ในระยะยาวเรื่องเงินมักเป็นเรื่องเปราะบาง และอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ได้ จึงดีกว่าถ้าจะมีการเปิดใจคุยกัน หรือทำความเข้าอกเข้าใจในอีกฝ่ายให้มากขึ้น ในเรื่องความสัมพันธ์เชิงโรแมนติก หรือกิจกรรมที่สำคัญของคู่รัก อย่างการออกเดท!

แม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไป เกือบทุกคนมีบัตรเครดิต หรือ Mobile Banking จ่ายง่ายโอนไว มีทั้งผู้ชายสายเปย์ และผู้หญิงสายเปย์ แม้บางคนไม่คาดหมายเรื่องเงินๆทองๆกับอีกฝ่าย แต่ถ้ามีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ครั้งเดียวไม่เท่าไหร่ แต่ถ้าเริ่มมองว่าเป็นภาระที่ไม่แฟร์ อนาคตที่วาดฝันไว้ก็อาจจะจบไม่สวยเอา

ส่วนของค่าใช้จ่ายในการไปเดต ควรตกลงเรื่องนี้กับคนรักยังไงดี ที่นี่มีคำตอบมาให้คุณแล้ว..

ปัญหาโลกแตก ‘ออกเดทครั้งนี้ ใครควรจ่าย..’

ปัญหาโลกแตก ‘ออกเดทครั้งนี้ ใครควรจ่าย..’

กระทู้ pantip ในไทย หรือคำถามบนโลกออนไลน์ในหลายประเทศ หลายวัฒธรรม มักมีการถกเถียงไม่จบไม่สิ้น กับความสัมพันธ์แนวโรแมนติก ที่มีเรื่องของค่าใช้จ่ายมาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะค่าอาหาร เดินช้อปเพลินๆกับแฟน ค่าตั๋วหนัง หรือค่าแท็กซี่ ฯลฯ

คำถามโลกแตก ก็คือ ‘ควรแบ่งค่าใช้จ่ายอย่างไร ให้อีกฝ่ายรู้สึกดี?’

เพราะพฤติกรรมหยุมหยิม (Pettiness) นี้แหละที่มีเรื่องของจิตวิทยามาเกี่ยวข้อง เช่น ในปี 2019 ทั้งมหาวิทยาลัย Harvard , Virginia และ Columbia ได้ออกมาวิจัยว่า ความสัมพันธ์ 2 แบบ คือ ความสัมพันธ์แบบแลกเปลี่ยน (Exchange relationship) เหมือนเรากับร้านค้าหรือธนาคาร กับ ความสัมพันธ์แบบอยู่ร่วมกัน (Communal rtlationship) เหมือนเพื่อน และแฟน

โดยความสัมพันธ์แบบแลกเปลี่ยน ถึงจะมีการคาดหวังที่เป๊ะเรื่องเงินก็ไม่เป็นไร ควรเป็นหลักทศนิยมด้วยซ้ำ  แต่ในทางกลับกัน พฤติกรรมหยุมหยิมเรื่องเงิน หรือเป๊ะมากเกินไปกับเพื่อนหรือแฟน ย่อมจะทำให้ความสัมพันธ์นั้นมีปัญหา และไม่ค่อยมีความสุขนัก แต่ถ้ามีการอะลุ่มอล่วยบ้าง ปัดเป็นเป็นตัวเลขกลมๆ มีส่วนมากกว่าน้อยกว่า ก็จะเป็นความสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาว

แต่เรื่อง ‘วัฒนธรรม’ ก็มีผลต่อพฤติกรรมในการเดทด้วย เช่น ประเทศในแถบตะวันตกจะเน้นการแชร์กัน แบ่งกันจ่ายคนละครึ่งสำหรับอาหารที่ทานด้วยกัน  ส่วนประเทศในฝั่งเอเชีย หากผู้หญิงเสนอออกค่าใช้จ่ายผู้ชายจะเสียหน้า หรือสำหรับคู่รักวัยรุ่นในญี่ปุ่น ฝ่ายหญิงจะชอบพูดก่อน ว่า ‘わりかん’ (wa ri kan) หรือ เอาบิลมาแชร์กัน แล้วฝ่ายชายก็จะบอกราคาแบบที่เขาเป็นฝ่ายจ่ายมากกว่า เพื่อรู้สึกดีทั้งสองฝ่าย

ซึ่งหากการออกค่าใช้จ่ายเมื่อออกเดทเป็นการลงทุนเพื่อความรัก บางคนจึงมองคุณสมบัติทางการเงินของฝ่ายชายตั้งแต่การออกเดทในช่วงแรกๆ  หรือบางคนก็คิดว่า ‘การผลัดกันออก’ จะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกดีกว่าเพราะไม่ต้องทำอยู่ฝ่ายเดียว ผู้หญิงทุกวันนี้ก็ทำงานนอกบ้านและสตรองกว่ายุคก่อนๆ พวกเธอก็ไม่ต้องการให้มองว่าเป็นภาระ

เมื่อเรื่องนี้ก็ต่างคนต่างคิด และเป็นปัญหาโลกแตกที่ต้องพูดกันยาว.. ทางออกที่ดีจึงขึ้นอยู่กับสภาพกาณ์ ถ้าไม่อยากผิดใจกันในเรื่องใครออกตังค์ ลองดูวิธีต่อไปนี้!

สถานการณ์ที่ผู้ชายควรจ่าย

สถานการณ์ที่ผู้ชายควรจ่าย

จากตัวอย่างของหนุ่มญี่ปุ่น จะเห็นได้ว่าวัยรุ่นยุคใหม่เดททั่วไปผู้ชายมักจะออกเยอะกว่า ทำให้ได้ข้อสรุปในบ้านเราว่า ถ้าจะให้หารกันครึ่ง ๆ ก็จะดูน่าเกลียดไป ฝ่ายชายต้องดูแลฝ่ายหญิงบ้างโดยจ่ายมากกว่า หรือหากดินเนอร์มื้อหรู เงินเดือนชาวออฟฟิศคนเดียวอาจหนักไป ดังนัน การตกลงกับคู่ของเรา โดยมีสัดส่วน 70/30 หรือ 60/40 เพื่อซัพพอร์ตกันและกันก็จะดีกว่า

แต่ถ้าเป็นวันสำคัญ เช่น เดทแรก  วันครบรอบต่างๆ การที่ผู้ชายจะเลือกเปย์เองทั้งหมด ก็คงจะได้ใจสาวๆไปไม่น้อย นอกจากจะได้ทั้งรอยยิ้มและคำขอบคุณแล้ว โอกาสที่ความสัมพันธ์จะยาวนานก็มีโอกาสได้ไปต่อสูง. เมื่อฝ่ายชายเป็นฝ่ายที่เริ่มชวน และตั้งตาคอยวันนั้น คงจะต้องรีบเตรียมเงินในกระเป๋าให้พร้อมเมื่อเป็นโอกาสพิเศษ เพราะโอกาสดีๆแบบนี้ ย่อมจะสร้างความประทับใจให้กับเธอ สร้างความรู้สึกดีต่อใจ และเพิ่มเติมด้วยเทคนิคเล็กๆน้อยๆ อย่างให้เธอรู้ราคาที่ต้องจ่าย แล้วบอกสั้นๆ แมนๆ ว่า ‘มือนี้ผมจ่ายเอง!’

ผู้หญิงจ่ายบ้างก็ดีนะ!

ผู้หญิงจ่ายบ้างก็ดีนะ!

ถ้าเดทนั้นฝ่ายชายเลือกออกค่าอาหารเองทั้งหมดแล้ว ถ้าฝ่ายหญิงจะช่วยออกค่าอื่น ๆ ก็จะดีไม่น้อย หรือบางคู่ก็อาจเสนอหน้าที่กันอย่างชัดเจน เช่น ถ้าฝ่ายชายออกค่าอาหาร ฝ่ายหญิงจะออกค่ากาแฟ หรือ ค่าเฟ่ เมื่อฝ่ายชายออกค่าใช้จ่ายหลัก ๆ ออกค่าตั๋วหนังแล้ว ฝ่ายหญิงก็อาจบอกว่าอยากช่วยออกค่าน้ำ หรือค่าป๊อปคอร์น เป็นต้น

หรือเมื่อออกไปเดทข้างนอก ฝ่ายชายมักจะออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด เวลาชวนมาเดทที่บ้าน ฝ่ายหญิงก็อาจจะเสนอตัวเป็นฝ่ายโชว์ฝีมือ ซื้อวัตถุดิบมาทำอาหารทานกันเอง  ผลัดกันหิ้วขนม หรือของอร่อยร้านดังต่างๆ เข้ามา ก็น่ารักไม่หยอกแล้วงานนี้. หรือหากเดทไหนที่สาวๆ เป็นฝ่ายทำเซอร์ไพส์ร อยากเลี้ยงตอบแทนฝ่ายชายที่เขาทุ่มเทมาเยอะแล้ว เมื่อผู้หญิงยืนยันที่จะจ่าย หนุ่มๆคงไม่อยากจะเถียงกันในร้าน หรือแย่งกันส่งเงินให้พนักงาน เพราะถ้าผู้หญิงเราตั้งใจจะจ่าย ยังไงผู้ชายก็ไม่มีวันเถียงชนะแล้วล่ะ!

พบกันครึ่งทางบ้างดีมั๊ย..

พบกันครึ่งทางบ้างดีมั๊ย..

ส่วนข้อตกลงแบบพบกันครึ่งทาง ระหว่างคนที่คบกันนานๆ ตั้งแต่เพื่อนจนเลื่อนขั้นมาเป็นแฟน การหารกันแบบ 50/50 ก็ดูจะไม่มีปัญหาอะไร. ในช่วงโปรโมชั่นหรือจีบกันใหม่ๆ หากฝ่ายชายอยากจะโชว์แมน เลือกซัพพอร์ตค่าใช้จ่ายทุกอย่างก็ไม่แปลกอะไร แต่ถ้าคบกันไปแล้วสักระยะนึง อีกฝ่ายอาจไม่กล้าส่งสัญญาณบอกอีกคนก็ได้ จึงควรมีวิธีอ้อมๆ ในการพูดว่า ‘ช่วงนี้เราเห็นเธอมีค่าใช้จ่ายเข้ามาเยอะ เราช่วยได้นะ..’ วิธีนี้จึงแฟร์ดี รวมถึงเป็นการสนอกสนใจอีกฝ่ายด้วย

หรือ ‘การผลัดกันจ่าย’ เพื่อเป็นช่องว่างให้ต่างฝ่ายต่างได้เทคแคร์ซึ่งกันและกัน ‘ครั้งนี้ฉันจ่าย ครั้งหน้าคุณจ่าย’ ก็อาจจะทำให้คบกันได้สบายๆกว่า ไปต่อได้ยาวๆ มีอะไรก็พูดกันได้ตรงๆ และยอมรับน้ำใจอีกฝั่ง ก็จะไม่มีใครรู้สึกว่าเป็นภาระต่อกัน แต่กลับเข้าอกเข้าใจกันได้ดีขึ้นด้วย

ตัวแปรอื่นๆ ที่ช่วยให้รักเราไม่เก่าไป!

ตัวแปรอื่นๆ ที่ช่วยให้รักเราไม่เก่าไป!

นอกจากนี้ การตอบแทนคืนด้วยของขวัญในวันพิเศษ ก็เป็นโอกาสแสดงความรักและความสนใจต่อกัน เช่น ถ้าฝ่ายชายชอบออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการออกเดทบ่อยๆ  ฝ่ายหญิงอาจลองเลือกของขวัญตอบแทนที่มีราคาสูง หรือเป็นสิ่งที่ฝ่ายชายอยากได้ เพื่อขอบคุณที่ดูแลกันมาโดยตลอด แล้วฝ่ายชายก็ไม่ต้องซื้อของขวัญราคาแพงแทนใจกลับ เพียงแค่ใส่ใจและสม่ำเสมอต่อกัน แค่นี้ก็เป็นความสุขที่ทำให้ทั้งคู่รู้สึกว่าตนพิเศษแล้ว

หรือสาวๆ บางคนอาจชอบเรื่องการแบ่งความถี่บ้างในเรื่องการออกค่าใช้จ่ายเวลาไปเดท เช่น ฝ่ายชายออกค่าใช้จ่ายมา 2 ครั้งแล้ว ครั้งที่ 3 ตนจะช่วย เพื่อไม่ให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าตนต้องออกเงินฝ่ายเดียวทุกครั้ง หรือถ้าสาวๆ คนไหนมีร้านอาหารที่ตนเองอยากไป เช็ครีวิวมาเรียบร้อย จะขอออกตังค์เองก็น่ารักดี ฝ่ายชายยิ่งอาจมองว่าฝ่ายหญิงเป็นคนที่ละเอียดรอบคอบ และฉลาดในการใช้เงินด้วย

การลงทุนในเรื่องความรักที่เวิร์คสำหรับคุณและเขา จะช่วยให้เดทนี้ไม่มีสะดุด!

การลงทุนในเรื่องความรักที่เวิร์คสำหรับคุณและเขา จะช่วยให้เดทนี้ไม่มีสะดุด!

เมื่อหนุ่มสาวคบหาดูใจกัน ‘การออกเดท’ เพื่อเติมเต็มความหวาน และเป็นโอกาสให้คนสองคนได้รู้จักกันมากขึ้น ในช่วงเวลาแห่งความสุขนี้ อย่าให้ปัญหาอันน่าปวดหัวในเรื่องเงิน มาทำให้ความสัมพันธ์ต้องสั่นคลอน! ส่วนคำถามที่ว่า ‘ออกเดทครั้งนี้ ใครควรจ่ายตังค์?’ เหตุผลต่างๆ ที่เราได้คุยกันมา ก็ตอบไม่ยากแล้วว่า ค่าใช้จ่ายครั้งนั้นควรเป็นหน้าที่ของใคร

เพราะการคบกันนานๆ ก็ต้องมีการพูดคุยอย่างตรงไปตรงมาในเรื่องค่าใช้จ่าย เพื่อไม่อยากให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดรู้สึกแบกรับ หรือกลัวอีกฝ่ายจะมองตนไม่ดี ทั้งสิ่งของที่ใช้ร่วมกัน หรือการท่องเที่ยวด้วยกัน เพราะบางคู่หากฝ่ายชายอยากบอกแต่ไม่กล้าบอก หรือฝ่ายผู้หญิงอยากช่วยซัพพอร์ตเขาแต่ไม่กล้าจ่ายสักที อีกฝ่ายก็คงจะไม่ได้รับรู้เลยสักครั้ง

แต่ไม่ว่าคู่ของคุณจะเลือกวิธีไหน ความรักและความจริงใจต่อกัน ก็เป็นสิ่งที่จะประคับประคองการใช้ชีวิต ไม่ควรปล่อยให้เรื่องเล็ก ๆ มาทำให้ทั้งสองฝ่ายไม่เคลียร์ คิดเล็กคิดน้อยในเรื่องการจ่ายบิลตอนเดท จนมาเป็นชนวนให้ผิดใจกันทีหลัง  เพราะการไปเดทกับแฟนเราควรจะมีแต่ความสุขจริงมั๊ย  ไม่ควรมีตัวเลือกไหนผิดหรือถูกเสมอไป เรื่องแบบนี้จึงควรเป็นการตกลงกันของทั้งสองฝ่ายที่ต้องเข้าใจตรงกันนั่นเอง!