คนเราเมื่อมีชีวิตคู่ พอถึงจุดๆหนึ่งก็คงอยากจะมีบ้านเป็นของตนเอง หลายคนเลยตัดสินใจที่จะกู้บ้าน และในเมื่อเราตกลงปลงใจจะใช้ชีวิตคู่กับอีกฝ่ายแล้ว ทำไมถึงไม่กู้ร่วมไปเลยล่ะ คู่สมรสหลายๆคนเลยตัดสินใจที่จะกู้ร่วมกันเป็นจำนวนมาก แต่ว่าหลายๆคู่ก็คงไม่ได้คาดคิดว่าเมื่อถึงช่วงๆนึงจะมีช่วงเวลาที่ต้องแยกทางกัน เมื่อทั้งสองตัดสินซื้อบ้านด้วยกัน เลิกกัน แล้วปัญหาคืออะไร? ปัญหาคือทั้งคู่ไม่รู้ว่าจะทำยังไงกับสัญญากู้ร่วมซื้อบ้านและการผ่อนสินเชื่อที่เหลือ ดังนั้นบทความของฉันในวันนี้จึงอยากจะมาอธิบายว่าจะทำยังไงดีหากเกิดเหตุการแบบนี้ขึ้นมา
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 5 เคล็ดลับในการ กู้ซื้อบ้าน ยังไงให้ผ่าน ที่นี่
ซื้อบ้านด้วยกัน เลิกกัน ทำยังไงกับสินเชื่อบ้าน
เราจะสามารถแบ่งกลุ่มคนที่มีปัญหานี้ออกมาเป็นสองกลุ่มย่อยๆคือ กลุ่มคนที่ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า. กับอีกกลุ่มคือ จดทะเบียนหย่าเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นให้เรามาดูกันดีกว่าว่าถ้าเราอยู่ในคนสองกลุ่มนี้เราจะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อที่จะไม่ให้เกิดเป็นปัญหาในภายหลัง งั้นเรามาเริ่มต้นด้วยคนที่ยังไม่จดทะเบียนหย่ากันค่ะ
กรณีคนที่ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า
สำหรับคนที่ตัดสินใจที่จะหย่าอย่างแน่นอนแล้วแต่ว่ายังมาได้จดทะเบียนหย่าให้เรียบร้อย หรือในกรณีนี้อาจหมายถึงการที่ทั้งคู่แยกไปใช้ชีวิตของตนแล้วหรือว่าอาจจะแยกกันอยู่เป็นที่เรียบร้อยแล้วแต่ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า. ซึ่งในกรณีแบบนี้นั้นทั้งสองคนมีสิทธิ์ที่จะคุยกันและตัดสินใจว่าใครที่จะเป็นคนถือกรรมสิทธิ์ที่จะเป็นเจ้าของบ้านในอนาคต ส่วนในเรื่องของสินเชื่อก็คือการผ่อนสินเชื่อนั้นเราต้องแจ้งกับที่ธนาคารว่าเราต้องการที่จะให้อดีตคู่สมรสนี้คนใดคนหนึ่งเป็นผู้ที่จะถือกรรมสิทธิ์ต่อและเป็นผู้ที่กู้เพียงคนเดียวเท่านั้น ซึ่งเราสามารถแจ้งเหตุผลกับธนาคารได้ว่าเราจะหย่าร้างกัน ซึ่งขั้นตอนต่อไปนี้จะเป็นหน้าที่ของธนาคารต่อไปค่ะ ซึ่งขั้นตอนนี้ก็คือการประเมินผู้กู้ตามที่ได้ตกลงว่าจะเป็นผู้กู้เพียงคนเดียวนั้นว่าจะสามารถผ่อนสินเชื่อเพื่อชำระหนี้ได้ต่อไปด้วยตัวคนเดียวหรือไม่ หากทางธนาคารประเมินแล้วว่าคนที่เป็นตัวแทนของอดีตคู่สมรสนี้ไม่สามารถที่จะชำระสินเชื่อนี้ต่อไปได้ทางธนาคารจะขอให้หาผู้กู้คนอื่นที่มีความสัมพันธ์เป็นญาติกับผู้ที่ประสงค์ที่เป็นผู้กู้คนแรกเท่านั้น และยอดเงินที่เคยผ่อนชำระไปร่วมกันนั้นก็ขอให้ทั้งสองคนไปตกลงกันเองต่อไป
สรุปขั้นตอนการจัดการสินเชื่อสำหรับคนที่ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า
- ทั้งสองฝ่ายต้องตกลงกันอย่างแน่ใจแล้วว่าจะหย่าร้างกัน และที่สำคัญถ้าอยากจะให้ดำเนินการอย่างรวดเร็วควรที่จะตัดสินใจกันมาก่อนว่าใครที่จะเป็นผู้คนเดียวเป็นคนถัดไป
- แจ้งกับธนาคารว่าเราต้องการที่จะเปลี่ยนจากการกู้ร่วมที่เคยทำไว้เป็นการกู้เพียงคนเดียว โดยให้เหตุผลว่าจะหย่าร้าง
- ทางธนาคารจะทำการประเมินว่าผู้ที่จะมาเป็นผู้กู้เป็นคนต่อไปนั้นจะสามารถที่จะกู้ต่อไปคนเดียวได้หรือไม่ หากธนาคารประเมินแล้วว่าคนคนนั้นสามารถที่จะกู้ต่อไปได้ ทางธนาคารจะบอกว่าต้องทำอย่างไรต่อเป็นขั้นตอนต่อไป
- แต่ว่าหากทางธนาคารพิจารณาแล้วแต่ว่าผลคือผู้กู้คนนี้ไม่สามารถชำระหนี้ที่เหลือได้ ผู้กู้ก็ต้องหาคนที่จะมากู้แทนซึ่งคนนั้นต้องเป็นคนในเครือญาติเท่านั้นจึงจะสามารถกู้ได้
- หากธนาคารได้ทำการประเมินแล้วผู้กู้ที่หามานั้นสามารถทำการกู้นั้นสามารถกู้ได้ ขั้นตอนก็เป็นอันเสร็จสิ้น
เห็นแล้วใช่มั้ยคะว่าการหย่าร้างนั้นเป็นเรื่องยุ่งยาก ดังนั้นการจะหาคู่ชีวิตทั้งทีจะต้องละเอียดรอบคอบ และนอกจากนี้จะต้องคิดไปถึงเรื่องที่อาจจะเกิดขี้นในอนาคตต่อไปด้วย แต่เรื่องที่เกิดขึ้นมาแล้วก็คงจะแก้ไขอะไรไม่ได้มาก แต่สิ่งที่ทำได้หลังจากการที่จดทะเบียนสมรสเรียบร้อยแล้วก็คือการที่เราจัดการเรื่องสินเชื่อบ้านแบบกู้ร่วมให้เรียบร้อยเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมา ซึ่งถ้าเกิดปัญหาตามมาก็คงไม่ใช่เป็นปัญหาที่แก้ได้ง่ายแน่ๆ เราจึงต้องรอบคอบอยู่เสมอ งั้นให้เรามาดูกันค่ะว่าเราจะต้องทำอย่างไรบ้างเพื่อที่จัดการเรื่องสินเชื่อแบบกู้ร่วมนี้ให้เรียบร้อยสำหรับคนที่จดทะเบียนแล้ว
กรณีคนที่จดทะเบียนหย่าเรียบร้อย
ทุกคนที่ตัดสินใจมีชีวิตคู่ ก็คงไม่ได้ว่าจะมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขี้นมา แต่สำหรับคู่ที่มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นมาแล้วก็ต้องจัดการให้เรียบร้อยและโดยเร็วที่สุด ดังนั้นเมื่ออดีตคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประสงค์ที่จะไม่ผ่อนชำระหนี้และต้องการยกบ้านที่ทำการผ่อนอยู่นั้นให้กับอีกฝ่ายไปเลย ก็ต้องให้อดีตสมรสทั้งสองฝ่ายนั้นทำสัญญาซื้อขายต่อกัน และหลังจากนั้นให้นำใบสัญญาที่ซื้อขายกันพร้อมกับใบจดทะเบียนหย่าไปที่ธนาคารเพื่อที่จะยื่นเป็นเอกสารประกอบการขอสินเชื่อใหม่ ซึ่งฝ่ายที่ต้องการที่จะรับช่วงในการผ่อนต่อนั้นจะต้องของสินเชื่อใหม่เพื่อที่จะสามารถนำเงินที่ได้จากการกู้มาแบ่งกับอีกฝ่ายได้อย่างง่ายดาย ถึงแม้ว่าการทำอะไรแบบนี้จะเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก แต่ว่าการขอสินเชื่อใหม่นี้ก็ทำให้เกิดผลดีกับทั้งสองฝ่าย เพราะว่าวงเงินกู้ที่ได้รับหลังจากการขอสินเชื่อใหม่นั้นทำให้ผู้กู้ได้รับวงเงินที่มากเท่ากับการซื้อบ้านทั้งหลัง
สรุปขั้นตอนการจัดการสินเชื่อสำหรับอดีตคู่สมรสนั้นจดทะเบียนหย่ากันเรียบร้อยแล้ว
- อดีตคู่สมรสต้องตัดสินใจว่าจะต้องมีฝ่ายหนึ่งที่จะเป็นผู้กู้ และต้อเป็นผู้ที่จะต้องขอวินเชื่อใหม่เป็นคนถัดไป
- เมื่อตัดสินใจได้แล้วให้ททั้งคู่ทำการซื้อขายกันให้เรียบร้อย
- นำสัญญาซื้อขายและทะเบียนหย่าไปที่ธนาคาร เพื่อที่จะขอทำสินเชื่อใหม่
- ผู้กู้นำเงินที่ได้จากวงเงินไปแบ่งกันเป็นขั้นตอนต่อไป
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 3 วิธีจัดการปัญหากู้ร่วมซื้อบ้านเมื่อคู่รักเลิกกัน ที่นี่
จากที่หลายคนได้อ่านบทความแล้วก็คงจะรู้สึกจริงๆว่าซื้อบ้านด้วยกัน เลิกกัน จะทำยังไงกับสินเชื่อต่อ การที่เราจะจัดการธุระต่างๆหลังจากการหย่านั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลย ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อกับอดีตคู่สมรส ที่อาจจะมีธุระมากมาย การที่ทั้งสองฝ่ายจะหาเวลาว่างที่จะไปทำธุระด้วยดัยที่ธนาคาร หรือแม้แต่การเตรียมเอกสารก็คงยุ่งยากไม่แพ้กัน นอกจากนั้นยังมีปัญหาเกี่ยวกับการสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ที่ธนาคารก็ทำให้เกิดปัญหาได้อีกเหมือนกัน ก็อยากฝากไว้สำหรับคนที่อาจจะกำลังตัดสินใจที่จะหย่า ก็อยากที่จะให้ทั้งคู่คุยกันด้วยความเข้าใจไม่ใช่ด้วยอารมณ์ บางทีการที่ทั้งคู่คุยกันอาจจะทำให้ทั้งคู่ไม่ต้องมาเจอปัญหาเกี่ยวกับสอนเชื่อแบบนี้ได้นะคะ หากใครอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามผู้เชี่ยวชาญจาก MoneyDuck ได้ฟรี ที่ลิงก์ด้านล่าง
Meen
โอ้ย....ปวดหัวเลยนะถ้าจะมาหย่าเอาตอนที่กำลังกู้กำลังผ่อนเนี่ย แล้วอย่างงี้จะแต่งงานกันไปทำไมตั้งแต่แรกน้อ.... เสียเวลาเปล่าๆ ดูจากขั้นตอนแล้วเวียนหัวพอสมควรเลย เป็นไปได้พูดคุยกันดีๆแล้วไม่ต้องไปหย่าหรอก แต่ดีนะที่ได้มาอ่านบทความแบบนี้ เพราะไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าคนที่เค้าแต่งงานกันไปมีกรณีแบบนี้ด้วย ทำให้เราเข้าใจอะไรมากขึ้น
Chaiya
สามี-ภรรยาบางคู่อยู่ด้วยกันดี แต่พอคุยเรื่องเงินๆทองๆขึ้นมาชักคุยกันไม่ค่อยรู้เรื่อง แล้วคนที่จะหย่าหรือหย่าแล้วเมื่อต้องพูดคุยกันเรื่องเงินๆทองๆมันจะยุ่งมั้ยครับเนี่ย ถ้าตกลงกันด้วยดีได้มันก็ดีไปนะ เรื่องแบบนี้คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นหรอกครับ แต่ก็ดีละที่มีบทความแบบนี้ ถ้าใครที่แต่งงานแล้ว ผ่อนบ้านด้วยกันอยู่ จะเลิกกันนี่ต้องคิดให้ดีนะ
แวนด้า
การกู้ร่วมเพื่อขอสินเชื่อบ้านเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เราสามารถได้รับอนุมัติง่ายกว่าการกู้คนเดียวนะคะ แต่ในกรณีที่มีการแยกทางกันจะทำอย่างไรดีสำหรับ 2 คนในการ ที่จะต้องแบกภาระการผ่อนชำระคืนต่อไป ใครดีที่จะต้องทำภาระนี้ บทความนี้ได้อธิบายในกรณีที่เราจำเป็นจะต้องแยกทางกันกับคู่ของเราเมื่อเรากู้ร่วมเพื่อขอสินเชื่อบ้านค่ะ
ธาวิน วิน วิน
กู้เงินซื้อบ้านร่วมกันยังผ่อนไม่ทันหมดต้องมาเลิกกันซะแล้ว นอกจากเรื่องความรู้สึกที่มันคงแย่มากแล้ว ยังมีความยุ่งยากเรื่องการเงินตามมาอีก ถ้าทั้งสองฝ่ายคุยกันได้รู้เรื่อง เจ้าใจกันมันก็ไม่มีปัญหาหรอกครับ หากจบกันไม่ค่อยสวยเท่าไหร่พาลมาถึงเรื่องเงินๆทองๆ เรื่องหนี้สินด้วยแน่ๆ และมันคงจะแย่มากด้วยครับเพราะคุยกันไม่รู้เรื่อง
โคปีโก้
ไหนๆก็ตัดสินใจที่จะอยู่ ร่วมหัวจมท้าย ด้วยกันแล้ว ค่อยๆ พูดกันดีกว่าไหมครับ คิดถึงวันเวลาที่ดีๆสิครับ อย่า ใจร้อนครับ บทความนี้เขาบอกแค่วิธีการนะครับ แต่อย่าไปลงมือทำจริงๆครับ มันส่งผลกระทบระยะยาวจริงๆนะครับ แต่ถ้ามันมีปัญหาขั้นรุ่นแรงถึงกับจะต้องแยกทางกัน ผมว่า ตัดสินใจขายไปเลยครับ ไม่ต้องให้ใครมารับผิดชอบ
นาม
อันนี้ก็เข้าใจนะ ถึงแม้ไม่มีใครคิดหรอกว่าสักวันนึงตัวเองจะหย่า ก่อนจะแต่งก็รักกันดี แต่ถ้ารีบร้อนแต่ง หรือว่าไม่รู้จักอดทนไม่ใช้ความรักไม่ได้คุยกันดีๆ ทุกคู่ก็มีโอกาสจะจบลงแบบนี้ ไปร่วมกันกู้ซื้อบ้านยิ่งแล้วใหญ่ ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยากจะยกบ้านให้อีกฝ่ายก็ดีไป กลัวว่าต่างคนต่างอยากได้บ้านหลังนี้นี่แหละจะยิ่งยาก ยิ่งถ้ามีลูกนี้น่าสงสารลูกมากเลย
สมบัติ
ถ้าไม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่อยากอยู่กับความทรงจำเก่าๆให้เสียใจกับบ้านที่กู้ร่วมซื้อกันมา การขายบ้านทิ้งก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับคู่สมรสที่ไม่ต้องการผ่อนบ้านต่อครับ โดยการเช็คสภาพบ้านก่อนว่ามีตรงไหน อะไรบ้างที่มันเสียก็จัดการซ่อมแซมให้เรียบร้อยก่อนทำการขาย หลังจากการขายแล้วส่วนมากเราจะได้รับเงินจากการผ่อนกลับมา แล้วค่อยเอาเงินตรงนั้นมาแบ่งกับอดีตคู่สมรสครับ
ใบหม่อน_สีใส
พออ่านแล้วทำให้รู้สึกว่ามันยุ่งยากและคงทำให้ลำบากใจจริงๆค่ะ แต่ปัญหาแบบนี้ในสังคมก็คงจะมีเยอะแน่นอน เพราะคนในสมัยนี้ชอบตัดสินใจกันง่ายๆไม่คิดกันดีๆถึงอนาคต คิดแต่ว่าแต่งแล้วคงมีแต่ความสุขหรือคิดว่ารับปัญหาต่างๆได้ แต่พอเอาเข้าจริงก็ไม่สามารถที่จะช่วยกันแก้ปัญหาได้และก็หย่ากันง่ายๆเลย ฉันคิดว่าถ้าหากคู่ไหนอยากจะกู้รวมก็คิดดีๆกันก่อนนะคะ อ่านบทความนี้เยอะๆและคิดว่าคุณจะเกิดปัญหาแบบนี้ไหม
เปรี้ยว
มีวิธีแก้ไขในเรื่องนี้อยู่นะคะ ทำการคุยกันแล้วเข้าไปทำสินเชื่อใหม่ ว่าใครจะเป็นคนกู้สินเชื่อต่อไป รับผิดชอบเกี่ยวกับการกู้ทรัพย์สินต่อไป ก็ต้องเห็นใจอยู่นะคะสำหรับคนที่แยกทางกัน ใครๆก็ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับเรื่องนี้ แต่ถ้าเกิดขึ้นแล้วก็จำเป็นต้องมีการแก้ไข เพื่อที่จะช่วยให้เราไปต่อทางการเงินได้ ไม่อย่างนั้นแล้ว ต้องจ่ายหนี้โดยที่ไม่ได้รับทรัพย์สินอีกด้วยค่ะ
ขุนทศ
ผมว่าถ้าจะเลิกกันแล้วก็ให้จบกันด้วยดีเลยครับ เรื่องบ้านไม่ต้องมีใครเก็บไว้น่าจะดีกว่าครับ มันเป็นเรื่องที่อาจไม่ดีก็ได้ถ้าใครคนหนึ่งยังอยู่บ้านหลังนี้ ขายๆไปเลยครับ เอาเงินมาแบ่งกัน ขายไปละดีแล้ว ไม่ต้องมาทะเลาะหรือหมางใจกัน ดีออกครับมีเงินทุนเอาไว้เริ่มต้นชีวิตใหม่กันครับ เอาไปลงทุน เอาไปสร้างเนื้อสร้างตัวใหม่
วรวุฒิ
เรื่องนี้เกิดกับพี่สาวของผมครับ แต่งานมาประมาณ 5ปีแล้วครับ ร่วมกันซื้อบ้านกับแฟนของเขา สรุป ต้องหย่ากันครับ ไม่ทราบว่าด้วยสาเหตุอะไร ผมเองก็ไม่กล้าถามครับ แต่พี่สาวบอกว่า พี่เขยเขายกบ้านที่กู้ร่วมให้กับพี่สาวครับ เหลือจ่ายอีก ล้านกว่าๆ พี่สาว เลยมาคุยกะทางบ้านแบบหาคนกู้ร่วมแทนครับ ที่จริงพี่สาวสามารถจ่ายคนเดียวไหว แตเขากันเอาไว้ดีกว่าครับ