อยากมีบ้านในฝันเป็นของตัวเองสักหลัง หลายคนอาจกำลังรู้สึกแบบนี้ก็เป็นได้ แต่ปัญหาหลักๆก็อาจจะติดตรงที่ ตัวเราอาจมีรายได้หรือจำนวนเงินที่เอื้อมยังไม่ถึงในเร็วๆนี้สักเท่าไหร่ การกู้ซื้อบ้าน จะทำให้เรามีระยะเวลาที่มากขึ้นการมองหาทุนทรัพย์มาจ่ายในราคาที่อยู่อาศัยนั้นๆ แม้จะแลกมาด้วยการจ่ายดอกเบี้ยก็ยังดีกว่าได้แต่หลายคนก็อาจยังสงสัยว่า มนุษย์เงินเดือนธรรมดา ๆ อย่างเรา หาเช้ากินค่ำ เงินเดือนเฉลี่ยต่อเดือนประมาณนี้ จะกู้ซื้อบ้านมันยากเกินไปไหม รายละเอียดขั้นตอนในการศึกษาข้อมูลและเตรียมตัวมันจะเยอะเกินไปรึเปล่า แล้วถ้าเคยขอกู้ไปแล้วมันไม่ผ่านละเราจะแก้ปัญหายังไงดี เรามีเคล็ดลับกู้ซื้อบ้าน ยังไงให้ผ่าน มาฝากทุกคน

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ขั้นตอนที่ถูกต้องในการกู้ซื้อบ้าน ที่นี่

5 เคล็ดลับในการ กู้ซื้อบ้าน ยังไงให้ผ่าน

5 เคล็ดลับในการ กู้ซื้อบ้าน ยังไงให้ผ่าน

มาดูภาพรวมของเคล็ดลับที่จะทำให้การ กู้ซื้อบ้าน ที่เราตั้งใจเลือกเป็นตัวช่วยหลักในการเข้าใกล้ฝันแบบนี้ สำเร็จได้ แบบผ่านง่ายๆ 100 % เต็มไปเลย ถ้าเรามีการนำมาปรับใช้กันดู เริ่มจาก 5 วิธี ดังต่อไปนี้

1. ประเมินรายได้ก่อนขอ กู้ซื้อบ้าน

ธนาคารมีเงื่อนไขมากมาย เรื่องดอกเบี้ยกับกำลังการชำระหนี้เราต้องคิด เพราะหลักๆแล้วธนาคารจะปล่อยกู้เราหรือไม่ เขาก็ต้องดูดีๆแหละว่า เงินที่ให้เรากู้เพื่อซื้อบ้านหลังนั้นๆ จะดูแล้วสูญเปล่าไหมทำให้เราต้องมีการประเมินตัวเองและประเมินรายได้มาให้ดีก่อนด้วย โดยอาจจะเช็คคุณสัมบัติกันหน่อย ว่าน่าจะผ่านเกณฑ์ตรงนี้หรือเปล่า และพร้อมจะข้อกู้หรือไม่ตามเงื่อนไขของสถาบันการเงินชั้นนำ เช่น เป็นผู้มีอาชีพและรายได้แบบสม่ำเสมอ , เป็นบุคคลทั่วไปที่ถือสัญชาติไทย และอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป, มีประวัติการเงินที่ดี ไม่ติดเครดิตบูโรหรือ Blacklist และกรณีเพิ่มเติมเรื่องผู้กู้ร่วมก็ไม่สัมพันธ์ที่ไม่ห่าง เช่น สามีภรรยา, เครือญาติ หรือคู่รัก เป็นต้น

ตัวเราเองต้องมีการวางแผนในตัวบ้านที่เหมาะสมกับรายได้เป็นหลัก เพื่อสอดคล้องกับการผ่อนชำระมากที่สุด ไม่เลือกบ้านในแบบที่ราคาเกินตัว หรือเกินการผ่อนไหวในระยะปลอดภัย บางครั้ง สถาบันการเงินบางแห่ง อาจมีการเร่งยอดสินเชื่อในส่วนของธนาคาร เขาอาจเสนอให้มีการกู้ที่สูงกว่าราคาบ้านไปอีก เช่น ราคาบ้านที่เรามองอยูสัก 2.5 ล้านบาท แต่เขากลับล่อใจด้วยวงเงินกู้ 3 ล้านบาท หากเราขอกู้เต็มจำนวนไปเลย ในความเป็นจริงระยะยาว เราอาจต้องรับมือกับค่าใช้จ่ายที่ตึงเกินไป และเกิดปัญหาผ่อนไม่ไหวได้อีกด้วย

แนะนำว่า ทางที่ดีเราควรมีจำนวนเงินการผ่อนต่อเดือนไม่เกิน 40 - 50 % ในจำนวนรายรับ , หากมีหนี้บัตรเครดิต หรือการผ่อนต่างๆ ไม่เกิน 15 % ในจำนวนรายรับ และ มีเงินดาวน์ในจำนวน 1- 20 % ในส่วนของราคาบ้านด้วย แต่หากเคยผ่อนชำระบ้านหรือคอนโดมาแล้ว การกู้ครั้งต่อมาจะไม่สูงเกิน 80 % ตามข้อกำหนดเช่นกัน

2. เช็กสุขภาพการเงินให้ดี

ประวัติเครดิตบูโร นับว่าสำคัญกับเราจริงๆ เพราะสถานบันการเงินมักจะมีส่วนของข้อมูลตรงนี้ ที่จะมาตรวจสอบเรา เช่น หนี้บัตรกดเงินสด หนี้บัตรเครดิต หรือ ประวัติการชำระแลเงินผ่อนต่างๆ เมื่อมีการแสดงข้อมูลตรงส่วนนี้ขึ้น หากสุขภาพการเงินของเราส่อแววว่าไม่ดี มีประวัติการชำระหนี้ไม่ตรงเวลา หนีหนี้ ที่นี้ล่ะ จะเข้าสู่โหมดแบล็กลิสต์เอาได้ โดยทางที่ดีเราต้องมียอดชำระสินค้าต่างๆ หรือหนี้บัตรเครดิตเผื่อไว้เลยว่า ไม่เกิน 15 % ของรายได้

เพราะสุขภาพทางการเงินที่ดี จะทำให้เมื่อเราไปยื่นเรื่องเพื่อกู้ซื้อบ้าน ทำได้ง่ายขึ้น แต่ในส่วนของแบล็กลิสต์นั้น หากธนาคารตรวจสอบเจอก็จะไม่มั่นใจในตัวเราในเรื่องการจ่ายค่างวด หรือในส่วนของหนี้บัตรเครดิต เมื่อธนาคารมาประเมินรายได้ของเรา อาจจะเห็นยอดที่ต้องชำระเกี่ยวกับบัตรแต่ละใบในแต่ละเดือน จึงไม่อนุมัติการขอกู้เอาได้เพราะกลัวส่งค่างวดไม่ไหว เราจึงต้องวางแผนการชำระแบบไม่ผิดนัด หรือจ่ายช้าเกินไป และดีที่สุดคือไม่มีหนี้ในส่วนนี้เลย เหมือนสุภาษิตไทยโบราณ ที่ว่า การไม่เป็นหนี้ก็เป็นลาภอันประเสริญ นั่นแหละ

3. เตรียมเอกสารในการขอ กู้ซื้อบ้าน ให้พร้อม

เมื่อใจพร้อมแล้ว ขั้นตอนการเตรียมเอกสารของเราก็ต้องพร้อมด้วยเช่นกัน ในส่วนหลักของเอกสารทางธนาคารที่จะต้องกู้ หลักๆ ก็มี เอกสารในตัวผู้กู้ เช่น สำเนาบัตรประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน  หรือ เอกสารการสมรสและการเปลี่ยนชื่อ ถ้ามี และศึกษาเงื่อนไขและข้อกำหนดเพิ่มเติมของธนาคารที่เราจะต้องการกู้ไปด้วย

เอกสารเรื่องการทำงานและรายได้ก็ต้องเช็ค เช่น สเตทเม้นท์ย้อนหลัง 6 เดือน หรือเงินเดือนที่มีการโอนผ่านบัญชีเป็นสลิปเงินเดือน และ ใบรับรองการทำงาน ที่อาจต้องขออนุมัติล่วงหน้าจากต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่เราทำ โดยต้องเผื่อระยะเวลาในการขอไว้ด้วย. สำหรับอาชีพฟรีแลนซ์ก็ใช่ว่าจะหมดโอกาส ถ้าเราเป็นเจ้าของกิจการก็สามารถเตรียมหลักฐานเรื่องการทำงานหรือรายได้ประกอบไปด้วย เช่น ที่มาที่ไปของรายได้ที่สม่ำเสมอ , สำเนาใบเสร็จรับเงินจากลูกค้าหรือสัญญาจ้างงาน และหลักฐานในการเสียภาษี เป็นต้น แต่ถ้าจะให้ดี การสอบถามเจ้าหน้าที่ด้านสินเชื่อของธนาคารนั้นๆไปเลย ก็ยิ่งจะให้ความกระจ่างแก่เราด้วย

4. กำหนดวงเงินและระยะเวลาที่จะ กู้ซื้อบ้าน

เราควรเป็นหนี้โดยแบกรับไม่เกิน 40 % ของรายได้ ในส่วนนี้ก็ยังใช้ได้ดีอยู่ เช่นถ้าเรามีเงินเดือนเฉลี่ยประมาณ 15,000 บาท (จะเท่ากับ 15,000 X 40 % = 6,000 ) ถ้าเราวางแผนกู้ซื้อบ้าน แต่มีหนี้สินอื่นรออีกอย่างการผ่อนรถเดือนละประมาณ 5,000 บาท (จะเท่ากับ 6000 - 5000 = 1000 ) ทำให้เรากู้ผ่านได้ยากเพราะมีความสามารถในการกู้ลดลงเยอะทีเดียว เราจึงต้องคำนวณให้ดีถึงกำลังของเราในการกู้ครั้งนี้ด้วย แนะนำว่า ก่อนการขอกู้ในระยะเวลา 3 เดือน อย่าไปเพิ่มการผ่อนอะไรเล็กๆน้อยๆอีก เพราะมันอาจตัดโอกาสการได้วงเงินตามเป้าหมายเราไปด้วย

ระยะเวลาในการผ่อนชำระโดยประมาณโดยคิดจากอัตราพื้นฐานดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 คือ  15 ปี วงเงิน 647,000 บาท , 20 ปี วงเงิน 744,000 บาท , 25 ปี วงเงิน 811,000 บาท , 30 ปีวงเงิน 858,000 บาท และ 35 ปี วงเงิน 889,000 บาท เป็นต้น ดังนั้น ถ้าเราเลือกการผ่อนที่เหมาะกับตนเอง เช่น กู้บ้านที่ราคาต่ำกว่า 1,000,000 บาท อย่างคอนโดแถบชานเมือง หรือบ้านมือสองสภาพดี ก็อาจเป็นการหาโครงการบ้านที่เหมาะกับวงเงินจากสูตรคำนวนก็เป็นได้ หรือทดสอบตัวเองด้วยการเก็บเงินดาวน์ให้ได้ สัก 10 % ของราคาบ้านที่เหมาะสมลองดูไปด้วยก็ทำได้

5. การมีผู้กู้ซื้อบ้านร่วม

วิมานที่เราวาดฝันจะเป็นจริงได้เร็วขึ้นด้วย กับตัวช่วยในเรื่อง ‘ผู้กู้ร่วม’ เพราะอย่างที่กล่าวไปในคำนำ เอาอาจเคยกังวลว่า ลำพังเงินจากชีวิตมนุษย์เงินเดือนของเราเท่านั้นแบบนี้ อาจจะไปขอกู้แล้ววงเงินก็อาจจะไม่พออยู่ดี การมีผู้กู้ร่วม จึงทำให้เราเข้าใกล้ฝันที่ว่าได้ง่ายขึ้น ทั้งยังช่วยเพิ่มวงเงินกู้ให้เราอีกด้วย หรือบางคนเคยเดินเรื่องขอกู้ไป แต่ไม่ผ่าน ก็ลองกลับมาคิดใหม่ในเรื่องผู้กู้ร่วมอีกทีน่าจะดีกว่า

ทางออกของปัญหาการกู้ให้ผ่านโดยมีผู้กู้ร่วม ทางกฎหมายก็คือ มีลูกหนี้ร่วม เป็นเหมือนการช่วยรับผิดชอบตัวหนี้เป็นส่วนๆที่เท่าๆกัน หรือตามที่กำหนด แต่สำหรับสถาบันการเงินแล้ว ปกติก็จะมองหาสัมพันธ์แบบเครือญาติใกล้ตัวเราก่อน พี่น้องแท้ๆที่คลานตามกันมา พ่อหรือแม่ที่กู้ร่วมกับลูก หรือ สามีภรรยากู้ร่วมกัน แต่ถ้าหากแต่งงานโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ก็สามารถแสดงหลักฐานอื่นประกอบได้เพิ่มเติม

ในการกู้ร่วมที่เป็นที่นิยมในตอนนี้ จะมี 2 แบบหลักๆ คือ การยกกรรมสิทธิ์ตัวบ้านให้เป็นชื่อของบุคคลเดียว แต่เมื่อกู้ยืมจะใช้หลายตัวบุคคลมากู้ร่วม กับ การกู้ร่วมแบบใส่ชื่อทุกคนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันไปเลย โดยสถาบันการเงินมักจะนำรายได้ของทุกคนที่กู้ร่วมกันนี่ล่ะ มาพิจรณาหาความสามารถในการผ่อนชำระ โดยลองหักค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนก่อน แล้วก็ให้สินเชื่อตามสัดส่วนที่เหมาะกับเรา

จะเห็นว่าการเตรียมตัวที่ดี มักมีชัยไปกว่าครึ่ง! เรื่องนี้ก็นำมาใช้ได้จริงกับการวางแผน กู้ซื้อบ้านของเราเช่นกัน เหมือน 5 เคล็ดลับที่เพื่อนๆ ได้ผ่านตากันมาแล้ว เพื่อที่จะทำให้การกู้ของเราดูมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ และภาพรวมน่าจะผ่านง่ายอย่างเต็มร้อยกันไปเลย

ดังนั้น ถ้าใครลองก่อน ก็เป็นการเตรียมตัวเป็นเจ้าของบ้านในฝันสักหลังแบบไม่ยากแบบที่คิดล่วงหน้าเลยล่ะ เช่น การประเมินตัวเองและประเมินรายได้ไม่เลือกบ้านราคาที่เกินตัว และมีสัดส่วนของการผ่อนที่เหมาะกับรายได้ ซึ่งในส่วนของประวัติการเงินก็เช่นกัน การมีสุขภาพที่ดีนั้นยิ่งสำคัญ เราจึงควรเตรียมตรงจุดนี้ให้ดีด้วย พวกบัตรเครดิต หรือบัตรกดเงินสดที่ดี และการกู้แบบต่าง ก็จะถูกเก็บเป็นส่วนกลาง หรือเครดิตบูโรอยู่แล้ว ข้อมูลตรงนี้ก็จะทำให้ธนาคารประเมินดูว่าเราประวัติดีหรือเปล่า มีรายการผ่อนอะไรบ้าง หนี้สินโดยรวม และการจ่ายล่าช้าหนีหนี้หรือไม่ แล้วการเตรียมเอกสารของเราก็ต้องครอบคลุม ให้มีหลักฐานการงานและรายได้ที่ตรวจสอบได้ แล้วเราก็สามารถเดินหน้าต่อด้วยการ กำหนดวงเงินและระยะเวลาที่เหมาะสม หรือการเตรียมผู้กู้ร่วมหากจำเป็น

เพราะการวางแผนในการกู้ซื้อบ้านนั้น เราต้องมีความเข้าใจ และเตรียมตัวมาดี ที่เป็นแบบนี้เพราะมันไม่ใช่เงินจำนวนน้อยๆ หรือหนี้ไม่กี่ปี ธนาคารย่อมให้ความสำคัญและเข้มงวดกว่าปกติ เพื่อไม่ให้เงินที่ปล่อยกู้ไปนั้นสูญเปล่าไป ดังนั้น ถ้าเราอยากให้ผ่านสักที แบบ 100 % เต็มล่ะก็ แนะนำให้ทำตาม 5 เคล็ดลับการกู้ซื้อบ้าน ยังไงให้ผ่านแบบที่คุยกันมาได้เลย หรือหากใครต้องการปรึกษา สามารถสอบถามผู้เชี่ยวชาญจาก MoneyDuck ได้ฟรี ที่ลิงก์ด้านล่าง