Apple Card สุดหรู ทำจากไทเทเนี่ยม ออกแบบเรียบง่ายสไตล์ Apple ไม่มีวันหมดอายุ ไม่ต้องเซ็นหลังบัตร มีแต่ชื่อเจ้าของบัตร!! นี่คือ “Credit Card” ใบใหม่ ที่กำลังฮือฮาทั้งโลกกันในขณะนี้ เพราะแน่นอน เจ้าของเครดิตการ์ดใหม่นั้นย่อมไม่ธรรมดา เป็น Apple เจ้าของโทรศัพท์มือถือยักษ์ใหญ่ไอโฟนที่มีสาวกกว่า 1,300 ล้านคนทั่วโลก โดยเปิดตัว Apple Card ในงาน Show Time อีเวนต์เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สำนักงานใหญ่ในเมืองคูเปอร์ติโน รัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อค่ำวันอังคาร มี Master Card บริษัทเครดิตการ์ดยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ และ Goldman Sachs ธนาคารอันดับต้นๆร่วมมือด้วย เพื่อชนกับ Amazon Card และ Uber Card เครดิตการ์ดของสองบริษัทยักษ์ใหญ่ไฮเทคที่เปิดตัวไปก่อนหน้านี้นั่นเอง เพื่อจะไม่ตกเทรนด์วันนี้เราจะพาไปรู้จัก apple card ให้มากขึ้นว่าคืออะไร ลักษณะการใช้งาน รวมถึงข้อดีข้อเสียอีกด้วย

apple card

apple card

Apple Card คืออะไร

Apple Card คืออะไร

“Apple Card” ถือเป็นบัตรเครดิตสำหรับผู้ใช้ iOS ที่เปิดตัวออกมาได้สะเทือนวงการการเงินอย่างมาก โดยสิ่งที่ Apple Card เลือกใช้มาดึงดูดความสนใจก็คือการตัดค่าธรรมเนียมที่ยุ่งยากต่างๆ ออกไปเป็นจำนวนมาก ทั้ง ค่าธรรมเนียมรายปี, ค่าธรรมเนียมความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสกุลเงิน, ค่าธรรมเนียมเมื่อผิดนัดชำระหนี้, ค่าธรรมเนียมเมื่อใช้เกินวงเงิน และในการจ่ายหนี้บัตรเครดิต Apple ยังคิดดอกเบี้ยในเรทต่างๆ กัน เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถจ่ายได้โดยสะดวกใจที่สุด. โดยระบบความปลอดภัยของแอปเปิลยังคงรักษามาตรฐานเดิมของตัวเองไว้ได้อย่าดีมากกับการใช้จ่ายที่จะต้องยืนยันตัวตนผ่าน Face ID หรือ Touch ID เท่านั้น ส่วนข้อมูลของการใช้บัตรจะถูกเก็บเอาไว้ในชิปที่มาพร้อมระบบรักษาความปลอดภัยภายในตัวเครื่องไม่ใช่บนเซิร์ฟเวอร์จึงทำให้ Apple บอกว่า แม้แต่ Apple เองก็ไม่รู้ว่าลูกค้าแต่ละรายซื้อหาอะไรไป เท่าไรหรือที่ไหนก็ไม่อาจทราบได้. พาร์ทเนอร์ในการออกแบบบัตรอย่าง Mastercard และ Goldman Sachs ก็ยืนยันเช่นกันว่าจะไม่นำข้อมูลของผู้ใช้งาน iPhone ไปใช้ประโยชน์ด้านการโฆษณาหรือการตลาดใด ๆ

บัตรเครดิตเท่ห์ ๆ แบบนี้สามารถให้ Apple ออกเป็นบัตรแข็งแต่ที่ไม่เหมือนใครก็คือ บัตรแข็ง Apple Card ทำด้วยวัสดุ “ไทเทเนียม” ที่หรูหรา สลักชื่อเจ้าของบัตรอย่างเดียว ไม่มีตัวเลขรหัสเหมือนบัตรเครดิตทั่วไป เมื่อนำบัตรเครดิต Apple Card Titanium ไปเคาะกับแก้วใส จะส่งเสียงดังกริ๊งกร๊างกังวานเหมือนเสียงเคาะแก้วคริสตัลเลยทีเดียว และน่าสนใจเพราะ Apple ก็เลือกที่จะออกแบบบัตรเครดิตให้ไม่มีรายละเอียดใด ๆ เลย ทั้งหมายเลขบัตรเครดิต, หมายเลข CVV, วันหมดอายุ, หรือแม้แต่ลายเซ็นต์ (ข้อมูลที่กล่าวมาสามารถเข้าถึงได้ผ่านทางแอปพลิเคชันอยู่แล้ว) ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งความแตกต่างเมื่อเทียบกับบัตรเครดิตของสถาบันการเงินอื่น ๆและแน่นอนว่าประเทศที่ได้ใช้ก่อนใครก็คือ สหรัฐอเมริกา

Apple Card อาจจะไม่ใช่สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีในโลกมาก่อนแต่ออกมาอุดช่องว่างของ Apple Pay ที่ยังใช้ได้เพียงไม่กี่ประเทศ เพราะ Apple Card จะทำให้ผู้ใช้ iOS ไม่ว่าจะอยู่ประเทศไหน ก็สามารถใช้จ่ายเงินผ่านระบบของ Apple ได้เลย ข้อจำกัดต่างๆที่บัตรแบบ physical มี + Incentive ในการใช้อย่าง Daily Cash น่าจะทำให้คนจำนวนไม่น้อย เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายมาอยู่บนแพลตฟอร์มนี้และระบบแต้มสะสมมากขึ้น การเปิดตัว Apple Card ไม่ใช่เป็นเพียงบัตรเครดิตจาก Apple เท่านั้น แต่เป็นนัยสำคัญที่บริษัท Tech อันดับต้นๆ ของโลก กำลังกระโดดเข้าสู่สนามแข่งขัน FinTech แบบเต็มตัว และเป็นการท้าชนกับสถาบันการเงิน และเป็นสิ่งที่ธนาคารทั้งหลายกังวลมาตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา

Apple Card สร้างบริการจ่ายเงิน Physical

บัตรเครดิตแบบ Physical นี้แตกต่างจากเดิมที่มี Apple Wallet เป็นแอพให้บริการบนดิจิทัลเท่านั้น ที่สำคัญดีไซน์ของบัตรก็ออกมา Minimal แบบสุดๆ เพราะไม่มีรายละเอียดอะไรเลย ข้อมูลอยู่กับ Apple Wallet ตรวจสอบการใช้งานได้ ส่วนความพิเศษอื่นๆ เช่น ระบบคืนเงินทันที Instant Cashback ซึ่งผู้ใช้จะได้เงินคืนทันที ไม่ต้องรอรอบบิลเป็นเดือนเหมือนธนาคาร หรือ การใช้จ่ายผ่านออนไลน์ ไม่ต้องใช้เลข CVV ซึ่งปกติอยู่หลังบัตร (Apple Card ไม่มี) แต่ใช้รหัสแบบใช้ครั้งเดียว ในบัตรจะมีเพียงชื่อ, นามสกุล, โลโก้ Apple และเลขบัตร 4 หลักสุดท้ายเท่านั้น โดยเลขบัตร 4 หลักสุดท้ายจะอยู่ใกล้ ๆ แถบแม่เหล็ก และข้อมูลทุกอย่างบนตัวบัตรก็จัดการได้ผ่านแอปอยู่แล้ว ตัวบัตรแข็ง Apple Card เองนั้น ตัวเลขอาจไม่ใช่ตัวเลขเดียวกับบัตรในแอปก็ได้ และตัวบัตรจริง ๆ ก็โชว์แค่เลข 4 หลักสุดท้าย ถ้าบัตรหายก็กดขอใหม่ได้ฟรี หรือจะสั่งล็อกบัตรจากตัวแอปก็ได้ทำเช่นเดียวกัน

Disrupt ธนาคารไปเต็มๆ

เช่น ที่จีนมีบริการ Mobile Payment ทั้ง Alipay และ WeChatPay สร้าง Cashless Society ไม่ต้องใช้เงินสด และคนส่วนใหญ่ก็ไม่มีบัตรเครดิตกันด้วย แต่สำหรับ Apple Card คือ บัตรเครดิต และเป็นการเพิ่มบทบาทของ Apple จากเดิมที่เป็นผู้จำหน่ายและให้บริการทางเทคโนโลยี กลายเป็น FinTech เต็มตัว. และคู่แข่งสำคัญของ Apple คือ ธนาคารทั้งหลาย โดยมีจุดแข็งคือ ผู้ใช้ iOS ที่มีอยู่ทั่วโล ครั้งหนึ่งธนาคารในไทยเคยบอกว่า คู่แข่งที่น่ากลัวไม่ใช่ธนาคารด้วยกัน แต่เป็น Non-Bank เช่น Alipay และ WeChatPay ที่กำลังเข้ามาตีตลาดอย่างหนัก และคราวนี้ Apple ก็กำลังเดินเกมแบบเดียวกัน

Daily Cash ใช้มากก็คืนมาก

apple card

apple card

คือระบบที่จะคืนเงินให้เมื่อมีการใช้จ่าย และผู้ใช้งานสามารถนำเงินนี้ไปใช้ซื้อสินค้าได้เลย ไม่ใช่ได้มาเป็นแต้มแบบบัตรเครดิตอื่น ๆ ที่อาจแลกเป็นสินค้าได้ยากลำบากกว่า โดยเงินที่จะคืนกลับมานั้น แบ่งได้ตามประเภทการใช้จ่าย เช่น

  • คืน 1% เมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต Apple Card
  • คืน 2% เมื่อใช้จ่าย Apple Card ผ่านแอป Apple Pay
  • คืน 3% เมื่อจ่าย Apple Card ผ่านแอป Apple Pay และเป็นการซื้อสินค้าหรือบริการของ Apple โดยตรง

ผลจึงออกมาเป็น Daily Cash หรือแคชแบคเข้า Apple Pay Card โดยอัตโนมัติ เพื่อให้เห็นเป็นตัวเงินที่ผู้ใช้จะเอาไปใช้อะไรต่อก็ได้ ในขณะที่แต้มบัตรเครดิตจะยุ่งยากกว่ามาก เพราะมูลค่าไม่คงตัว บางครั้งต้องรอช่วงโปรโมชั่นจึงจะแลกได้คุ้มค่า

Apple Card และ Wallet ทำงานร่วมกัน

โดยเฉพาะ machine learning ที่ Apple จะใช้ร่วมกับระบบระบุตำแหน่งที่อยู่ และระบุเป็นรายการซื้อสินค้าว่ามาจากอะไร ทำให้ผู้ใช้อ่านได้ง่ายขึ้น เพราะการใช้บัตรเครดิตในต่างประเทศนั้นเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะซื้อสินค้าที่ไหนก็ใช้บัตรเครดิต ทำให้เมื่อสรุปยอดสิ้นเดือนมาแล้วก็จะพบปัญหา เพราะ statement มักจะเขียนเป็นข้อมูลที่บางครั้งก็อ่านไม่รู้เรื่องและต้องมาคอยเดาอยู่เสมอ แต่เมื่อกดเข้าไปดู Apple ก็จะแสดงภาพบนแผนที่ให้เลยว่ารายการใช้จ่าย Apple Card มาจากที่ไหน สินค้าราคาเท่าไร เป็นสินค้าหมวดไหน ได้ Daily Cash กี่เปอร์เซ็นต์. เรื่องการจ่ายบิล Apple ก็นำระบบ ring ของ Apple Watch มาใช้ให้เป็นประโยชน์

Apple Card ไม่มีลายเซ็น

Mastercard เพิ่งจะเปลี่ยนกฎเมื่อไม่นานมานี้ว่า บัตรเครดิตไม่จำเป็นต้องใช้ลายเซ็นเพื่อยืนยันตัวตนอีกแล้วในสหรัฐฯ ดังนั้น Apple Card จึงไม่ต้องมีลายเซ็น ไม่ว่าจะเป็นทั้งตัวบัตรไทเทเนียม หรือบัตรเสมือนในแอป Wallet ก็ตามที ทั้งนี้ หากซื้อของมูลค่าสูงจากร้านค้าบางแห่ง อาจจะขอเรียกดูบัตรบางอย่างจากผู้ใช้เพื่อยืนยันตัวตนได้เช่นกัน

Apple Card คิดดอกเบี้ยโปร่งใส ไม่มีค่าปรับ ไม่มีค่าธรรมเนียมรูดต่างประเทศ

ไม่มีอัตราดอกเบี้ยค่าปรับ (penalty interest rate) คือ Apple Card จะไม่มีค่าปรับ หรือค่าจ่ายช้า คือผู้ใช้จะต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยของยอดค้างชำระตามที่ตกลงกันไว้ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยนี้จะไม่มีการเพิ่ม (หรือว่าง่าย ๆ คือไม่มีดอกเบี้ยค่าปรับ) แต่ถ้าจ่ายช้าจะมีผลต่อคะแนนเครดิตของลูกค้าเองซึ่งเป็นไปตามกฎของบัตรเครดิต ส่วนค่าธรรมเนียมที่ผู้ใช้บัตรมักจะเจอ เช่นค่าความเสี่ยงแปลงสกุลเงินเมื่อรูดเป็นเงินต่างประเทศ Apple จะไม่คิดเพิ่ม แต่สิ่งที่ควรทราบคือ Apple จะใช้เรทแปลงสกุลเงินของ Mastercard ซึ่งไม่ใช่ fixed rate

Apple Card อยากเปลี่ยนเลขบัตรเมื่อไรก็ได้ แถมระบบรักษาความปลอดภัยอีกเพียบ

Apple ระบุว่า เลขบัตรเครดิตของลูกค้าสามารถกดขอใหม่ได้ ซึ่งจะเหมาะสมกับสถานการณ์ที่ผู้ใช้จำเป็นต้องกรอกบัตรเครดิตแต่ไม่ไว้ใจความปลอดภัยของเว็บไซต์นั้น ๆ แต่การขอเลขบัตรใหม่ผู้ใช้จะต้องกดเอง ไม่มีระบบเลขบัตรใช้ครั้งเดียวหรือระบบออกเลขบัตรใหม่แบบอัตโนมัติ

Apple Card ไม่ขายข้อมูลลูกค้าเพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาด

Apple ชูโรงเรื่องความเป็นส่วนตัว โดยระบุว่า Apple เองจะไม่มีการเก็บข้อมูลว่าลูกค้าใช้ Apple Card ทำอะไรบ้างในเซิร์ฟเวอร์ของ Apple เอง ส่วนสถาบันการเงินที่ให้บริการอย่าง Goldman Sachs นั้น Apple ระบุว่าจะไม่นำข้อมูลลูกค้าไปขายเพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาด ข้อมูลที่ Goldman Sachs เห็นนั้นจะนำไปใช้เพื่อรายงานภายใน ไม่ใช้เพื่อนำไปรายงานภายนอก, ทำการตลาดหรือโฆษณาภายใน เนื่องจาก Apple Card เป็นบัตรเครดิต ดังนั้นก็ Goldman Sachs ก็ต้องใช้ข้อมูลเพื่อทำตามกฎหมายด้านการเงินของลูกค้า แต่ข้อมูลเหล่านี้จะถูกใช้เพื่อการดำเนินงานเท่านั้น ไม่ใช่เพื่อทำการตลาดหรือโฆษณา

เจนนิเฟอร์ ไบเลย์ รองประธานหน่วยธุรกิจ Apple Pay อธิบายว่า Apple Card จะเป็นบัตรเครดิตใหม่สำหรับผู้ใช้ iPhone มีทั้ง การ์ดดิจิทัล สำหรับใช้งานบนไอโฟนร่วมกับ Apple Pay และ บัตรแข็งสำหรับพกติดตัว เพื่อให้สาวกไอโฟนใช้กับร้านค้าที่ไม่รองรับระบบ Apple Pay ช่วงแรก แอปเปิลจะเปิดตัว Apple Card ผ่านแอป Wallet กลางปีนี้Apple Card เริ่มใช้งานในสหรัฐกับผู้ใช้บางคนก่อนในช่วงหน้าร้อนนี้หรือราวเดือนมิถุนายน เพราะวัยรุ่นสหรัฐฯกว่า 82% เป็นสาวกไอโฟน มาสเตอร์การ์ด ก็มีลูกค้าบัตรเครดิตในสหรัฐฯกว่า 231 ล้านใบ และจะขยายไปยังประเทศที่ใช้ Apple Pay 40 ประเทศ ในฐานะจิ๊กซอว์ตัวสำคัญที่จะมาทำงานร่วมกับบริการ Apple Pay เพื่อทำให้ Ecosystem ของการชำระเงินบนแพลตฟอร์มของ Apple สมบูรณ์แบบ เมื่อ Apple เปิดบริการ Apple Pay ผ่านบริการชำระเงินของ Master Card ทำให้ Apple สามารถทะลวงกำแพงเงินทั่วโลก ที่ไม่ยอมรับระบบชำระเงิน Apple Pay แต่ยอมรับระบบชำระเงินของ Master Card เป็นอีกเกมการเงินที่ฝ่าด่านหินกำแพงเมืองจีน.

วิธีการใช้ Apple Card

วิธีการใช้ Apple Card

สำหรับการสมัครใช้งาน Apple Card จะเริ่มที่แอป Wallet ในไอโฟนก่อน โดยแตะที่ไอคอน Apple Card ภายใน Wallet ระบบจะแนะนำขั้นตอนการสมัครใช้งาน จากนั้น Apple Card จะคัดกรองเฉพาะลูกค้าที่มีคุณสมบัติเข้าข่าย ด้วยวิธีตรวจสอบที่ทันสมัย เมื่อได้รับอนุมัติ Apple Card ก็สามารถใช้ได้ทันทีภายในไม่กี่วินาที.

ไม่เพียงเท่านั้น มันยังเหมาะมากที่จะมารองรับบริการ Subscription ต่าง ๆ ที่ Apple เปิดตัวบนเวทีเดียวกันอย่าง Apple TV+ รายการทีวีแบบ Exclusive ที่รวบรวมอินฟลูเอนเซอร์ และรายการเด่น ๆ ไว้พอสมควร ซึ่งเปิดตัวอย่างอลังการงานสร้าง ผู้กำกับเบอร์ต้นๆ และดาราดังมาร่วมงานและปรากฏตัวในอีเว้นท์เพียบ, Apple News+ (บริการอ่านข่าวและแมกกาซีนแบบไม่จำกัด) และ Apple Arcade ที่เปิดมาเพื่อเจาะตลาดเกมโดยเฉพาะ

ข้อดีของ Apple Card

ข้อดีของ Apple Card

  • เป็นบัตรแบบดิจิตัลที่อยู่บนมือถือของเรา ทำจากไทเทเนี่ยม แทนพลาสติก สามารถใช้แบบไหนก็ได้ ตามสะดวก
  • ตัวบัตรแบบ physical จะไม่มีหมายเลขบัตรเครดิต วันเดือนปีที่หมดอายุ และลายเซ็นเราแต่จะเป็นบัตรเท่ๆที่มีแค่ชื่อเรา และชิปความปลอดภัยที่ฝังอยู่ในบัตรเท่านั้น
  • ส่วนแบบดิจิตัล จะอยู่ในแอพชื่อ "Apple Wallet" บนมือถือ iOS ใช้ควบคุมการใช้งานบัตร และดูรายการ transaction การใช้จ่ายต่างๆของเรา
  • การคืนเงินแบบทันที ไม่ต้องรอเป็นเดือนๆ เหมือนโปรของธนาคารบ้านเรา และไม่มีเพดานด้วย แล้วแต่วงเงินเลย
  • ไม่ต้องกลัวใครมาแอบรู้ CVV เรา เพราะเปลี่ยนมาใช้ระบบยืนยันที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ปลอดภัยกว่าที่ใช้ๆกันอยู่จริงๆ
  • Apple จะไม่เอาข้อมูลส่วนบุคคลของเราไปใช้ในการตลาดและจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย เหมือนอย่างที่ธนาคารต่างๆทำกัน
  • ช่วยในการบริหารการเงินส่วนบุคคลได้ง่ายขึ้นไปอีก
  • ไม่มีทั้งค่าธรรมเนียมรายปี ใช้เกินวงเงินก็ไม่โดนชาร์จเพิ่ม ใช้ต่างประเทศก็ไม่โดนชาร์จเพิ่มไม่มีค่าปรับเมื่อจ่ายหนี้ช้า
  • ถ้าจ่ายคืนก้อนเดียวไม่ได้ เราสามารถแบ่งจ่ายหลายงวดได้อีก
  • ถ้ามีปัญหาอะไร ก็ติดต่อกับฝ่าย support ลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านการส่ง Text Message ในแอพ
  • ประกันเครื่องหาย ถูกขโมย หรือพัง

ข้อเสียของApple Card

ข้อเสียของApple Card

  • ตอนนี้ยังไม่ให้บริการ Apple Card ในไทย
  • หากอนาคตมีระบบ Credit Scoring เข้ามา ตามมาด้วยบริการทางการเงินอื่นๆ เช่น กู้เงินได้ ซื้อขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินได้ หรือแม้กระทั่งการมีสกุลเงินดิจิตัลของตัวเองธนาคารอาจถูกแย่งลูกค้าเพราะบริการที่มากด้วย ค่าธรรมเนียมสารพัด ทั้งเอาข้อมูลส่วนตัวลูกค้าไปใช้ ขั้นตอนออกบัตร อายัดบัตร ยุ่งยากไปหมด

ดังนั้น เราจึงรอกันว่าในอีกไม่กี่เดือนคนไทยคงได้ใช้ Apple Card กันแน่นอน ซึ่งในค่ำคืนเดียวกัน Apple ยังเปิดตัวบริการใหม่อีก 3 บริการ

1.Apple News หนังสือพิมพ์นิตยสารดิจิทัลแบบสมาชิกที่ทางAppleแอบไปจับมือกัน 300 กว่าสำนักพิมพ์ ที่จะเปิดให้บริการปลายปีนี้ 2.Apple Arcade แพลตฟอร์มเล่นเกมส์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีให้เล่นกว่า 300,000 เกม สามารถรองรับผู้เล่นได้กว่า 1,000 ล้านคน ที่จะเปิดให้บริการใน 150 ประเทศก่อน รวมทั้ง ไทย ด้วยในเดือนกันยายนปีนี้ 3.Apple TV ที่ออกแบบใหม่สามารถชมได้ทั้งรายการทีวี ภาพยนตร์ รายการซีรีส์ การเลือกชมแบบสมาชิกกับอเมซอน เอชบีโอ โชว์ไทม์ เป็นต้น จะเริ่มให้บริการในเดือนกันยายนนี้เช่นเดียวกัน

เมื่อ Apple เปิดตัวบริการใหม่ทั้ง 4 บริการครบถ้วนในปีนี้ Apple จะครองทั้งโลกการเงิน โลกข่าวสาร โลกเกม และ โลกบันเทิง ครบวงจร จะเป็นมหาอำนาจบนโลกไซเบอร์ที่ไร้เทียมทาน ไม่มีใครสามารถควบคุมได้ นอกจาก Tim Cook ซีอีโอแอปเปิลเพียงคนเดียว ที่เป็นผู้มีอิทธิพลที่สุดในโลก ส่งผลต่อชีวิตประจำวันของทุกครัวเรือนทั้งโลกในอนาคตก็ว่าได้ จึงสรุปได้ว่า ที่Apple ขาย Apple Card มานั้นจะเน้นที่ความปลอดภัยในการใช้บัตร ความสะดวก และความเป็นส่วนตัว ซึ่ง Apple ออกแบบโดยใช้ pain point ที่ผู้ใช้บัตรเครดิตต้องพบอยู่ในปัจจุบันมาใช้ให้เป็น Apple Card เพื่อให้ลูกค้ามีความสะดวกสบายในการใช้งานบัตรเครดิตบน Apple Pay มากยิ่งขึ้นนั่นเอง.