การศึกษานั้นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิต และช่วยพัฒนาอะไรต่อมิอะไรได้หลายอย่าง ซึ่งแน่นอนรัฐบาลก็ได้มีหลายนโยบายที่ช่วยให้เยาวชนไทยเข้าถึงการศึกษาให้ได้มากขึ้น และหนึ่งในนั้นก็คือ โครงการเงินให้ยืมเพื่อการศึกษา กยศ. ซึ่งได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและโครงการนี้โครงการเงินให้ยืมเพื่อการศึกษา กยศ. สามารถช่วยเด็กไทยหลายล้านคนได้มีโอกาสเข้ามาศึกษา จนเรียนจบเข้าสู่ช่วงวัยทำงานกันหลายต่อหลายรุ่น ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อได้รับโอกาสมาแล้ว ก็ต้องมีการส่งต่อกับรุ่นต่อไป โดยการใช้หนี้ กยศ. ที่ได้ยืมเงินมาใช้เป็นทุนการศึกษาจนเรียนจบ จนสามารถประกอบอาชีพได้แล้ว แต่ก็ยังมีบุคคลหลายต่อหลายคนที่ยังค้างจ่ายหนี้ กยศ. อยู่ ซึ่งจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ ในบทความนี้ก็จะมาช่วยบอกทางออกให้กับบุคลเหล่านั้น

กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. จัดตั้งเมื่อไรและเพื่ออะไร?

กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. จัดตั้งเมื่อไรและเพื่ออะไร?

ต้องบอกว่า กยศ. หรือ กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา ได้มีการจัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีในวันที่ 28 มีนาคม 2538 และตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2539 ซึ่งเป็นช่วงของรัฐบาลที่มีผู้บริหารเป็น นาย บรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี สั่งให้เริ่มดำเนินการ จนกระทั้งปี 2541 ก็ได้มีการออกพระราชบัญญัติกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 ซึ่งมีรูปแบบกองทุนเป็นกองทุนหมุนเวียน เป็นก้าวที่สำคัญที่แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไทยให้ความสำคัญต่อการศึกษา และสามารถเพิ่มโอกาสทางการศึกษายกระดับคุณภาพชีวิต ให้กับเยาวชนชาวไทยให้ได้เข้าถึงการศึกษาอย่างมีมาตรฐานและเท่าเทียมกัน ด้วยวิสัยทัศน์ที่มุ่งมั่นเป็นองค์กรที่ให้โอกาสทางการศึกษา เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้ยั่งยืน และมีจุดประสงค์สำคัญในการเป็นสถาบันให้เงินกู้ยืมกับนักเรียนนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนการศึกษา หรือศึกษาในสาขาหลักที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ผ่านมาประมาณ 20 กว่าปี แล้วที่กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. ที่ได้ให้โอกาสกับเยาวชนไทยได้เข้ามาศึกษาทำตามความฝันแล้วเป็นหมื่นเป็นแสนชีวิต จนสามารถมีทุนการศึกษาจนสามารเรียนจบได้หลายต่อหลายรุ่นด้วยกัน

เป็นหนี้ กยศ.แล้วต้องรับผิดชอบอย่างไรบ้าง?

เป็นหนี้ กยศ.แล้วต้องรับผิดชอบอย่างไรบ้าง?

ในหัวข้อนี้จะมาพูดกันถึงบุคคลที่เคยกู้ กยศ. ทำให้มีทุนการศึกษาจนสามารถเรียนจบการศึกษามาได้จน มีโอกาสได้เข้าช่วงประกอบอาชีพแต่ก็ยังไม่ได้ทำการชำระหนี้ กยศ. หรือ คืนเงินให้กับกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา และถ้าเพื่อนๆเป็นเหมือนกับบุคคลที่เราจะพูดถึงในหัวข้อนี้ก็ไม่ต้องกลัวอะไร เพราะผมไม่ได้จะมาตำหนิเพื่อนๆแต่อย่างใด ผมเข้าใจว่าคนเรานั้นย่อมมีเหตุผลเป็นของตัวเองไม่ว่าเหตุผลของเพื่อนๆจะเป็นอะไรก็แล้วแต่ แต่ผมจะมาบอกว่าถ้าเพื่อนๆเป็นหนี้ กยศ.

แล้วจะต้องรับผิดชอบจะต้องรับผิดชอบอย่างไร? จริงๆมันก็ไม่ได้มีอะไรมาก ผมว่าทุกคนน่าจะพอรู้กันอยู่แล้วนะครับ ว่าถ้าเป็นหนี้ไม่ว่าจะหนี้อะไรก็ตามแต่ไม่จำเป็นต้องเป็นหนี้ กยศ. เพียงอย่างเดียวการที่ต้องรับผิดชอบจะรับผิดชอบอย่างไร คำตอบที่แน่นอนเลยก็คือ ต้องรับผิดชอบโดยการใช้หนี้ยังไงล่ะครับ ซึ่งเมื่อเพื่อนๆได้กู้ กยศ. เพื่อที่จะมีทุนในการศึกษา และได้เข้ารับการศึกษาจนเรียนจบและเมื่อมีงานทำ เพื่อนๆก็จะได้รับหนังสือติดตามเพื่อที่จะให้เพื่อนๆทำการชำระเงินกู้ กยศ. พร้อมกับมีดอกเบี้ยตามวงเงินที่เพื่อนๆได้เคยกู้เอาไว้ ซึ่งเพื่อนๆสามารถเข้าไปหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนี้ กยศ. ของเพื่อนๆได้ที่ https://www.studentloan.or.th/th/taxonomy/term/24

หากค้างชำระหนี้และเพิกเฉย กยศ.มีแผนจัดการอย่างไร?

หากค้างชำระหนี้และเพิกเฉย กยศ.มีแผนจัดการอย่างไร?

มาต่อกันที่หัวข้อนี้ คือ ถ้าเพื่อนๆเป็นบุคคลที่เป็นหนี้ กยศ. แล้วเพิกเฉยการชำระหนี้ คือ ไม่ได้จ่ายหนี้นั้นแหละครับ มาดูกันว่า กยศ. เขามีแผนจักการอย่างไร โดยในกรณีนี้ หนี้ กยศ. ของเพื่อนๆจะถูกสะสมและมีดอกเบี้ยค่าปรับเพิ่มมากขึ้น และถ้าเพื่อนๆยังนิ่งดูดายเพิกเฉยติดต่อกันไปอีก 3 ปี จะมีเบี้ยปรับขึ้นสูงถึง 18% เลยล่ะครับ ซึ่งในปัจจุบันสถิติของผู้ที่ทำการกู้ยืมเงิน กยศ. มีมากถึง 3 ล้านราย และเป็นผู้กู้รายเก่าที่มีกำหนดต้องชำระหนี้แล้วประมาณ 2 ล้านราย  และ คงค้างชำระหนี้อยู่ที่ประมาณ 1 ล้านราย ซึ่งจากตัวเลขนี้ถือเป็นตัวเลขสถิติที่น่าตกใจ

และยังไม่หมดเพียงเท่านี้ ยังพบว่ามีสถิติว่าบุคคลที่ประกอบอาชีพ แพทย์ และ พยาบาล เป็นอาชีพที่มีการค้างชำระหนี้ กยศ. มากที่สุดในบรรดาอาชีพอื่นๆ ซึ่งแน่นอนว่าทางกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาเขาจะไม่นิ่งดูดายอย่างแน่นอน ถ้าเพื่อนๆเป็นบุคคลที่อยู่ใน 1 ล้านราย ที่มียอดค้างชำระหนี้และเพิกเฉยทางกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาเพื่อนๆก็จะโดนมาตรการของกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่จะทำการแจ้งหนี้เหล่านั้นไปยังต้นสังกัดหรือหน่วยงานของเพื่อนๆที่เพื่อนทำงานอยู่ เพื่อที่จะทำการหักหนี้จากเงินเดือนของเพื่อนๆแน่นอน ซึ่งมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 26 กรกฏาคม 60

เมื่อเป็นหนี้ กยศ.แล้วสามารถเจรจาอย่างไรได้บ้าง?

เมื่อเป็นหนี้ กยศ.แล้วสามารถเจรจาอย่างไรได้บ้าง?

และต่อมาก็มาถึงหัวข้อสำหรับเพื่อนๆที่เป็น หนี้ กยศ. กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ที่มีเหตุผลที่ทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้แล้วนั้นก็คือ หัวข้อ เมื่อเป็นหนี้ กยศ. แล้วสามารถเจราจาอย่างไรได้บ้าง? จากหัวข้อที่แล้วได้มีการบอกว่า กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. นั้นมีมาตรการที่จะทำการแจ้งหนี้ไปยังหน่วยงานหรือต้นสังกัดที่เพื่อนๆทำงานเพื่อทำการหักเงินเดือนไปเลย แต่ถ้าเพื่อนๆนั้นมีเหตุผลจำเป็นจริงๆที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ แล้วถ้าถูกหักเงินเดือนไปก็คงจะไม่ดี ก็ต้องการจะเจรจา เพื่อนๆสามารถที่จะเจรจาขอผ่อนชำระหนี้กับกองทุนได้ หรือ อาจจะขอเลือกเป็นการชำระรายเดือนหรือรายปีก็ได้ แล้วแต่ความสามารถของเพื่อนๆ ซึ่งก่อนจะเจรจาขอให้เพื่อนๆนั้นมีการวางแผนการเงินให้เป็นอย่างดีก่อนเพื่อที่จะสามารถชำระหนี้ได้ตามที่ไปเจรจาไม่ใช่ว่าเจรจาแล้วก็ยังทำไม่ได้เหมือนเดิม เพราะอย่างน้อยๆถ้าเพื่อนๆทำการชำระหนี้ กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา แล้ว กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ก็จะสามารถนำเงินเหล่านั้นไปช่วยรุ่นน้องของเพื่อนๆต่อได้ทำให้พวกรุ่นน้องของเพื่อนๆนั้นได้มีโอกาสเหมือนกับที่เพื่อนๆได้รับก่อนหน้านี้ และไม่ต้องหนักใจไปกับหนี้ กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. เพราะหนี้ กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. นั้นเป็นหนี้ที่ดอกเบี้ยต่ำ และ มีระบบลดต้นลดดอกด้วย เพียงแค่เพื่อนๆไม่เพิกเฉยและหมั่นติดตามข่าวสารตลอดเวลา เท่านี้เมื่อเพื่อนๆพร้อมเพื่อนๆก็สามารถที่จะไปทำการชำระหนี้คืนให้กับรัฐบาลได้แล้ว

เป็นหนี้ต้องจัดการและหาข้อมูลไม่ใช่เรื่องน่าอาย

เป็นหนี้ต้องจัดการและหาข้อมูลไม่ใช่เรื่องน่าอาย

หนี้ผมเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ ไม่ว่าใครก็ไม่อยากมีหรอกครับ อย่างที่ผมบอกไปในตอนต้นว่าทุกคนที่เป็นหนี้นั้นย่อมมีเหตุผลผมเข้าใจทุกคนที่เป็นหนี้ แต่เมื่อเป็นหนี้เราก็ต้องใช้หนี้ และอย่างที่บอกคนเป็นหนี้นั้นมีเหตุผลเพราะฉะนั้นเป็นหนี้แล้วไม่ต้องอาย โดยเฉพาะหนี้ในวันนี้ที่ผมพูดถึง คือ หนี้ กยศ. เพราะเป็นหนี้เพื่อการศึกษา แค่เมื่อเพื่อนๆเป็นหนี้และใส่ใจให้ความสำคัญกับมันไม่เพิกเฉย ผมเชื่อว่าเพื่อนๆทุกคนสามารถที่จะจัดการกับหนี้นั้นไปได้ ไม่ว่าเพื่อนๆจะมีเหตุผลอะไรก็ตามที่ทำให้ไม่สามารถใช้หนี้ได้ตามกำหนดแต่แนะนำอย่าเพิกเฉยต่อมันเลยครับ เพราะมาตรการใหม่ของ กยศ. เขาจะทำการหักเงินเดือนของเพื่อนๆโดยตรงถ้าเพื่อนๆเพิกเฉยและไม่มีการติดตามผมเชื่อว่ามันจะแย่กว่าที่เป็นอยู่แน่นอนครับ