หลายคนอยากเริ่มต้นชีวิตใหม่ ในปีใหม่แบบนี้ ‘บ้าน’ ก็เป็นสิ่งแรกๆ ที่หลายคนกำหลังมองหาอยู่ แต่สำหรับชีวิตมนุษย์เงินเดือนทุกคนอย่างเรานั้น อย่างที่รู้ๆกันว่า รายได้หลักในแต่ละเดือน ก็อาจมาจากแหล่งเดียว คือเงินเดือน แม้มีโบนัสมาให้พอชื่นใจบ้างพอประมาณ แต่บ้านก็ยังถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในชีวิตเราอยู่ดี

และทางเลือกหลักสำหรับหลายคน ไม่ว่าจะเป็นพนักงานประจำหรือลูกจ้างบริษัท ก็คงเล็งสินเชื่อที่อยู่อาศัยกันอยู่ ซึ่งถือเป็นหนี้สินระยะยาว แต่ยังไงนั้นความฝันที่วาดไว้ ก็ต้องทำให้ได้สักวัน ความคิดที่อยากจะซื้อบ้านสักหลังก็ต้องเดินต่อไป แต่มันจะเป็นไปได้ยังไง เงินเดือนเราแค่หลักหมื่น แต่บ้านในสมัยนี้ ราคาต่ำๆ ก็เริ่มต้นที่หลักล้านกันแล้ว หรือจะมองคอนโดมิเนียม ราคาก็ยังไม่ต่างกันบ้านมากนัก ดังนั้น มีวิธีอะไรบ้างที่เราต้องเตรียมความพร้อมก่อนคิดจะซื้อบ้าน ที่สามารถเตรียมตัวมากขึ้นให้เราสามารถผ่อนค่างวดแบบที่ยิ้มได้สบายกระเป๋าไปด้วย มาดู 5 วิธี เตรียมความพร้อมก่อนคิดจะซื้อบ้าน ฉบับมนุษย์เงินเดือนกันเลย

5 วิธี เตรียมความพร้อมก่อน ซื้อบ้าน

5 วิธี เตรียมความพร้อมก่อน ซื้อบ้าน

จะซื้อบ้านทั้งทีก็ต้องเตรียมพร้อมถ้าไม่เตรียมพร้อมอาจจะทำให้กลายเป็นภาระหนี้สินระยะยาวและเป็นหนี้สินที่เพิ่มพูน แทนที่จะเป็นบ้านที่สร้างเสริมและความสุขแต่จะกลายเป็นภาระหนี้ที่สร้างทุกข์ให้เราแทน พอดีเราจะพามาดู 5 วิธีเตรียมความพร้อมก่อนซื้อบ้านให้ซื้อบ้านได้อย่างราบรื่นกัน

ศึกษาข้อมูลและเงื่อนไขก่อน ซื้อบ้าน

ในส่วนของการเลือกบ้าน เราต้องดูทำเลที่ตั้งเป็นหลักกันแน่ๆ เพราะความสะดวกในเรื่องการเดินทางเข้าออก การเดินทางไปทำงาน หรืออยู่ใกล้แหล่งสำหรับจับจ่ายซื้อของ มันก็สำคัญ. และในส่วนของความสามารถในการผ่อนที่เหมาะกับรายได้ หลายสถาบันทางการเงินมักจะให้ผู้กู้มีภาระหนี้ทั้งหมด ประมาณ 50 % ของรายได้ เช่น ถ้าเรามีรายได้เดือนละประมาณ 20,000 บาท 50% ของรายได้จะตกที่ 10,000 บาท หากเรามองราคาบ้านประมาณ 1-2 ล้านบาท ก็จะต้องผ่อนต่อเดือนประมาณ 6,500 - 7,000 บาท ถือว่าสูงอยู่ดี

สำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างเรา บางครั้งอาจถูกลดความสามารถในการผ่อนลงไปได้อีกด้วย เพราะมีภาระหนี้อื่นๆ จึงต้องคิดคำนวนเตรียมพร้อมในเรื่องรายได้และภาระหนี้ให้ดี เช่นรายได้ที่มาจาก ค่าเงินเดือน , ค่าตำแหน่งงาน , ค่า Allowance , Bonus และ OT เป็นอย่างไร ส่วนภาระหนี้ของมนุษย์เงินเดือนก็คงมาจากพวกหนี้บัตรเครดิต , ค่าผ่อนรถยนต์, หนี้รายเดือน หรือหนี้สหกรณ์ ที่เราจะต้องจัดการ

ทางที่ดี ต้องเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยโดยโปรแกรมคำนวนความสามารถในการชำระหนี้ดู ที่มีในหลายเว็บไซต์ของธนาคาร ตามแต่ละบุคคล แล้วการกรอกออนไลน์เพียงไม่กี่ช่องแบบนี้ ก็สามารถเช็คถึงความสามารถในการกู้ของเรา เห็นวิธีเตรียมตัวเพิ่มเติม รวมถึงกระทู้แสดงความคิดเห็นของหลายคนที่เคยกู้ผ่านด้วย เมื่อเราศึกษาเรื่องเหล่านี้ไว้ ก็จะได้เปรียบและเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงมากขึ้นได้ ว่าเงื่อนไขไหนที่ตรงกับเราที่สุด

ตั้งงบการเงินปัจจุบัน

ในปัจจุบัน ต่างมีโครงการบ้านออกมาให้เราเลือกมากมาย อาจมีทั้งแบบราคาที่ไม่เกินงบที่ตั้งไว้ หรือถ้าลองจัดสรรคดีๆ ก็สามารถเติมเต็มส่วนต่างได้ดีขึ้น ด้วยทางอาชีพเสริม ช่องทางที่เพิ่มรายได้ หรือแม้แต่การขายทรัพย์สินที่ฟุ่มเฟือยออกไป เพื่อให้เราได้เงินก้อนเข้ามา. แต่สำหรับการตั้งงบประมาณนั้น เราต้องดูในส่วนของค่าตกแต่งหรือเรื่องของเฟอร์นิเจอร์บ้านเผื่อๆ ไว้ด้วย เพราะหลายโครงการทีเดียวที่อาจต้องให้เราตกแต่งเองนอกเหนือจากที่มากับตัวบ้าน เช่น ห้องครัว สวน ม่าน มุ้งลวดหรือเหล็กดัด เราจึงต้องตั้งงบการเงินแบบที่เผื่อไว้ด้วยในปัจจุบัน

การมีบ้านแบบที่เหมาะกับรายได้ของเรา ทางที่ดีเมื่อหักหนี้แล้วต้องเหลืออย่างน้อยพอสัก 2 เท่าของค่างวดบ้านที่ต้องจ่าย หากไม่เช่นนั้น ยอดเงินกู้ของเราก็อาจลดลงมาด้วย แต่อาจมองหาผู้ร่วมกู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้กันเป็นทางออกเพิ่มได้. และต้องไม่ลืมว่ายอดซื้อสินค้าผ่านบัตรเครดิตของเรา หรือพวกบัตรเดบิต และสินเชื่อส่วนบุคคลอื่นๆ ถือว่าเป็นตัวฉุดยอดเงินเราไปอีก ต้องรีบเคลียร์อย่างน้อย 3-4 เดือนก่อนการขอกู้ หยุดไว้บ้างพวกการผ่อนสินค้า 0% แล้วเราก็จะสบายใจมากขึ้นได้นั่นเอง

ภาพสรุปของผลรวมการเงินในปัจจุบันของเรา น่าจะออกมาในรูปของ จำนวนเงินออม , จำนวนรายจ่าย , จำนวนหนี้สินที่มีและระยะเวลาที่จะผ่อนหมด และ สัดส่วนหนี้ต่อเงินเดือนที่มี ว่าคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ ถ้าหากสัดส่วนหนี้นั้น รวมกันมากสัก 60 % ก็คงเป็นสัญณาณบอกวิกฤติการเงินของเราได้ด้วย ซึ่งถ้ามีจำนวนหนี้สินสูง ธนาคารก็จะไม่ปล่อยกู้สูง จึงต้องมีการวางแผนเคลีย์หนี้เก่าให้ดีด้วย

สร้างเครดิตและเงินสำรองก่อนกู้ ซื้อบ้าน

สำหรับหลายคน เมื่อคิดเรื่องการรวบรวมและจัดแจงในส่วนของเงินสะสม อาจเริ่มจากการทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย เพราะการซื้อบ้านสักหลัง มันไม่ใช่แค่การลงทุน แต่ต้องมีการสร้างเครดิตการเงินเพื่อตอบโจทย์ด้วย เช่น มีเงินเข้าในบัญชีเงินเดือนเราประมาณเท่าไหร่ จากแหล่งไหน มีรายได้อย่างไร มีเงินเก็บและเงินสะสมที่เหมาะกับราคาตัวบ้านที่เท่าไหร่ และควรคำนวนถึงแรงในการผ่อนที่เราไหวด้วย ซึ่งช่วยให้เรามองดูออกว่าจะเพิ่มหรือลดจำนวนเงินที่เป็นอยู่อย่างไร หลังจากนั้น ก็ลองเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้จ่าย จะสามารถช่วยให้เราบรรลุในส่วนของเงินสำรองได้เร็วขึ้นด้วย

ส่วนข้อมูลและสถานที่ในการตรวจสอบเครดิตบูโร เราสามารถติดตามเพิ่มเติมจาก www.ncb.co.th ร่วมด้วยก็ได้. ในการสร้างความเชื่อมันเพื่อให้สถาบันการเงินปล่อยกู้เรานั้น การไม่เคยเป็นหนี้มาก่อน หรือไม่มีบัตรเครดิตเลย อาจทำให้สถาบันการเงินตรวจสอบได้ยาก เราจึงอาจจำเป็นต้องเปิดบัตรเครดิตและมีวินัยในการผ่อนระยะนึง เพื่อเขาจะเช็คถึงความสม่ำเสมอของเราได้. แต่ยังไงก็ตาม การใช้จ่ายอย่างประมาท อาจทำให้หนี้เราทะลุรายได้ก็เป็นไปได้ เมื่อมีการจ่ายหนี้ล่าช้า ชักหน้าไม่ถึงหลัง และเป็นวังวนหนี้ รู้ตัวอีกที ก็อาจเสียโอกาสกู้บ้านกันพอดีเช่นกัน

เราจึงต้องสร้างเครดิตที่ดีทางการเงิน เมื่อธนาคารดูประวัติของเราในเครดิตบูโร พอเห็นว่าจ่ายตรง และมีประวัติดี ก็จะมีโอกาสอนุมัติสินเชื่อเรามากขึ้น แต่ถ้าเคยหนีหนี้ จ่ายบ้างไม่จ่ายบ้างล่ะก็ อาจต้องเตรียมใจไว้เรื่องการขอกู้ไม่ผ่าน. และอีกอย่างนึงที่ไม่ควรมองข้าง คือการสะสมเงินสำรอง เพราะหนี้บ้าน เป็นหนี้ที่ยาวนาน และอาจมีอุปสรรคในการผ่อน จึงต้องเผื่อไว้สำหรับเหตุฉุกเฉินหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เพื่อปรับตัวสู้วิกฤต หรือจัดการชีวิตของเราให้ดีขึ้น โดยเก็บเงินไว้สัก 3-6 เท่าของค่าใช้จ่าย หรือฝากเงินในความเสี่ยงแบบต่ำ อย่างการฝากออมทรัพย์ หรือการซื้อประกันชีวิตสำหรับหัวหน้าครอบครัว เป็นต้น

ออมเงินดาวน์อย่างมีวินัย

เพราะมนุษย์เงินเดือน ย่อมมีรายได้หลักมาจากเงินเดือน เราจึงต้องวางแผนเก็บเงินเพื่อค่าใช้จ่ายที่จะเพิ่มมาในอนาคตด้วย เช่น ค่าจดจำนอง , ค่าในการโอนกรรมสิทธิ์ , ค่าส่วนกลางในหมู่บ้าน หรือค่าใช้จ่ายทางธนาคารอย่างพวกอากรแสตมป์ เบี้ยประกันอัคคีภัย เป็นต้น และต้องมี ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นในการซื้อที่อยู่อาศัย ที่เรียกว่า เงินดาวน์ โดยเราจะต้องจ่ายอยู่ประมาณ 15-30 % จากราคาบ้านหลังนั้น

รู้ไหมว่า ยิ่งเรามีเงินออมเงินดาวน์มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีสิทธิ์ผ่านได้ง่ายเท่านั้น อย่างเช่นบ้านราคา 2.5 ล้านบาท เงินดาวน์ของเราก็ควรจะมี 250,000 บาทเป็นอย่างน้อย ยิ่งถ้าเรามีเงินดาวน์สำหรับที่อยู่อาศัยมากเท่าไหร่ ทางสถาบันการเงินก็จะยิ่งมองว่าความพร้อมในการกู้บ้านเรามากเท่านั้น ดูว่าเรามีโอกาสที่จะจ่ายค่างวดได้ดี แล้วดอกเบี้ยในการผ่อนบ้านของเราก็จะลดลงไปด้วยตามตัวเลยล่ะ

หรือแม้มีหลายโครงการที่กำหนดให้ผ่อนค่าดาวน์ได้แล้ว ก็ยิ่งช่วยให้คนที่มีเงินเก็บน้อย สามารถมีบ้านในฝันได้ง่ายขึ้นด้วย แต่ในการส่งเงินของเราต้องทำเป็นระยะเวลานาน สูงสุดอาจถึง 30 ปี ดังนั้น ก่อนคิดจะซื้อบ้านในฝัน เราลองซ้อมผ่อนบ้านดูบ้างก็ได้ จะได้เกิดการเคยชิน ด้วยการออมอย่างเป็นนิสัยและทำอย่างมีวินัย เช่น เมื่อเงินเดือนออก ก็ตัดเงิน 14,000 บาทตามจำนวนที่ต้องผ่อนบ้าน ไปเก็บในบัญชีเงินออมทันที เมื่อทำทุกเดือน อย่าว่าแค่เงินดาวน์เลย เงินผ่อนเราก็ไม่น้อยหน้าใครด้วย

เช็คขั้นตอนในการยื่นเรื่องและเปรียบเทียบสถาบันการเงิน

ปกติแล้ว จะมีฝ่ายสินเชื่อของธนาคาร ที่เข้ามาให้ข้อมูลเพิ่มเติมเราในส่วนของการสอบถาม หรือขอสินเชื่อในการกู้บ้าน หรือแม้แต่พวกเอกสารในการดำเนินการเพื่อผ่อนชำระ การจัดการกับดอกเบี้ย ก็สามารถทำได้โดยตรงกับธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เราเลือก ซึ่งแบบทั่วไป จะมีการกำหนดการกู้อยู่ที่ 80 % จากราคาของตัวบ้าน ส่วนเอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นกู้ ก็จะมี หลักฐานประจำตัว เช่น บัตรประชาชน หรือบัตรข้าราชการ , หลักฐานแสดงรายได้ , สเตทเม้นท์ 6 - 12 เดือน , เอกสารการเสียภาษี , หลักฐานเกี่ยวกับประกัน หรือหลักฐานเกี่ยวกับผู้ร่วมกู้ ถ้ามี เป็นต้น

สำหรับขั้นตอนในการกู้ซื้อบ้านนั้น หลายสถานบันการเงินมักจะมีรูปแบบที่คล้ายๆกัน หรือแตกต่างเล็กน้อยในส่วนของรายละเอียดข้อตกลง เช่น การซื้อประกันร่วม ดอกเบี้ยเงินกู้ เราจึงควรดูรายละเอียดในการกู้ซื้อดีๆ หรือแม้แต่กระบวนการในการยื่นเรื่องเพื่อขอกู้ ที่ใช้เวลาพิจารณาถึง 1-4 สัปดาห์ และอาจนัดเพื่อประเมินราคาบ้านด้วย เราก็ต้องเผื่อเวลาให้เหมาะสม

ในส่วนของขั้นตอนเพื่อการผ่อนจ่าย มักจะเป็นเรื่องการจ่ายเงินต้น และดอกเบี้ยของสินเชื่อแบบรายเดือน เราก็ต้องทำการจ่ายแบบต่อเนื่องด้วยจนครบวงเงินต้นตามสัญญา เช่น 10 , 20 หรือ 30 ปี หรือหากมีเงินก้อนเข้ามาเมื่อได้ชำระมาช่วงนึงแล้ว อย่างเงินโบนัส หรือเงินพิเศษ ก็สามารถนำมาโปะในส่วนของเงินต้น เพื่อช่วยลดทั้งดอกเบี้ยเงินกู้ และเงินต้นของเราได้ แล้วการเป็นเจ้าของบ้านก็ยิ่งเร็วขึ้นสำหรับเราทีเดียวล่ะ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกีบ ดอกเบี้ยกู้ซื้อบ้าน 2565 ที่นี่

ถ้าพร้อมออม พร้อมควบคุมรายจ่าย พร้อมเป็นหนี้ก้อนใหญ่ด้วยใจ้ ก็คือเราพร้อมแล้วที่จะทำให้บ้านในฝันเป็นจริงได้ แต่มันก็มีรายละเอียดในแต่ละแง่มุมที่เราต้องเตรียมตัว และทำความเข้าใจก่อนคิดจะซื้อบ้านสักหลังนั่นเอง และเรายังคงเห็นได้ด้วยว่า การที่จะรู้ว่า เราพร้อมจะซื้อบ้านหรือยัง และแสดงว่าเราคิดแล้วจริงๆ ก่อนซื้อ

สิ่งแรกที่เราควรให้ความสำคัญก็ต้องเป็นเรื่อง การศึกษาข้อมูลและเงื่อนไขที่มีให้มากที่สุด อาจดูจากอินเทอร์เน็ต หรือโปรแกรมการคำนวนคาผ่อนบ้านที่มีให้เลือกมากมาย ยิ่งรู้เยอะก็ยิ่งได้เปรียบเยอะ และระหว่างทางที่เราหาข้อมูลนั้น เราก็ไม่ลืม ตั้งงบการเงินในปัจจุบันมาอย่างดีด้วย เพื่อเตรียมเงินในกระเป๋าของเราให้พร้อม ทำทุกวิถีทางให้มีหนี้น้อยที่สุด มีได้ แต่ต้องจ่ายหนี้ให้ตรงเวลา เพื่อสร้างเครดิตที่ดีทางการเงิน และตรวจสอบเงินสำรองฉุกเฉินเพื่อพร้อมรับมือกับช่วงวิกฤตที่เราไม่รู้ว่าจะมาวันไหน  การมีวินัยในการออมเงินดาวน์ จำนวนเงินดาวน์ของเรา ถ้ามีพร้อมมากเท่าไหร่ การซื้อบ้านของเรานั้นก็จะง่ายขึ้นและเร็วขึ้นเท่านั้น แถมอัตราการผ่อนแต่ละเดือนก็จะลดลงด้วย และยังสามารถ ซ้อมอ้อมเงิน เพื่อเตรียมการผ่อนบ้านในระยะยาวไว้ด้วยก็ได้ และสิ่งสุดท้ายที่เราทำได้คือ เตรียมตัวศึกษาขั้นตอนในการยื่นเรื่องและเปรียบเทียบสถาบันการเงิน แล้วก็ทำการตัดสินใจโดยเลือกสิ่งที่ใช่ที่สุด

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ขั้นตอนถูกต้อง ในการกู้ซื้อบ้าน ที่นี่

แล้วทั้ง 5 วิธีที่กล่าวในบทความนี้ ก็จะทำให้เราวางแผนและเตรียมตัวก่อนขอสินเชื่อบ้านได้อย่างเข้าใจได้มากขึ้น เมื่อรวมกับปัจจัยเรื่องภาษี เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ถ้าเราศึกษาให้ถี่ถ้วนก่อนการตัดสินใจ บางคนสามาถนำดอกเบี้ยที่จะจ่าย มาคำนวนการลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมได้ไม่เกินอีก 100 , 000 บาทด้วยซ้ำ ถือว่าช่วยเราประหยัดได้อีกรูปแบบนึงด้วย แล้วก็คงตอบโจทย์ชีวิตมนุษย์เงินเดือนอย่างเรามากขึ้นอีกด้วยเช่นกัน หากอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามผู้เชี่ยวชาญทางการเงินจาก MoneyDuck ได้ฟรีที่ลิงค์ด้านล่าง