สำหรับการกู้ซื้อบ้าน สิ่งที่เราต้องทำความเข้าใจให้ดีด้วย ก็คือ เรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อบ้าน ทั้ง MRR, MLR และ MOR นี่ล่ะ ! เหตุผลหลักๆ ก็เพราะว่าสิ่งเหล่านี้จัดว่าเป็นตัวแปรหลักที่ส่งผลต่อการคิดดอกเบี้ยในสินเชื่อบ้านที่เรากู้ ไม่ว่าจะสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย การปลูกสร้างบ้าน การรีไฟแนนซ์ หรือการประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
แต่ละธนาคารกำหนดการให้สินเชื่อบ้านตามอัตราดอกเบี้ยรูปแบบไหนบ้าง รวมถึงข้อมูลเกี่ยวเรื่องอันตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อบ้านทั้ง 3 ตัว วันนี้เราจะมาเล่าให้ฟังแบบเข้าใจง่ายๆ กันเลยค่ะ..
ความหมายของอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อบ้าน MRR, MLR และ MOR
เชื่อว่าหลายคนที่กำลังวางแผนซื้อบ้านหรือต้องการยื่นขอสินเชื่อนี้อยู่ คงเคยได้ยินกันว่า ดอกเบี้ยบ้าน (Home Loan) ที่ใช้วิธีคิดคำนวณอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว (Floating Rate) ก็มักจะอ้างอิงจากอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำที่ธนาคารคิดจากลูกค้า และมีอักษรย่ออย่าง MRR , MMR และ MLR กับกำอยู่ ซึ่งได้แก่
Minimum Retail Rate หรือ MRR
Minimum Retail Rate หรือ MRR ก็คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในขั้นต่ำที่ธนาคารจะเรียกเก็บจากลูกค้าแบบทั่วไป หรือลูกค้ารายย่อยชั้นดี โดยจะใช้เงินกู้นี้กับสินเชื่อที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาในการชำระคืนแบบตายตัว หรือจนกว่าเงินต้นนั้นจะหมด ถึงโอกาสในการกู้จะผ่านง่าย แต่จะมีความเสี่ยงสูงและมีความผันผวนพอสมควร จึงทำให้มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ง่ายกว่าอัตราดอกเบี้ยตัวอื่นๆค่ะ
Minimum Loan Rate หรือ MLR
Minimum Loan Rate หรือ MLR ก็คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในขั้นต่ำที่ธนาคารจะเรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่นดี และใช้กับประเภทเงินกู้แบบระยะยาวที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน จึงจะต้องมีประวัติการเงินที่ดี หรือมีหลักทรัพย์ค้ำประกันสำหรับการกู้ที่มากพอ แต่ก็อาจมีบางกรณีเหมือนกันที่ธนาคารจะให้อัตราดอกเบี้ย MLR นี้กับลูกค้าทั่วไป แต่จะต้องเป็นการกู้สินเชื่อแบบระยะยาวที่มีระยะเวลากำหนดแน่นอนด้วย
Minimum Overdraft Rate หรือ MOR
Minimum Overdraft Rate หรือ MOR ก็คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารเรียกจะเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ที่มีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี หรือการเบิกเงินทาง OD จึงมักใช้กับกรณีสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียน ที่ทำผ่านบัญชีแบบกระแสรายวัน หรือใช้เช็คในการเบิกถอน โดยจะมีการประเมินคุณสมบัติของผู้กู้ประเภทนี้จากหลักทรัพย์ค้ำประกันอีกเช่นกัน
และเนื่องจากเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว ก็จะสามารถมีการเปลี่ยนแปลงได้อีกตลอดเวลาตามสภาพเศรษฐกิจ และจะมีอัตราดอกเบี้ยที่ไม่เท่ากันในช่วงแต่ละเวลาตามที่ธนาคารกำหนด. ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว MRR ก็จะสูงกว่า MOR และ ตัว MOR เองก็จะสูงกว่า MLR ดังนั้น ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยแบบ MRR และ MLR จึงจะเป็นตัวสะท้อนระดับความเสี่ยง ระหว่างลูกค้ารายใหญ่และรายย่อยค่ะ
อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อบ้านในตอนนี้ที่เราต้องสนใจ
ในการศึกษาอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงทั้ง MRR, MRR และ MOR นั้น เราก็สามารถดูจากเว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย(https://www.bot.or.th/thai/statistics/financialmarkets/interestrate/_layouts/application/interest_rate/IN_Rate.aspx#) ได้ตลอดเวลา. แต่สำหรับอัตราดอกเบี้ยจากหลายๆธนาคารในช่วงเวลานี้ มีอะไรน่าสนใจบ้าง เราก็ไม่พลาดที่จะหยิบมาฝากกันค่ะ
จากในช่วงเดือนนี้ อัตราดอกเบี้ยทั้ง MRR, MLR และ MOR นั้น เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนั้นยังคงที่ เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว (ข้อมูลในเดือน ก.ค. 63 ) และในหลายๆธนาคาร ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อบ้าน ที่ถูกกำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) แบบไปในทิศทางเดียวกันค่ะ
ทิศทางของอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อบ้านที่ช่วยเรากำหนดความสุขของการผ่อนชำระ!
สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อบ้านที่เราต้องเจอนั้น ก็มีประโยชน์ในการช่วยให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นเมื่อต้องผ่อนบ้าน ซึ่งทั้ง MRR, MLR และ MOR ก็ถือว่า เป็นตัวแปรหลักที่ส่งผลต่อการคิดดอกเบี้ยบ้านของเรา อีกทั้งการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเหล่านี้ ในแต่ละธนาคารก็จะไม่เท่ากันเนื่องจากต้นทุนของแต่ละสถาบ้นการเงิน ปริมาณเงินสำรอง จำนวนหนี้เสีย และสภาพคล่องของธนาคารร่วมด้วย แต่หากมีเปอร์เซ็นต์คงที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนๆ และไปในทิศทางเดียวกันย่อมเป็นสัญญาณที่ดีค่ะ
นอกจากนี้ ในแต่ละสถาบันการเงินก็ยังประเมินความเสี่ยงของลูกค้าแต่ละคนไม่เหมือนกันด้วย หากมีความเสี่ยงสูง อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดก็จะสูงตาม เพราะความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าแต่ละคนที่ไม่เท่ากัน ดังนัน ถ้าถามว่าอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อตัวไหนดีกว่ากัน หรือธนาคารไหนให้ข้อเสนอที่ดีที่สุด ก็คงไม่สามารถตัดสินแทนกันได้ค่ะ เพราะทุกอย่างก็ขึ้นอยู่กับแผนการเงินของแต่ละคน เราจึงควรพิจารณาและเปรียบเทียบเองในรายละเอียดการเงินของเราให้รอบคอบ แล้วค่อยเดินเข้าไปขอกู้ด้วยความมั่นใจค่ะ
101_
เป็นความรู้ที่ละเอียดดีนะครับสำหรับคนที่ขอสินเชื่อซื้อบ้าน ผมเองก็ซื้อบ้านโดยขอสินเชื่อจากธนาคารมาเหมือนกันแต่ไม่เคยศึกษาเรื่องนี้มาก่อน ถ้าได้ศึกษาก่อนก็คงจะดีกว่านี้มาก ตอนนี้เริ่มเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องดอกเบี้ยมากขึ้นแล้วล่ะ พูดถึงก็เสียดายนะที่ไม่ได้หาความรู้ก่อน คราวหน้าจะทำอะไรเกี่ยวกับการเงินคงจะต้องหาความรู้เอาไว้ก่อน
ชัยรัตน์
เข้าใจ ความหมายของตัวย่อมากขึ้นเลยครับ นี้ผมต้อง เก็บบทความนี้เอาไว้แล้วครับ เพราะว่าเดียวก็ลืมแน่นอนครับ เวลาที่มีตังอักษรอะไรแปลก จากบัญชีธนาคารของผม ผมก็จะถามพนักงานตลอดครับ ว่ามันคืออะไร ขอบคุณมากนะครับ ที่คุณ ค้นคว้า เรื่องของตัวย่อต่างๆพวกนี้ครับ วันหลัวเขียนบทความดีๆแบบนี้มาอีกนะครับ ผมชอบอ่านครับ
ไข่เจียว
แต่เรากลับมาอ่านบทความนี้แล้วก็ยังงงอยู่ดี ดอกเบี้ยลอยตัวคืออะไรไม่เห็นจะอธิบายเลย แล้วลูกค้าชั้นดีนี่ต้องเป็นแบบไหนหรอถึงจะได้กู้แบบ กู้ง่ายๆผ่านง่ายๆหน่ะ ? แล้วถ้าเราเป็นมนุษย์เงินเดือนธรรมดาธรรมดาเราจะได้อัตราดอกเบี้ยแบบไหน??? จริงๆเราเป็นคนที่ไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้เลย แต่ถ้าแอดมินที่เขียนบทความนี้อธิบายให้มันละเอียดกว่านี้อีกสักหน่อยเราว่ามันจะน่าอ่านกว่านี้นะ
ธเนศ
แสดงว่าคนที่ซื้อบ้านส่วนใหญาจะอยู่ในกลุ่มที่สอง ของบทความนี้บอกเอาไว้ใช่ไหมครับ เพราะดูจากระยะเวลาที่เราส่งหนี้แล้วแต่ละคนนานเกลือบ40ปีทั้งนั้นเลยครับ ดอกเบี้ยเมื่อเรารวมกับเงินต้นที่เราได้มาแล้วแพงมากเลยนะครับ อย่างผมมีเพื่อนบางคนที่ขอสินเชื่อบ้าน ซึ่งราคาบ้าน ประมาณ ล้านต้นๆ แต่พอคำนวนเมื่อจ่ายจบแล้ว เกลือบๆ 2ล้านเลยครับ
ลูกปัด
@ ไข่เจียว ตามความเข้าใจของเรานะคะ ดอกเบี้ยลอยตัวก็คือ มันสามารถปรับขึ้นแล้วก็ปรับลดได้ตามธนาคารค่ะ ซึ่งจะไม่เหมือนกับดอกเบี้ยแบบคงที่ ที่ไม่ขึ้นลงๆ ดอกเบี้ยลอยตัวมันก็จะค่อนข้างมีผลกระทบกับดอกเบี้ยที่เราจะต้องชำระค่างวดพอสมควรค่ะ ยังไงก็คงต้องตรวจสอบดูตัวเองและดูว่าเรามีความพร้อมประมาณไหน ยังไงลองปรึกษาในเว็บไซต์นี้ก่อนก็ได้นะคะ
Siranya
ก่อนจะไปยื่นเรื่องกู้ซื้อบ้าน ต้องไปเรียนเรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อบ้านก่อนนะคะเนี่ย ทั้ง MRR, MLR และ MOR จะได้รู้ว่าเราต้องจ่ายเงินกับอะไรบ้าง แล้วเราจะไหวมั้ย ถ้าเราคำนวณเป็นก่อนไปกู้ซื้อบ้านน่าจะดีนะ มีใครที่เคยกู้ซื้อบ้านเข้ามาคอมเม้นท์กันบ้างมั้ยคะ พอจะบอกได้มั้ยว่าการรู้เรื่องอัีตรา ดอกเบี้ยพวกนี้สำคัญจริงมั้ย?
วราลักษณ์
ยิ่งอ่านยิ่งปวดหัว ไม่ได้ปวดกัวเพราะว่าไม่เข้าใจนะคะ ที่ปวดหัวคือ เรื่องดอกเบี้ยนี่แหละคะ ตอนนี้พักชำระหนี้มาสามเดือนแล้วคะ กำลังคิดอยู่ว่า จะไปขอรอบที่2อีกได้ไหม ตอนนี้รายได้จากงานที่ทำลดลงมาเยอะมากเลยคะ กังวลคะว่าถ้ายังเป็นแบบนี้ บ้านที่เราซื้อตอนนี้อาจจะตกเป็นของคนอื่นก็ได้คะ คิดแล้วยิ่งปวดหัวเลยคะ