ซื้อของออนไลน์กำลังเป็นเทรนด์ที่มาแรงสำหรับหลายๆคน แต่การโดน Hack บัตรเครดิต!! นี่ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เพราะอย่างที่เรารู้ว่า ช่วงนี้มีข่าวในวงการผู้ใช้บัตรเครดิตหลายท่านถูกขโมยข้อมูลบนบัตรและมีรายการใช้จ่ายจากต่างประเทศเข้ามาในบัตรของตนเอง. ซึ่งสถิติการถูกขโมยข้อมูลในบัตรเครดิตและบัตรเดบิต ในอเมริกาสูงขึ้น 70% ในปี 2016 และบัตรเครดิตที่ถูก hack นั้นมีมากขึ้นถึง 30% ในร้านอาหาร และร้านค้าต่างๆ ซึ่งการพัฒนาตู้ ATM ที่ป้องกันการเสียบ skimmer นั้นจึงจำเป็นอย่างมากในปัจจุบันและอนาคตเราต้องเตรียมตัวกันมากขึ้นในเรื่องนี้จริงๆ
ข้อมูลถูกขโมยและการปลอมแปลงบัตร
ขอเรามาดูกันว่าข้อมูลบนบัตรเครดิตเรานั้นจะถูกขโมยไปอยู่ในมือพวกมิจฉาชีพได้อย่างไร บัตรเครดิตที่แพร่หลายกันทั่วโลก ณ ขณะนี้จะเป็นแบบแถบแม่เหล็กเมื่อเรานำบัตรเครดิตไปใช้ไม่ว่าร้านค้าใด ๆ ก็ตามเรามีสิทธิ์ถูกคัดลอกข้อมูลไปได้ตลอดเวลา ซึ่งข้อมูลในแถบแม่เหล็กก็จะจัดเก็บทั้งข้อมูลลูกค้า เช่น ชื่อ เลขที่บัตร วันหมดอายุ และข้อมูลของธนาคารผู้ออกบัตร เช่น ชื่อธนาคาร ซึ่งเวลาที่ท่านไปใช้บัตรผ่านเครื่องรูดบัตรอัตโนมัติและทางแก๊งทุจริตก็จะ Copy ข้อมูลบนบัตรของของเราไว้ รวมถึง การที่ท่านใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าบนเว็บที่ไม่เป็นมาตรฐาน และบันทึกเลข 3 ตัวท้ายข้างหลังบัตรซึ่งมีชื่อเรียกว่า CVV2 ซึ่งเลขตัวนี้เป็นสูตรในการคำนวณค่าความถูกต้องของบัตร
พูดง่ายๆว่าเป็นสูตรที่จะใช้คำนวณค่าความถูกต้องของเลขที่บัตร 16 ตัว วิธีการขโมยข้อมูลตามร้านค้า หรือสถานบริการต่าง ๆ โดยเด็กที่เดินรูดบัตรตามร้านค้า ปั๊มน้ำมัน หรือร้านอาหารจะนำบัตรเราไปรูดที่เครื่องคัดลอกข้อมูล(Skimmer) ก่อนที่จะรูดกับเครื่องรูดบัตรอัตโนมัติ EDC(Electronic Data Capture) และข้อมูลพวกนี้จะถูกเก็บไว้อาจจะ 1- 2 เดือน หรืออาจจะยาวนานเป็นปี ตราบใดที่บัตรยังไม่หมดอายุข้อมูลพวกนี้ก็สามารถใช้ทำปลอมบัตรเครดิตได้และมีประกาศขายทั่วไป เช่น บนอินเตอร์เน็ต ตามตลาดมืด ซึ่งในตลาดจะมีบัตรที่ปลอมเหมือนบัตรจริงอยู่แล้ว ซึ่งบัตรพวกนี้ผลิตไม่ยากเพียงแค่มีเทคโนโลยีการพิมพ์ระดับหนึ่งก็สามารถทำได้ และบัตรปลอมพวกนี้จะพิมพ์ไว้สำหรับธนาคารที่ดัง ๆ เช่น Citibank , HSBC, Bank Of , UOB, หรือแม้กระทั่งบัตรในประเทศ เช่น BBL,KTC,K-bank เมื่อมีบัตรปลอมง่าย ๆ บัตรปลอมก็จะทำหน้าที่เหมือนแผ่นDisk เมื่อใดก็แล้วแต่ที่มีข้อมูลบนบัตรมา Copy ลงไปก็จะสามารถนำบัตรไปใช้ได้ทุกร้านที่รับบัตรนั้นได้
9 วิธีป้องกันความเสียหายจากการขโมยข้อมูลบัตรเครดิต
1. นักโจรกรรมข้อมูลไม่ต้องการหมายเลขบัตรเครดิตของเราเพื่อทำการโจรกรรม
แต่ในทางตรงกันข้าม นักโจรกรรมต้องการแค่ข้อมูลส่วนตัวเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แค่นี้ก็สามารถขโมยข้อมูลส่วนที่เหลือได้แล้ว เพราะฉะนั้นเราควรรักษาบัตรประชาชน ใบขับขี่ ใบสูติบัตร บัตรประกันสังคม หนังสือเดินทาง รวมไปถึงบัตรเครดิตไว้ในที่ที่ปลอดภัย.
2. ข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องทางการเงินก็เพียงพอแล้วสำหรับนักโจรกรรมข้อมูล
เพราะฉะนั้นแล้ว เราจึงต้องระมัดระวังด้วยเช่นกัน ถึงแม้ว่าข้อมูลส่วนตัวบางอย่างอาจดูไม่สำคัญกับเราแต่กลับสำคัญมากสำหรับนักโจรกรรม ยกตัวอย่างเช่น ไม่ควรเปิดเผยวันเดือนปีเกิด ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ลงในเฟซบุ้ค โซเชียลเน็ตเวิร์กอื่นๆ เว็บไซต์ต่างๆ รวมไปถึงเว็บไซต์สำหรับหางานด้วย
3. ระมัดระวังการส่งจดหมายทางไปรษณีย์
บางคนอาจมีการรับใบแจ้งหนี้บัตรเครดิตผ่านทางไปรษณีย์ จึงควรคอยสังเกตว่าระยะเวลาที่ได้รับใบแจ้งหนี้ทางไปรษณีย์ใช้เวลานานเท่าไหร่ หากรอนานและยังไม่ได้รับจนผิดสังเกต อาจเป็นไปได้ว่าข้อมูลบัตรเครดิตในใบแจ้งหนี้ของเราอาจโดนโจรกรรมและนักโจรกรรมข้อมูลทำการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ไปแล้ว นอกจากนี้ หากเราต้องรับเช็คเงินสดจากธนาคารก็ควรไปรับด้วยตนเองแทนการส่งทางไปรษณีย์ เพราะหากเช็คถูกขโมยไปแล้ว นักโจรกรรมข้อมูลสามารถเปลี่ยนแปลงชื่อผู้รับเช็คและจำนวนเงินได้ และควรหลีกเลี่ยงการวางเอกสารสำคัญเหล่านี้ทิ้งไว้ในที่ที่คนอื่นสามารถเข้าถึงได้ เพราะเราไม่อาจรู้ได้เลยว่าใครจะหยิบไปบ้าง และพวกเขาก็จะมีข้อมูลบัตรเครดิต เช็คธนาคาร และข้อมูลทางการเงินอื่นๆของเราอยู่ในมือ ดังนั้น หากเราต้องการส่งเอกสารสำคัญเหล่านี้ควรนำไปส่งไปรษณีย์ด้วยตนเองจะดีที่สุด.
4. ตรวจสอบการใช้งานบัตรเครดิตทุก ๆ เดือน หากเป็นไปได้ควรตรวจสอบสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง
เช่น สังเกตการใช้งานบัตรเครดิตของเราว่ามีเงินโดนหักออกไปจำนวนเล็กน้อยเหมือนค่าธรรมเนียมโดยที่เราก็ไม่รู้ว่าค่าอะไรหรือไม่ เพราะนักโจรกรรมข้อมูลมักจะวางแผนโดยการทดสอบก่อนว่าบัตรเครดิตที่จะทำการโจรกรรมข้อมูลนั้นยังใช้งานได้อยู่ด้วยการลองหักค่าธรรมเนียมจำนวนน้อย และถ้าการตัดบัตรเครดิตครั้งแรกนี้ประสบความสำเร็จ เจ้าหัวขโมยก็จะซื้อข้อมูลที่ถูกโจรกรรมมาและทำธุรกรรมทางการเงินผ่านบัตรเครดิตของเราโดยเราไม่ยินยอม นักโจรกรรมเดา (ซึ่งเดาถูกเสียเป็นส่วนใหญ่) ว่าผู้ถือบัตรมักจะไม่สนใจค่าธรรมเนียมเล็กๆเหล่านี้ นอกจากนี้การตั้งค่าเตือนการหักบัตรเครดิตมักจะไม่ได้ผลกับค่าธรรมเนียมจำนวนน้อย เพราะฉะนั้นการทบทวนการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเป็นประจำจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ.
5. หลีกเลี่ยงการใช้ตู้เอทีเอ็มที่สภาพไม่สมบูรณ์
ก่อนที่จะสอดบัตรเอทีเอ็มลงไปนั้น เราควรสำรวจดูว่าตู้เอทีเอ็มและช่องสอดบัตรนั้นอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์หรือไม่ เพราะโดยปกติแล้วช่องสอดบัตรเอทีเอ็มนั้นจะต้องมีเพียงช่องเดียวเท่านั้น หรือเมื่อสอดบัตรเข้าไปหรือการนำบัตรออกมาจะต้องเป็นการดูดบัตรหรือปล่อยบัตรจากเครื่องเอทีเอ็มเท่านั้น หากตู้เอทีเอ็มมีสภาพแปลกๆหรือไม่เหมือนกับที่เคยใช้ หรือมีพลาสติกครอบช่องสอดบัตรอีกชั้นหนึ่ง มีความเป็นไปได้อย่างยิ่งว่านักโจรกรรมข้อมูลมาติดตั้งเครื่องโจรกรรมเอาไว้ ซึ่งอุปกรณ์นี้จะทำการคัดลอกข้อมูลบัตรเอทีเอ็มตอนเพื่อนๆสอดบัตรเข้าไป หากเราเพิ่งจะสังเกตเห็นหลังจากใช้ตู้เอทีเอ็มไปแล้ว ควรรีบโทรศัพท์ไปแจ้งธนาคารโดยเร็วที่สุด เพื่อทำการตรวจสอบข้อมูลการใช้บัตรเอทีเอ็มว่ามีการเก็บค่าธรรมเนียมหรือเงินถูกหักจากบัญชีหรือไม่นั่นเอง.
6. นักท่องเที่ยวคือสวรรค์ของมิจฉาชีพ
หากเราเดินทางไปเที่ยวที่ไหนก็ตาม ควรระมัดระวังตัวจากคนแปลกหน้าที่มาสุงสิงด้วยตอนที่กำลังใช้บัตรเครดิตการ์ดที่ตู้เอทีเอ็ม และหลีกเลี่ยงการใช้อินเทอร์เน็ตไร้สายสาธารณะ อาทิเช่น ในโรงแรม หรือร้านอาหาร ในการทำธุรกรรมทางการเงินหรือช็อปปิ้งออนไลน์ นอกจากคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือของเรา จะมีระบบป้องกันข้อมูลที่แข็งแกร่งมากๆจึงจะวางใจได้.
7. รูดบัตรไม่ควรใช้เวลานานเกินไปและหลังรูดบัตรควรเช็คว่าใช่บัตรของเราหรือไม่
หากพนักงานนำบัตรของเราไปและใช้เวลานานเกินไปในการรูดบัตร อาจเป็นไปได้ว่าบัตรนั้นกำลังโดนโจรกรรมข้อมูลอยู่ การโจรกรรมข้อมูลนี้ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ยากๆเพราะสามารถทำได้โดยการถ่ายรูปบัตรเครดิตทั้งด้านหน้าและด้านหลัง นอกจากนี้เมื่อได้รับบัตรเครดิตคืนมา ควรตรวจสอบดูว่าใช่บัตรเครดิตของเราหรือเปล่า เช็คดูให้มั่นใจว่าสีบัตรของตัวเองจริงๆแล้วเป็นสีอะไร ลักษณะรอยตำหนิที่เดิมหรือไม่ เพราะเราไม่อาจรู้ได้เลยว่านักโจรกรรมข้อมูลเหล่านี้อาจสลับบัตรปลอมมาให้เราก็ได้
8. รับใบแจ้งหนี้ผ่านทางเว็บไซต์ทางการของบริษัทบัตรเครดิตดีที่สุด
หากได้รับใบแจ้งหนี้พวกนี้ทางไปรษณีย์หรือพิมพ์ใส่กระดาษ เมื่อชำระหนี้เรียบร้อยหรือไม่จำเป็นต้องใช้ใบแจ้งหนี้อีกแล้วควรทำลายทิ้งโดยใช้เครื่องย่อยกระดาษหรือฉีกทำลายทิ้งแทนที่จะทิ้งลงไปทั้งสภาพสมบูรณ์ รวมไปถึงควรทำลายใบเสร็จรับเงินของบัตรเครดิตทิ้งด้วย
9. หากกำลังสงสัยว่ากำลังตกเป็นเหยื่อนักโจรกรรมข้อมูลให้รีบแจ้งภายใน 90 วัน
เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการเกิดการใช้งานที่แปลกปลอม ระหว่างนี้หากตรวจพบว่ามีการใช้งานที่มิชอบเกิดขึ้น เพื่อนๆควรรีบโทรศัพท์ไปอายัตบัตรเครดิตเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต.
5 ข้อแนะนำสำหรับผู้ถือบัตร
1. เปิดการสื่อสาร
ควรมีช่องทางให้สถาบันการเงินสามารถแจ้งข้อมูลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับบัญชีผ่านช่องทางต่างๆ เช่น เอสเอ็มเอส อีเมล์ หรือผ่านระบบแจ้งอื่นๆ เพื่อจะได้ทราบหากมีรายการที่ผิดปกติเกิดขึ้น
2. ตั้งค่าความปลอดภัย
มือถือและคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำคัญในการเก็บข้อมูล และใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงิน ดังนั้นควรตั้งค่าความปลอดภัยในการเข้าใช้งานที่แข็งแรง ให้ยากต่อการเข้าถึงข้อมูลของบุคคลอื่น
3. ติดต่อให้ข้อมูล
กรณีที่ได้รับการติดต่อ/แจ้งเตือน/ให้ข้อมูลจากสถาบันการเงิน ต้องรีบตรวจสอบและติดต่อกลับเพื่อยืนยันการใช้งานหรือข้อมูล เพื่อป้องกันหรือลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
4. ติดต่อให้ข้อมูล
กรณีที่ได้รับการติดต่อ/แจ้งเตือน/ให้ข้อมูลจากสถาบันการเงิน ต้องรีบตรวจสอบและติดต่อกลับเพื่อยืนยันการใช้งานหรือข้อมูล เพื่อป้องกันหรือลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
ดังนั้น สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปแบบเราก็ควรจะใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องเงินๆ ทองๆ ต้องหมั่นตรวจเช็คข้อมูลการใช้จ่ายเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ตอยู่เสมอ รวมทั้งยอดเงินในบัญชีที่ผูกไว้กับเว็บไซต์ต่างๆ ด้วยการโจรกรรมข้อมูลทำกันได้ง่ายมาก ๆ ถ้าหากเราไม่ได้ระมัดระวังและขาดความรอบคอบ การใช้บัตรเครดิตถึงแม้จะมีสิทธิประโยชน์มากมาย แต่การปล่อยบัตรเครดิตไว้กับบุคคลอื่นก็เป็นอันตรายได้เช่นกัน จึงควรจำไว้ว่า การตรวจสอบดูแลและป้องกันข้อมูลสำคัญของตัวเองไว้อย่าเปิดเผยให้กับผู้อื่นโดยเด็ดขาดเป็นการกระทำที่ฉลาดสำหรับยุคนี้จริง หากใครอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามผู้เชี่ยวชาญจาก MoneyDuck ได้ฟรี ที่ลิงก์ด้านล่าง
Naruesorn
เคยได้ยินเกี่ยวกับเรื่องนี้เหมือนกันหลายคนโดนเอาข้อมูลบัตรเครดิตไปซื้อตั๋วเครื่องบิน หรือเช่า AIRBNB โดยมีข้อความส่งเข้ามาทาง sms ว่าได้ใช้บัตร จำนวนเงิน...วันที่... เป็นสกุลเงินจีน โอ้ย...น่ากลัวมาก ยิ่งเดี๋ยวนี้ซื้อของออนไลน์ต่างประเทศแทบไม่ต้องใส่รหัส otp ก็ชำระได้เลย ยิ่งน่ากลัวมาก ต้องใช้แบบระวังตัวให้มากๆเลย
กษาปณ์
โอ้โห! มันน่ากลัวขนาดนี้เลยเหรอครับ พวกมิจฉาชีพนี่ช่างคิดจริงๆ ไม่ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนไปอย่างไร มีเทคโนโลยีอะไรใหม่ๆมา พวกนี้ก็คิดหาวิธีที่เอาเงินไปเป็นของตัวเองได้ทั้งนั้น มีคนรู้ทันก็คิดหาวิธีใหม่ๆมาขโมยข้อมูล ขโมยเงินกันไปอีก ถ้าพวกเขามาทำงานสุจริตคงได้เงินไม่น้อยเหมือนกันนะครับ ที่จริงเขาเก่งนะแต่ตอนนี้มันไปผิดทางน่ะสิ
พายุ
เมื่อเราใช้บัตรเครดิตแล้วก็กลัวเหมือนกันว่าข้อมูลของบัตรเครดิตจะถูกสวมรอยหรือถูกโจรกรรมข้อมูลเอาไปใช้เพื่อซื้อของ บทความจากที่นี่ก็อธิบายถึงวิธีการป้องกันการใช้บัตรเครดิตของเราเพื่อจะไม่ถูกการจัดทำข้อมูล หรือการเอาข้อมูลของเราไปซื้อของหรือสินค้าออนไลน์ได้ด้วย เพราะถ้าเราไม่คิดถึงความสำคัญหรือป้องกันตัวเองในวันนี้ เราอาจจะตกเป็นเหยื่อในอนาคตได้ครับ
Wilaiwan
ละเอียดดีค่ะสำหรับวิธีป้องกันไม่ให้ถูกขโมยข้อมูลจากบัตรเครดิตและบัตรเดบิตที่บทความนี้บอกมา เป็นตัวช่วยที่ดีมากค่ะ ปกติคนที่มีบัตรต่างๆคงระวังตัวกันมากอยู่แล้วล่ะแต่ก็มีที่หลงลือกันไปบ้าง จะว่าไปก็ดีเหมือนกันนะที่เราไม่มีบัตรเครดิตและบัตรเดบิต เลยไม่ค่อยกังวลเรื่องการถูกขโมยข้อมูลเท่าไหร่ กลัวเงินในบัญชีมีไม่พอใช้มากกว่าค่ะ
นิคม
โห่เป็นอะไรที่น่ากลัวจริงๆๆครับ แค่ได้ข้อมูลเราบางส่วน ก็สามารถเข้าถึง ข้อมูลส่วนตัวของเราได้แล้ว เราว่าถึงจะป้องกันยังไง ไอ้คนที่พยายามก็ยังมีวิธีการอยู่ดีละครับ แต่ดีครับที่เราพอรู้ว่าอะไรคือช่องทางที่เราอาจโดนได้ เราจะได้อุดรอยรั่วและจะได้ระมัดระวังมากขึ้น ตอนนี้กดเงินที่ตู้ผมนี่ระวังอย่างมากเลยครับ กลัวจริงๆ
เชน
ผมก็มีบัตรเครดิตก็เลยเลือกที่จะเข้ามาอ่าน จะว่าไปมันก็น่ากลัวเหมือนที่คอมเม้นท์ก่อนหน้านี้กลัวๆกันอยู่นะ แต่ผมอยากถามจากคนที่เคยเจอประสบการณ์แบบนี้บ้างมากกว่าว่าเรื่องราวมันเป็นยังไงบ้าง เจอมาแบบไหนแล้วแก้ไขกันยังไงบ้าง ใครที่มีบัตรเครดิตแล้วเคยโดนแบบนี้มาบอกกันหน่อยครับ มาแชร์กันหน่อย เพราะผมก็ชอบซื้อของออนไลน์นะและชำระผ่านบัตรด้วย
178
เพิ่งจะรู้นี่ล่ะครับว่าเอกสารทางจดหมายที่ธนาคารส่งมาทางไปรษณีย์ให้เรายังมีโอกาสเสี่ยงที่จะโดนคนขโมยข้อมูลบัตรเครดิตของเราไป งี้เอกสารที่ทางธนาคารส่งมาให้ทุกเดือนๆก็อันตรายสิครับ เกิดช่วงที่ผมไม่อยู่ไปต่างจังหวัด มีคนได้เอกสารตัวนั้นไปเขาก็ขโมยข้อมูลผมได้น่ะสิ ถ้างั้นเราไปยกเลิกการรับแจ้งเตือนจดหมายทางไปรษณีย์จากธนาคารได้ไหมล่ะครับเนี่ย
หนู ไมอา
เรื่องนี้เราป้องกันได้ไม่อยากคะ ให้ธนาคารเจ้าของบัตรเครดิต คอยส่งข้อความแจ้งเตือนเราคะทุกครั้งที่มีการ ใช้จ่ายจากบัตรเราคะ ทำแบบนี้ ก็เป็นการป้องกันได้นะคะเพราะถ้ามีใครโขมยข้อมูลเรา เรายังอายัดได้ทันคะ แต่เราว่ามันน่าจะมีแบบทุกครั้งที่เราใช้บัตร น่าจะมีการโทรมาถามรหัสจากเจ้าของบัตรก่อน เป็นแบบนี้รับรองหายห่วงคะ
น้ำตาล
บางครั้งการใช้บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตในการเกิดเงินสดของเรา ก็เกิดปัญหาหรือถูกขโมยข้อมูลหรือว่าไม่ได้รับเงินก็เป็นไปได้นะคะ แต่ในกรณีที่จะถูกโจรกรรมข้อมูลนั้นเราจำเป็นต้องสังเกตเกี่ยวกับ สภาพของตู้ ATM ที่เราเลือกใช้บริการด้วยค่ะ ว่าอยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมที่จะให้บริการไหม ถ้าดูแล้วสภาพไม่น่าจะให้บริการได้ก็คือใช้บริการตู้อื่นดีกว่าค่ะ