ช้อปจนเกินงบ! หรือจบลงด้วยการช้อปจนกระเป๋าฉีก!! มักเป็นฝันร้ายที่เหล่านักช้อปอย่างเราก็รู้นะว่าสักวันมันก็อาจจะต้องเกิดขึ้น แต่จะทำยังไงกันดีล่ะคะ ก็เมื่อเรามันชอบช้อป !?..  ดังนั้น การวางแผนล่วงหน้า ด้วยเทคนิคการช้อปปิ้งอย่างฉลาด เป็นวิธีที่ช่วยเราได้ค่ะทุกคน บทความนี้จะเอาใจขาช้อปทั้งหลาย ลองมาฟังกันทางนี้จ้า ถึงวิธีช้อปปิ้งอย่างไรไม่ให้เราพัง แถมประหยัดลงไปได้ แบบที่ไม่ต้องหยุดช้อปด้วย มันจึงดีมาก! มาดู 5 เทคนิคดีๆ ที่เสิร์ฟร้อนๆ กันเลยจ้า..

1. กำหนดมาดี ด้วยการจด จ่าย และเก็บ

1. กำหนดมาดี ด้วยการจด จ่าย และเก็บ

นอกจากการกำหนดเรื่องแผนรายรับ-รายจ่ายแล้ว สิ่งที่เราไม่ควรมองข้ามในแต่ละเดือน ก็คงเป็นเรื่องการวางแผนการกำหนดให้ดีในขอบเขตของการช้อปปิ้งค่ะ อยากจะแยกง่ายๆ ให้เราได้จับประเด็นกัน ก็คือ การจดรายการของที่เราคิดมาแล้วว่ามันต้องมี เขียนออกมาเป็นลิสต์ได้เลยยิ่งดี จะได้ยิ่งช่วยประหยัดเวลาตอนที่คุณแม่บ้านทั้งหลายเลือกซื้อสิ่งจำเป็นในบ้านในแต่ละเดือนด้วย ถ้าอยากจะตัดปัญหาเรื่องรายการที่อาจจะยาวเป็นหางว่าว ก็ต้องคิดให้ดีด้วยระหว่าง สิ่งจำเป็นตอนนี้ กับจำเป็นในอนาคต และเผื่อไว้สักข้อว่าคือ รางวัลสำหรับตัวเอง จะได้มีแรงเดินช้อปยังไงล่ะคะ

ในขณะที่จ่ายเงินเพื่อซื้อของออกไป ถ้าเราเตรียมเป็นเงินสดที่คิดว่าครอบคลุมรายจ่ายมาให้พอดี ถือว่าเป็นวิธีที่ดีกว่าการพกบัตรกดเงินสดนะคะ เราจะได้ไม่เผลอช้อปจนเกินงบไป หรือต้องมากลุ้มใจเอาทีหลังจากการรูดปื๊ดๆ. และทริคดีๆ อีกอย่างก็คือ ช้อปเสร็จก็ต้องเก็บ เก็บที่นี้ คือเก็บใบเสร็จค่ะ ดีทั้งช่วยเรารู้ว่าเดือนๆนั้น เราช้อปอะไรไปแล้ว หมดค่าใช้จ่ายไปเท่าไหร่ และหากสินค้าที่ซื้อมาตกหล่น หรือมีตำหนิ การมีใบเสร็จและป้ายสินค้าอยู่ เราก็จะได้นำไปเปลี่ยนได้ หรือจะขายต่อ ก็ทำง่ายเพราะมีบิลว่าเป็นของแท้ไงค่ะ

2. เปรียบเทียบก่อนซื้อ

2. เปรียบเทียบก่อนซื้อ

ในการช้อปสมัยนี้ การสำรวจราคาจากหลากๆร้าน ก่อนการตัดสินใจซื้อสินค้า เป็นเรื่องที่ทำง่ายและเราไม่ควรมองข้ามเลยค่ะ ทั้งการเดินดูในแผงสินค้า หรือร้านรวงในแหล่งช้อปก่อน โดยเฉพาะหากเราชอปช้อปออนไลน์ล่ะก็  เพียงเราขยันเสิร์ชสักหน่อย เลื่อนดูในแอพฯ เช็คดูเรตติ้งของทางร้าน หรือเว็บไซต์ ก็จะมีหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์โชว์ให้เราค้นหาสิ่งที่ต้องการ พอเราได้เปรียบเทียบดูราคา พร้อมคุณภาพเบื้องต้นผ่านสายตากัน ก็จะตัดสินใจได้ดีขึ้นค่ะ

และอย่างลืมด้วยว่า การดูแค่ราคาอย่างเดียวก็อาจไม่คุ้มนะ จึงต้องเทียบปริมาณกันด้วย เพราะบางผลิตภัณฑ์จะชอบทำเป็นแพ็กเกจเล็กๆ แล้วหั่นราคา หรือเสื้อผ้าบางแบบก็ถูกดี แต่บางเบา คัทติ้งไม่เนี้ยบ ก็ไม่คุ้มกับราคาเราที่เราจะต้องจ่ายเลยล่ะ

3. มีเทรนด์การช้อปในแบบของเรา

3. มีเทรนด์การช้อปในแบบของเรา

เมื่อเทรนด์ที่กำลังมา มักมีราคาสูง  ถึงเราก็ชอปของแบรนด์อยู่บ้าง แต่ถ้าหากรู้จักช้อปนอกกระแสสักหน่อย ก็อาจจะได้ครอบครองสินค้าที่คุณภาพดี ใส่ได้ไม่เอาท์ด้วย เพราะจริงๆแล้วแฟชั่นมันก็หมุนเวียนไปมานี่ล่ะ เช่น เสื้อผ้าฤดูหนาว ก็มักจะหั่นราคาในหน้าร้อน หรือของคอลเลคชั่นที่เก่าก็จะเทออกเพื่อต้อนรับคอลเลคชั่นใหม่ ถ้าเราตาดีและกวาดได้ทัน การสวนกระแสบ้างแบบนี้ ก็สร้างเทรนด์การช้อปในแบบของเราได้ดีค่ะ

และฝากไว้สั้นๆด้วยว่า ขอให้ซื้อเฉพาะรายการที่เราจะได้ใช้จริงๆกันนร้า ถ้าเราเพลินเพลินกับราคาโปรโมชั่นที่ล่อใจ ไม่มีความเด็ดขาด ก็ทำให้งบบานกว่าที่ตั้งเอาไว้แน่ๆเลยล่ะ ดังนั้น อย่าให้ความสำคัญแค่ของถูกของแถมนะคะ ลองเทียบดูความจำเป็น หรือดัดแปลงง่ายๆในแบบของเรา ช้อปในร้านขายของวินเทจ หรือมือสองบ้าง ก็อาจจะสร้างแฟชั่นเฉพาะตัวให้เรา ได้ทั้งของดีราคาถูก และสร้างคุณค่าให้คนที่ได้รับ ให้ยิ้มไม่หุบเลยก็ได้ ถ้ามันมาจากความพยายามของเราค่ะ

4. มีมิตรภาพเป็นตัวช่วย

4. มีมิตรภาพเป็นตัวช่วย

บางคนอาจบอกว่าเพื่อนกินหาง่าย เพื่อนตายหายาก สำหรับขาช้อปอย่างเราคงไม่เน้นสายโหดขนาดนั้น เพียงแค่เรามีเพื่อนที่พร้อมเป็นมิตรภาพยามช้อปปิ้ง เขาจะช่วยปรามหรือยั้งอารมณ์โหมดการช้อปของเราได้ดี เตือนกันได้ทัน และใช้เงินเป็นค่ะ จะได้ช่วยพากันเดินสู่แสงสว่าง ไม่ได้จับจ่ายซะจนกระเป๋าฉีกไปแบบคูณสอง

เพื่อนช้อปของเราจะต้องเป็นเพื่อนที่ช่วยกันต่อรองสินค้าได้สักหน่อย หรือขอบสินค้าแนวเดียวๆกับเรา เพราะบางครั้งก็จะช่วยแชร์กันได้เมื่อต้องซื้อยกแพ็ค หรือยกโหล เราก็จะได้ราคาขายส่ง เช่น เสื้อผ้าที่แพล็ตตินั่ม ของกิ๊ฟช้อปที่สำเพ็ง หรือ แบรนด์เซลล์ที่มาเป็นคู่ ทั้งเราและเพื่อนจะได้มีคนหาร แบบดีลไปทั้งคู่กันเลย

5. หลีกเลี่ยงการช้อปผิดๆ

5. หลีกเลี่ยงการช้อปผิดๆ

และอย่างสุดท้าย จะบอกว่าการช้อปปิ้งไม่ผิดค่ะ แต่มันก็มีรูปแบบการช้อปแบบผิดๆ เหมือนกันที่เราจะต้องแยกแยะ เช่น การซื้อของที่ไม่จำเป็น ซื้อยามไม่มีอะไรทำ หรือช้อปปิ้งเพราะความเบื่อเพียงแค่นั้น   แม้อารมณ์แบบนี้อาจจะเคยเกิดขึ้นกับเราในบางครั้งบ้าง คราวหน้าก็ลองชวนเพื่อนไปเบรคด้วยวิถีอื่นสิค่ะ อย่างกิจกรรมที่ไม่ต้องเสียตังค์ หรือจ่ายแบบเบาๆ ลองชวนกันเข้าร้านกาแฟเก๋ๆ หรือร้านหนังสือ ที่สร้างความเพลิดเพลินให้เรามากกว่าการช้อปแบบกระหน่ำแล้วมานั่งเสียใจน่าจะดีกว่านะคะ

หรือบางครั้ง เราก็มีฟีลแบบตัดสินใจจะซื้อแล้วนะ แต่มันกึ่งๆอ่ะ ลังเล ควรซื้อดีหรือไม่ซื้อดี ใครเคยเกิดสถานการณ์นี้ คราวหน้าอยากแนะนำเลยค่ะว่าให้รีบเดินออกมา ถ้ายังไม่โดนก็กลับไปคิดทบทวนดูก่อนได้ เราอาจจะเจอสิ่งที่ดีกว่าทีหลัง และคิดว่าดีแล้วที่ยังไม่ซื้อด้วยซ้ำ วิธีนี้น่าจะช่วยเซฟงบในกระเป๋าเราได้ดี และพอเวลาผ่านไปความอยากก็จะลดลงค่ะ จะช่วยเราคิดก่อนซื้อได้เป็นแน่ๆ. แต่หากกลับบ้านแล้วคิดถึงมันอีกหลายรอบ ค่อยกลับไปซื้อในวันรุ่งขึ้นก็น่าจะยังไม่สายนะคะ

เพิ่มมิติในการช้อป ด้วยเทคนิคดีๆ ที่ช่วยให้เราช้อปอย่างมีความสุขไปได้อีกนาน!

เพิ่มมิติในการช้อป ด้วยเทคนิคดีๆ ที่ช่วยให้เราช้อปอย่างมีความสุขไปได้อีกนาน!

ยอมรับเหมือนกันมั๊ยค่ะว่า สมัยนี้ค่าใช้จ่ายมันเยอะ!! แค่ก้าวขาออกจากบ้านก็เป็นเงินแล้ว ยิ่งรวมกับเศรษฐกิจในบ้านเราที่ยังคงเอาแน่เอานอนไม่ได้ การตั้งรับให้ดี ด้วย 5 เทคนิคที่คุยกันมา ถือว่าตอบโจทย์ขาช้อปได้ดีเลยล่ะค่ะ  ทั้งการกำหนดขอบเขตของการช้อปปิ้งมาให้ดี อย่างการ จด-จ่าย-เก็บ อย่างฉลาด , เปรียบเทียบและเช็คราคาจากหลากๆร้าน ก่อนการตัดสินใจซื้อ , มีเทรนด์การช้อปในแบบของเรา นอกกระแสบ้าง ซื้อมือสองบ้าง , มีเพื่อนช้อปที่จะช่วยกันหาร ต่อรองสินค้าและช่วยยั้งสติกันได้  สุดท้ายก็คือ ไม่ช้อปแบบผิดๆ เพียงแค่เบื่อๆ หรือช้อปเพื่อฆ่าเวลาเพียงเท่านั้น ใครทำได้รับรองว่าเราไม่พังแน่ๆค่ะ

นอกจากนี้ ถ้าเพิ่มด้วยการจัดแบ่งเงินในส่วนของการช้อปปิ้ง หากใช้ครบก็จบแค่นี้ในเดือนนั้น ใช้ไม่หมดค่อยทบไปเดือนหน้า ก็จะยิ่งช่วยเพิ่มระเบียบวินัยในการช้อปของเราแบบไม่ให้ใช้เงินเกินตัว หรือสร้างหนี้เพิ่มด้วย  หวังเรื่องราวที่เราคุยกันไปในวันนี้ จะมีส่วนช่วยให้การช้อปปิ้งในครั้งถัดไปเรา ได้มิติในการช้อปอย่างฉลาดกันนะคะทุกคน แถมยังสร้างความคุ้มค่าได้มากกว่าเดิม และเพิ่มความสุขในการช้อปไปได้อีกนานเลยล่ะ!