดยถ้าเพื่อนๆจะเลือกซื้อหุ้นที่มีราคาแพงที่สุดในโลกอย่าง Berkshire Hathaway ที่มีราคา 1 หุ้นอยู่ที่ 10.3 ล้านบาท โดยใช้เงินเพียง 100 บาท เพื่อนๆก็จะครอบครองหุ้น Berkshire Hathaway ที่ 0.0000097 หุ้นของ Berkshire Hathaway ได้ และ ในแอป Robinhood ยังมีบริการอำนวนความสะดวกอื่นๆอีก เช่น การนำเงินปันผลไปลงทุนในหุ้นต่อให้แบบอัตโนมัติหรือเพื่อนๆจะตั้งคำสั่งแบ่งซื้อหุ้นตามช่วงเวลาก็ได้  และทั้งหมดทั้งมวลนั้น ทั้งการบริการต่างๆที่ไม่เหมือนใครนี้ จึงได้เกิดคถามขึ้นว่า Robinhood นั้นจะเอารายได้มาจากไหน ค่าธรรมเนียมก็ไม่เก็บ

Robinhood มีรายได้มาจากไหน?

Robinhood มีรายได้มาจากไหน?

Robinhood เอารายได้มาจากไหน ทั้งๆที่ค่าธรรมเนียมก็ไม่ได้เก็บ ก็จากข้อมูลที่ผมได้หามา ทางบริษัท Robinhood นั้นก็ได้เอารายได้มาจากทางช่องทางอื่นที่สร้างมาแทน โดย มีทั้งหมด  3 ช่องทาง ได้แก่ 1.ดอกเบี้ยจากเงินที่นักลงทุนฝากไว้ 2.ค่าสมัครสมาชิกแบบ Subscription เพื่อใช้บริการพิเศษ 3.การขายคำสั่งซื้อขาย ไปให้โบรกเกอร์รายอื่นดำเนินการต่อ โดยทั้ง 3 ช่องทางนั้นมีรายละเอียดังนี้

  1. ดอกเบี้ยจากเงินที่นักลงทุนฝากไว้ เพื่อนๆที่เคยซื้อขายหุ้นผ่านโบรกเกอร์ คงจะทราบดีใช่ไหมครับว่า การที่จะทำการซื้อขายได้เพื่อนๆจะต้องทำการฝากเงินเข้าไปก่อน ซึ่งก็มีนักลงทุนจำนวนไม่น้อยที่ฝากเงินทิ้งเอาไว้โดยที่ยังไม่ได้ตัดสินใจที่จะทำการลงทุนซื้อขายจริงๆ และระหว่างนี้แหละ บริษัท Robinhood ก็จะนำเงินนั้นไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น ตลาดการเงิน หรือ พันธบัตร แล้วเอาดอกเบี้ยจากตรงนี้มาทดแทนในส่วนที่ทางบริษัทไม่เก็บค่าธรรมเนียมจากนักลงทุนเวลามีการซื้อขายหุ้น

  2. ค่าสมัครสมาชิกแบบ Subscription เพื่อใช้บริการพิเศษ ช่องทางที่ 2 ก็เป็นการสร้างรายได้ของบริษัทโดย บริษัท Robinhood ก็ได้ตั้งค่าบริการหรือค่าสมาชิกนั้นเอง เดือนละ 200 บาท โดยใครที่สมัครสมาชิก ก็มีบริการพิเศษๆให้ เช่น ถ้า ทำการจ่ายเงิน 200 บาทต่อเดือน ก็จะสามารถที่จะกู้เงินมาลงทุนได้ สูงสุด 30,000 บาท หรือจะสามารถเข้าถึงบทวิเคราะห์ตลาดเชิงลึก

  3. การขายคำสั่งซื้อขาย ไปให้โบรกเกอร์รายอื่นดำเนินการต่อ ช่องทางที่ 3 ช่องทางนี้ จากการประเมินรายได้แล้ว คิดเป็นสัดส่วน ได้ 55 % ของรายได้ทั้งหมดของ บริษัท Robinhood โดยปกติจะมีโบรกเกอร์บางรายที่จะรับคำสั่งซื้อขาย เพื่อที่จะนำเอาคำสั้งซื้อขายเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นใช้เพื่อกำไรส่วนต่างราคา หรือ นำไปวิเคราะห์แนวโน้มตลาดก็ได้ และถ้า บริษัท Robinhood มีลูกค้าใช้บริการเยอะ บริษัท Robinhood ก็จะยิ่งมีคำสั่งซื้อขายเยอะและก็จะสามารถสร้างรายได้จากการขายคำสั่งซื้อขายเหล่านั้นได้มากตามไปด้วย

แพลตฟอร์มของ Robinhood แสดงให้เห็นว่าโลกการเงินไม่มีอะไรแน่นอน

แพลตฟอร์มของ Robinhood แสดงให้เห็นว่าโลกการเงินไม่มีอะไรแน่นอน

ปัจจุบัน แพลตฟอร์ม Robinhood ที่เปิดกิจการมาเพียง 6 ปี กำลังจะเข้าปีที่ 7 นั้น ถูกประเมินมูลค่าธุรกิจไว้มากถึง 230,000 ล้านบาท ซึ่งมันเทียบเท่ากับมูลค่าตลาดของธนาคารกรุงไทย ธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทยเลยทีเดียว ถึงแม้ว่าในปัจจุบันยังไม่ได้มีการเปิดเผยมาว่าใน 6 ปี ที่ผ่านมา แพลตฟอร์ม Robinhood นั้นได้กำไรมากน้อยขนาดไหนหรือขาดทุนขนาดไหน แต่ในปี 2020 มีการคาดการณ์ว่า บริษัท Robinhood เตรียมที่จะเข้าไปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อที่จะสามารถขายหุ้นของตัวเองต่อมหาชนได้เป็นครั้งแรก (IPO) ซึ่งจากข้อมูลที่ผมได้นำมาเสนอให้เพื่อนๆได้อ่านกันในวันนี้ เพื่อนๆจะเห็นได้ว่า ไม่มีอะไรที่ยั่งยืนแน่นอนตลอดไปในโลกของธุรกิจ โดย เพื่อนๆจะเห็นได้ชัดเจนจากค่าธรรมเนียมหรือค่าคอมมิชชันที่ปกติการซื้อขายหุ้นก็ต้องจ่ายให้กับโบรกเกอร์อญุ่แล้วเป็นเรื่องปกติมาเป็นเวลานาน แต่เมื่อในตอนนี้ที่มีการ รบกวน จาก Robinhood มันก็สามารถทำให้หายไปได้ และเมื่อมีคนที่เริ่มทำการเปลี่ยนแปลง อย่าง Robinhood สุดท้ายแล้วทุกคนก็ต้องทำตาม จนมันกลายเป็นมาตรฐานใหม่ ซึ่งเรื่องในบทความนี้ สอนว่า ผู้ประกอบการในปัจจุบันนั้นต้องรีบปรับตัวให้ทัน และตอบสนองต่อคนที่เข้ามาแข่งขันให้เร็ว แล้วถึงจะอยู่รอดได้ในโลกของธุรกิจ