หลายคนที่เริ่มต้นเป็นหนี้อาจจะมีความเครียด บริหารจัดการเงินไปทางไหนก็มีแต่เดือนชนเดือนไม่พอใช้ บางครั้งก็ต้องไปหยิบยืมกู้เงินนู้นมาหมุนเงินนี่ทำให้เกิดสารพัดหนี้แก้ต่อ ๆ กันแบบไม่รู้จบ แต่จะดีกว่าไหมที่หากเราทราบวิธีแบ่งหนี้ยังไง ให้เป็นระบบซึ่งสามารถทำได้จริง แค่เริ่มต้นจากความเข้าใจและลงมือทำโดยได้รวบรวมวิธีที่จะช่วยให้การจัดการหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งถ้าหากสนใจก็ไปเริ่มกันเลย
รู้จัก “หนี้” ก่อนก่อ
มาเริ่มต้นจากการรู้จักกับ “หนี้” ที่มาพร้อม 2 เหตุผลที่มักจะเกิดขึ้นจากความต้องการและความจำเป็นซึ่งเริ่มจากความจำเป็นซึ่งจะเกิดมาจากความไม่คาดฝัน เช่น ไม่คาดฝันว่าจะตกงาน ไม่คาดฝันว่าจะเจ็บป่วยไม่ว่าจะเป็นตัวเราเอง หรือคนในครอบครัว รวมถึงอุบัติเหตุต่าง ๆ แต่ในขณะเดียวกันความต้องการเริ่มมาจากการเห็นคนอื่นแล้วอาจจะรู้สึกอยากมี เช่น อยากมีมือถือรุ่นใหม่ อยากมีบ้าน อยากมีรถรุ่นใหม่ เป็นต้น
โดยจากสองเหตุผลมักจะนำมาสู่การก่อหนี้ซึ่งก็จะเกิดจากคน 2 กลุ่มได้แก่ เจ้าหนี้ที่อาจจะเป็นสถาบันการเงิน แหล่งเงินกู้ หรือบุคคลที่ปล่อยเงินกู้ ต่อมาก็จะต้องเป็นลูกหนี้ คือ ผู้ที่กู้ยืมเงินมาใช้เพื่อความจำเป็น หรือความต้องการซึ่งจะมีการทำสัญญาขึ้นมาโดยจะมีการตกลงกันทั้งสองฝ่ายว่าจะชำระคืนในระยะเวลาที่กำหนด พร้อมอัตราดอกเบี้ยตามที่ตกลงกันโดยต้องเกิดขึ้นจากความพึงพอใจทั้งสองฝ่ายและเป็นธรรม (ไม่คิดเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด)
รู้จักเทคนิคแบ่งหนี้ยังไง ให้เป็นระบบ
เมื่อรู้แล้วว่าหนี้เกิดมาจากความต้องการและความจำเป็นซึ่งถ้าหากเรากลายมาเป็นหนี้ก็จะอยู่ในฐานะลูกหนี้ที่จะต้องจ่ายเงินให้เจ้าหนี้ทำให้ต้องวางแผนว่าทำอย่างไรให้บริหารจัดการหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพหนึ่งในวิธีที่อยากนำเสนอคือ การแบ่งเงินออกเป็น 3 กอง ดังนี้
- เงินกู้ คือ เงินที่เอาไว้จ่ายหนี้สินที่กู้หนี้ยืมสินมาไม่่าจะเป็นหนี้สินเชื่อ หนี้บัตรเครดิต หนี้รถ หนี้บ้าน หรือหนี้อื่น ๆ ที่กู้มาใช้เพื่อความต้องการ หรือเพื่อความจำเป็น
- เงินกิน คือ เงินที่เรานำไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวันซึ่งจะนับรวมค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เช่น ค่าช้อปปิ้งต่าง ๆ
- เงินเก็บ คือ เงินสดสำรองฉุกเฉิน (ซึ่งนักวางแผนการเงินมักจะแนะนำให้มีเงินสดสำรองฉุกเฉิน 3 - 6 เดือน) เช่น เงินเดือน 15,000 ควรมีเงินเก็บอยู่ที่ประมาณ 45,000 - 90,000 บาท
ตัวอย่างการเทคนิคการแบ่งเงิน 3 กอง
นาย A ได้รับเงินเดือนเดือนละ 15,000 บาทและแต่ละเดือนจะได้รับเงินพิเศษเดือนละ 3,500 บาททำให้มีรายรับแต่ละเดือนอยู่ที่18,500 บาท โดยในแต่ละเดือนมีภาระค่าใช้จ่ายในการผ่อนรถอยู่ที่ 7,000 บาทและค่าเช่าบ้านเดือนละ 3,000 บาทโดยไม่รวมน้ำไฟและยังมีค่าผ่อนบัตรเครดิตเดือนละ 1,2000 บาทเป็นเวลา 24 เดือน ดังนั้นนาย A จะต้องแบ่งเงิน 3 ก้อนออกเป็น ดังนี้
- เงินกู้ จะจ่ายค่ารถเดือนละ 7,000 บาทและค่าบัตรเครดิตเดือนละ 1,200 บาทเท่ากับเดือนละ 8,200 บาท
- เงินกิน ซึ่งจะส่วนที่เหลือจ่ายจากการเงินกู้มาอยู่ที่เดือนละ 10,300 บาทที่จะใช้เป็นค่ากินและค่าใช้ส่วนตัวต่าง ๆ รวมถึงค่าของฟุ่มเฟือยต่าง ๆ (ถือเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เป็นแรงขับเคลื่อนในการทำงาน แต่ต้องไม่เกินกว่ารายได้ที่รับ)
- เงินเก็บ หากคิดเฉลี่ยคร่าว ๆ หรือมีการวางแผนว่าจะเก็บเงินเดือนละ 3,000 บาทก็ให้เริ่มจากการลองเก็บก่อนแล้วค่อยเหลือไปเป็นค่ากินก็จะเหลือ 7,300 บาท
โดยหากบริหารจัดการส่วนที่เหลือแต่ละเดือนแล้วไม่พอใช้ก็อาจจะลองปรับเปลี่ยนแผนเก็บเงินได้ตามความเหมาะสม
รวมทริคปลดหนี้แบบมีแผนการชำระ
รู้จักวิธีการแบ่งเงินแต่ละก้อนกันไปแล้วก็ถึงเวลาที่จะมาจริงจังการปลดหนี้ที่มีแผนการชำระซึ่งจะช่วยให้การบริการจัดการหนี้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านทริคดังนี้
- ทำรายการหนี้ทั้งหมด ว่าณ ปัจจุบันมีหนี้สินอะไรอยู่บ้าง เช่น สินเชื่อบ้านที่ต้องผ่อนแต่ละเดือน หนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรกดเงินสด หนี้รถ หนี้ไฟแนนซ์ โดยจัดบันทึกแต่ละรายการรวมถึงอัตราดอกเบี้ย
- จัดลำดับหนี้ นำหนี้ที่มีทั้งหมดมาจัดลำดับว่าควรจ่ายหนี้ไหนก่อนสุดซึ่งอาจจะแบ่งออกเป็นหนี้ที่ยอดน้อยสุด หรือหนี้ที่ดอกเบี้ยแพงสุด อันนี้ขึ้นอยู่กับลูกหนี้ว่าถนัดที่จะจ่ายแบบใด
- มีแผนการชำระหนี้ โดยควรจะมีการกำหนดระยะเวลาว่าหนี้ลำดับแรกต้องการชำระเงินคืนให้หมดภายในระยะเวลาเท่าไรจากนั้นก็ทยอยทำหนี้ก้อนอื่น ๆ เพื่อที่เราจะได้มีแผนการชำระ แม้จะมีการสะดุด หรอมีปัญหาระหว่างการชำระก็ยังสามารถนำแผนที่มีอยู่มาปรับให้เหมาะสมได้ใหม่อย่างมีเป้าหมาย
- เริ่มชำระหนี้ ตามลิสต์หนี้ลำดับแรก ไม่ว่าจะยอดน้อยสุด หรือดอกเบี้ยมากสุดก็ตามโดยเริ่มจากการทยอยจ่ายหนี้ก้อนนั้นให้หมดตามแผนที่หนด แล้วทยอยจัดการส่วนหนี้ก้อนอื่น ๆ ซึ่งระหว่างที่ชำระหนี้ก้อนแรกก็อาจจะให้ชำระขั้นต่ำและวนทำซ้ำแบบหนี้ไปเรื่อย ๆ จนหมดทุกรายการ
สิ่งที่อยากเน้นย้ำ คือ การสำรวจความสามารถในการประกอบอาชีพที่อาจจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสร้างรายได้จากความสามารถอื่น ๆ ที่เราไม่เคยรู้ว่ามีอยู่และทำได้โดยสามารถนำมาต่อยอดเพื่อเพิ่มรายได้โป๊ะหนี้ให้หมดไวขึ้น แต่สำหรับใครที่ถนัดแค่งานที่ทำอยู่ ณ ปัจจุบันก็ไม่ได้ผิดแปลก หรืออย่างใดก็ยังคงใช้แผนการชำระเดิมที่อาจจะมาลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเพื่อเพิ่มเงินเหลือในการชำระหนี้และแบ่งเก็บออมให้มีเงินเก็บระหว่างเป็นหนี้ได้
แบ่งหนี้ยังไง ให้เป็นระบบจึงเป็นจุดเริ่มทางการเงินที่จะช่วยให้คุณหมดปัญหาเรื่องหนี้ แถมมีเสถียรภาพทางการเงินแต่แค่ต้องมีแบบแผนว่าในการแบ่งเงินซึ่งอาจจะอิงจากเทคนิค 3 กอง คือ เงินกู้ เงินกินและเงินเก็บ แล้วามาเจาะลึกที่เงินกู้ที่ก่อให้เกิดหนี้ว่ามีรายการไหนบ้าง อันไหนยอดน้อยสุด หรืออันไหนดอกเบี้ยน้อยสุดเพื่อวางแผนเริ่มต้นชำระหนี้ได้หมดไวตามแผน
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 4 วิธีปลดหนี้ ที่นี่
โดยหากใครยังสับสันแยกระหว่างกองเงินกู้ เงินกิน หรือเงินเก็บไม่ถูกว่าต้องแบ่งอย่างไรดี MoneyDuckเราเป็นตัวช่วยที่ดีในการวางแผนจัดการหนี้และสร้างแผนการเงินได้อย่างมีระบบและดำเนินการได้แบบ STEP BY STEP ที่ฟรีแบบไม่มีค่าใช้จ่าย
อาทิตย์
จริงนะถ้าใครเป็นหนี้แล้วไม่ตั้งใจจะชำระให้หมดก็จะค้างๆคาๆอยู่อย่างนั้นแหละ ผมเคยเป็นอย่างนั้นไม่มีแผนที่จะปลดหนี้แค่ผ่อนไปตามกำหนดเรื่อยๆเปื่อยๆ แต่พอมาตั้งใจจะปลดหนี้ให้ได้ก็ทำได้นะ นอกจากตั้งใจแล้วก็ต้องหาวิธีที่ดีด้วย เหมือนคำแนะนำในบทความนี้ผมว่าก็ดีนะ เริ่มจากการวางแผนก่อนเลยเอาหนี้ทั้งหมดที่มีมาคำนวณดู หนี้ไหนสำคัญ หนี้ไหนไม่สำคัญ ก็จัดการไปตามลำดับครับ
Payut
สำหรับตัวผมเองผมคิดว่าความตั้งใจที่จะใช้หนี้เป็นสิ่งสำคัญมากครับ เพราะเมื่อเรามีความตั้งใจในการใช้หนี้แล้วเราจะหาทุกวิถีทางเพื่อจะปลดหนี้ครับ โดยวิธีการดังกล่าวต้องเป็นวิธีการที่ดีและใช้ได้ผลด้วย และบทความนี้มาเพื่อตอบสนองต่อจดความตั้งใจของผมพอดี ทำให้ตอนนี้ผมไม่มีหนี้สินอีกต่อไปแล้ว ในที่สุดผมก็ได้ใช้ชีวิตแบบสภาพคล่องสักที
น้ำหนึ่ง
เมื่อมีหนี้สินจำเป็นต้องคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการหนี้สินเอาไว้ล่วงหน้าด้วยนะคะ เพื่อจะช่วยให้เราสามารถลดภาระหนี้สินลง แล้วทำให้หนี้สินหมดไปได้ เดี๋ยวถ้าเราไม่ทำแบบนั้นแน่นอนว่าหนี่ก็จะเพิ่มมากขึ้น บทความนี้ได้อธิบายเกี่ยวกับวิธีการบริหารและจัดการกับหนี้สิน ซึ่งเป็นแนวทางที่จะช่วยให้เรามีหนี้สินที่ลดลง
Paradee
เห็นด้วยค่ะที่ว่า "เมื่อเราเป็นหนี้แล้ว ก็ต้องมีเป้าหมายที่จะปลดภาระหนี้ให้เร็วที่สุด" ที่จริงเมื่อเราคิดจะไปยืมเงินใครหรือจะไปขอสินเชื่อกับธนาคารไหน ต้องคิดล่วงหน้าไว้ก่อนแล้วว่าตัวเองสามารถชำระหนี้คืนให้ตรงเวลาและตามจำนวนที่ตกลงได้มั้ย? ไม่อย่างนั้นการปลดหนี้จะใช้เวลานานมากและเราก็จะเครียดมากด้วยค่ะ
น้อง มลิษา
ทุกสิ้นปีเรา ได้เงิน โบนัส จากที่ทำงานคะ แล้วเราก็จะเอาเงินก้อนนี้ละคะไปโป๊ะหนี้ที่เราเป็นอยู่คะ อาจไม่มากมาย อะไร แต่ก็ยังดีกว่าที่เราจะจ่ายหลายปีคะ พอดีว่าที่เราขอกู้มาเป็นแบบ การกู้แบบลดต้นลดดอกนะคะ ถ้ามีเงินต้นไปโป๊ะ ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายก็น้อยตามลงไปด้วย เป็นอีกทางเลือกสำหรับคนอยากปลดหนี้ให้หมดไวๆคะ
Peepo
ผมชอบข้อแรกนะที่ให้รวบรวมหนี้ให้หมด เพราะจะได้รู้ไงว่ามีหนี้อะไรบ้าง ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยทำวิธีนี้กันเพราะไม่อยากยอมรับความเป็นจริงว่ามีหนี้กันเท่าไหร่ แต่แบบนั้นมันไม่ถูกนะมันต้องยอมรับไปเลยเอามารวมว่าตกลงต้องจ่ายคืนเท่าไหร่ตะได้ดำเนอการแผนต่อไปได้ ไม่งั้นคุณจะไปต่อแบบไม่คุณภาพ จะมีช่องโหว่อยู่นะ เพราะรวมมาไม่หมด
พริกป่น
ไม่ต้องเป็นหนี้ดีที่สุดค่ะ....อยากได้อะไรก็เก็บเงินให้มันครบแล้วค่อยไปซื้อ ถึงเวลานั้นความอยากของเรามันก็ลดลงไปเยอะแล้วล่ะ อีกอย่างพอเราเห็นเงินที่เราเก็บเยอะๆมันก็อาจจะทำให้เราไม่อยากจะได้ของนั้นแล้วก็ได้ เราใช้วิธีแบบนี้ตลอดเลยค่ะ ก็เลยทำให้เราสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้โดยที่ไม่มีหนี้ คติของเราคือ "มีเท่าไหร่ใช้เท่านั้น ไม่มีก็ไม่ต้องใช้...."
มดยอบ
จริงๆการทําบัญชีรายรับรายจ่ายหน่อยช่วยได้จริงๆนะ ถ้าเราไม่ทำบัญชีไว้เราก็ไม่รู้ว่าเดือนแต่ละเดือนเราใช้จ่ายอะไรไปบ้าง อย่างพวกค่าข้าวของเครื่องใช้จิปาถะ ซอส เครื่องปรุ งแฟ้บ สบู่ น้ำมัน ยาสีฟันอะไรพวกนี้ และคิดว่ามันเป็นของจำเป็น แต่เราสามารถประหยัดจากพวกนี้ได้บางเดือนอาจจะถึงพันบาทเลย แต่ถ้าไม่ทำบัญชีรายรับรายจ่ายนะมันจะมองไม่เห็นเป็นตัวเลขแล้วก็จะใช้โดยที่ไม่รู้ว่าเราใช้เยอะหรือใช้น้อยจริงๆ
นาว
ถ้ามีหนี้แล้ว ก็ต้องตั้งเป้าหมายเพื่อที่จะทำการปลดหนี้ครับ ด้วยการมองเห็นภาพรวมทั้งหมดเกี่ยวกับรายรับที่เรามี ลองเอาไปบวกลบกับรายจ่ายในตอนสิ้นเดือน ดูซิว่าเรามีเงินเหลือเก็บสบายๆเดือนละเท่าไหร่ หลังจากนั้นก็ไปคำนวนดูกับหนี้สินที่มีอยู่ครับว่าจะทยอยจ่ายได้เดือนละเท่าไหร่ ให้ทำการพูดคุยไก่เกลี่ยและขอชำระคืนโดยดูจากจำนวนเงินที่เรามีในแต่ละเดือนครับ
สัณหณัฐ
นี่สิ! หนี้ที่เรามีจะหมดไปได้แน่นอนถ้าเรารู้จักวางแผนเรื่องหนี้ของเรา บางครั้งนะถ้าไม่ได้เชคว่าเรามีหนี้และมียอดเท่าไร มันทำให้เราไม่รู้ตัวหลอกว่าเราต้องจ่ายเยอะแค่ไหน แต่ถ้าเราเชคว่าหนี้ทั้งหมดของเรามีเท่าไร เราอาจตกใจก็ได้ว่าทำไมมันเยอะจัง แล้วเราก็ต้องพยายามปลดนี้แล้วก็ไม่อยากเอาหนี้ใหม่เข้ามาเพิ่มแน่นอน