การทำประกันเป็นเรื่องไม่สำคัญ แต่ในความเป็นจริงเราไม่ควรมองข้ามการทำประกัน เนื่องจากเราไม่รู้ว่าวันพรุ่งนี้จะเกิดอะไรขึ้น หากประสบอุบัติเหตุต้องเข้ารักษาพยาบาลจะเอาเงินที่ไหนมาเป็นค่ารักษา เมื่อลูกโตขึ้นจะเอาเงินที่ให้ลูกเรียนจนจบมหาลัย. ดังนั้น การทำประกันไม่ใช่เรื่องที่ไม่ดี ประกอบกับในปัจจุบันมีกรมธรรม์ในรูปแบบประกันที่หลากหลาย และเบี้ยประกันที่มีราคาถูก ซึ่งการทำประกันที่มาพร้อมบัตรเครดิตก็เป็นตัวเลือกหนึ่งด้วยเช่นกัน.
หลายๆคนเวลาอยากไปทำธุรกรรมกับบัตรเครดิต หรือธนาคาร หากมีของพวกของแถม ก็มักจะชอบใจใช่ไหม โดยเฉพาะบัตรเครดิตที่มักพ่วงประกันเดินทางต่างประเทศมาให้ด้วย หลายๆคนก็คงคิดว่า บัตรเครดิตพ่วงประกันประเภทนี้ ก็น่าจะเพียงพอสำหรับนักเดินทางแล้ว แต่อย่างไรก็ดีเราก็ควรตรวจสอบเงื่อนไขของตัวประกันให้ดี จึงมีข้อเปรียบเทียบระหว่างประกันการเดินทางต่างประเทศแบบเพรียวๆกับประกัน ที่พ่วงมากับบัตรเครดิต มาฝากกันว่าอะไรคุ้มค่าอะไรที่เหมาะกับเรา.
Chaay_Tee/shutterstock.com
เงื่อนไขและการคุ้มครอง
ประกันเดินทางต่างประเทศทั่วไป VS ประกันเดินทางต่างประเทศ ที่พ่วงมากับบัตรเครดิต.
การคุ้มครองสูงสุด แบบทั่วไป : สามารถเลือกเพดานการคุ้มครองสูงสุด จากแบบพื้นฐาน ไปจนถึงแบบ unlimited ได้ด้วยตนเอง. มากับบัตร : ประกันบางตัวจะจำกัดการคุ้มครอง ในกรณีมีค่าใช้จ่ายการรักษาฉุกเฉินในต่างประเทศ
ระยะเวลาการเดินทาง แบบทั่วไป : ขึ้นอยู่กับประเภทประกันเดินทางของคุณว่าเป็นประกันเดินทางรายปี หรือรายเที่ยว มากับบัตร: สามารถยืดหยุ่นได้ตามสะดวก. ประกันแบบนี้อาจจะจำกัดระยะเวลาในการเดินทางของคุณ เช่นหากไปพักร้อน ก็อาจจะคุ้มครองได้ไม่เกิน 3เดือน. ไม่ใช้จ่ายผ่านบัตรจะคุ้มครองไหม?
แบบทั่วไป : N/A. มากับบัตร : จะคุ้มครองก็ต่อเมื่อ คุณมีการจองตั๋วการเดินทางด้วยบัตรเครดิตเท่านั้น แถมแต่ละบัตรเครดิตก็มีเงื่อนไขแตกต่างกันไป ว่าการคุ้มครองจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อไหร่.
การคุ้มครองเพิ่มเติม แบบทั่วไป : ประกันเดินทางต่างประเทศ จะเปิดโอกาสให้คุณซื้อประกันเพิ่มเติมได้ในกรณีที่ต้องเข้ามากับบัตร : ร่วมในการแข่งขันกีฬา ต่างๆโดยจะต้องจ่ายเพิ่มเติมอีกนิดหน่อย. บัตรเครดิตมักจะไม่รวมการคุ้มครองการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาหรือการผจญภัย.
ค่าธรรมเนียมรายปี แบบทั่วไป : ไม่มี เพียงแค่จ่ายค่าเบี้ยประกันเท่านั้น. มากับบัตร : มี. ความคุ้มครองสิ่งของมีค่า
แบบทั่วไป : คุณสามารถเพิ่มความคุ้มครองได้โดยซื้อประกันเพิ่มเติมสำหรับของมีค่าต่างๆ. มากับบัตร : ส่วนใหญ่มักไม่คุ้มครองถ้าหากคุณเอาเก็บไว้ในกระเป๋าเดินทางแล้วของเกิดเสียหายหรือชำรุด.
ทริปเที่ยวในประเทศคุ้มครองด้วยไหม? แบบทั่วไป : คุ้มครองด้วยในหลายจุดหมายปลายทาง. เป็นแค่ประกันเดินทางต่างประเทศเท่านั้น แต่บางบริษัทก็คุ้มครองบ้างนะ.
ลิมิตอายุหรือไม่? แบบทั่วไป : ยิ่งแก่ขึ้นค่าประกันก็จะยิ่งสูงขึ้น. มากับบัตร : ไม่มีลิมิตอายุ ทำให้ผู้สูงวัยที่ต้องการเดินทางท่องเที่ยวก็ยังคงมีประกันเดินทางต่างประเทศคุ้มครองอยู่ในระดับหนึ่ง.
มีโรคประจำตัวอยู่แล้วคุ้มครองหรือไม่? แบบทั่วไป : บางแห่งก็คุ้มครองนะ. ส่วนใหญ่ไม่คุ้มครองเลย.
คุ้มครองผู้ร่วมเดินทางด้วยหรือไม่? แบบทั่วไป : บางแห่งก็คุ้มครองผู้ร่วมเดินทางด้วย แต่เช็คก่อนก็ดี. มากับบัตร : บางบัตรเครดิตก็คุ้มครองผู้ร่วมเดินทางด้วยเช่นกัน.
เงินสดหายคุ้มครองด้วยไหม? แบบทั่วไป : คุ้มครองต่ำ. มากับบัตร : หากมีคนขโมยกระเป๋าสตางค์ของคุณตอนไปเที่ยว ก็มักจะคุ้มครองเงินสดให้คุณในระดับที่สูงกว่า.
ใครก็ซื้อประกันได้ใช่ไหม แบบทั่วไป : ใครก็ซื้อได้ครับไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกที่มีสิทธิพิเศษ. มากับบัตร : ต้องถือบัตรเครดิตจึงจะได้รับความคุ้มครองเท่านั้น.
คุ้มครองในทุกจุดหมายปลายทางหรือไม่? แบบทั่วไป : ยิ่งจ่ายแพงก็ยิ่งคุ้มครองครอบคลุมหลายจุดหมายปลายทาง. มากับบัตร : จุดหมายปลายทางให้คุณเดินทางมีมากกว่า.
ประกันเดินทางต่างประเทศที่มีพร้อมกับการเปิดบัตรเครดิตต่างประเทศ มีข้อจำกัดและเงื่อนไขหลายอย่างทีเราต้องศึกษาให้เข้าใจด้วย เช่นการเจ็บป่วยที่มีอาการอยู่ก่อนการเดินทางจะเคลมประกันเดินทางต่างประเทศไม่ได้ เพราะฉะนั้น ต้องทำความเข้าใจนโยบายของประกันที่มาพร้อมการใช้บัตรเครดิตต่างประเทศซะก่อน ว่าอะไรเคลมได้ อะไรเคลมไม่ได้
5 ข้อมูลประกอบก่อนการเคลมประกัน
1. รูดบัตรเครดิตต่างประเทศ และอยากใช้ประกันเดินทาง ต้องเปิดใช้บริการประกันเดินทางต่างประเทศก่อน
สิ่งที่เราต้องทำอย่างแรกคือ เปิดใช้บริการประกันเดินทางต่างประเทศที่ผูกอยู่กับบัตรเครดิตต่างประเทศของเราก่อน ลองศึกษาว่าการจะใช้ประกันเดินทางต่างประเทศ ต้องทำอะไรบ้าง ปกติแต่ละเจ้าก็มีเงื่อนไขต่างกันไป แต่อย่างน้อย ก็น่าจะต้องใช้บัตรเครดิตต่างประเทศจ่ายค่าตั๋วเครื่องบินสำหรับทริปนั้น ถ้าจ่ายด้วยวิธีอื่น ก็ไม่น่าจะได้ใช้ประกันเดินทางต่างประเทศ.
2. ระยะเวลาเดินทาง
เงื่อนไขระยะเวลาของทริปจะแตกต่างกันไปครับ อย่างเช่น การใช้บัตรเครดิตต่างประเทศ A มีจำกัดระยะเวลารับประกันได้ว่าทริปนั้นต้องไปเกินกี่วัน หรือการใช้บัตรเครดิตต่างประเทศ B อาจจะกำหนดขั้นต่ำว่าต้องเดินทางนานกี่วัน จึงจะได้ใช้ประกันเดินทางต่างประเทศ
นอกจากนั้น เราก็ควรอ่านพวกเงื่อนไขจุกจิกที่มักจะเป็นตัวเล็ก ๆ ในกรมธรรม์ด้วย จะได้ไม่ต้องแปลกใจภายหลัง ถ้าเกิดประกันเดินทางต่างประเทศของบัตรเราไม่ให้เคลมค่าใช้จ่ายกรณีสัมภาระหรือของมีค่าสูญหายหรือมีกำหนดว่าจะไม่คุ้มครองถ้าเราเดินทางไปประเทศที่มีการออกคำเตือนโดยรัฐบาล เป็นต้น
3. วงเงินของค่ารักษาพยาบาล
ต้องหาข้อมูลดูว่าถ้าเราเกิดอุบัติเหตุต้องเข้าโรงพยาบาลระหว่างเดินทางแล้วประกันเดินทางต่างประเทศที่แถมมากับการใช้บัตรเครดิตต่างประเทศของเราจะช่วยจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้เท่าไหร่ เพราะปกติพวกนี้จะต้องมีวงเงินระบุมาอยู่แล้วจึงแนะนำว่าหาจะไปเที่ยวอเมริกา ยุโรป หรือญี่ปุ่น ควรทำประกันเดินทางต่างประเทศที่วงเงินค่ารักษาพยาบาลไม่จำกัด เพราะค่ารักษาพยาบาลที่นู่นแพงมาก ๆ ถ้าเกิดประกันของบัตรเครดิตต่างประเทศที่มีอยู่วงเงินไม่พอ ก็อาจจะไปซื้อประกันเดินทางต่างประเทศเพิ่มเอา.
4. ลองคุย/ต่อรองเงื่อนไขกับตัวแทนประกันเดินทางต่างประเทศ
ส่วนมากบัตรเครดิตต่างประเทศจะไม่รับประกันเดินทางต่างประเทศกับอาการป่วยหรือการบาดเจ็บที่มีอยู่แล้วก่อนเดินทาง (เช่น หอบหืด หรือเบาหวาน) และจะจำกัดอายุผู้รับประกันเดินทางต่างประเทศไว้ที่ 74ปี แต่เรา อาจจะลองโทรไปเจรจากับตัวแทนประกันเดินทางต่างประเทศ ว่าจะพอยืดหยุ่นตรงไหนได้บ้าง อาจจะให้เราจ่ายเงินเพิ่มเพื่อครอบคลุมโรคประจำตัวของเรา หรือลดราคาส่วนอื่นได้ ต้องลองคุยดูนะอีกครั้ง
5. นอกจากเจ้าของบัตรเครดิตต่างประเทศ ประกันคุ้มครองใครอีกบ้าง?
บัตรบางใบจะให้บริการประกันเดินทางต่างประเทศกับเจ้าของผู้ใช้บัตรเครดิตต่างประเทศเท่านั้น แต่ก็มีการใช้บัตรเครดิตต่างประเทศบางใบที่มีประกันเดินทางต่างประเทศครอบคลุมถึงคู่สมรสและลูก ๆ ที่เดินทางไปด้วยนะ แต่อาจจะต้องระบุวงเงินการเคลมประกันสำหรับสมาชิกครอบครัวก่อนเปิดใช้บริการประกันเดินทางต่างประเทศ ส่วนมากจะกำหนดอายุของลูกไว้ที่ไม่เกิน 19 ปี แต่บางเจ้าอาจจะให้บริการประกันเดินทางต่างประเทศกับลูกที่เรียนมหาวิทยาลัยถึงอายุ 25 ปีได้เลย.
น่าจะได้ไอเดียเพิ่มขึ้นว่าเจ้าประกันเดินทางต่างประเทศที่มีแถมมากับการใช้บัตรเครดิตต่างประเทศหน้าตาเป็นอย่างไร แต่การอ่านข้อมูล ศึกษาเงื่อนไขให้ดี ๆ เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของเราให้ได้มากที่สุดก็สำคัญจริงๆ ดังนั้น จากเบื้องต้นแล้ว รูปแบบประกันนั้นมีประโยชน์อย่างไร น่าจะทำให้การตัดสินใจเลือกซื้อประเภทของประกันได้ง่ายยิ่งขึ้น และเราต้องไม่ลืมด้วยว่าการทำประกันคือเพื่ออนาคตที่ไม่อาจคาดเดาได้นั่นเอง.
ราม
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆแบบนี้นะคะ เดี๋ยวนี้รู้สึกชอบมีคนโทรมาชวนให้ทำประกันกันเยอะมากเป็นประกันจากบัตรเครดิตนี่แหละ ต้องทนฟังบางทีเกือบครึ่งชั่วโมง พูดก็เร็วฟังไม่รู้เรื่องเลย แล้วพูดออกแนวทุกอย่างดูดีไปหมด หากเราตอบตกลงไปแล้ว ก็จะมีเอกสารส่งมาให้ที่บ้านแล้วก็ต้องเสียเงิน แถมยังมีข้อเสียที่ไม่ได้ให้ข้อมูลเราหมดด้วย ต้องระวังกันนะคะประกันแบบนี้
Kannika
เคยอ่านเจอว่าเมื่อสมัครบัตรเครดิตจะได้สิทธิประโยชน์หลายอยาง รวมทั้งสิทธิประโยชน์เรื่องประกันภัยการเดินทางทั้งในและต่างประเทศด้วย เขาก็บอกรายละเอียดไว้นะ ว่าจะคุ้มครองอะไรบ้าง เช่น คุ้มครองเรื่องอุบัติเหตุ เที่ยวบินล่าช้า กระเป๋าเดินทางหาย เอ๊ะ!เราเข้าใจถูกหรือเปล่า อันเดียวกันมั้ย ถ้าจ่ายค่าโดยสารผ่านบัตรเครดิตนั้นและแจ้งธนาคารว่าเราจะเดินทางไปต่างประเทศ
พายุ
เดี๋ยวนี้เมื่อเราทำบัตรเครดิตเพื่อเอามาไว้ใช้จ่ายแทนเงินสดสะดวกสบายแล้ว ยังมีบริการที่อำนวยความสะดวกให้กับเราในการคุ้มครองอุบัติเหตุ แต่เราอยากจะรู้ว่ามีการคุ้มครองอะไรให้กับเราบ้างเราจำเป็นต้องตรวจสอบแล้วก็เช็คดูเกี่ยวกับเงื่อนไขดังกล่าวด้วย อย่างเช่นบทความนี้ได้ที่บายเกี่ยวกับคร่าวๆในกรณีที่บัตรเครดิตเราให้การคุ้มครองมีค่ารักษาพยาบาล
Kulissara
จะเลือกทำประกันเดินทางต่างประเทศทั่วไปหรือใช้ประกันเดินทางต่างประเทศที่พ่วงมากับบัตรเครดิตนั้นอยู่ที่สิทธิประโยชน์..ไม่สิ ความคุ้มครองที่เราต้องการใช่มั้ยคะ? แต่ถ้าเรามีบัตรเครดิตอยู่แล้ว ไปซื้อประกันเดินทางต่างประเทศทั่วไปเพิ่มอีกก็ต้องเสียเงินเพิ่มด้วยน่ะสิ ถ้าเดินทางไม่นานคงไม่เท่าไหร่แต่ถ้าไปนานก็น่าทำเนอะ
จาเรต
เดียวนี้ไม่ใช่แค่บัตรเครดิตเท่านั้นนะที่มีประกันชีวิตพ่วงเข้ามาด้วย บัญชีธนาคารบางประเภทก็มี หรือบัตรเดบิตก็มี แต่รู้ไหมว่าทำไมเขาแถมพวกเหล่านี้ ให้ อาจฟังดูดีนะ ว่าเขาคุ้มครองเรื่องนั้นเรื่องนี้แต่ในทางของธุรกิจ เจ้าของธนาคารจะได้รับผลประโยชน์ ถ้าหากเราเสียชีวิตหรือ ไม่สามารถกลับมาใช้ชีวิตแบบปกติได้ พูดง่ายๆ ธนาคารทำกันเราพลาด
พี่วุฒิ
จะบอกว่าธนาคารได้ประโยชน์อย่างเดียวก็ไม่ได้นะครับ เราเองก็ได้ประโยชน์มากอยู่เหมือนกัน อย่างผมเนี่ยไม่มีบัตรเครดิตนะ เอาแค่บัตรเดบิตก็พอ บัตรเดบิตของผมพ่วงประกันอุบัตรเหตุมาด้วยผมว่าคุ้มมากนะ อาจจะจ่ายเงินค่าธรรมเนียมรายปีของบัตรเพิ่มหน่อย แต่ได้ความคุ้มครองอุบัติเหตุด้วยแถมไม่ต้องสำรองจ่าย พกบัตรเดบิตก็รับการรักษาได้เลย แล้วประกันที่มากับบัตรเครดิตจะคุ้มขนาดไหนลองคิดดู
แพนเค้ก
คุณพี่วุฒิ... ดูเหมือนจะคุ้มค่ะแต่ต้องดูวงเงินในบัตรด้วยนะคะว่าเค้าคุ้มครองเท่าไหร่? เพราะเราเคยเจอมากับตัวค่ะวงเงินคุ้มครองแค่ไม่กี่หมื่นแต่พอเกิดอุบัติเหตุเข้าโรงพยาบาลทีมันแทบจะเกินวงเงินค่ะ ที่เหลือเราต้องจ่ายเองด้วย ตรงนี้อยากแนะนำว่าให้ตรวจสอบข้อมูลเงื่อนไขให้ละเอียดด้วยนะคะก่อนที่จะสมัคร ไม่งั้นจะเจอแบบเดียวกับเรา
พริมมี่
ถ้าอย่างนั้นเราก็น่าจะหาบัตรเครดิต ต่างประเทศที่ให้ความคุ้มครองคนในครอบครัวเราด้วยดีกว่าใช่ไหมคะจ่ายทีเดียวจะได้คุ้มครองให้คุ้มเพราะว่าเวลาเราเดินทางแล้วก็ไม่ได้เดินทางคนเดียวเราก็ไปกับครอบครัวด้วยปกติแล้วเวลาเดินทางเราก็จะซื้อประกันภัยเดินทางแยกไม่เคยรู้ว่ามีบัตรเครดิตที่ให้ความคุ้มครอง เกี่ยวกับการเดินทางด้วย เอกจะลองไปหาข้อมูลดูค่ะว่าเอาบัตรใบไหนดี
ภูรินท์
ตอนแรกผมก็คิดว่าแค่มีบัตรเครดิตที่มีประกันการเดินทาง ก็เอาไปใช้ที่ต้องประเทศได้เลย ไม่ต้องทำอะไรอีก ผมไม่ทราบมาก่อนเลยนะครับว่าเราต้องแจ้งเรื่องขอเปิดใช้บัตรเคดิตของเราที่ต่างประเทศด้วย นึกว่าเอาไปใช้ได้เลย แต่ดีนะครับมีบัตรเครดิตที่คุ้มครองการเดินทางด้วย แล้วก็ซื้อประการเดินทางเพิ่มเข้าไปด้วยเท่ากับว่าเรามีสองประกัน
หวัง
เดี๋ยวนี้เมื่อเราใช้บัตรเครดิตเราจะเห็นว่ามีประกันภัยที่ให้การคุ้มครองติดมาด้วย ซึ่งบทความนี้ก็ได้อธิบายเดิมประกันภัยดังกล่าวที่เราสามารถใช้ ทั้งนั้นการเดินทางไปต่างประเทศ หรือดูแลเราในส่วนที่ช่วยเราในการเดินทางไปต่างประเทศ ทำให้เราได้รับการคุ้มครองในเรื่องของค่ารักษาพยาบาล และสิทธิประโยชน์ต่างๆที่ทำบัตรเครดิตที่พูดไว้ครับ
ยาดา
@พี่วุฒิ อันนี้จริงหรือค่ะถึงแม้ว่าประกันที่มากับบัตรเครดิตเราจะรู้สึกเหมือนว่าเป็นของแถมไม่ค่อยได้ใช้แต่ถ้าได้ใช้ขึ้นมาจริงๆมันช่วยเราได้จริงๆนะคะคือมีเพื่อนที่ สามีของเพื่อนอยากสมัครบัตรเครดิตไว้แล้วก็สมัครบัตรเครดิตที่เป็นเหมือนบัตรลูกให้กับภรรยาภรรยาไปตรวจพบว่ามีเหมือนก้อนเนื้อในช่องท้องแล้วก็ได้ผ่าตัดสรุปแล้วประกันจากบัตรเครดิตนี่แหละค่ะที่ให้การรักษา แล้วก็ดีมากๆเลยค่ะ
Aom
มีประกันแบบนี้ก็ตัดใจยากเหมือนกันค่ะ คือหมายถึงว่าคนที่มีบัตรเครดิตประเภทที่มีประกันมาด้วย อย่างเราก็เป็นคนหนึ่งที่มีบัตรเครดิตแบบนี้ เราช่วงนี้เศรษฐกิจไม่ค่อยดีบัตรเครดิตก็ไม่ค่อยได้ใช้จะยกเลิกก็เสียดายเพราะว่ามีประกันพ่วงมาด้วย ใครมีบัตรเครดิตแบบนี้บ้างคะแล้วแต่ละคนจัดการแก้ปัญหายังไงบ้าง? มาเล่าให้ฟังกันหน่อยสิ
T^Tแมวอ้วน
@k.Aom เรายังไม่เคยสังเกตบัตรเครดิตของเราเหมือนกันว่ามีประกันอะไรบ้าง แต่เท่าที่รู้ก็คือพวกประกันที่พ่วงมากับบัตรเครดิตเนี่ยชอบโทรมาให้เราสมัครเป็นประจำ ซึ่งเป็นอะไรที่น่ารำคาญมาก คือถ้าเป็นไปได้ต้องระวังหน่อยนะคะพวกบริษัทประกันที่เอาข้อมูลเรามาจากบัตรเครดิตเนี่ย เพราะเวลาที่เราจะยกเลิกมันเป็นอะไรที่ยุ่งยากมากเลย
Dew
@พี่วุฒิ เลือกทำบัตรเดบิต ที่มีประกันอุบัติเหตุพ่วงมาด้วยเหมือนกันค่ะรู้สึกว่าคุ้มดี เราก็ใช้ง่ายเหมือนที่พี่ว่าเลยค่ะ คือถ้าเข้าโรงพยาบาลก็คือยื่นบัตร ก็เข้ารับการรักษาได้ จริงๆบัตรเครดิตก็อยากมีเหมือนกันนะคะ แต่เดี๋ยวรอให้รายได้มั่นคงกว่านี้ก่อน เพราะสิทธิประโยชน์จากบัตรเครดิตในเยอะมากจริงๆโดยเฉพาะเรื่องของประกันเหมือนที่บทความนี้บอกมา
Mame
เราเคยได้ยินว่าประกันที่พ่วงมากับบัตรเครดิต มีการส่งใบเรียกเก็บเงินมาด้วยนะ เพื่อนๆต้องระวังให้ดีเพราะว่าบางครั้งชอบมีบริษัทประกันโทรมาแอบอ้างว่า มีสิทธิพิเศษบริการพ่วงมากับธนาคารที่เราถือบัตรเครดิตอยู่ โดยที่ทางธนาคารจะเป็นคนออกค่าใช้จ่ายตรงนี้ให้ แล้วถ้าเราเผลอตกลงไปละก็ลำบากเลยนะ อันนี้ต้องดูดีๆด้วยนะคะสอบถามกับทางธนาคารให้ดี
น้อยหน่า
@Mame oh...จริงหรอ!!! สงสัยคงต้องระวังให้มากขึ้น ไม่เคยรู้เลย เดี๋ยวนี้หลายคนเจอเยอะเลยเนอะแบบนี้ ขนาดเราบอกว่าไม่ขอตอบทางโทรศัพท์ ให้ส่งเอกสารมาที่บ้าน เค้าบอกว่าไม่สะดวกแต่สะดวกจะให้ข้อมูลทางโทรศัพท์ เหมือนมัดมือชกยังไงไม่รู้..... ยิ่งเราไม่มีหนี้ค้างพวกนี้ยิ่งชอบโทรมาเพราะเป็นลูกค้าชั้นดีมั้ง โทรจิกตลอดเลย.... ระวังกันหน่อยก็ดีค่ะ
พีรนันท์
อ่านๆดูแล้ว การคุ้มครองก็ค่อนข้างจำกัดเหมือนกันนะคะ เราว่า ถ้าเป็นแบบนี้เวลาที่จะเดินทาง น่าจะซื้อประกันการเดินทางของบริษัทประกันอื่นเพิ่มเข้าไปด้วยน่าจะดีกว่านะคะ เพราะจริงๆแล้ว ประกันการเดินทางก็ไม่ค่อยแพงเท่าไรด้วย เราสามารถเลือกได้เลยว่าจะให้คุ้มครอง กี่วัน ทำแบบนี้ดีกว่าคะ เพราะอย่างน้อยๆ ก็ยังมีการคุ้มครองสำรองติดตัวเอาไว้คะ