ไม่รู้ว่าทุกคนจะรู้กันหรือป่าวว่า คนไทยเรานั้นมีปัญหาเกี่ยวกับหนี้นอกระบบ กันเยอะแยะมากมายเลยทีเดียว และผมก็เชื่อว่าเกือบทุกคนต้องเคยได้ยินทั้งข่าวคราว และชื่อเสียงของหนี้นอกระบบกันมาไม่มากก็น้อย ถึงเรื่องไม่ดีต่างๆ ทั้งวิธีการทวงหนี้ ดอกเบี้ย และอื่นๆอีกมากมายและที่สำคัญ คือ มันเป็นสิ่งผิดกฎหมายของบ้านเราด้วย แต่ไม่ว่าจะยังไง ก็ยังคงมีคนปล่อยเงินกู้นอกระบบและมิหน้ำซ้ำก็ยังมีคนไปกู้เงินนอกระบบนั้นด้วยนี้สิ ทำไมกันนะ ซึ่งเหตุผลนั้นก็มีอยู่ด้วยกันไม่กี่อย่าง คือ หนึ่งจำเป็นจริงๆที่จะต้องใช้เงินแต่ตัวเองนั้นมีเครดิตเสียทำให้กู้เงินในระบบไม่ได้ หรือไม่ก็มีเครดิตที่ไม่ค่อยสวยทำให้กู้เงินในระบบยาก ทางออกของปัญหาก็คือกู้เงินนอกระบบ

และนั้นทำให้ทางรัฐบาล ต้องเร่งแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบให้หมดไป ทางกระทรวงการคลังจึงได้มีนโยบาย  จัดหาแหล่งเงินทุนที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเข้าถึง พี่น้องประชาชนตาดำๆหรือที่เรียกว่ารายย่อย ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนดังกล่าวได้ โดย ในโครงการนโยบายดังกล่าว ก็ได้ตกผลึก ออกมาเป็น สินเชื่อสองโครงการใหญ่ๆ ได้แก่ Nano Finance กับ Pico Finance ซึ่งถึงแม้ว่าทั้งสองสินเชื่อจะถูกสร้างมาเพื่อจุดประสงค์ในการให้ประชาชนรายย่อยเข้าถึงแหล่งเงินทุน ที่ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว และมาจากโครงการนโยบายเดียวกัน แต่ทั้งสองสินเชื่อก็มีความแตกต่างกันอยู่ และจะแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เพื่อนๆก็คงจะต้องไปทำความรู้จักกับทั้งสองสินเชื่อ Nano Finance กับ Pico Finance ให้มากขึ้นกันแล้วล่ะครับ

สินเชื่อ Nano Finance คือ

สินเชื่อ Nano Finance คือ

สินเชื่อ Nano Finance คือ สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับดูแลจากธนาคารแห่งประเทศไทยโดยตรง ซึ่งมีเป้าหมาย เพื่อให้ผู้ประกอบการรายย่อย หรือ ผู้ที่มีรายได้น้อย ได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนอีกช่องทางหนึ่ง โดยมีวงเงินการอนุมัติคือ ไม่เกิน 100,000 บาทต่อคน และไม่จำเป็นต้องมีหลักประกันก็สามารถกู้สินเชื่อตัวนี้ได้ เป็นการลดปัญหาการกู้เงินนอกระบบไปได้อีกระดับ ซึ่งผู้ปล่อยกู้สินเชื่อตัวนี้สามารถจะเรียกเก็บ ดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าธรรมเนียม ต่างๆ รวมกันได้ไม่เกิน 36% ต่อปี

สินเชื่อ Pico Finance คือ

สินเชื่อ Pico Finance คือ

สินเชื่อ Pico Finance คือ สินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัด ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ซึ่งมีเป้าหมายเดียวกันกับ สินเชื่อ Nano Finance คือ ต้องลดปัญหาหนี้นอกระบบและ ต้องการให้ผู้ประกอบรายย่อย และผู้มีรายได้น้อย หรือผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อจากธนาคารได้เพราะเหตุผลต่างๆ เช่น เอกสารหลักฐานการเงินไม่เพียงพอ เป็นต้น ได้มากู้สินเชื่อตัวนี้ แทนการไปกู้หนี้นอกระบบ และได้รับความเป็นธรรม จากการทำสัญญา ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลจากภาครัฐ โดยมีวงเงินการกู้ ไม่เกิน 50,000 บาทต่อคน และมีอัตราดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าธรรมเนียมต่างๆรวมกันไม่เกิน 36% ต่อปี

ผู้ที่รับหน้าที่ปล่อยกู้สินเชื่อทั้งสองอย่าง

ผู้ที่รับหน้าที่ปล่อยกู้สินเชื่อทั้งสองอย่าง

สินเชื่อในประเทศไทย ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่เป็นคนปล่อยกู้ก็คงจะหนีไม่พ้น ธนาคารพาณิชย์ หรือ บริษัทเงินทุนต่างๆนั้นเอง ส่วนผู้ที่ไม่ใช่ทั้งสองอย่างแต่มีเงินทุนพอที่จะปล่อยเงินกู้ได้ ก็จะกลายเป็นผู้ปล่อยเงินกู้นอกระบบไปโดยปริยายนั้นเอง แต่เพื่อแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ทางภาครัฐจึงได้คิดค้นจนได้นโยบายออกมาเป็นสินเชื่อ สองตัว นั้นคือ Nano Finance และ Pico Finance ซึ่งสินเชื่อดังกล่าวนี้สามารถแก้ปัญหาให้ได้กับทั้งตัวลูกหนี้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเข้าถึงสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ และ ทางตัวเจ้าหนี้ที่เป็นผู้ปล่อยเงินกู้ทั้งๆที่ตัวเองไม่ได้เป็นธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนใดๆ

โดยถ้ามีเงินทุนพอที่จะปล่อยเงินกู้แล้วก็ให้ไปทำการขอรับใบอนุญาตจากหน่วยงานที่กำกับดูแลสินเชื่อโดยตรงของทั้งสอง คือ ถ้าต้องการปล่อยสินเชื่อ Nano Finance ก็ให้ไปทำการขอรับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีกระทรวงการคลังผ่านทางธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ถ้าเป็นสินเชื่อ Pico Finance ก็ให้ไปขอใบอนุญาตผ่านสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แต่ถึงอย่างนั้น การจะปล่อยสินเชื่ออย่างใดอย่างหนึ่งในทั้งสองอย่างนี้ก็จำเป็นต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมด้วยเช่นกัน

เงื่อนไขคุณสมบัติของผู้ที่จะปล่อยสินเชื่อ Nano Finance

ผู้ที่จะปล่อยสินเชื่อนั้นไม่ได้เป็นกันง่ายๆ นะครับ ถึงแม้จะมีเงินทุนพร้อมที่จะปล่อยกู้ แต่ก็จำเป็นต้องขอใบอนุญาตให้ถูกต้องครับ กับ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสักก่อนผ่านทางธนาคารแห่งประเทศไทย แต่คนที่จะขอใบอนุญาตได้ก็จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ด้วย คือจะต้องเป็นบริษัทจำกัดหรือมหาชนจำกัด และจะต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท และมีอัตราส่วนหนี้สินรวมทั้งสิ้นต่อส่วนผู้ถือหุ้น ไม่เกิน 7 เท่า

เงื่อนไขคุณสมบัติของผู้ที่จะปล่อยสินเชื่อ Pico Finance

ผู้ที่จะปล่อยสินเชื่อ Pico Finance ก็เช่นเดียวกัน ไม่ใช่แค่มีเงินทุนพอก็จะสามารถปล่อยได้เลยจำต้องขอใบอนุญาตให้ถูกต้องก่อนโดยให้ไปขอผ่านทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และก็จำเป็นต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ด้วย คือ ต้องมีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น บริษัทจำกัด บริษัทมหาชน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด และต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่น้อยกว่า 5 ล้าน

Pico Finance หรือ Nano Finance เลือกอันไหนก็ดีทั้งนั้น

Pico Finance หรือ Nano Finance เลือกอันไหนก็ดีทั้งนั้น

ในมุมมองของผู้ขอกู้ไม่ว่าจะเลือกขอกู้ Pico Finance หรือ Nano Finance อันไหนก็ดีทั้งนั้นแหละครับ เพราะมันเป็นหนี้ในระบบที่มีการกำกับดูแลจากกระทรวงการคลัง ทำให้มั่นใจได้เลยว่าผู้ขอกู้จะไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างแน่นอน ส่วนในมุมมองของผู้ที่จะทำการปล่อยสินเชื่อเอง ผมก็ขอบอกว่าเช่นเดียวกันครับ เลือกปล่อยอันไหนก็ดีทั้งนั้นแหละครับ เพียงแต่ว่าคุณสมบัติของเพื่อนๆตรงกับอันไหนเท่านั้นแหละครับ สุดท้ายนี้ก็หวังว่าเพื่อนๆจะได้รู้จักกับสินเชื่อทั้งสองตัวมากขึ้นไม่มากก็น้อยนะครับ