สะดวก ปลอดภัย เติมเต็มไลฟ์สไตล์ของเมือง!! บัตรเดียวที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่เร่งรีบของเราในวันนี้. หลายคนอาจเคยทนกับการต่อรถเมล์ บีทีเอส ตลอดจนการขนส่งมวลชนแบบต่างๆ มาอย่างแสนเหนื่อย ต้องกังวลในการพกเงินสดมากๆ หรือแบกเงินเหรียญให้พอกับการจ่าย แต่เจ้าบัตรแรบบิทนี่เองช่วยเราให้ง่ายมากขึ้นในการชำระค่าบริการหรือซื้อสินค้าที่ร้านค้าชั้นนำมากมาย ตลอดไปจนถึงการสะสมแรบบิทพ้อยส์ เพื่อก้าวสู่สังคมไร้เงินสดและมั่นใจพาไปได้ทุกที่ทุกเวลา.
ทุกวันนี้ มีสถานที่ใช้จ่ายที่สะดวกโดยการจ่ายผ่านบัตรแรบบิท. วิธีการใช้งานก็ทำได้ง่ายๆดังนี้ เติมเงินในบัตรแรบบิทนั้นด้วยเงินสดหรือวิธีอื่นๆตามที่บริษัทยอมรับ. ใช้บัตรแรบบิทได้ทันทีที่ผู้ให้บริการที่มีสัญลักษณ์ยินดีต้อนรับบัตรนี้. ชำระค่าสินค้าหรือบริการด้วยการแตะบัตรแรบบิทที่เครื่องอ่านบัตรแรบบิท รอไม่นานจนการทำรายการเสร็จสมบูรณ์. เลือกสมัครแรบบิทรีวอร์ดเพื่อสะสมแต้มและหลักสิทธิพิเศษอื่นๆได้.
rabbit card
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ใช้บัตรแรบบิท
สำหรับนักเรียน นักศึกษา : ผู้ที่จะมีสิทธิ์ใช้บัตรแรบบิท สำหรับนักเรียน นักศึกษา ต้องเป็น นักเรียน, นิสิต, หรือนักศึกษา ที่มีอายุไม่เกิน 23 ปีบริบูรณ์ โดยยึดตามวัน เดือน ปีเกิดในบัตรประจำตัวประชาชน และศึกษาในสถานศึกษาในประเทศไทยหรือสถานศึกษาในต่างประเทศ รวมถึง ชั้นเนติบัณฑิต โรงเรียนฝึกอาชีพและโรงเรียนสอนภาษาที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองหลักสูตร ณ วันที่ใช้บัตรโดยสาร. ทั้งนี้ ผู้ที่ใช้บัตรโดยสารประเภทดังกล่าว ก็จะต้องพร้อมแสดงบัตรนักเรียน บัตรนิสิต บัตรนักศึกษา หรือบัตรประจำตัวประชาชนต่อพนักงานเมื่อมีการร้องขอด้วย. ระยะเวลาที่อยู่ในเขตชำระเงินจะต้องไม่เกิน : 120 นาที เบี้ยปรับกรณีเกินเวลา : อัตราค่าโดยสารสูงสุดที่ประกาศเรียกเก็บ
สำหรับผู้สูงอายุ : ผู้ที่จะมีสิทธิ์ใช้บัตรแรบบิท สำหรับผู้สูงอายุได้ต้องเป็น ผู้ที่มีสัญชาติไทยอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยยึดดูตามวัน เดือน ปีเกิดในบัตรประจำตัวประชาชน ทั้งนี้ ผู้ที่ใช้บัตรโดยสารประเภทดังกล่าวจะต้องพร้อมแสดงบัตรประจำตัวประชาชนต่อพนักงานเมื่อมีการร้องขอ. ผู้ใดใช้บัตรโดยมิชอบ หรือไม่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดจะถือว่าไม่ได้ชำระค่าโดยสาร บริษัทสามารถสงวนสิทธิ์ริบบัตรและเรียกให้ผู้โดยสารชำระค่าปรับในอัตราไม่เกิน 20 เท่าของค่าโดยสารสูงสุดในราคาปกติ. ระยะเวลาที่อยู่ในเขตชำระเงินจะต้องไม่เกิน : 120 นาที เบี้ยปรับกรณีเกินเวลา : อัตราค่าโดยสารสูงสุดที่ประกาศเรียกเก็บ
การลงทะเบียนบัตรแรบบิท
สามารถช่วยคุ้มครองเงินคงเหลือที่อยู่ในบัตรแรบบิทจากเหตุไม่คาดฝัน เช่น การสูญหายหรือถูกขโมย ได้โดย
- ลงทะเบียนข้อมูลแรบบิท
- แจ้งการสูญหายหรือถูกขโมย เพื่อระงับการใช้งานบัตรแรบบิทได้ ผ่านแรบบิทฮอตไลน์
- ขอคืนมูลค่าคงเหลือในบัตรแรบบิท โดยเป็นไปตามวิธีการและเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด
เราสามารถดำเนินการลงทะเบียนบัตรแรบบิทได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.00 น. – 19.00 น. ที่ศูนย์บริการบัตรแรบบิท (รถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสยาม) และที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสทุกสถานีในเวลาทำการ ลงทะเบียนได้ง่ายๆ เพียงเตรียมหลักฐานและข้อมูลดังต่อไปนี้มาติดต่อเพื่อดำเนินการลงทะเบียนที่ศูนย์บริการบัตรแรบบิท บัตรแรบบิทที่ต้องการลงทะเบียน บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง สำหรับชาวไทย หรือแสดงหนังสือเดินทางตัวจริงสำหรับชาวต่างชาติ ข้อมูลในการติดต่อ เช่น เบอร์โทรศัพท์หรืออีเมล์ (สำหรับผู้ลงทะเบียนบัตรแรบบิทที่มีอายุต่ำว่า 15 ปี และไม่มีบัตรประชาชน ให้แสดงสูติบัตรหรือทะเบียนบ้าน หรือผู้ปกครองสามารถลงทะเบียนแทนได้) การลงทะเบียนและผูกบัตรสำหรับRabbit LINE Pay
- เริ่มต้นด้วยการเข้าไปที่แอปพลิเคชั่น LINE ที่มีในสมาร์ทโฟน โดยเลือกไปเมนู Wallet > Rabbit LINE Pay จากนั้นจะเห็นโลโก้เมนู BTS อยู่บริเวณตรงกลาง
- เมื่อเลือกเมนู BTS แล้ว เราจะเข้าสู่หน้าลงทะเบียนบัตร Rabbit ให้เรากดเลือกลงทะเบียน ซึ่งระบบจะให้ใส่เลข 13 หลักบนบัตร Rabbit เพื่อทำการผูกบัตรเข้ากับระบบ และเมื่อผูกบัตรเสร็จแล้วก็สามารถเลือกวิธีการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต หรือตัดผ่านระบบบัญชีออนไลน์ได้ทันที
- เมื่อผูกบัตรเสร็จแล้ว จะยังไม่สามารถใช้งานบัตรได้ ต้องนำบัตร Rabbit ไปทำการ Active หรือเปิดบัตรผ่านจุดบริการบนสถานีรถไฟฟ้า BTS ได้ 5 สถานี ได้แก่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, เพลินจิต, อโศก, ศาลาแดง, ช่องนนทรี* ตั้งแต่เวลา 10.00 น. - 20.00 น. ทั้งนี้ให้เตรียมบัตรประชาชน และบัตร Rabbit ที่ต้องการใช้บริการเพื่อทำการผูกบัตรไปด้วย
(ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 เป็นต้นไป จะสามารถลงทะเบียนได้ทั้ง 15 สถานี ได้แก่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ, เพลินจิต, อโศก, ศาลาแดง, ช่องนนทรี, อารีย์, พญาไท, สยาม, อ่อนนุช อุดมสุข, พร้อมพงษ์, ทองหล่อ, เอกมัย, ชิดลม, และหมอชิต)
การเติมเงินและวิธีใช้
เติมเงิน
- สามารถเติมเงินขั้นต่ำ 100 บาท มูลค่ารวมในบัตรไม่เกิน 4,000 บาท
- เลือกเดินทางเฉพาะสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส 25 สถานีเดิม หักค่าโดยสารตามระยะทาง
- เดินทางเข้า-ออก ที่สถานีส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ได้แก่ สถานีบางจาก ปุณณวิถี อุดมสุข บางนา แบริ่ง และสำโรง หรือสถานีส่วนต่อขยายสายสีลม ได้แก่ สถานีโพธิ์นิมิตร ตลาดพลู วุฒากาศ และบางหว้า หักค่าโดยสารเพิ่มเที่ยวละ 10 หรือ 15 บาท (ขึ้นอยู่กับประเภทบัตรโดยสาร)
- มูลค่าของเงินที่เติมมีอายุ 2 ปี นับจากวันที่ทำรายการครั้งสุดท้าย แต่สามารถนำมาต่ออายุโดยการเติมเงินได้ โดยบัตรนั้นจะต้องเป็นบัตรที่ยังไม่หมดอายุ 5 ปี.
เติมเที่ยวเดินทาง 30 วัน
- เลือกเดินทางเฉพาะสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส 25 สถานีเดิม เติมเที่ยวเดินทางได้ตามโปรโมชั่นที่มีอยู่
- สามรถใช้เดินทางได้ตามจำนวนเที่ยวที่เลือกตามโปรโมชั่น โดยไม่จำกัดระยะทาง ยกเว้น สถานีส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสุขุมวิทและสีลม
- เที่ยวเดินทางที่เติมในบัตรมีอายุในการใช้งาน 30 วัน นับจากวันที่ใช้เดินทางครั้งแรก
- ต้องนำบัตรมาใช้เดินทางภายใน 45 วัน นับจากวันที่ออกบัตร หรือวันที่เติมเที่ยวเดินทางครั้งสุดท้ายแล้วแต่กรณี หากพ้นระยะเวลาที่กำหนด เที่ยวเดินทางในบัตรจะถูกลบออก และจะต้องนำบัตรไปเติมเที่ยวเดินทางใหม่จึงจะสามารถใช้เดินทางได้ โดยเที่ยวเดินทางดังกล่าวไม่สามารถขอคืนเป็นมูลค่าอื่นใดได้
- บัตรที่ยังไม่หมดอายุการใช้งานสามารถเติมเที่ยวเดินทางได้ตามโปรโมชั่นที่มีอยู่แล้ว
ราคาบุคคลทั่วไป 15 เที่ยว 465 บาท เฉลี่ย 31 บาท/เที่ยว 25 เที่ยว 725 บาท เฉลี่ย 29 บาท/เที่ยว 40 เที่ยว 1,080 บาท เฉลี่ย 27 บาท/เที่ยว 50 เที่ยว 1,300 บาท เฉลี่ย 26 บาท/เที่ยว
ราคานักเรียน นักศึกษา 15 เที่ยว 360 บาท เฉลี่ย 24 บาท/เที่ยว 25 เที่ยว 550 บาท เฉลี่ย 22 บาท/เที่ยว 40 เที่ยว 800 บาท เฉลี่ย 20 บาท/เที่ยว 50 เที่ยว 950 บาท เฉลี่ย 19 บาท/เที่ยว
วิธีการใช้บัตรผ่านประตูอัติโนมัติสำหรับรถไฟฟ้าบีทีเอส
- เตรียมบัตรแรบบิทใบที่ต้องการใช้ (บัตรแรบบิท 1 ใบ สำหรับ 1 ท่าน) แล้วเดินเข้าช่องประตูอัตโนมัติที่มีลูกศรสีเขียว
- นำบัตรแรบบิทนั้นแตะบริเวณจุดที่กำหนดบนเครื่องอ่านบัตรที่ติดตั้งไว้บนประตูอัตโนมัติโดยตรง
- เมื่อข้อมูลบนบัตรถูกต้อง ไฟแสดงสถานะจะปรากฎเป็นสีเขียว ผู้โดยสารก็จะสามารถเดินเข้าหรือออกจากประตูอัตโนมัติได้ตามปกติ
- หากจำนวนเที่ยวเดินทาง 30 วัน ในบัตรแรบบิทหมดลง หรือครบกำหนด 30 วัน จะต้องนำบัตรแรบบิทไปเติมจำนวนเที่ยวเดินทาง ที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร จึงสามารถใช้บัตรแรบบิทเดินทางได้
- การเติมมูลค่าในบัตรแรบบิท จะต้องมีมูลค่าคงเหลือในบัตรขั้นต่ำ 15 บาท จึงจะสามารถใช้เดินทางได้ โดยสามารถเติมมูลค่าได้ ที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร
ข้อดีของการใช้งานบัตรแรบบิท
เราสามารถตรวจสอบจำนวนเที่ยวและจำนวนเงินคงเหลือได้ทันที ตรวจสอบประวัติการเดินทางไปตามสถานีต่างๆ ได้ มีระบบการแจ้งเตือนเมื่อมียอดเงินคงเหลือต่ำ ไม่เพียงพอกับการโดยสาร เลือกได้ว่าจะให้ตัดเงินผ่านทาง E-Wallet โดยสามารถเติมเงินเข้าได้จากบัญชีธนาคารที่ผูกไว้, Mobile/Internet banking, ATM, จุดเติมเงินต่างๆ (สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมบน Application) บัตรเครดิต (Visa, Master, JCB) บัตรเดบิต* (Visa, Master, JCB, TPN**) บัตรเดบิตต้องผ่านขั้นตอนการเปิดใช้งาน ตามกระบวนการของธนาคารผู้ออกบัตร* ระบบยังไม่รองรับ โดยอยู่ระหว่างการพัฒนาเปิดให้บริการ ระงับการใช้บัตรชั่วคราว และเปิดใช้งานใหม่ผ่านทาง Application ได้ (ในกรณีที่บัตรหาย สามารถลบบัตร Rabbit จากการผูกกับ Rabbit LINE Pay ผ่าน Application ได้ทันที และในการผูกใช้บริการครั้งแรก จะได้รับเที่ยวเดินทางฟรี 3 เที่ยว (ภายใน 1 สัปดาห์หลังจากเปิดใช้บริการ)
คราวนี้เราก็ได้รู้กันแล้วว่า เจ้าบัตรแรบบิทนี้สารพัดประโยชน์จริงๆ ในการใช้ก็ไม่ยากอย่างที่คิดเพราะมีระบบที่ดีและปลอดภัยในการเลือก ส่วนวิธีการเติมเงินเติมเที่ยวก็สะดวกดีมีราคาที่แน่ชัดสำหรับแต่ละช่วงวัยด้วย. ทำให้การเดินทางทุกวันนี้ของเราในกรุงเทพ อันดับหนึ่งก็คือบีทีเอสสะดวกรวดเร็วและปลอดภัยมากขึ้นนั่นเอง.
Ubol
สะดวกมากเลยค่ะ ใช้ขึ้นรถbts หรือซื้อของในห้างก็ได้ บางทีบัตรนี้สามารถใช้แทนการ์ดใน food court ได้ด้วยบางร้านมีโปรโมชั่นลดราคาถ้าใช้บัตรเเรบบิทจ่าย เราว่ามันทำให้คุ้มนะ...ประหยัดเงินไปได้หลายบาท เวลาเติมเงินก็สะดวกค่ะสามารถเติมเงินได้ที่ บีทีเอส หรือจะผูกกับ e-wallet หรือ mobile bank ก็ได้ ชอบมากเลยค่ะ
เรือหางยาว
บัตรแรบบิท หลายคนบอกว่าสะดวกดี มีส่วนลด โน่น นี่ นั่นด้วย ก็ดีแล้วเหมาะกับคนเมืองใหญ่ ที่ใช้ชีวิตเร่งรีบ เดินทางไปไหนมาไหนทีก็ต้องไปถึงให้เร็ว การมีบัตรแรบบิทก็ลดได้หลายขั้นตอน ช่วยให้สะดวกและรวดเร็วขึ้น นี่ยังไม่รวมการใช้จายที่อื่นๆนะ อะไรดี อะไรเหมาะกับใครก็ใช้กันไปเถอะครับ ยิ่งเดินทางบ่อยๆ ผมว่ามันคุ้มดีนะ
น้ำตาล
บัตร rabbit สะดวกมากเลยนะนะคะ เดี๋ยวนี้มีการออกบัตรใหม่เพื่อที่จะตอบโจทย์ต่อนักเรียนนักศึกษาที่เดินทางโดยสารพาหนะ BTS คือทำให้มีการนำเอาเทคโนโลยีหรือโทรศัพท์มือถือมาเพื่อใช้กับบัตรนี้ด้วย แต่สามารถตรวจสอบเกี่ยวกับการเดินทางโดยใช้แอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือ และยังสามารถทำให้ใช้บริการสาธารณะได้สะดวกรวดเร็วไม่ต้องไปคอยแลกเหรียญอยู่
Banoffee
ก็ดีนะคะมีบัตรแรบบิทที่ใช้ได้สะดวกและประหยัดด้วย โดยเฉพาะเรื่องการเดินทางของคนในเมืองใหญ่เป็นเรื่องสำคัญมาก เกี่ยงข้องกับเวลาด้วย ยิ่งเดินทางไปถึงจุดหมายเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี หลายคนเลยเลือกใช้รถไฟฟ้า ยิ่งได้ราคาถูกลงด้วยนะ เป็นอะไรที่ดีมว๊ากเลยค่ะ อยู่เมืองกรุงอะไรก็ไม่เหนื่อยเท่าการเดินทางหรอกค่ะ ใช้เวลามากเหลือเกิน
วิยาพา
อ่นเรื่องการใช้งานดูแล้ว ถ้าอยู่ใน กรุงเทพฯ คงอยากจะใช้ตามนะคะ แต่เราอยู่ต่างจังหวัด เราว่าไม่น่าจะเอามาใช้ได้ ที่เราใช้ อยู่เป็นวอลเลทของทรู ถ้าให้เทียบกับ แรบบิท เราว่า ของทรูใช้งานได้ง่ายมากกว่านะเมื่อเราอยู่ต่างจังหวัด บัตรแรบบิต ก็ดีนะถ้าช้ในเมืองเพราะเห็นมีสะสมอะไรหลายอย่าง แต่อย่างที่บอกใช้กับต่างจังหวัดได้น้อย
วุฒิชัย
คงเป็นเพราะผมไม่ได้ใช้บัตรแรบบิทมั้งครับก็เลยไม่รู้ความเลื่อนไหวตอนนี้ แต่ในฐานะคนที่ไม่ได้ใช้งานบัตรใบนี้ก็ทำให้ผมไม่ได้ยินข่าวคราวของบัตรใบนี้มากซักเท่าไหร่ตามข่าว ตามโฆษณาต่างๆ ก็เลยสงสัยอยู่ว่ายังมีคนใช้บัตรแรบบิทอยู่ไหม? หรือเลิกใช้กันไปแล้ว ก็เลยเข้ามาอ่านเรื่องนี้ครับ เลยถึงบางอ้อว่ายังมีคนใช้อยู่ ก็แค่นั้นที่อยากบอก
ราม
บัตรแรบบิทใช้งานสะดวกดีนะครับ ถ้าเราอยู่ในกรุงเทพฯแล้วจำเป็นต้องเดินทางโดยใช้รถไฟฟ้า BTS ไม่ต้องคอยมาแลกเหรียญแล้วก็หยอดซื้อ ticket อยู่ซื้อเป็นบัตรแรบบิทแล้วก็เติมเงินเข้าบัตรสะดวกและง่ายในการ เดินทางกลับ BTS เป็นบัตรที่ตอบโจทย์เอาคนที่อยู่ในเมืองกรุง และการเติมเงินก็สามารถทำได้ง่าย ไม่ต้องเก็บเงินเยอะในบัตรด้วยครับ
ชาญ
คือมีโปรโมชั่นที่น่าสนใจสำหรับการเดินทางกับ BTS ของบัตรแรบบิทนะครับ เพราะว่าช่วยให้เราสามารถเหมาจ่ายในการเดินทางบ่อยๆกับ BTS ได้ คิดถึงคนที่จะต้องเดินทางไปทำงานเป็นประจำ และไม่ชอบการเดินทางที่เกิดจากรถติด ต้องมาคอยหยอดเหรียญแลกเหรียญในการขึ้น BTS ทุกวันเป็นที่น่าเบื่อมากครับ ใช้บริการของบัตรแรบบิทในการเดินทางดีกว่าครับสะดวกกว่าด้วย
กระผม นาย นพมันตา นะ
บัตรแรบบิท มันใช้ได้แค่ นักเรียนนักศึกษา กับคนที่อายุ60ปีขึ้นไปเท่านั้นเหรอ ถ้าเป็นแบบนี้ ความยุติธรรมไม่มีจริงในโลกใบนี้แน่นอน ดูสิ บัตรสวยและน่ารักขนาดนั้นแถมยัง มีส่วนลดที่ตั้งหลายอย่าง ทำไมให้แค่2กลุ่มนี้ใช้เท่านั้น แต่อ่านเรื่องการปรับเงินแล้วหากพบว่าไม่อยู่ในสองกลุ่มนี้ เสียค่าปรับแพงเอาเรื่องเหมือนกันเลยนะนั้น
พงษ์
บัตรแรบบิทดีเหมือนกันนะครับเพราะช่วยเราสะดวกสบายตอนที่เราเดินทางด้วย BTS และยังสามารถเติมเงินเข้าได้ง่ายๆผ่านทาง wallet ที่เราสมัครใช้บริการอยู่หรือบัญชีธนาคารก็ได้ ผมชอบตรงที่มีบริการแจ้งเตือนตอนที่เรามีเงินน้อยครับ บริจาคช่วยให้เรารู้ว่าเหลือเงินเท่าไหร่แล้วจะได้เติมเงินเข้าไปในบัตร ทำให้การเดินทางด้วย BTS เป็นเรื่องง่ายไม่ต้องไปคอยแลกเหรียญให้เสียเวลา
ภูเบศ
เจ้าพวกบัตร แบบนี้เขายังใช้งานกันอยู่เหรอครับ ผมจำได้ว่าตอนที่ผมไปเรียนที่กรุงเทพ เมื่อ5ปีที่แล้ว มันใช้อยู่นะครับ แต่มาตอนนี้ ผมว่ามันน่าจะมีวิธรการใช้งานที่ทันสมัยกว่าการพกบัตรแล้วนะครับ อย่าง ตอนนี้ บัตร ATM ที่เราใช้งาน ก็แทบจะไม่ได้ใช้กันแล้วนะครับ เพื่อนๆ คิดยังไงครับ ว่ายุคสมัยนี้มันยังต้องพกบัตรพวกนี้อยู่อีกเหรอครับ