มรดก คำนี้อาจจะดูเหมือนว่าไกลตัวของใครหลายคน และไม่เคยคิดจะนึกถึงการทำพินัยกรรมมอบมรดกอะไรเลย ทำไมถึงเป็นเรื่องไกลตัว? เพราะหลายคนคิดไปเองว่า คนที่จะมีมรดกที่สามารถมอบให้คนในครอบครัวได้นั้นต้องร่ำรวยมีเงินเยอะมีทรัพย์มากมายเท่านั้น แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ แม้คุณจะเป็นคนธรรมดามีเงินน้อยแต่มีเงินเก็บอยู่บ้างก็ต้องคิดเรื่องมรดกเช่นกัน เพราะถ้าเกิดอะไรขึ้นกับคุณอย่างที่ไม่คาดคิดแม้เป็นเงินเล็กน้อยก็ต้องมีการมอบให้ผู้ที่มีสิทธิ์ในเงินส่วนนั้นอย่างชัดเจนถูกต้องตามกฎหมายไม่อย่างนั้นคนในครอบครัวจะเสียโอกาสได้รับเงินนั้นได้ สุดท้ายเงินนั้นก็ตกเป็นของธนาคาร หรือคนอื่นๆไป

การวางแผนเรื่องมรดกจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนในครอบครัวควรเห็นว่าสำคัญ โดยเฉพาะหัวหน้าครอบครัวที่ส่วนมากมักมีเงิน หรือทรัพย์สินมากกว่าสมาชิกคนอื่นในครอบครัว คุณควรเริ่มคิดเรื่องนี้ได้แล้วว่าถ้าเกิดคุณเสียชีวิตเงินที่ฝากไว้ในธนาคารใครจะได้รับ เพราะถ้าไม่ใช่เจ้าของเงินในบัญชีส่วนมากคนอื่นก็ไม่มีสิทธิ์ดังนั้นเอกสารการมอบมรดกจึงสำคัญมากค่ะเพื่อให้คนในครอบครัวมีสิทธิ์ในเงินส่วนนั้นได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นการเริ่มต้นคิดถึงเรื่องมรดกควรเตรียมตัวอย่างไรบ้างบทความนี้จะมาบอก เช่น ทำรายการทรัพย์สิน และหนี้สินเป็นประจำ / ศึกษาข้อมูลด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาษี / วงแผนมอบมรดกเพื่อไม่เสียภาษีมากเกิน การเตรียมตัวอย่างดีและวางแผนเรื่องมรดกจะช่วยให้คนในครอบครัวที่เป็นผู้รับไม่ลำบากใจและไม่เจอความยุ่งยากทางการเงินได้ค่ะ

ทำรายการทรัพย์สินและหนี้สินเป็นประจำ

ทำรายการทรัพย์สินและหนี้สินเป็นประจำ

ทำไมต้องทำรายการเหล่านี้? ก็เพราะว่าทรัพย์สินและหนี้สินของผู้มอบมรดกเมื่อยังมีชีวิตอนู่นั้นมักเปนี่ยนแปลงบ่อยๆ จึงจำเป็นต้องทำรายการทรัพย์สิน และหนี้สินอยู่เสมอเพื่อจะจัดการแบ่งสรรปันส่วนได้ว่าจะเหลือเงินเท่าไหร่เพื่อมอบเป็นมรดกได้ โดยเฉพาะมกดกที่เป็นทรัพย์สินที่ไม่ใช่เงิน เช่น อสังหาริมทรัพย์ กิจการร้านค้า รถยนต์รถจักรยานยนต์ เป็นต้น ส่วนทรัพย์สินที่เป็นเงินที่อยู่ในบัญชีธนาคารก็ต้องวางแผนเช่นกัน  ทำไมต้องวางแผน? เพราะว่ามรดจะถูกมอบก็ต่อเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดฉุกเฉินเท่านั้น เรื่องฉุกเฉินไม่มีการเตรียมตัวหรือตั้งใจถ้าไม่มีการวางแผนเรื่องนี้ก่อน ทรัพย์สินทั้งหมดของผู้เสียชีวิตจะสร้างความยุ่งยากให้แก่คนในครอบครัวได้เมื่อต้องการนำมาครอบครองเพราะไม่มีใครมารับประกันว่าคนในครอบครัวมีสิทธิ์อะไรบ้างในทรัพย์สินของผู้ที่เสียชีวิตไป แต่การวางแผนเอาไว้ก่อนจะช่วยให้เรื่องการครอบครองทรัพย์สินของคนในครอบครัวผู้เสียชีวิตนั้นราบรื่นมากขึ้นเพราะมีการระบุชัดเจนว่าใครมีสิทธิ์ และโดยเฉพาะแผนการเรื่องของการเสียภาษีด้วยเมื่อมรดกนั้นมีมูลค่าเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ค่ะ

ส่วนในเรื่องของหนี้สินที่ต้องจัดการก็คือ ผู้มอบมรดกต้องพยายามจัดการหนี้สินให้ไม่เป็นภาระต่อครอบครัวให้มากที่สุดโดยการหาข้อมูลหรือการถอนชื่อของคนในครอบครัวที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหนี้สินนั้น หรือทำเรื่องในการยกหนี้เมื่อผู้เป็นหนี้เสียชีวิตให้เรียบร้อย ไม่อย่างนั้นหนี้สินจะเป็นปัญหาและภาระต่อคนในครอบครัวต่อไปได้ถ้าไม่มีการจัดการที่ดีค่ะ

ศึกษาข้อมูลด้านกฎหมายเรื่องมรดกที่เกี่ยวข้องกับภาษี

ศึกษาข้อมูลด้านกฎหมายเรื่องมรดกที่เกี่ยวข้องกับภาษี

ตามที่ยอกไว้ก่อนหน้านี้ว่าการมอบมรดกที่มีมุลค่าสูงจะมีเรื่องของภาษีมาเกี่ยวข้อง ดังนั้นมาดูว่ากฎหมายเรื่องภาษีมรดกนั้นมีเรื่องอะไรบ้างค่ะ

  1. ภาษีมรดก เมื่อมีการมอบมรดกตามพินัยกรรมของผู้ที่เสียชีวิตไปจะมีการตรวจสอบว่าทรัพยศินนั้นมีมูลค่ามากเท่าไหร่ ตามกฎหมายปัจจุบันถ้ามีการมอบมรดกที่มีมูลค่า 100 ล้านบาท จะเสียภาษี 10% เมื่อผู้ที่รับมรดกนั้นเป็นบุคคลธรรมดาทั่วไป แต่ถ้ามรดกมีมูลค่า 100 ล้านบาท จะเสียภาษี 5% เมื่อผู้รับเป็นพ่อ หรือแม่ หรือทายาทคนอื่นๆค่ะ ซึ่งมรดกที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ก็มีภาษีที่ต้องเสียตามราคาประเมินของทรัพย์ตอนนั้นค่ะ
  2. ภาษีการให้ เมื่อมีการมอบมรดกให้ตอนที่ผู้มอบยังมีชีวิตอยู่แก่คนในครอบครัว จะมีการคิดภาษีแบ่งเป็นทรัพยสิน 2 แบบ คือ สังหาริมทรัพย์ และ อสังหาริมทรัพย์
 สังหาริมทรัพย์ ถ้ามอบให้แก่บุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่คนในครอบครัวและทรัพย์สินมีมูลค่าเกิน 10 ล้านบาท ต้องเสียภาษี 5% ถ้ามอบให้แก่คนในครอบครัวและทรัพย์สินมีมูลค่าเกิน 20 ล้านบาท ต้องเสียภาษี 5% ค่ะ อสังหาริมทรัพย์ เมื่อมอบให้ลูกหลานหรือคนในครอบครัวและทรัพย์สินมีมูลค่า 20 ล้านบาท ต้องเสียภาษี 5%  เห็นไหมคะว่าการมอบมรดกนั้นมีกฎหมายมาเกี่ยวข้อง แล้วยังมีเรื่องของภาษีด้วยจึงต้องวางแผนจริงๆ

วางแผนมอบมรดกเพื่อไม่เสียภาษีมากเกินไป

วางแผนมอบมรดกเพื่อไม่เสียภาษีมากเกินไป

การวางแผนมอบมรดกจะช่วยให้ผู้รับไม่ต้องเสียภาษีเกินควรได้ ด้วยวิธีการมอบมรดกแบบทยอยมอบให้ แม้ผู้มอบยังไม่เสียชีวิตก็สามารถวางแผนมอบมรดกให้ผู้รับได้เลย โดยมอบให้เป็นรายปีในมูลค่าที่เหมาะสมไม่เกินตามกฎหมายกำหนดเมื่อทำอย่างนี้ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องการเสรยภาษีค่ะ

การมอบมรดกอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาด้านภาษีคือ การทำประกันชีวิตและระบุผู้รับผลประโยชน์นั่นเองค่ะ เพราะการรับผลประโยชน์เมื่อผู้ที่ทำประกันเสียชีวิตผู้รับจะได้รับการยกเว้นเรื่องภาษีไปค่ะ ผุ้รับก็จะไม่ประสบความยุ่งยากมาเกินไปเพราะการรับเงินจากประกันนั้นจะค่อนข้างรวดเร็วไม่ซับซ้อน เพราะเงินประกันนั้นสามารถจ่ายได้เลยให้ผู้รับไม่ได้รวมเข้ากับเงินมรดกจึงไม่มีเรื่องมรดกมาเกี่ยวข้องในการรับเงินส่วนนั้นค่ะ นี่คือสองวิธีที่ผู้มอบจะวางแผนเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีที่ไม่จำเป็นค่ะ

เมื่อผู้มอบวางแผนเรื่องมรดกอย่างดีผู้รับก็สามารถจัดการได้ง่ายขึ้น

เมื่อผู้มอบวางแผนเรื่องมรดกอย่างดีผู้รับก็สามารถจัดการได้ง่ายขึ้น

การเตรียมตัวอย่างดีตามที่บทความนี้แนะนำจะช่วยให้ผู้มอบมรดกทราบว่าต้องเตรียมตัววางแผนอย่างไรเพื่อให้ผู้รับนั้นได้รับประโยชน์จากมรดกอย่างเต็มที่ค่ะ ไม่อย่างนั้นผู้รับจะเกิดความยุ่งยากและเสียผลประโยชน์บางอย่างไปได้นั่นเอง แน่นอนว่าเมื่อคุณอยากมอบมรดกให้ใครคนนั้นคือคนที่คุณรัก และคุณคงไม่อยากทำให้คนที่คุณรักต้องประสบปัญหาในการรับมรัพย์สินที่คุณเองก็เต็มใจมอบให้ ดังนั้นการศึกษาเรื่องกฎหมายมรดกและเรื่องภาษีจะช่วยให้คนที่คุณรักนั้นรับรู้ถึงความรักที่คุณมีให้แม้คุณจะจากเขาไปแล้วก็ตามได้อย่างเต็มที่ค่ะ มาจัดการวางแผนเรื่องมรดกกันดูค่ะไม่ว่าใครก็วางแผนเรื่องมรดกได้นะคะ