เมื่อพูดถึง ธุรกิจร้านอาหาร เรามักคิดถึงสิ่งอนาคตว่ามันจะต้องเป็นร้านอาหารที่คนนิยมแต่ก็เป็นเรื่องใหญ่ด้วยเราอาจคิดถึงปัญหาและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ด้วย ซึ่งพอเราคิดถึงปัญหาเราก็จะรู้สึกท้อ เพราะเป็นงานใหญ่มาก แต่เมื่อเราคิดที่จะเปิดร้านอาหารเเล้วเราก็ต้องเตรียมตัวเตรียมใจไว้ เพราะถ้าหากเกิดขึ้นเราจะรับมือได้นั่นเอง เราไม่ควรที่จะกังวลมากเกินไป เพียงแต่เรารู้ไว้ก็เพื่อที่จะช่วยให้เรารับมือทัน ดังนั้น ให้เรามาดูกันว่ามีอะไรบ้างที่เราต้องรู้ มี 3 ปัญหาด้วยกัน ดังต่อไปนี้

ธุรกิจร้านอาหารมีความเสี่ยงอย่างไร?

ธุรกิจร้านอาหารมีความเสี่ยงอย่างไร?

มี 7 ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้เมื่อเราเปิดธุรกิจร้านอาหาร

1.การจัดหาพื้นที่เช่าสำหรับขยายสาขาและพื้นที่เช่าสำหรับสาขาเดิม

ที่ตั้งทำเลของร้านอาหารเป็นเรื่องสำคัญที่ ในปัจจุบันนี้มีการแข่งกันกันดุเดือดขึ้นเรื่อยๆ นี่ส่งผลทำให้เกิดข้อจำกัดในการจะขยายพื้นที่ใหม่ ยิ่งถ้าเป็นห้างต่างๆโดยปกติการเช่าพื้นที่จะทำเป็นสัญญาเช่าระยะสั้น 3 ปี และได้รับสิทธิในการพิจารณาต่ออายุสัญญาเช่าอีกเป็นคราว ๆ ไป ซึ่งบริษัทมีความเสี่ยงที่อาจจะไม่ได้รับการต่ออายุสัญญาเช่าหรืออาจมีการปรับอัตราค่าเช่าเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นก็จะต้อง รักษาพื้นที่เช่าอย่างดีและสร้างพันธมิตรที่ดีกับผู้ให้เช่า นี่ทำให้มีผลดีในการสัญญาเช่าได้อย่างต่อเนื่องนั่นเอง

2.ต้นทุนจากการเสื่อมสภาพของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์

การดำเนินธุรกิจร้านอาหารนั้น เราจะต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของวัตถุดิบให้สดใหม่อยู่เสมอ เช่น เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผัก ผลไม้ และขนมปัง มีอายุการใช้งานสั้น จึงอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต หากขาดการบริหารจัดการและควบคุมการใช้วัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น จะต้องสั่งซื้อวัตถุดิบ วันต่อวันให้เพียงพอในแต่ละวันเท่านั้น และจัดเก็บในห้องเย็นรักษาอุณหภูมิเพื่อลดการเสื่อมสภาพของวัตถุดิบ รวมถึงมีระบบการควบคุมสินค้าและวัตถุดิบในคลังแบบ First-In-First-Out (FIFO)

3.มีแหล่งวัตถุดิบที่มีจำกัด

ไม่ควรที่จะซื้อวัตถุดิบบางชนิดหรือจากผู้ขายรายเดียวเท่านั้น เพราะอาจทำให้การขาดแคลนหรือขาดการต่อรอทางด้านราคาได้ ดังนั้นจะต้อง พยายามหาผู้ขายสินค้าที่มีคุณภาพเสมอนั่นเอง

4.การเปลี่ยนแปลงของราคาวัตถุดิบและต้นทุนการผลิตสินค้า

เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น โรคระบาดของพืชและสัตว์ที่เป็นวัตถุดิบหลัก ทำให้เกิดการขาดแคลนและราคามีความผันผวน ดังนั้น ควรที่จะทำสัญญาระยะปานกลางและระยะยาวกับผู้ขายบางรายไว้แล้ว เหตุการณ์ดังกล่าวจึงไม่ส่งผลกระทบกับเรามากเท่าไหร่

5.การแข่งขันทางธุรกิจ

ความนิยมในอาหารญี่ปุ่นเติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศไทย จึงทำให้มีผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ เกิดขึ้นจำนวนมาก และมีคู่แข่งบางรายเปิดร้านอาหารแนวเดียวกับของบริษัทในทำเลที่ใกล้เคียงกัน ดังนั้น เมื่อเรามีนโยบายแข่งขันทางด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ บริการ การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และการจัดกิจกรรมการตลาดรูปแบบต่าง ๆ โดยไม่เน้นการตัดราคา เราก็มีความเชื่อว่ายิ่งการแข่งขันมีมากเท่าใดย่อมส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมอาหารมากขึ้นเท่านั้น เพราะจะทำให้การเติบโตของตลาดในธุรกิจประเภทนี้เติบโตมากยิ่งขึ้น ซึ่งย่อมส่งผลทำให้ธุรกิจของเราเติบโตขึ้นไปได้ด้วย

6.ภัยธรรมชาติ

ภัยธรรมชาติ ก่อความเสียหายอย่างมาก ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องมการป้องกัน เตรียมพร้อมกับภัยพิบัติเสมอ โดยการขนย้ายของต่างไปไว้ที่ปลอดภัย ให้พ้นจากภัยพิบัติได้นั่นเอง ทำให้ปลอดภัยและไม่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ตลอดจนมีการกำหนดแผนสำรองฉุกเฉินในเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจจะสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่องและปลอดภัยด้วย

7.สภาวะเศรษฐกิจ

สภาวะเศรษฐกิจสามารถเกิดขึ้นได้และอาจมีผลกระทบต่อระดับการบริโภคและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จากความผันผวนและความไม่แน่นอนของสภาวะเศรษฐกิจในบางช่วงส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในด้านต่าง ๆ อาทิ ต้นทุนวัตถุดิบ และค่าแรงที่ปรับตัวขึ้น ทำให้ผู้ผลิตต้องแบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น รวมถึง ภาระรายจ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ของครัวเรือนทั่วประเทศเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อกำลังการซื้อของผู้บริโภคที่ลดน้อยลง ซึ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อผลประกอบการโดยรวมของธุรกิจอาหาร

อุปสรรคของธุรกิจร้านอาหารคืออะไร?

อุปสรรคของธุรกิจร้านอาหารคืออะไร?

มี 4 อุปสรรของธุรกิจร้านอาหาร ดังต่อไปนี้

1.ที่ทำเล พื้นที่จอดรถ

ที่ทำเลจอดรถเป็นเรื่อสำคัญมากที่จะต้องคิดอย่ารอบคอบเจ้าของธุรกิจจึงต้องใส่ใจในการเลือกทำเลเป็นพิเศษ เช่นสถานที่จอดขายอาหารนั้นจะต้องเป็นพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ หรือเจ้าหน้าที่แล้ว ไม่ใช่ไปจอดในสถานที่ห้ามจอด ซึ่งหลายคนก็คงรู้ดีว่าการขายอาหารริมถนนนั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ไม่ใช่ว่าจะจอดขายได้ทุกที่บนถนนควรศึกษาข้อนี้ให้ดีซะก่อน เพราะไม่ใช่ว่าจะจอดขายที่ไหนก็ได้ตามใจชอบแบบที่หลายคนเข้าใจไม่เช่นนั้นอาจเกิดปัญหาตามมานั่นเอง

2.สภาพอากาศ

เราไม่สามารถกำหนดวันเวลาสภาพอากาศได้เพราะมันจะต้องเกิดขึ้นอยู่แล้วตามธรรมชาติซึ่งไม่แน่นอนเท่าไหร่ ดังนั้น ดังนั้นเจ้าของธุรกิจจึงต้องเตรียมรับมือกับสภาพอากาศให้ได้ ดังนั้น เมื่อเจอเหตุการณ์ประมาณนี้แล้วเจ้าของธุรกิจต้องมีวิธีการคิดแก้ปัญหาไว้ล่วงหน้าไว้บ้าง อย่างการเช็ดสภาพอากาศล่วงหน้า เมื่อรู้ว่าอาทิตย์ต่อไปมีแนวโน้มที่ฝนจะตกหลายวันก็ควรหาสถานที่ที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการจอดขาย

3.มีคู่แข่งเพิ่มากขึ้น

เมื่อมีคู่แข่งมากขึ้น อาจจะทำให้เรากังวล แต่เมื่อมีคู่แข่งมากขึ้นเราก็ยิ่งจะต้องพยายามพัฒณาร้านของเรา เช่นรสชาติอาหารดีเยี่ยมที่ทำให้ลูกค้าไม่คิดเปลี่ยนใจ หรือว่าจะเป็นการตกแต่งรถให้ดูดึงดูดผู้บริโภคนั่นเอง เมื่อไม่อยากให้เกิดปัญหาการแย่งลูกค้ากัน ควรศึกษาให้ดีว่าบริเวณที่เราจอดขายอาหารนั้นมีอาหารประเภทเดียวกันขายอยู่ก่อนแล้วหรือไม่

4.ความพร้อม

เมื่อพูดถึงความพร้อมนั้น เราจะต้องพร้อมในเรื่องนี้หมายถึงความพร้อมทางด้านการเงิน ความพร้อมทางด้านการตลาด หรือความพร้อมทางด้านทำเล นั่นเองซึ่งปัญหาอาจเกิดขึ้นได้เมื่อเจ้าของธุรกิจมีความอยากแต่ไม่มีความพร้อมก็จะทำให้มีปัญหาได้ 
# สาเหตุหลักทำให้ธุรกิจร้านอาหารเจ๊งคืออะไร?

สาเหตุหลักทำให้ธุรกิจร้านอาหารเจ๊งคืออะไร?

มี 5 สาเหตุหลักที่ทำให้ธุรกิจร้านอาหารเจ๊งได้ ดังนี้

1.ถูกแชร์ส่วนแบ่งการตลาด

คนยุคปัจจุบัน พวกเขาอยากจะมีกิจการเป็นของตัวเองและไม่อยากที่จะเป็นลุกจ้างใครทั้งนั้นและหนึ่งในธุรกิจที่สามารถเริ่มต้นเป็นเจ้าของตนเองได้ง่ายสุดคือการเปิดร้านกาแฟ เปิดร้านอาหารนั้นเอง ดังนั้น เราจะเห็นว่าการที่มีร้านอาหารเปิดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีผลแน่นอนต่อการแบ่งส่วนแบ่งการตลาดหรือแบ่งส่วนแบ่งของจำนวนลูกค้านั่นเอง จากเดิมบางร้านมีลูกค้าวันละ 90คน/มื้อ ก็เพียงพอ กลายเป็นว่าพอเหลือ 80คน/มื้อ คราวนี้ไปไม่รอด ก็เจ๊งกันไป แนวทางแก้คือ มีความเป็นเอกลักษณ์ต่างจากคนอื่นๆ สร้างฐานลูกค้าประจำและรักษาพวกเขาไว้ให้ได้

2.ไม่มีประสบการณ์

คนยุคใหม่อยากเปิดร้านอาหารกัน ส่วนใหญ่มักจะไม่มีประสบการณ์การทำร้านอาหารหรือไม่เคยทำงานในสายธุรกิจอาหารมาก่อนบางคนอาจจะไปซื้อแฟรนไชส์มาก็ช่วยลดความเสี่ยงในการเปิดร้านอาหารได้ระดับหนึ่ง แต่สำหรับบางคนที่ไฟแรงเฟร่อ ก็จะทำแบรนด์ขึ้นมาใหม่แต่ ไม่มีความรู้หรือประสบการณ์ ทำให้ไปเข้าใจเรื่องสำคัญ เช่น การตลาดทางด้านธุรกิจร้านอาหาร ระบบการจัดการร้านอาหาร ต้นทุนอาหาร ระบบบัญชี เป็นผลทำให้เปิดร้านได้ 3-6 เดือนก็ต้องปิดกิจการลงอย่างน่าเสียดายนั่นเอง

3.บริหารงบประมาณผิดพลาด

การลงทุนที่เกินตัวหรือไม่ได้แบ่งสันปันส่วนของเงินลงทุนเปิดร้าน บางคนจะเปิดร้านอาหารคิดแค่ว่า มีเงินเท่าไรก็ใส่ให้หมดกับการแต่งร้าน ซื้ออุปกรณ์ ภาชนะต่างๆ เข้าร้านเอาของดีที่สุดไว้ก่อน พอหลังจากนนั้นก็ทำให้เราหุนเงินไม่ทัน ทำให้ไม่กี่เดือน้านก็เจ๊งนั่นเอง สามารถทำตามนี้ได้เพื่อให้เราไม่เจ๊งคือ

  • เงินลงทุนก่อสร้างร้าน เช่น ค่าออกแบบ+งานก่อสร้าง+อุปกรณ์ครัว+เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว
  • เงินสำหรับใช้หมุนเวียนอย่างน้อย 3 เดือน แต่ถ้าดีหน่อยก็ขอซัก 6 เดือน เงินหมุนเวียนได้แก่สำหรับ ซื้อวัตถุดิบอาหาร , ค่าเช่า , ค่าแรง , ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ
  • เงินสำหรับทำการตลาด ทำสื่อโฆษณาบริเวณร้าน , ใบปลิว , Ads FB , Blogger Review

4.ความรีบเร่งคนยุคปัจจุบัน

ผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้นเรื่อยๆ อาทิเช่น ขนมปังอบร้อน ไข่เจียว โจ๊ก อาหารแช่แข็ง ซึ่งมีจุดขายตามสถานที่ต่างๆ มากมายอีกด้วย และประกอบกับความเร่งรีบในการใช้ชีวิตช่วงเช้าของคนทำงาน ทำให้เชื่อว่าหลายๆ คน ในหนึ่งมื้อเช้าจะต้องเคยฝากท้องไว้กับร้านสะดวกซื้อแห่งนี้ ทำให้ร้านอาหารที่มีโอกาสขายได้ 3 มื้อก็ลดลงเหลือโอกาสเพียง 2 มื้อตามไปด้วยนั่นเอง

5.ไม่มีการพัฒณา

ถ้าหากไม่มีการพัฒณาเหมือนเดิมตลอดเวลา มาตรฐานของคุณภาพอาหาร การบริการ และความสะอาดของร้านอาหารบางร้านลดลง จำเจซ้ำซากกับรูปแบบเดิมๆ เมนูเดิมๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาทำให้ลูกค้าค่อยๆ ลดลงตามกันไปด้วยเช่นกัน ดังนั้น ควรที่จะมีการพัฒณาเเละเปลี่ยนบางอย่างตามความเห็นของลูกค้าด้วย

สรุป: เมื่อเราเปิดธุรกิจร้านอาหารเราต้องนึกถึงปัญหาอะไรบ้าง?

สรุป: เมื่อเราเปิดธุรกิจร้านอาหารเราต้องนึกถึงปัญหาอะไรบ้าง?

สิ่งที่เราต้องนึกถึง คือ ทำอย่างไรให้ร้านอาหารไม่เจ๊งนั่นเอง รวมทั้งความเสี่ยงและอุปสรรคต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น จากที่เราได้อ่านไปและทำความเข้าใจแล้ว เราสามารถไปพัฒณาร้านของเราได้ เพื่อที่จะทำให้ลูกค้าชอบและเห็นว่าร้นของเราประสิทธิภาพจริง เมื่อเราคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ก็สามารถทำให้เราอาหารของเราประสบความสำเร็จได้นั่นเอง