เคยมีคนพูดเอาไว้ว่า “ความฝันของฉันมันยิ่งใหญ่กว่าการเป็นคนรวย! ” ความหมายที่ว่า ทำให้เราคิดต่อได้อีกว่า การมีเงินเยอะๆ อาจไม่ได้ตอบโจทย์ความสุขในชีวิตอย่างแท้จริง! ดังนั้น ถ้าเราจะพูดถึงเป้าหมายในการลงทุน เพื่อหาเงิน มันจึงไม่ใช่แค่ตอบคำถามว่า เราต้องมีเงินเท่าไหร่? แต่เป็นคำถามว่า ชีวิตที่เป็นอิสระภาพทางการเงินของเราจริงๆแล้ว ต้องใช้เงินเท่าไหร่? ต่างหาก..บทความนี้จะชวนเรามาวิเคราะห์ วิธีวางแผนการเงินแบบที่เพิ่มความสุขในชีวิตให้กับเหล่ามนุษย์เงินเดือน ที่จะช่วยเราสร้างอิสระภาพทางการเงิน และความสุขในชีวิตไปได้พร้อมๆกัน รู้ไว้ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อที่ก่อนจะก้มหน้าก้มตาหาเงิน เราจะไม่ได้เอาเงินมาเป็นตัวกำหนดการเลือกทางเดินชีวิตของเราแล้วไม่มีความสุขเอาซะก่อน อย่ารอช้า มาเช็คลิส แนวคิดดีๆกันเลย…

เงินไม่ใช่เป้าหมายหลัก

เงินไม่ใช่เป้าหมายหลัก

แม้แต่นักแสดงที่มีชื่อเสียงและโด่งดังที่สุด อย่าง Jim Carrey ยังเคยบอกว่า ‘เงินไม่ใช่คำตอบของทุกสิ่งทุกอย่าง แม้ทุกคนจะตั้งเป้าหมายเพื่อจะมีเงินเยอะๆ แต่ปลายทางกลับเป็นความว่างเปล่า..’ เราจึงรู้เลยว่า จริงๆแล้ว เงินไม่ได้มีความหมายในตัวเอง แต่อยู่ที่ว่า เรานำเงินไปซื้อสิ่งที่มีความหมาย ได้ทำในสิ่งที่อยากทำ และรู้จักแบ่งปันให้กับคนอื่น สิ่งนี้ต่างหาก ทำให้เราเดินทางไปสู่อิสระภาพทางการเงิน และมีความสุขในชีวิตได้จริง

แต่ก็อาจมีคนจำนวนไม่น้อย ที่แย้งว่า คนที่รวยแล้วก็พูดได้นะสิ! ยังไม่ใกล้ตาย ก็หาเงินเยอะๆไปก่อน! หรือไม่ก็โทษสมองไปว่า ไม่ยากทำอะไรที่มันยากๆ หรือคิดเยอะๆให้เหนื่อยสมอง แค่ตั้งเป้าหมายหาเงินไปก่อน ถ้ามีเงินแล้วเดี๋ยวก็ซื้อความสุขได้เอง ในส่วนนี้อาจจัดเป็นความมักง่าย หรือการหาเหตุผลเข้าตัวเองซะมากกว่า เราจึงต้องดึงสติ และอย่าหลงไปกับคำชักชวนแนวนั้น เพราะ.. การมีเงินเยอะ ยิ่งมีความสุข มันเป็นจริงในช่วงแรก เท่านั้น!! ถึงเราจะสามารถสนองความอยาก และเลี้ยงปากเลี้ยงท้องได้อิ่มพอประมาณ แต่ความอิ่มใจ มันสร้างกันได้ยากกว่า เหมือนกราฟความสุข ที่นักวิจัยเคยพูดเอาไว้ว่า ประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยสูงที่สุด ประชากรจะมีความสุขมากกว่าประเทศที่มีรายได้น้อย แต่..เมื่อถึงจุดหนึ่ง ความร่ำรวย ก็ไม่ได้แก้ปัญหาและทำให้มีความสุขเสมอไป หลายคนยังต้องหาความหมายของชีวิตกันต่อไป

สรุปง่ายๆ ก็คือ การมีอิสระภาพทางการเงินของเราจะเพิ่มความสุขได้จริง แก้ปัญหาหลายอย่างในชีวิตได้ง่ายขึ้น แต่จำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ก็ต้องสอดคล้องว่า เรานำเงินไปทำอะไรต่อ สร้างความอิ่มใจให้เรารึยัง เพราะตามสถิติ คนที่ยังมีเงินเป็นเป้าหมายหลักของชีวิต มักจะลงทุนได้ผิดพลาด เนื่องจากการลงทุนก็มีความเสี่ยง เป็นอะไรที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ หลายคนจึงไม่อาจทนเห็นความผันผวนได้ พอเงินลด ทำให้ความสุขก็ลดตาม. เราจึงต้อง วางเป้าหมายการเงินให้ถูกทาง ค้นหาว่าอยากทำอะไรในชีวิตกันแน่ แล้วให้เงินสร้างความสุขตรงนั้นให้เรา เพราะบางที อาจไม่ต้องใช้เงินมากเท่าที่หวังไว้ เราก็มีความสุขแท้ สร้างชีวิตแบบที่เราอยากเป็นได้แล้ว

การสร้างกำไรด้วยความสุข

การสร้างกำไรด้วยความสุข

ใครที่เคยมีไอเดียในการสร้างเงินล้านมาบ้างแล้ว อาจจะเคยเจอสถานการณ์ หุ้นขึ้น ได้กำไร ก็ดีใจ แต่พอหุ้นตก กำไรลดฮวบ เราก็เสียใจ มันก็เป็นอะไรที่วนไปวนมา แต่พอเวลาผ่านไปนานเข้าๆ กลับเป็นว่าเราอยู่ตรงกลางๆ ไม่ได้มีความทุกข์ หรือเพิ่มความสุขได้ไปกว่านั้นเลย.. อย่าพึ่งท้อกันไป เราไม่ควรมานั่งเสียใจนาน เคยมีคำพูดเชิงจิตวิทยาที่บอกว่า Happiness Set Point  ก็คือ เส้นวัดระดับความสุข แม้จะมาก หรือน้อย ก็คงไม่เท่ากันในแต่ล่ะคน แต่เราต้องรู้จักวิธียกระดับเส้นนี้โดยไม่หยุดนิ่งต่างหาก

สิ่งที่เราทำได้คือ ‘เลือกวิธีใช้เงิน’  เมื่อเงินไม่สามารถซื้อความสุขได้เสมอไป มันจึงขึ้นอยู่วันวิธีการใช้เงินของเราให้ถูกต้อง จากที่เคยซื้อเพื่อสนองความอยากก่อนสิ่งอื่นใด เสื้อผ้า สิ่งของ เพชร นิลจินดา หรือเครื่องประดับ  ความสุข เราอาจลด และไม่มีกำไรเพิ่ม แต่ถ้าเราเอาไปบริจาค หรือช่วยคนที่ตกทุกข์จริงๆ หรือสร้างทริปในฝันดีๆกับครอบครัว สิ่งนี้จะทำให้กราฟความสุขเราพุ่งทะยานเลยล่ะ. หรือแม้แต่ระดับราคาหุ้นมันผันผวนปั่นป่วน แต่ถ้าเรารู้ว่ากำลังทำไปเพื่อใคร ไม่ใช่แค่ตัวเอง ก็จะไม่ได้คิดถึงแต่กำไร ขาดทุน จนเกินไป แต่รู้ว่า กำลังพยายามเพื่อคนที่เรารักอยู่

คราวนี้ ถึงเราจะเจอกับ ราคาตลาดหุ้นที่ผันผวน เรื่องเศรษฐกิจโลกที่ดูมีแนวโน้มจะแย่ลงๆ สงครามการค้า หรือความขัดแย้งของประเทศในแถบตะวันออกกลาง เราก็ยังทำให้วันดีๆ ของเรามีกำไร เพื่อก้าวสู่อิสระภาพทางการเงินที่ฝันไว้ และให้ความสุขวนไปวนมาอย่างนี้

ความหมายการเงิน และความหมายชีวิต ที่เราต้องคิดเพื่อความสุขในการทำงาน!

ความหมายการเงิน และความหมายชีวิต ที่เราต้องคิดเพื่อความสุขในการทำงาน!

เราจะเห็นว่า เป้าหมายในการลงทุนและการวางแผงอย่างดีเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อที่จะรู้ว่า ทิศทางชีวิตของเราควรมุ่งไปทางไหน เหมือนการลงทุนแนวคิดแรก ถ้าเราไม่ได้ให้เงินเป็นเป้าหมายหลัก แต่ใช้เงินเพื่อสิ่งที่มีความหมาย ดูแลคนที่เรารัก ทำในสิ่งที่อยากทำ และรู้จักแบ่งปันให้คนอื่น สิ่งนี้จะทำให้เราเดินทางไปสู่อิสระภาพทางการเงิน และมีความสุขในชีวิตได้จริง ถึงขั้นอาจไม่ต้องใช้เงินมากเท่าที่หวังไว้ ก็สร้างชีวิตแบบที่เราอยากเป็นได้แล้ว. และวิธีการลงทุนแบบมีความสุขที่ได้ใช้เงินในแบบที่ถูกต้อง ในการรู้ว่ากำลังทำเพื่อคนที่เรารักอยู่ ก็เป็นการสร้างกำไรในชีวิต เราจะได้ไม่ยึดติดอยู่กับ คำว่า กำไร และ ขาดทุน จนหมดความสุขไปได้

สรุปง่ายๆว่า ปัจจัยในเรื่องการลงทุน เพื่อสร้างอิสระภาพทางการเงิน และมีความสุขในชีวิตอย่างทุกข้อที่กล่าวมา ก็คงไม่ได้ขึ้นอยู่กับข้อใดข้อนึงเพียงอย่างเดียว ผลลัพธ์ที่ดีทุกอย่างต้องเกิดจากความสมดุล แม้เราไม่ใช่คนรวยที่สุด  แต่เราจะมีความสุข ถ้าเรามีการวางแผนการเงินในแบบที่เพิ่มความสุขให้กับชีวิตมนุษย์เงินเดือนอย่างเรา แล้วเราก็จะยิ่งออกแบบการลงทุนให้สอดคล้องกับความเป็นจริงในตอนนี้ได้ง่ายขึ้น และบรรลุได้ดังหวังด้วยนั่นเอง!