ในสถานการณ์ปัจจุบันเศรษฐกิจของโลกมีภาวะถดถอยต่อเนื่องมาเรื่อย ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นวิกฤตการณ์โควิด – 19 อีกทั้งต้องเผชิญกับภาวะที่ของขายขึ้นราคา จึงทำให้คนส่วนใหญ่ประหยัด ใช้จ่ายในสิ่งจำเป็น ไม่ฟุ่มเฟือย เพื่อความมั่นคงในอนาคตจึงต้องมีความจำเป็นในการวางแผนการเก็บออมเงินในวัยเกษียณให้มีเงิน 10 ล้านก่อนอายุ 60 ปี เรามาดูกันเลย
5 ขั้นตอนวางแผนเกษียณ แบบไม่ต้องพึ่งใคร
เมื่อกำลังเข้าสู่วัยเกษียณ สิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆก็คือการวางแผนทางการเงิน เพราะในวัยนี้จะหลายคนอาจจะไม่มีรายรับเข้ามาหรือมีรายรับไม่มากเท่าแต่ก่อน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีการบริหารการเงินให้มีประสิทธิภาพเพียงพอในการเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ในบั้นปลายชีวิตของเรา พร้อมกับเตรียมส่งต่อกิจการหรือความมั่งคั่งสู่รุ่นลูกหลานต่อไป
ขั้นตอนที่ 1 เริ่มคำนวณค่าใช้จ่ายยามเกษียณ
ในกรณีที่ตั้งใจจะออมเงินให้ครบ 10 ล้านบาทก่อนเกษียณ เช่น ตอนนี้อายุ 25 ปี ตั้งใจจะเกษียณตอนอายุ 60 ปี และคาดการณ์ว่าจะมีอายุอยู่ถึง 80 ปี โดยมีค่าใช้จ่ายต่อเดือน 35,000 บาทต่อเดือน โดยคำนวณเผื่ออัตราเงินเฟ้อ 3% ต่อปีเข้าไปด้วย เมื่อคำนวณแล้วเราจะต้องเตรียมเงินออมไว้ยามเกษียณจำนวนทั้งหมด 20,234,047 บาท หรือต้องออมต่อเดือนจำนวน 60,004 บาทเลยทีเดียว
ลองแบ่งประเภทค่าใช้จ่ายว่าออกมาเรามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างครับ ซึ่งอาจมีบางส่วนที่ลดลง เช่น ค่าเดินทาง ค่ากิน และบางส่วนที่เพิ่มขึ้น เช่น ค่ารักษาพยาบาล และคำนวณการใช้จ่ายว่าในแต่ละเดือนเรามีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเท่าไหร่ โดยรายจ่ายหลักๆ หลังเกษียณจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน
- ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ากิน ค่าเดินทาง
- ค่าซ่อมบำรุงทรัพย์สิน เช่น รถยนต์ ที่อยู่อาศัย ซึ่งมีความเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน เราจึงควรเผื่อเงินให้กับส่วนนี้ไว้ก้อนนึง
- ค่ารักษาพยาบาล เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายก็ย่อมมีความเสื่อมโทรมหากเราไม่ได้มีการดูแลตัวเองที่ดีพอ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในวัยเกษียณจะสูงมาก ผมแนะนำให้ลองมองหาโครงการประกันสุขภาพทั่วหน้าของภาครัฐ หรือโครงการอื่นๆ เพื่อช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ครับ
- ค่ากิจกรรมเพิ่มเติม เช่น ท่องเที่ยว ทำบุญ เนื่องจากอายุที่มากขึ้นก็หากิจกรรมทำก็เป็นทางออกที่ดีครับ แต่ต้องระวังเพราะค่าใช้จ่ายส่วนนี้ค่อนข้างจะฟุ่มเฟือย อย่าลืมบริหารให้เหมาะสมด้วยนะครับ
ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบเงินออมที่มีอยู่ทั้งหมด
เมื่อคุณได้ตัวเลขเงินออมเป้าหมายยามเกษียณแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่ควรทำก็คือ สำรวจว่าปัจจุบันเรามีเงินเก็บออมอะไรบ้าง รวมกันได้เท่าไร อาจจะรวมจากบัญชีเงินฝาก เงินประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันออมทรัพย์ เงินลงทุนในหุ้น รวมถึงกองทุนรวมต่าง ๆ เป็นต้น เช่น เมื่อรวมเงินออมจากแหล่งต่าง ๆ รวมเป็นเงิน 200,000 บาท เท่ากับ เราต้องออมเพิ่มอีก 20,034,047 บาท เพื่อให้ได้ครบตามเป้าหมายเงินเกษียณที่ตั้งเป้าหมายไว้
ขั้นตอนที่ 3 วางแผนการลงทุน เพื่อสร้างเงินออมเพิ่มมากขึ้น
เมื่อทราบจำนวนเงินที่ต้องหาเพิ่มเพื่อให้พอใช้จ่ายในยามเกษียณกันแล้ว ให้เริ่มทำบัญชีรายรับรายจ่ายและเคร่งครัดกับการเก็บออมทันที และเราจะนำเงินออมที่เก็บในแต่ละเดือนนั้น มาวางแผนการลงทุนตามความเหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่รับได้ เช่น ถ้าเราเริ่มเก็บออมตอนอายุ 25 ปี ยังอยู่ช่วงระยะเวลาการเริ่มต้นทำงาน มีระยะเวลาในการลงทุนนาน ยังมีเงินเดือนไม่สูง ถึงควรออมเงินทุกเดือน ด้วยเงินฝากประจำ 24 เดือน หรือ 36 เดือน ซึ่งจะได้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าออมทรัพย์ปกติ และเป็นการฝึกวินัยในการออม
ในกรณียังมีเงินเหลือก็อาจซื้อสลากออมสิน เพื่อลุ้นรางวัล อีกทั้งได้ยังดอกเบี้ยตามเงื่อนไขและเงินต้นคืนเมื่อครบกำหนดเวลาไถ่คืน หรือถ้ามีฝีมือในการทำอาหาร ขายขนม และรักการขายของ ก็อาจจะลงทุนเล็ก ๆ น้อย ๆ จากการขายของก็ได้ เพื่อเพิ่มเงินออมจากการขายของ
ขั้นตอนที่ 4 เริ่มออมทันที
ไม่รีรอเวลา เริ่มลงมือออมทันทีตามที่วางแผนเอาไว้ และเมื่อต้องอดทนกับการประหยัดเงินเพื่อการออม ให้มองไปถึงคนข้างหลัง เช่น ครอบครัว ลูก พ่อแม่ จะทำให้คุณมีพลังใจที่จะเก็บออมให้ครบตามแผนเกษียณ
ขั้นตอนที่ 5 ฉลองความสำเร็จให้ตนเองเมื่อถึงกลางทาง
เมื่อถึงเป้าหมายกลางทางอย่าลืมให้ของขวัญตนเองหรือครอบครัว เช่น เงินเกษียณ 10 ล้าน เก็บได้ครึ่งทาง 5 ล้านแล้ว ก็อย่าฉลองให้ตนเองกับครอบครัวด้วยการไปเที่ยว ทำบุญ หรืออื่น ๆ เพื่อให้คุณมีกำลังใจที่จะออมเงินให้บรรลุเป้าหมายเงินออมเกษียณ
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 4 เคล็ดลับ วางแผนเกษียณ ท่ามกลางเศรษฐกิจผันผวน ที่นี่
การออมต้องอาศัยความมีวินัย สม่ำเสมอในการออมและลงทุน และต้องมีความอดทนต่อความอยากได้ในสิ่งของที่ไม่จำเป็น แต่ถ้าคุณเก็บออมได้ตามงบเกษียณแล้ว คุณจะรู้สึกมั่นคงและสบายใจมากขึ้นอย่างแน่นอนองการคำแนะนำเพิ่มเติมทางด้านการเงิน สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจาก MoneyDuck ได้นะคะ
พิชิต
เราใช้วิธีฝากประจำทุกเดือนค่ะ ของธนาคารออมสินเพราะว่านอกจากจะมีเงินเก็บแล้วยังได้รับดอกเบี้ยด้วย (ดีกว่าเอาเงินมาเก็บเอง ไม่ได้อะไรเลย) อีกอย่างก็จะซื้อสลากของธนาคารออมสินด้วยค่ะ เผื่อว่าถ้าถูกรางวัลก็จะได้เงินเพิ่มขึ้นไปอีก เพื่อนบอกว่าเราฝากเยอะเกินไปเดือนละเป็นหมื่น สำหรับเราไม่เยอะหรอกค่ะถ้าคิดคำนวณว่าตอนชราต้องใช้เงินเท่าไหร่ แค่นี้น้อยมาก
Chaiya
แม้อายุยังไม่ถึงวัยเกษียณแต่ก็ควรคิดวางแผนชีวิตในวัยเกษียณไว้ก่อนได้ เมื่อก่อนผมก็ไม่ค่อยคิดถึงเรื่องนี้เท่าไหร่ แต่ตอนนี้เริ่มคิดบ้างแล้วครับ ผมคงต้องเก็บออมเงินให้มากกว่านี้ อยากจะไปหาการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ ถึงจะได้เงินน้อยแต่ถ้าได้นานๆผมก็โอเคครับ เพราะผมไม่เก่งเรื่องลงทุนกลัวว่าลงทุนอะไรไปเดี๋ยวจะขาดทุนหมดน่ะครับ
กัลยา
คงจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือวัยเกษียณนะคะ เพราะถ้าเราไม่ประหยัดอดออมหรือเก็บเงินในตอนนี้ วัยเกษียณของเราก็จะไม่มีเงินเอาไว้สำหรับการลงทุนหรือต่อยอดการใช้ชีวิตค่ะ บทความนี้จึงอธิบายเกี่ยวกับการวางแผนการเงินสําหรับวัยเกษียณว่าควรทำอย่างไรดี เพื่อที่จะเป็นการวางแผนการเกษียณอย่างมีประสิทธิภาพค่ะ
พัทธวรรณ
ต้องคิดตั้งแต่ตอนนี้กันเลยค่ะเรื่องวางแผนชีวิตก่อนวัยเกษียณ เพราะเวลามันผ่านไปเร็วมาก ทำงานได้อีกไม่กี่สิบปีก็เข้าสู่วัยเกษียณกันแล้ว..แน่ะ! ไม่ต้องมาเดาอายุกันเลย นอกจาเรื่องเงินที่ต้องเก็บออมไว้ใช้ในวัยเกษียณแล้ว เรานึกถึงงานที่สามารถทำได้แม้อยู่ในวัยเกษียณด้วย ช่วงเกษียณตอนแรกๆอายุยังไม่มากเท่าไหร่ น่าจะยังพอทำงานได้อยู่ค่ะ
ติระ
คิดได้ วางแผนได้ แต่ที่ไม่ได้ น่าจะเป็นเรื่องการลงมือทำครับ เพราะผมทำงานรับจ้างครับ เงินเดือนที่ได้ในแต่ละเดือนไม่เท่ากันทุกๆเดือน แล้วก็ยังต้องรับผิดชอบหลายๆอย่างในครอบครัว แล้วคิดว่า การเกษียณ คงไม่น่าจะเกิดขึ้นกับคนหาเช้ากินค่ำแบบผม คงทำได้แค่ถ้าหมดแรงทำงานตอนไหน นั้นละครับคือการเกษียณ ของผมครับ ซึ่งน่าจะยาวครับ
นิล
เราก็คิดอยู่นะ ถ้าก่อนจะถึงช่วงเวลาที่เราเกษียณตัวเองทำงานอาชีพไม่ได้ ก็อยากจะมีเงินสักก้อนเก็บไว้ คิดว่าคงไม่ได้แต่งงานก็เลยไม่จำเป็นต้องคิดถึงลูกหลาน แต่ตอนนี้เรากำลังสนใจการทำประกันชีวิต พี่พอถึงเวลาแล้วเราจะได้เงินก้อนหรือว่าการลงทุนพวกกองทุนรวมที่ช่วยให้เรามีเงินเก็บหลังเกษียณ ถึงแม้ว่าจะอีกหลายสิบปี แต่การคิดไว้ตั้งแต่ตอนนี้เป็นเรื่องที่ดีนะ
สมร
ลงทุนในกองทุนrmf ก็ดีนะคะเป็นกองทุนเลี้ยงชีพในวัยเกษียณ มันดีตรงที่ใช้เป็นตัวลดหย่อนภาษีได้ แต่บางคนก็ไม่ชอบกองทุนrmfเพราะกว่าจะได้เงินก้อนมาใช้ก็ต้องมีอายุ55ปีขึ้นไป ไม่ทันใจวัยสะรุ่น555 ดังนั้นต้องตรวจสอบตัวเองว่าสามารถสร้างวินัยในการออมเงินในระยะยาวได้ไหมและได้เตรียมสภาพคล่องทางการเงินเพียงพอหรือไม่
บุญเกริก
บทความนี้เป็นประโยชน์จริงๆครับ ต้องขอบคุณผู้เขียนบทความนี้มากๆเลยครับที่ทำให้ผมเห็นว่าการวางแผนชีวิตก่อนการเกษียณนั้นสำคัญจริงๆ เพราะเราไม่อาจรู้ได้ว่าในอนาคตจะเป็นยังไง บางทีในอนาคตเราอาจจะไม่ได้มีเงินพอใช้ก็ได้นะครับ ผมจะเอาคำแนะนำในบทความนี้ไปปรับใช้ในชีวิตดูนะครับ และผมอยากจะแนะนำให้คนวัยใกล้เกษียณเหมือนผมลองเอาไปปรับใช้ดูเหมือนผมนะครับ
วายุ
เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ยากมากเลยครับสำหรับการที่คิดว่าเมื่อเราทำงานในตอนที่มีกำลังแรง ต้องสะสมเงินไว้สำหรับวัยเกษียณหรือเปล่าที่อายุมากขึ้น พอดีตอนนั้นจะเป็นตอนที่ลำบากและทำให้เราไม่สามารถที่จะทำงานได้เต็มที่ กลายเป็นว่าทำงานหนักก็เพื่อสำหรับวัยเกษียณเท่านั้นเหรอครับ บทความนี้จึงช่วยเราสามารถที่จะใช้ชีวิตแบบเก็บเงินไปได้สำหรับวัยเกษียณโดยที่ไม่เหนื่อยเกินไปด้วยครับ
ดานัง
สำหรับใครที่พยายามเก็บเงินเพื่อใช้ตอนที่อายุมากๆ เป็นคนที่วางแผนการใช้ชีวิตได้ดีมากจริงคะ แต่การเก็บเงิน เราเคยไปอ่านเจอบทความหนึ่ง เขาบอกว่า บ้านเราอาจเข้าสู้สภาวะเงินเฟ้อได้ เขาลองคิดคำนวนว่า 1ปีบ้านเรามีเงินเฟ้อประมาณ3% นั้นแสดงว่า ค่าเงินที่เราเก็บได้ตอนนี้ ในจำจวน1แสนบาท ราคาอาจลดลงที่ 7-8หมื่นบาท งั๊นเราก็ต้องคิดเรื่องนี้ด้วยนะ