เพื่อนๆเห็นด้วยไหมครับ ว่าทุกวันนี้การจะหางานที่มีความมั่นคง นอกจากงานข้าราชการ แล้วนั้นก็เป็นเรื่องยาก แม้แต่อย่างอาชีพพนักงานออฟฟิศเองในปัจจุบันบางแผนกก็เป็นงานที่ไม่มั่นคงแล้ว เพราะฉะนั้น คนในยุคคนี้จึงเริ่มมองหางานที่ได้ผลตอบแทนที่ดี และจะสามารถทำให้คุณภาพชีวิตของพวกเขาดีขึ้นได้มากกว่าที่จะหางานทั่วไปที่ต้องอดทนทำโดยไม่เต็มใจ ฝืนทำเหมือนเป็นซอบบี้ทุกวันๆ และเมื่อเป็นอย่างนั้น แล้ว การลาออกจากงานประจำที่ทำอยู่จึงเป็นเรื่องปกติมากๆพบเห็นได้ทั่วไปในทุกวันนี้ แต่การลาออกนั้นก็มีวิธีการของมัน เช่น อันดับแรกถ้าต้องการลาออกจากงานที่ตัวเองทำอยู่ ก็ต้องทำจดหมายขอลาออกและเอาให้หัวหน้าเซ็นอนุมัติ ซึ่งถ้าเอาตามกฎหมายแล้ว ก็ไม่มีกำหนดนะว่าเพื่อนๆจะยื่นจดหมายลาออกล่วงหน้ากี่วัน เพื่อนๆจะยื่นจดหมายลาออกก่อนหนึ่งวันก็ได้ แต่ตรงนี้และจะทำให้รู้ได้ว่าเพื่อนๆนั้นมีความเป็นมืออาชีพหรือไม่เป็นมืออาชีพ มาดูกันว่าดีกว่า  ลาออกแบบไหนที่จะดูเป็นมืออาชีพที่สุด

การแจ้งลาออกล่วงหน้า เพื่อความเป็นมืออาชีพ

การแจ้งลาออกล่วงหน้า เพื่อความเป็นมืออาชีพ

การลาออกที่ดีควรมีการแจ้งล่วงหน้า เพื่อเป็นการให้หัวหน้างานได้รับรู้ ว่าจะต้องหาคนมาแทนที่เรา การที่เราลาออกโดยไม่แจ้ง แค่หยุดงานมาเฉยนั้นเป็นเรื่องที่แย่ที่สุดไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง แล้วต้องแจ้งล่วงหน้ากี่วัน? ตรงนี้ตามกฏหมายอย่างที่บอกไปก่อนหน้าก็ไม่ได้มีกำหนดเอาไว้สักด้วย แต่เพื่อความเป็นมืออาชีพ ผมขอแนะนำ ให้มีการแจ้งล่วงหน้า อย่างน้อย 30 วัน เหตุนั้นก็เพราะ เป็นระยะเวลาที่พอเหมาะในการลาออก และแนะนำให้แจ้งหลังจากรับเงินเดือน จะเป็นอะไรที่ดูเป็นมืออาชีพมากที่สุด การที่เพื่อนๆแจ้งกับหัวหน้าถึง 30 ว่าจะลาออกนั้นจะทำให้ หัวหนาหรือบริษัทที่เพื่อนๆทำงานสามารถหาคนมาแทนที่ตัวเพื่อนๆได้ทัน และอาจจะมีเวลามากพอให้กับเพื่อนๆได้สอนงานพนักงานคนใหม่ที่จะมาแทนที่และรวมไปถึงเคลียงานที่ค้างไว้เพื่อที่ลาออกแล้วจะไม่มีปัญหาตามทีหลัง

นายจ้างจะไม่อนุมัติจดหมายลาออกได้ไหม?

นายจ้างจะไม่อนุมัติจดหมายลาออกได้ไหม?

เพื่อนๆอาจจะเคยดูหนังดูซีรี่ย์ที่นางเอกยื่นจดหมายลาออกแต่กับถูกพระเอกที่เป็นหัวหน้าปฎิเสธไม่ให้ลาออก ต้องบอกเลยว่านั้นเป็นเรื่องแต่งนั้นครับ ในเรื่องจริง หัวหน้าไม่มีสิทธิทำแบบนั้นกับเพื่อนๆอย่างแน่นอน แต่มันก็มีกรณีที่เพื่อนๆไม่สามารถที่จะลาออกได้ตามใจตัวเองอยู่เหมือนกันนะครับ ไม่ใช่นึกจะลาออกก็ลาออกได้เลย และบางทีการลาออกตามใจตัวเองเพื่อนๆก็มีสิทธิต้องจ่ายค่าเสียหายให้กับทางบริษัทด้วยนะครับ ซึ่งก่อนที่เพื่อนๆจะลาออกจากงาน เพื่อนๆก็จะต้องมาดูสัญญาการจ้างของตัวเพื่อนๆเองก่อนว่าเป็นสัญญาการจ้างแบบไหน ซึ่งสัญญาการจ้างก็จะมีอยู่ 2 แบบ ด้วยกัน ได้แก่ สัญญาแบบไม่มีระยะเวลา และสัญญาแบบกำหนดระยะเวลา

  1. สัญญาแบบไม่มีระยะเวลา สัญญาแบบนี้เพื่อนๆจะพบเห็นได้ทั่วไป โดยส่วนใหญ่ก็จะเป็นสัญญาจ้างพนักงานประจำ ซึ่งในสัญญาก็จะไม่มีการระบุว่าพนักงานที่จ้างจะต้องทำงานนานแค่ไหน คือ เมื่อไรที่เจ้านายต้องการให้ออกก็สามารถทำได้ทันทีแล้วเมื่อไรที่ตัวพนักงานเองต้องการลาออกก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน ถ้าเพื่อนๆที่เป็นพนักงานประจำส่วนใหญ่ก็จะเป็นสัญญาลักาณะนี้เพราะฉะนั้นไม่ต้องกังวลสามารถลาออกได้ตามที่เพื่อนๆสะดวกเลยแต่อย่าลืมแจ้งล่วงหน้า 30 วัน

  2. สัญญาแบบกำหนดระยะเวลา สัญญาแบบนี้เพื่อนๆจะพบเห็นกับอาชีพนักแสดงสักส่วนใหญ่ โดยในสัญญาประเภทนี้ก็จะมีการกำหนดระยะเวลาไว้ในใบศัญญาอย่างชัดเจน ว่ามีระยะเวลาการทำงานนานเท่าไร และครบกำหนดสัญญาก็สามารถเลือกที่จะต่อสัญญาหรือไม่ต่อสัญญาก็ได้แล้วแต่สะดวก ซึ่งในสัญญานี้หากมีผู้ที่ทำผิดสัญญาผู้นั้นจะต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบโดยการเสียค่าเสียหายให้กับอีกฝ่ายตามสัญญาหรือตามที่อีกฝ่ายฟ้องร้องนั้นเอง

ค่าชดเชยหลังจากลาออกจากงาน

ค่าชดเชยหลังจากลาออกจากงาน

พูดถึงเงินค่าชดเชย ถ้าในกรณีที่เพื่อนๆถูกไล่ออกเพื่อนๆจะมีเงินค่าชดเชยจากทางบริษัทมอบให้ แต่ถ้าเพื่อนๆเต็มใจลาออกจากงานด้วยตัวเองนั้นเงินค่าทดแทนจากบริษัทก็จะไม่มีให้ แต่ก็ยังมีค่าชดเชยจากที่อื่นที่เพื่อนๆมีสิทธิได้รับอยู่นั้น คือ เงินค่าชดเชยจากประกันสังคมกรณีที่ว่างงานนั้นเอง ได้ก็มีเงื่อนไขอยู่ว่าเพื่อนๆจะต้องเป็นผู้ที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมหรือก็คือเป็นผู้ประกันตนมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือนภายในระยะเวลา15เดือนก่อนออกจากงานถึงจะได้รับสิทธินี้ ซึ่งเพื่อนๆจะต้องขอรับสิทธิภายใน 30 วัน โดยการไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐและเพื่อนๆจะต้องมีหนังสือรับรองการออกจางานด้วย เพื่อเป็นการแสดงสิทธิในเบื้องต้น และเงินชดเชยที่เพื่อนๆจะได้รับก็จะอยู่ที่ร้อยละ 30 ของเงินเดือนล่าสุดของเพื่อนๆ ซึ่งจะมีการจ่ายให้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 เดือน