คุณเป็นคนหนึ่งที่ถือกองทุน LTF อยู่ไหม? คนที่ซื้อ LTF เอาไว้เพื่อลดหย่อนภาษี แล้วครบระยะเวลาตามกำหนด คือ 5 ปี ก็มักจะต้องตัดสินใจว่าควรขาย LTF ออกไปหรือไม่ แต่ตามสถิติแล้วคนส่วนใหญ่มักขาย LTF เมื่อครบกำหนดเวลา โดยไม่ได้สนใจว่าผลตอบแทนที่ได้จาก LTF ณ ขณะนั้นจะเป็นอย่างไร ไม่ได้คิดว่าควรถือต่อหรือไม่

นั่นก็เป็นเพราะเหตุผลที่คนส่วนใหญ่ซื้อ LTF ก็เพื่อลดหย่อนภาษีมากกว่าคิดจะลงทุน อันนี้แล้วแต่วัตถุประสงค์ของเงินลงทุนของเราเอง ผมเห็นหลายกรณี นักลงทุนที่ลงทุนใน LTF แล้วครบกำหนด เขาไม่รู้จะเอาเงินไปทำอะไรต่อ และพึงพอใจกับผลการดำเนินงานของกองทุนในช่วงที่ผ่านมา ก็ถือต่อไป และให้ผู้จัดการกองทุนบริหารต่อ หากยังทำได้ดี เราก็ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนเพิ่ม ดีกว่าไถ่ถอนออกมาแล้วเอาไปฝากประจำ หรือ ออมทรัพย์เอาผลตอบแทนต่ำติดดิน

แต่ถ้าจะโยกเงินออกมา สิ่งที่ต้องคิดคือ เรามีสินทรัพย์เป้าหมายที่จะลงทุนแล้วหรือยัง เปรียบเทียบแล้ว จะให้ผลตอบแทนคุ้มความเสี่ยงหรือเปล่า และอย่าลืมว่า การเข้าออกกองทุนมันมีค่าธรรมเนียม ซึ่งคุณคงต้องเอาส่วนนี้มาพิจารณาประกอบด้วย

กองทุน LTF คือ?

กองทุน LTF คือ?

ที่จริงแล้วกองทุน LTF ก็คือกองทุนหุ้นดี ๆ นี่เอง แต่มีความพิเศษตรงที่นักลงทุนสามารถนำเงินที่ซื้อในแต่ละปีไปหักลดหย่อนภาษีได้ตามเงื่อนไข ซึ่งข้อดีตรงนี้ทำให้มองว่าเราซื้อกองทุน LTF ได้ในต้นทุนที่ถูกกว่าการซื้อกองทุนหุ้นอื่นที่ไม่ใช่ LTF มูลค่าของกองทุน LTF ก็จะขึ้นลงไปตามภาวะตลาดหุ้นรวมไปถึงมูลค่าหุ้นแต่ละตัวที่กองทุนนั้นถืออยู่ ไม่ต่างอะไรจากกองทุนหุ้นอื่น ๆ เลย ดังนั้นการตัดสินใจซื้อกองทุน LTF แม้ลึก ๆ แล้วจะคือเพื่อผลประโยชน์ทางภาษีก็ตาม เราก็ไม่ควรลืมว่านั่นคือการลงทุนอย่างหนึ่ง ที่เราต้องคิดถึงผลตอบแทนและความเสี่ยงเป็นหลักด้วยนะคะ

กองทุน LTF เมื่อถึงกำหนดจะทำอย่างไรต่อไป?

กองทุน LTF เมื่อถึงกำหนดจะทำอย่างไรต่อไป?

หลายคนเชื่อว่า พอไม่ต่ออายุ LTF ก็แปลว่า เม็ดเงินในกองทุน LTF จะค่อยๆ ลดลง เพราะนักลงทุนทยอยไถ่ถอนออกไปเรื่อยๆ คำถามคือ มันจะถึงขั้นถอนกันจนตลาดหุ้นตกตามแรงขายไหม คำตอบคือ เม็ดเงินลงทุนใน LTF ทั้งหมด คิดเป็นเพียงแค่ประมาณ 4 % ของ Market Cap ของตลาดหุ้นไทย และเงื่อนไขการไถ่ถอน นักลงทุนไม่สามารถไถ่ถอนได้ทั้งหมดในปีเดียวอยู่แล้ว เพราะติดเงื่อนไขถือครองให้ครบ 7 ปีปฏิทิน ซึ่งก็หมายความว่า เม็ดเงินลงทุนใน LTF จะค่อยๆ ถูกทยอยขายออกมาในอีก 6-7 ปีข้างหน้า (หากทุกคนเห็นตรงกันว่าต้องขายออก) แต่มุมมองส่วนตัวผมก็เชื่อว่า มีนักลงทุนจำนวนหนึ่งที่จะไม่ขายออกมา และถือเงินลงทุนก้อนนั้นต่อไป ทำให้เชื่อว่าไม่มีผลต่อตลาดหุ้นไทยเลย

ตรงนี้ขอให้สบายใจได้ระดับหนึ่งหากยังทำงานประจำเป็นมนุษย์เงินเดือนต่อ ปกติก็ต้องซื้อ LTF ก้อนใหม่ทุกปีเพื่อให้ได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีเงินได้อย่างต่อเนื่อง ในกรณีที่เรามีเงินก้อนเงินเก็บเพื่อมาซื้อ LTF ก้อนใหม่ ความจำเป็นที่ต้องขาย LTF ที่ถึงกำหนดก็ไม่มี แต่หากเราไม่มีเงินก้อนเงินเก็บหรือปีนั้นมีค่าใช้จ่ายมาก ไม่มีเงินเหลือสำหรับซื้อ LTF เพื่อลดหย่อนภาษี อันนี้ก็อาจเป็นเหตุผลที่จะนำมาใช้เพื่อขาย LTF ที่ถึงกำหนดไป แล้วนำเงินที่ได้มาซื้อ LTF ก้อนใหม่เพื่อจะได้สิทธ์ลดหย่อนภาษีสำหรับปีนี้ เหตุผลนี้ยอมรับได้

ยิ่งถ้าอัตราภาษีที่ลดหย่อนได้นั้นสูงแค่ไหน การขาย LTF เพื่อนำเงินไปซื้อ LTF ใหม่ก็ดูเหมือนกับยิ่งจะคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น เชื่อว่าแรงขาย LTF ทุกต้นปีเกิดจากสาเหตุนี้คือคนต้องการนำเงินที่ขายได้กลับไปซื้อ LTF ใหม่

ถ้าไม่มีเป้าหมายที่จะขาย กองทุน LTF ก็ต้องคิดให้ดีหน่อย

ถ้าไม่มีเป้าหมายที่จะขาย กองทุน LTF ก็ต้องคิดให้ดีหน่อย

ถ้าคิดแต่ว่า LTF ถึงกำหนดแล้วก็ขายเอาเงินออกมา แล้วถึงเวลาเงินก้อนนั้นก็ถูกใช้หมดไปกับเรื่องอะไรก็ไม่รู้ เช่น ดาวน์รถคันใหม่ หรือซื้อของใช้ฟุ่มเฟือย แบบนี้ก็ไม่ไหว เพราะอย่าลืมว่านั่นคือเงินลงทุน ถ้าไม่ลงทุนต่อใช้ไปทุนที่เป็นเงินเก็บก็หมดไปอย่างน่าเสียดาย โอกาสที่จะได้ผลตอบแทนจากเงินทุนก้อนนั้นก็ต้องสูญสลายไป หรือแม้แต่ว่าไม่ได้นำเงินไปใช้ฟุ่มเฟือย แต่เอาเงินไปฝากธนาคารกินดอกเบี้ย ก็ต้องดูว่าคุ้มหรือไม่

ถ้าเศรษฐกิจดี ตลาดหุ้นมีแนวโน้มสดใส ดัชนีหุ้นยังน่าจะไปต่อได้ การเลือกถือ LTF ต่อไปทั้งที่ครบกำหนดแล้วก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพราะเขาบังคับแค่ไม่ถึงเวลาห้ามขาย แต่ถ้าถึงเวลาจะขายหรือไม่ขายก็ได้ ให้ไว้เป็นทางเลือก

แต่ตรงกันข้าม ถ้า LTF เราให้ผลตอบแทนพอสมควรตลอดช่วงเวลาที่ถือมา อยากขายทำกำไรจากกองทุน LTF ก็สามารถทำได้ เพราะการถือ LTF ต่อไปเรื่อย ๆ โดยไม่ขายเลย ก็ไม่ได้รับประกันว่ามูลค่าของ LTF จะไม่กลายเป็นติดลบ แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการหาข้อมูล คิดวิเคราะห์ และตัดสินใจให้ดีแล้วค่อยขาย ไม่ใช่แค่เหตุผลว่า LTF ถึงกำหนดแล้วเลยขาย

ถ้าผลตอบแทนกองทุน LTF ที่ผ่านมายังไม่น่าพอใจ การเลือกถือ LTF ต่อไปอีก 1-2 ปีเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้นก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าเช่นกัน โดยปกติแล้ว ทีมบริหารกองทุน หรือ ผู้จัดการกองทุน แต่ละบลจ. จะมีการกำหนดกลยุทธ์และการลงทุนตามแต่ละโมเดลซึ่งเป็นไปได้นโยบายการลงทุนที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน ซึ่ง LTF ของแต่ละบลจ. ส่วนใหญ่ เป็นหนึ่งในโมเดลการลงทุน ซึ่งมีกองทุนรวมปกติ ที่ไม่ใช่ LTF ที่ต้องบริหารจัดการต่ออยู่แล้ว

ดังนั้น ในแง่การทำงานของผู้จัดการกองทุน จึงไม่ได้เกิดความยากมากขึ้น จากการที่ไม่มีเงินลงทุนเข้ามาใหม่ใน LTF และจากการศึกษาของทีม Finnomena Analytics

เราพบว่า ผลการดำเนินงานกองทุนรวมที่ไม่มี Flow ไหลเข้าออกจำนวนมาก ให้ผลตอบแทนสูงกว่า กองทุนรวมที่มีเม็ดเงินลงทุนไหลเข้าออกในระยะสั้น อย่างมีนัยยะสำคัญ ซึ่งตีความได้ว่า กองทุนที่นักลงทุนทำการซื้อขายบ่อยๆ อาจทำให้ผู้จัดการกองทุนต้องคำนึงถึงการบริหารสภาพคล่อง จนมีผลต่อผลการดำเนินงานของกองทุนบ้าง ซึ่งถ้าเชื่อในประเด็นนี้ ก็แปลว่า การไม่มีเงินใหม่เข้าลงทุนใน LTF อาจเป็นการดีต่อผลการดำเนินงานกองทุนด้วย จะยกเว้นก็แต่ว่า ถ้าขนาดของกองทุน LTF นั้นๆ ที่เราลงทุนอยู่ มีขนาดเล็กมากเกินไป ก็อาจส่งผลกระทบต่อแรงจูงใจในการบริหารพอร์ตของผู้จัดการกองทุนให้ลดลง นักลงทุนจึงควรคิดทั้งสองมุม และติดตามสถานการณ์ต่อเนื่องด้วยค่ะ

เหตุผลที่สนับสนุนการขายกองทุน LTF

เหตุผลที่สนับสนุนการขายกองทุน LTF

การบริหารพอร์ตลงทุนของแต่ละคนถ้าเรามีเป้าหมายสัดส่วนการลงทุนที่เป็นหุ้นซึ่งเป็นสินทรัพย์เสี่ยงที่ไม่เกิน 50% แต่พอซื้อ LTF เพิ่มทุกปี แถมพอร์ตเล่นหุ้นรายตัวอีก ทำให้สัดส่วนหุ้นนั้นเกิน 50% ไป การเลือกขายกองทุน LTF เมื่อครบกำหนดเพื่อลดสัดส่วนการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงก็เป็นกลยุทธ์ที่สามารถทำได้ แต่ทั้งนี้เราต้องมีคำตอบว่าเมื่อขายแล้วจะเอาเงินที่ได้ไปลงทุนอะไรต่อเพื่อไม่ให้เงินหมดไป

เช่น ซื้อตราสารหนี้ ซื้อประกันชีวิต หรือฝากธนาคาร แล้วก็นอกจากจะใช้ลดหย่อนภาษีได้แล้ว ถ้าหากกองทุนนั้นมีการจ่ายเงินปันผลด้วย ก็เหมือนกับการได้กำไรสองต่อ หลายคนจึงเลือกซื้อกองทุน LTF ที่มีนโยบายจ่ายปันผล (ซึ่งเราจะต้องเสียภาษี 10% ของเงินปันผลนั้นด้วย สามารถเลือกได้ทั้งแบบหัก ณ ที่จ่าย หรือไม่หัก ณ ที่จ่าย ถ้าเลือกไม่หัก ณ ที่จ่าย ต้องนำเงินปันผลนั้นมารวมกับเงินได้ประจำปี เพื่อเสียภาษีตามฐานภาษีของเรา) ส่วนใครที่เลือกกองทุนแบบไม่จ่ายปันผล ก็ไม่ต้องจ่ายภาษีในส่วนนี้ ช่วงเวลาฮอตฮิตที่คนส่วนใหญ่มักจะซื้อ LTF คือช่วงปลายปี แต่จริงๆ แล้ว LTF นั้นซื้อช่วงไหนของปีก็ได้ ยิ่งซื้อในช่วงที่ราคาหุ้นปรับตัวลงน่าจะดีที่สุด เพราะเราจะได้ต้นทุนต่ำ แต่หากเราไม่มีเวลาหรือไม่มีความรู้เรื่องหุ้นเลย ก็ยังมีอีกวิธีที่ นั่นคือ การทยอยซื้อแบบเฉลี่ยต้นทุน หรือ DCA (Dollar-Cost Averaging) คือ การทยอยซื้อทุกๆ เดือน เดือนละเท่า ๆ กัน โดยไม่สนว่าช่วงนั้นหุ้นจะขึ้นหรือลง ก็จะทำให้ต้นทุนการซื้อเราออกมาเป็นค่าเฉลี่ยของทั้งปี

1. ยิ่งถือยาวก็ยิ่งมีโอกาสได้ผลตอบแทนดี

เนื่องจาก LTF เป็นการลงทุนในหุ้นเป็นหลัก มีความผันผวนสูง การลงทุนระยะสั้นจึงมีความไม่แน่นอน การถือครองในระยะยาวจะทำให้โอกาสขาดทุนลดลงอย่างมาก นอกจากผลตอบแทนแล้ว สำหรับใครที่ลงทุนใน LTF ที่มีนโยบายปันผล ก็มีโอกาสได้รับเงินปันผลไปเรื่อยๆ ระหว่างที่ถือการลงทุนต่อไป

2. สร้างความมั่นคงในระยะยาว

ถึงแม้ว่า LTF จะสามารถใช้เพื่อลดหย่อนภาษีได้ แต่อย่ามองว่ากองทุน LTF มีประโยชน์แค่ได้สิทธิทางภาษีเท่านั้น อันที่จริงมันยังเป็นการลงทุนเพื่อสร้างความมั่นคงในระยะยาวอีกด้วย เพราะไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง โดยเฉพาะเมื่อเราอายุมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าค่าใช้จ่ายก็จะเพิ่มขึ้นด้วยตามวัย เช่น ค่าดูแลสุขภาพ เลี้ยงดูครอบครัว ค่าเล่าเรียนของบุตรหลาน เป็นต้น การมีเงินลงทุนสะสมงอกเงยไว้เพื่ออนาคต ย่อมทำให้รู้สึกมั่นคงและปลอดภัยมากกว่า ขนาดตึกยังมีบันไดหนีไฟ แล้วชีวิตจะไม่มีทางสำรองได้อย่างไร จริงไหมคะ?

สรุป

สรุป

มีเรื่องให้ต้องคิดไม่น้อยเลยว่าเมื่อกองทุน LTF ถึงกำหนดแล้ว เราควรขายหรือถือต่อ ดังนั้นอย่าใช้เหตุผลแค่เพียงว่าเพราะ LTF ถึงกำหนดแล้วขายได้ก็เลยขายมาเป็นคำตอบในการขาย LTF ของคุณเท่านั้นเลยค่ะ ก่อนขายคืน LTF ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าจำนวนหน่วยลงทุนที่ถือครบกำหนดตามเงื่อนไขภาษีนั้นมีอยู่จำนวนกี่หน่วย และต้องไม่ขายคืนเกินจำนวนหน่วยนี้ ไม่เช่นนั้นจะเข้าข่ายผิดเงื่อนไขได้  ถ้าจะขายคืน LTF ที่ครบกำหนด

คุณสามารถทยอยขายได้ ไม่จำเป็นต้องขายคืนหมดทั้งก้อน เมื่อสั่งขายคืนหน่วยลงทุน ไม่ว่าจะเป็นกำหนดเป็นจำนวนเงินว่าจะขายคืนกี่บาท หรือกำหนดเป็นจำนวนหน่วยก็ตาม หน่วยลงทุนที่จะถูกขายคืนก่อนคือหน่วยลงทุนที่ซื้อก่อน ตามหลักการเข้าก่อนออกก่อน (FIFO-First In First Out)

ดังนั้น คุณอาจขายคืนให้ได้เงินเท่าที่จำเป็นต้องใช้ ที่เหลือก็ถือลงทุนต่อไปได้ ซึ่งกำไรที่ได้จากการขายคืนหน่วยลงทุนที่ครบอายุนี้จะไม่ต้องเสียภาษีด้วย (ต่างจากเงินปันผลที่ต้องเสียภาษี ณ ที่จ่าย 10% หรือนำไปรวมกับรายได้ทั้งหมดเพื่อคำนวณภาษีเงินได้ประจำปี)

ถ้าช่วงสิ้นปีเป็นช่วงที่คนนิยมซื้อกองทุน LTF แล้วล่ะก็ ช่วงต้นปีก็คงเป็นช่วงที่มีคนขายคืนกองทุนที่ถือจนครบกำหนดกันไม่ใช่น้อย ก่อนจะตัดสินใจว่าจะขาย LTF ลองพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ได้แก่ - สถานะการเงิน ความจำเป็นในการใช้เงินตอนนี้ vs. การเก็บเงินลงทุนไว้เพื่อใช้ในอนาคต เป้าหมายการเงินต่อไป รวมถึงผลตอบแทนและแนวโน้มของกองทุน แล้วคุณก็จะตอบตัวเองได้ว่า การขายคืน LTF เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดแล้วจริงหรือเปล่า