ทุกวันนี้ธนาคารหรือสถาบันการเงินให้ความสำคัญกับลูกค้าสินเชื่อ และมองกลุ่มลูกค้าสินเชื่อเป็นศูนย์กลางมากขึ้น ดังนั้น การที่จะปล่อยสินเชื่อเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้านั้นก็ต้องพิจารณาหลายปัจจัยด้วยกัน

คำนำ ปัจจุบันสภาพการณ์เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นภาวะเศรษฐกิจ ภาวะเงินเฟ้อ หรือปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลกระทบต่อความมั่นคงของการงานและรายได้ของผู้ขอกู้สินเชื่อโดยตรง ซึ่งก็ถือว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นหนี้สูญหรือหนี้เสียได้ เราจะเห็นว่าสิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อธนาคารหรือสถาบันการเงินเป็นอย่างมาก หากผู้ขอกู้สินเชื่อหลายๆคนรวมกันแล้วไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดก็สามารถทำให้เกิดสภาวะทางการเงินของธนาคารหรือสถาบันการเงินได้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างมากที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินต้องตรวจสอบข้อมูลของผู้ขอสินเชื่ออย่างละเอียดรอบครอบ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะหนี้สูญหรือหนี้เสียตามมาได้ ซึ่งเราจะพิจารณา 4 ปัจจัยด้วยกัน ดังนี้

approve loan

ธนาคารดูอะไรในการอนุมัติสินเชื่อ

ธนาคารดูอะไรในการอนุมัติสินเชื่อ

นการอนุมัติสินเชื่อธนาคารจำเป็นจะต้องขอเอกสารใบรับรองเงินเดือนต่างๆรวมถึงประวัติในการชำระหนี้จากเครดิตบูโร4ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสะท้อนความสามารถในการชำระหนี้ให้ธนาคารพิจารณาได้ว่าควรจะอนุมัติสินเชื่อให้หรือไม่หรือควรให้วงเงินเท่าไหร่ สิ่งที่ธนาคารพิจารณาอะไร

วัตถุประสงค์

ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินจะต้องพิจารณาวัตถุประสงค์ของผู้ขอสินเชื่อ เพื่อดูว่าผู้ขอสินเชื่อนั้นจะนำไปใช้ตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่ เพราะเรามักจะพบอยู่บ่อยๆว่ามีการทำเงินกู้ที่ได้รับอนุมัติไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น การใช้ผิดวัตถุประสงค์อาจไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือผลกำไรที่จะนำมาชำระหนี้คืนให้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินได้ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญญาหนี้สูญหรือหนี้เสียในที่สุด เราจึงจำแนกออกเป็น 5 หมวดด้วยกันคือ

ขอกู้เงินเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน เป็นการขอกู้เพื่อเสริมหรือปรับสภาพคล่องของกิจการ หรือเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในดำเนินงานของกิจการ เช่น วงเงินกู้เบิกเกินบัญชี (O/D), วงเงินกู้ระยะยาว เป็นต้น

ขอกู้เงินเพื่อการลงทุนในการประกอบธุรกิจ เป็นการขอกู้เงินในการเปิดกิจการหรือประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น เปิดร้านขายอาหาร, เปิดร้านขายของ, ธุรกิจเครื่องสำอาง เป็นต้น

ขอกู้เงินเพื่อขยายธุรกิจ ปรับปรุงกิจการ เป็นการขอกู้เงินในการนำมาขยายธุรกิจหรือปรับปรุงกิจการเพื่อให้เกิดรายได้เพิ่มมากขึ้น เช่น การขยายสาขาหรือธุรกิจแฟรนไชส์, การปรับปรุงหรือต่อเติมอาคาร เป็นต้น

ขอกู้เงินเพื่อชาระหนี้อื่น เป็นการขอกู้เงินในการชำระหนี้ให้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินเดิมหลายๆแห่งรวมกัน ซึ่งเป็นการเพิ่มความสะดวกในการรวมชำระหนี้ให้อยู่ที่เดียวกัน และสามารถลดภาระอัตราดอกเบี้ยได้ด้วยเช่นกัน

ขอกู้เงินเพื่อใช้ลงทุนในทรัพย์สินถาวร เป็นการขอกู้ในการซื้อที่ดิน, อาคาร, ซื้อห้องชุด, ซื้อบ้านหรือสร้างบ้าน, ซื้อเครื่องจักร เป็นต้น

คุณสมบัติของผู้สมัคร

ผู้สมัครสินเชื่อต้องมีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ซึ่งสามารถสร้างรายได้ได้ด้วยตนเอง และต้องมีอายุไม่เกินกว่า 60 ปี และเมื่อรวมกับจำนวนปีที่ขอกู้แล้วผู้สมัครจะต้องมีอายุไม่เกิน 65-70 ปี แล้วแต่เงื่อนไขของธนาคารหรือสถาบันการเงิน

ผู้สมัครต้องหาผู้กู้ร่วมรายอื่น นอกเหนือจากผู้ที่เป็นคู่สมรส บิดามารดา บุตร และพี่น้อง ซึ่งจะมีผู้กู้ร่วมคนอื่นได้อีกไม่เกิน 1 คน และผู้กู้ร่วมที่ไม่ใช่คู่สมรสและบุตรจะต้องถือกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินจำนองด้วย

ความสามารถในการขอผ่อนชำระสินเชื่อ

โดยปกติแล้วผู้ขอกู้สินเชื่อสามารถเลือกผ่อนชำระได้สูงสุดถึง 30 ปี ดังนั้นธนาคารหรือสถาบันการเงินต้องพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ขอกู้สินเชื่อด้วย ว่าจะสามารถชำระหนี้ได้อย่างสม่ำเสมอหรือไม่ เคยมีประวัติจ่ายชำระเงินคืนล่าช้าหรือมีประวัติหนี้เสียหรือไม่ และผู้ขอกู้สินเชื่อมีรายได้มากเพียงพอที่จะสามารถชำระหนี้ที่ขอใหม่นี้ได้อย่างสบายไหม โดยพิจารณาจากหนี้สินปัจจุบันของผู้ขอกู้สินเชื่อที่ต้องชำระอยู่ไม่ว่าจะเป็น บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด ค่าผ่อนรถ ค่าผ่อนบ้าน ซึ่งภาระหนี้สินรวมกันทั้งหมดนี้ที่จ่ายเป็นยอดขั้นต่ำต่อเดือนแล้วนั้นเกินกว่า 50-60% ของรายได้ต่อเดือนที่ผู้ขอกู้สินเชื่อได้รับหรือไม่ และอัตราการผ่อนชำระสินเชื่อต่อเดือนที่ผู้สมัครกำลังขอกู้เกินกว่า 30% หรือไม่

ประเภทและมูลค่าของหลักประกัน

ธนาคารหรือสถาบันการเงินควรมีเงื่อนไขให้ผู้ขอกู้สินเชื่อมีการค้ำประกันและหลักประกัน เพื่อป้องกันความสูญเสียและหนี้สูญ เนื่องจากผู้ขอกู้อาจจะไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ได้ในอนาคต ธนาคารหรือสถาบันการเงินก็สามารถยึดหลักประกันนั้นนำไปขายทอดตลาด เพื่อชำระหนี้ค้างส่วนที่เหลืออยู่ได้ หรือให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ทั้งหมดแทน โดยหลักทรัพย์ที่ทำมาเป็นหลักประกันนั้น ได้แก่ เงินฝากธนาคาร พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วแลกเงิน สถานประกอบการ ที่พักอาศัย ที่ดินเปล่า อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งมูลค่าจะต้องสูงกว่าวงเงินกู้มากพอสมควร โดยมีมูลค่าประมาณ 70-85 % ของราคาซื้อขายหรือมูลค่าของหลักประกัน และถ้ายิ่งมูลค่าของหลักประกันมากเท่าไหร่ธนาคารหรือสถาบันการเงินก็ยิ่งมีความเสี่ยงน้อยลงมากเท่านั้น

หากธนาคารหรือสถาบันการเงินพิจารณาข้อมูลต่างๆของผู้ขอกู้สินเชื่ออย่างละเอียดรอบครอบ ก็สามารถป้องกันความสูญเสียและหนี้สูญหรือหนี้เสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเราจะเห็นว่ามูลค่าหรือวงเงินกู้แต่ละอย่างนั้นค่อนข้างสูง และระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ก็ค่อนข้างยาวนาน ดังนั้นเมื่อมีการพิจารณาตามข้อมูลข้างต้นก็จะสามารถป้องกันปัญหาต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้