จากผลกระทบที่สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจของโรคระบาดโควิดทำให้หลายต่อหลายคนเดือดร้อนอย่างหนัก แต่คุณรู้หรือไม่ว่าเหล่าผู้ประกอบการ หรือเจ้าของธุรกิจ SMEs ก็เดือดร้อนไม่แพ้กัน แถมธุรกิจต่างๆนั้นไม่ได้รับการช่วยเหลือเหมือนกับลูกจ้างด้วยซ้ำ ลูกจ้างที่ตกงาน หรือขาดรายได้นั้นมีมาตรการของรัฐฯเข้ามาให้การช่วยเหลือเยียวยาหลายๆช่องทาง แต่สำหรับธุรกิจ SMEs นั้นไม่มี ทำให้ธุรกิจเหล่านั้นต้องหาทางออกด้วยตัวเอง และต้องยืนด้วยตัวเองซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลยค่ะ
บทความนี้จะบอกให้คุณได้รู้ว่าธุรกิจ SMEs นั้นต้องเจออุปสรรคอะไรบ้างกว่าจะผ่านช่วงวิกฤติของเศรษฐกิจตอนนี้ได้ ซึ่งสาเหตุหลักก็มาจากโรคระบาดโควิดนั่นเอง เรื่องที่บทความนี้จะมาบอกกันก็มีดังนี้คือ อุปสรรคจากมาตรการช่วยเหลือเรื่องเงินกู้ / มาตรการเงินกู้ดอกเบี้ยไม่เกิน 2% ไม่เป็นความจริง / SMEs ที่เดือดร้อนไม่สามารถรับความช่วยเหลือจากมาตรการของรัฐฯได้ เรื่องทั้งหมดนี้คืออุปสรรคใหญ่ที่ทำให้ธุรกิจ SMEs ส่วนมากต้องต่อสู้อย่างหนักในช่วงโควิดค่ะ
อุปสรรคจากมาตรการช่วยเหลือเรื่องเงินกู้
มาตรการแรกที่ธุรกิจ SMEs จะสามารถรับความช่วยเหลือได้นั้นมาจากธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นความช่วยเหลือทางด้านเงินกู้ ในความเป็นจริงของธุรกิจ SMEs นั้นส่วนมากสร้างขึ้นจากเงินกู้ที่ได้รับมากจากธนาคาร และในระหว่างการดำเนินกิจการไปนั้นต้องมีการชำระหนี้อยู่เรื่อยๆ แต่เมื่อธุรกิจไม่สามารถหาผลกำไรได้ และขาดสภาพคล่องก็ไม่มีทางจะชำระหนี้ได้ตามเดิม จึงเกิดมาตรการช่วยเหลือในเรื่องนี้โดยเสนอให้ธุรกิจ SMEs ที่ประสบปัญหานั้นได้กู้เงินเพิ่มเติมในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่าเดิม และมีความช่วยเหลือในเรื่องการลดภาระหนี้เข้ามาเสริมด้วยแต่ก็ไม่มากเท่าไหร่ แต่คุณรู้หรือไม่? ว่าความช่วยเหลือเหล่านี้กลับทำให้ธุรกิจ SMEs ตกที่นั่งลำบาก และ ไม่มีทางเลือกมากนัก เพราะอะไร? เพราะแม้ว่าจะลดภาระหนี้ให้อยู่บ้างแต่ก็ยังต้องชำระหนี้ให้แก่ธนาคารอยู่ในจำนวนหนึ่ง แถมไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากยอมกู้เงินเพิ่มเพื่อสร้างสภาพคล่องให้ธุรกิจส่งผลให้กลับมีหนี้สินเพิ่มขึ้นแทนที่จะลดน้อยลง และเมื่อสถานการณ์เศรษฐกิจกลับสู่ภาวะปกติแน่นอนว่าหนี้สินคงจะรุมเร้าไม่น้อยเลยทีเดียวสำหรับธุรกิจ SMEs ค่ะ ทำให้เห็นว่าตอนนี้เจออุปสรรคใหญ่ และมีอุปสรรคที่ใหญ่กว่ารออยู่ในอนาคตแล้วด้วย
มาตรการเงินกู้ดอกเบี้ยไม่เกิน 2% ไม่เป็นความจริง
สืบเนื่องมาจากมาตรการจากธนาคารแห่งประเทศไทยที่ให้กู้เงินเพิ่มในอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าปกติที่เสนอธุรกิจ SMEs นั้น มาพิจารณารายละเอียดของอัตราดอกเบี้ยกันค่ะ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยเสนอว่าจะให้ธุรกิจ SMEs กู้เงินเพิ่มเติมได้ทั้งจากธนาคารเดิม และธนาคารใหม่ในอัตราดอกเบี้ยที่ไม่เกิน 2% หรือประมาณ 0.01% เท่านั้น แต่มาตรการเรื่องนี้กลับพบปัญหาว่าเมื่อมีการขอยื่นกู้ไปแล้วต้องเสียอัตราดอกเบี้ยมากกว่า 2% อยู่เพราะอะไร? นั่นก็เพราะว่านอกจากอัตราดอกเบี้ยแล้วธนาคารยังเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆด้วยทำให้เมื่อถึงกำหนดชำระหนี้จึงมีจำนวนเงินที่ต้องจ่ายเพิ่มเกินกว่าที่คิดไว้ค่ะ ดังนั้นจึงบอกได้ว่าเงินกู้ที่เสนอให้กู้เพิ่มในอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า 2% ไม่เป็นความจริง เรื่องนี้ส่งผลให้ธุรกิจ SMEs ตกที่นั่งลำบาก เพราะเมื่อต้องการร้องเรียนเรื่องนี้ก็จะทำให้เสียเครดิตต่อธนาคารนั้นๆได้ ส่งผลให้การทำธุรกรรมการเงินในอนาคตมีปัญหาค่ะ จึงเรียกได้ว่าอยู่ในอาการน้ำท่วมปากไปตามๆกัน
SMEs ที่เดือดร้อนไม่สามารถรับความช่วยเหลือจากมาตรการของรัฐฯได้
เห็นได้ชัดว่าสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs นั้นไม่มีทางเลือกมากนัก ในการรับความช่วยเหลือจากภาครัฐฯ ที่ส่วนมากมีมาตรการผ่านมาทางธนาคารแห่งประเทศไทยค่ะ ซึ่งมีสองช่องทางเท่านั้น คือ การลดภาระหนี้สินบางส่วน และ การยื่นข้อเสนอให้กู้เงินเพิ่มเติมในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งสองทางออกนี้ก็ทำให้เกิดปัญหาตามมามากมายกลายเป็นว่าทางออกของปัญหาก็มีปัญหาอยู่ในนั้นด้วยค่ะ แต่ธุรกิจ SMEs ส่วนมากก็ต้องยอมเลือกสักทางหนึ่งเพื่อให้ธุรกิจยังไปต่อ และมีสภาพคล่องอยู่บ้างค่ะ และมาตรการสองอย่างที่ออกมานี้ก็ยังมีเงื่อนไขข้อกำหนดด้วยซึ่งทำให้ธุรกิจ SMEs หลายๆธุรกิจไม่สามารถรับความช่วยเหลือได้ เงื่อนไขที่มีก็อย่างเช่น ธุรกิจ SMEs สามารถกู้เงินเพิ่มได้หากไม่มีประวัติหนี้เสีย หรือการค้างชำระ เงื่อนไขแบบนี้ทำให้หลายธุรกิจไม่สามารถกู้เงินเพิ่มได้เพราะมีประวัติการค้างชำระอยู่บ้าง จึงเกิดเป็นปัญหาที่คาราคาซังไม่สามารถแก้ไขได้นั่นเองค่ะ หรือพูดง่ายๆว่าธุรกิจ SMEs เข้าไม่ถึงความช่วยเหลือจากมาตรการของรัฐฯได้เลยค่ะ
มาตรการช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ SMEs ดูจะไม่คล่องสักเท่าไหร่
เมื่ออ่านมาจนถึงบทสรุปของเรื่องนี้ คุณคงเข้าใจปัญหาของธุรกิจ SEMs มากขึ้นแล้วนะคะ และส่วนใครที่มีธุรกิจ SMEs อยู่แล้วคงยิ่งจะเข้าใจปัญหาที่ตัวเองจ้องเจอแน่นอน ดังนั้นมาตรการของภาครัฐฯที่มีให้สำหรับ ธุรกิจ SMEs นั้นยังไม่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง และดูเหมือนจะยากเกินไปที่ธุรกิจ SMEs ส่วนมากจะเข้าถึงความช่วยเหลือต่างๆที่ออกมาตรการมาด้วยค่ะ แม้จะยังไม่มีมาตรการออกมาเพิ่มเติมให้กับธุรกิจ SMEs แต่ถึงยังไงผู้ประกอบการก็ยังต้องพยายามหาทางออกด้วยตัวเองเพื่อจะก้าวข้ามอุปสรรคตอนนี้ไปให้ได้ และไม่ว่าใครก็ประสบกับความเดือดร้อนด้วยกันทั้งนั้นค่ะ ให้บทความนี้ช่วยคุณมองโลกกว้างขึ้น และมีกำลังใจมากขึ้น สำหรับคนที่มีปัญหาอยู่ตอนนี้นะคะ
ธนิยาณัฐ
สรุปแล้ว ปัญหาที่ SME เจอคือเรื่องของเงินทุน ใช่ไหมคะ เราคิดว่าจริงๆแบบที่บอกเลยคะ ช่วงโควิด-19 SME หลายเจ้าต้องปิดตัวลงคะ อาจจะเป็นเพราะว่าเขาไม่สามารถกระจายสินค้าของเขาไปยังตามจังหวัดต่างๆเหมือนเมื่อก่อน หรือเปล่าคะ ทำให้ไม่มีเงินทุนมาหมุนเวียนให้กับเขา แถมจะไปขอสินเชื่อSME ก็ต้องตรวจสอบอะไรอีกมากมาย สุดท้ายขอไม่ผ่าน
ส้มแป้น
จริงๆก็มีบางธุรกิจที่ยังไปรอดนะในช่วง covid เนี่ย เพราะว่าเขาจับตลาดได้ตรงจุด บางคนเนี่ยร่ำรวยในช่วง covid เลยก็มี แต่เป็นส่วนน้อย….. เดี๋ยวนี้ธุรกิจมาไวไปไวไม่ได้เป็นธุรกิจที่ยั่งยืนเหมือนกับแต่ก่อนต้องจับทางตลาดให้ออก โดยเฉพาะยิ่งช่วง covid ก็มีธุรกิจใหม่ๆเกิดขึ้นเยอะมาก แต่ถ้าใครที่คิดจะลงทุนช่วงนี้ต้องคิดให้ดีจริงๆ
Bancha
ในตอนแรกยังไม่มีมาตราการช่วยเหลือผู้ที่ทำธุรกิจ SME แต่ตอนนี้พอจะมีออกมาบ้างแล้วมั้ยอะครับ ไม่แน่ใจนะ เหมือนเคยอ่านเจอผ่านๆตา เป็นการลดดอกเบี้ยหรือพักชำระหนี้หรือเปล่านะ? ถ้ายังไม่มีมาตราการช่วยเหลือผู้ที่ทำธุรกิจ SME ออกมาต้องขอโทษด้วยนะครับที่ผมอาจจะเข้าใจผิด อยากให้มีความช่วยเหลือมาถึงพวกคุณด้วยนะครับ
พิพัฒน์พงศ์
สินเชื่อ ธุรกิจ SME ก็มี ให้เราเลือกใช้งานเยอะอยู่นะครับ ไม่น่าจพต้องกังวลเรื่องนี้เท่าไรนะครับ แต่ที่กังวลมากกว่าน่าจะเป็นเรื่องของการขายสินค้ามากกว่านะครับ เพราะในช่วงโควิด-19 คนก็ไม่ค่อยเที่ยวกัน ธุรกิจอย่าง SME ก็น่าจะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน ถ้ามีสินเชื่อแบบที่ผมว่าเราก็ไม่ต้องกังวลอะไรแล้วละครับ