อาชีพนี้เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่น่าสนใจของหลายคน และเป็นอาชีพที่หลายคนใฝ่ฝนเป็นอย่างมากว่าจะได้ทำงานในสายการบินต่างๆ โดยเฉพาะผู้หญิงด้วยเหมือนกันที่ฝันอยากเป็นแอร์โฮสเตส ปกติแล้วการทำงานของด้านการให้บริการบนสายการบินเป็นความฝันของหลายๆคน เอาพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินก็จะทำได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้โดยสารบนอากาศยานผู้เขาจะมีหน้าที่โดยการช่วยดูแลผู้โดยสารในกรณีฉุกเฉินหรือช่วยรับผิดชอบเช็คอุปกรณ์ประจำเครื่องตามจุดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นถังออกซิเจน เครื่องดับเพลิง ไฟฉาย หน้ากากออกซิเจน และเสื้อชูชีพสำหรับการสาธิตให้ผู้โดยสาร พวกเขาต้องเช็คว่าสิ่งเหล่านั้นอย่างครบถ้วนถูกต้องตามรายการอยู่ไหมหรือว่าอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ไหมแต่ละหน้าที่ก็จะมีการให้บริการลูกค้าหลายอย่างซึ่งเดี๋ยวเราจะมาคุยกันว่าอาชีพเกี่ยวกับธุรกิจสายการบินมีอะไรบ้างดังนี้…

มีอาชีพอะไรบ้างทางด้านการบิน?

มีอาชีพอะไรบ้างทางด้านการบิน?

การทำธุรกิจสายการบินมีหลากหลายอาชีพให้คุณเลือก ให้เรามาดู 7 สายอาชีพที่น่าสนใจ…

  • พนักงานตอนรับภาคพื้น (Ground / Airport Station Attendant)
  • พนักงานจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน (Airline Ticket Agent)
  • พนักงานฝ่ายธุรการ (Airline Administrative Support)
  • พนักงานอำนวยการบิน (Flight Dispatcher)
  • พนักงานฝ่ายครัวการบิน (Catering)
  • พนักงานจองตั๋วเครื่องบิน (Reservation Sales Agent)
  • พนักงานซ่อมบำรุงเครื่องบิน (Aircraft Mechanics)

ทั้ง 7 อาชีพ นี้เป็นอาชีพหลักที่น่าสนใจมากๆและได้เงินเดือนไม่แพ้กันเลยกับอาชีพของแอร์โฮสเตสกับสจ๊วต แล้วถ้าอยากเรียนหรือทำงานเกี่ยวกับธุรกิจสายการบินต้องเรียนสถาบันหรอสาขาไหนกันล่ะ? เราจะมาดูกันในหัวข้อถัดไป...

สถาบันการศึกษาอะไรบ้างที่สอนด้านการบิน?

สถาบันการศึกษาอะไรบ้างที่สอนด้านการบิน?

ถ้าคุณอยากเป็นคนหนึ่งที่ที่มีอาชีพเกี่ยวกับธุรกิจสายการบินปกติแล้วก็จะมีสถาบันการศึกษาที่เปิดการสอนเรื่องสายการบินอยู่แล้ว เช่น สถาบันการบินพลเรือน ซึ่งการเรียนที่นี้จะช่วยเสริมคุณครบด้านเลยทีเดียว คุณจะได้เรียนหลักสูตรภาคพื้น หลักสูตรภาคอากาศ หลักสูตรฝึกอบรม

และสถาบันการเรียนอีกที่นึงก็คือมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ซึ่งเป็นคณะการบินมีแผนการเรียนการสอนทางภาคพื้นและภาพอวกาศ เพราะหลักสูตรการเรียนการสอนของที่นี่จะเน้นภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติแล้วยังมีห้องปฏิบัติการจำลองทางด้านการบิน เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ถึงการนำมาใช้จริง.

อีกสถาบันหนึ่งคือมหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นสาขาการเรียนที่จัดการเรื่องความปลอดภัยทางการบินพวกเขามีจุดเด่นคือเรียนกับมืออาชีพโดยตรงมุ่งเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้ฝึกฝนและหาประสบการณ์จากการเรียนในห้องเรียน ห้องปฏิบัติและการฝึกปฏิบัติงานจริงกับเจ้าหน้าที่.

แล้วอีกสถาบันการบินที่น่าสนใจก็คือสถาบันการบิน RoyalSky Aviation Center ซึ่งสถาบันการบินนี้เป็นอีกหนึ่งสถาบันที่น่าสนใจมากเพราะมีหลักสูตรในการสอนอยู่ 3 อย่างเกี่ยวกับการบินเสริมทักษะของคุณให้รู้ความรู้พื้นฐานมีคันเดียว และมีคุณสมบัติ หรือเงื่อนไขง่ายมากก็คือถ้าคุณสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเดือนก็สามารถเรียนหลักสูตรได้เลยทันที.

อีกสถาบันสุดท้ายที่ พอรู้จักก็คือโรงเรียนการบินกรุงเทพบริษัท บางกอกเอวิเอชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด ซึ่งทั้งหมดนี้ถ้าคุณเรียนจบมาแล้วคุณสามารถประกอบอาชีพที่เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานสนามบิน เจ้าหน้าที่ฝ่ายขนส่งสินค้าทางอากาศ/เจ้าหน้าที่แผนกคลังสินค้าทางอากาศ เจ้าหน้าที่แผนกรับรองที่นั่งบริการลูกค้า พนักงานบริการและต้อนรับบนเครื่องบินหรือเจ้าหน้าที่บริการและต้อนรับภาคพื้น และยังมีอีกหลายอาชีพที่คุณสามารถทำได้หลังจากคุณเรียนจบสถาบันต่างๆ แล้ว

การทำงานของแต่ละอาชีพในการทำธุรกิจสายการบิน

การทำงานของแต่ละอาชีพในการทำธุรกิจสายการบิน

1. พนักงานตอนรับภาคพื้น (Ground / Airport Station Attendant)

ตำแหน่งการเป็นพนักงานภาคพื้นหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าพนักงานประสานงานภาคพื้นโดยปกติแล้วหน้าที่หลักของตำแหน่งนี้คือให้ความช่วยเหลือผู้โดยสารภายในสนามบินไม่ว่าจะเป็นเรื่องการตอบคำถามของผู้โดยสารที่เขามาถามเรื่องทั่วไป หรือไม่ว่าจะเป็นการให้บริการผู้โดยสารทั้ต้องการนั่งรถเข็นและนั้นร่วมไปถึงการช่วยเหลือผู้โดยสารต่างชาติ และรับมือกับคำติชมของลูกค้า อย่างที่เราทราบกันก็คือพวกเขาจะมาช่วยให้บริการในการตรวจรับบัตรโดยสารและสัมภาระซึ่งก็คือการเช็คอินและพนักงานต้อนรับภาคพื้นดินที่อยู่ในเคาน์เตอร์รับบัตรโดยสารของแต่ละสายการบินจะเป็นคนเช็คอินให้ และในกรณีที่ผู้โดยสารต้องการรับสัมภาระ ถ้าพวกเขาไม่ได้รับกระเป๋า ของตัวเอง ก็จะต้องประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเช่นแผนกติดตามสัมภาระหรือสถานีต้นทางที่ผู้โดยสารเดินทางมา

2.พนักงานจำหน่ายตั๋วเครื่องบิน (Airline Ticket Agent)

ลักษณะของรูปงานแบบนี้เป็นประตูแรกของลูกค้าที่ผู้โดยสารต้องติดต่อก่อนที่จะได้ทำขั้นตอนต่อๆไปในการบินไปในแต่ล่ะที่ ซึ่งพนักงานจะทำงานที่เคาน์เตอร์ประจำสายการบิน ต้อนรับผู้โดยสารเมื่อถึงสนามบิน Check-in กระเป๋าของผู้โดยสาร คนที่ทำงานแผนกนี้เขาจะต้องให้คำปรึกษาทุกด้านเกี่ยวกับเรื่องที่ลูกค้าต้องการทราบ และต้องรับมือทางด้านภาษาดังนั้นต้องมีการสื่อสารด้าานภาษาหลักอย่างดีนั้นก็คือภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากล

3.พนักงานฝ่ายธุรการ (Airline Administrative Support)

ทางด้านของพนักงานฝ่ายธุรการ การทำงานในสายนี้ปกติแล้วไม่ว่าจะเป็นสายการบินไหนก็จะต้องมีพนักงานที่คอยดูแลหน้าที่เรื่องของการรับผิดชอบเพื่อทำให้สามารถทำงานได้อย่างง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในหน่วยงานนี้จะมีหน้าที่ ทั้งงานเลขา พนักงานต้อนรับ และพนักงานประชาสัมพันธ์ ฝ่ายการเงินบัญชี อะไรต่างๆทำนองนี้ พวกเขาจะได้รับการฝึกอบรมของการเป็นพนักงานว่าต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ในแต่ละแผนกก็จะต้องรู้ว่า ทำงานอย่างไรและควรมีทักษะการทำงานแบบไหนทำนองนี้

4.พนักงานอำนวยการบิน (Flight Dispatcher)

แผนกอำนวยการบิน เป็นหน้าที่ของการวางแผนความปลอดภัยของเที่ยวบิน ซึ่งนี้ก็รวมไปถึง การวางแผนงานต่างๆใน จุดพักระยะการบินหรือการควบคุมน้ำหนัก และคอยตรวจสอบสภาพอากาศทิศทางแรงลมหรือแม้กระทั่งวางแผนเส้นทางสำรองเมื่อเกิดเหตุที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นในสายทางหลัก ซึ่งในสายการนี้มีอำนาจที่จะสั่งยกเลิกเที่ยวบินได้เพราะเนื่องจากอยาก ดูแลความปลอดภัยของเที่ยวบิน

5.พนักการฝ่ายครัวการบิน (Catering)

หน้าที่ของแผนกนี้ ชัดเจนมากตามชื่อเพราะหน้าที่นี้ดูแลอาหารบนเครื่องบินให้กับผู้โดยสารและพนักงานบนเครื่องบินพวกเขายังทำหน้าที่อื่นๆด้วยในภาคพื้นดินไม่ว่าจะเป็นการเข้าครัวของสนามบินเตรียมอาหารให้กับเที่ยวบินอื่นๆและการเช็คอุปกรณ์ภาชนะต่างๆ ซึ่งสำหรับแผนกนี้ก็จะต้องจบการศึกษาทางด้านอาหารและการจัดการ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนชอบ

6.พนักงานจองตั๋วเครื่องบิน (Reservation Sales Agent)

พนักงานจองตั๋วเครื่องบินพวกเขาจะเป็นคนที่คอยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทางของผู้ที่ต้องการซื้อตั๋วเครื่องบินผ่านทางโทรศัพท์มือถือและคอยให้ข้อมูลต่างๆ ไปด้วยตัวอย่างเช่นการเลือกที่นั่งว่างภายในเครื่องบิน หรือการเช่ารถยนต์ หรือโปรแกรมตารางการบินท่องเที่ยวต่างๆ รายการซื้ออาหารบนเครื่องบินและข้อมูลอื่นๆให้กับผู้โดยสารที่ต้องการจะซื้อของเพิ่มเติมในเครื่องบินเที่ยวบินนั้นๆ

7.พนักงานซ่อมบำรุงเครื่องบิน (Aircraft Mechanics)

ตำแหน่งนี้ก็จะทำหน้าที่บำรุงซ่อมและดูสภาพของเครื่องบินและอุปกรณ์บนเครื่อง โดยเช็คให้ละเอียดว่ายังมีความปลอดภัยสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพอยู่ไหม ซึ่งพวกเขาจะดูแลในส่วนเหล่านี้และถ้ามีอุปกรณ์หรืออะไรเสียหายพวกเขาจะต้องเปลี่ยนใหม่ และสำหรับแผนกนี้พวกเขาต้องมีความแม่นยำและความระมัดระวังเป็นอย่างมากซึ่งอาศัยความละเอียดในเรื่องเล็กๆน้อยๆ ส่วนมากแผนกนี้จะซ่อมบำรุงอากาศยาน พวกเขาจะเรียนทางด้านวิศวกรการบินและการสอนที่สถาบันการบินซึ่งแน่นอนว่าต้องใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมดในการทำงาน

สรุป: อาชีพที่เกี่ยวข้องกับสายการบินดีอย่างไร?

สรุป: อาชีพที่เกี่ยวข้องกับสายการบินดีอย่างไร?

จากที่เราได้อ่านดูรายละเอียดไปแล้วดูน่าสนใจมากใช่ไหม เป็นอาชีพที่น่าลองมากๆ ยิ่งหลายคนที่เคยมีครอบครัวทำงานแบบนี้ก็จะยิ่งเข้าใจว่ามันดู เป็นงานที่มั่นคงและเป็นงานที่รู้สึกว่าสนุกกับมันอยู่ตลอดเวลาซึ่งการเป็น นักบินหรือทำงานเกี่ยวกับสายการบินก็ต้องเรียนจบจากสถาบันโดยตรงหรือโดยเฉพาะทางเพื่อที่จะมีคุณสมบัติและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการทำงานในแต่ละส่วนมีความสำคัญอย่างมาก

และหลายๆ คนอย่างที่บอกที่มีความฝันอยากเป็นนักบินหรือแอร์โฮสเตสหรือสจ๊วต มันไม่ใช่มีแค่นั้นสำหรับธุรกิจสายการบินมันมีอีกหลายอย่างมากๆ ที่คุณสามารถทำงานได้ในสนามบิน และแน่นอนว่าคนที่ทำอาชีพแบบนี้จะต้องมีคุณลักษณะนิสัยเป็นคนมีใจรักการให้บริการซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของสายการบินยิ่งถ้าคุณเป็นพนักงานต้อนรับก็เหมือนกับเป็นตัวแทนของสายการบินคุณจะต้องแสดงถึงความจริงใจตอนที่คุณคุยกับผู้เดินทางทำให้ผู้โดยสารรู้สึกพอใจและประทับใจ และคิดจะร่วมเดินทางและใช้บริการอีกครั้ง และคุณก็ต้องแต่งกาย สุภาพเรียบร้อยมีบุคลิกที่ดีและมีความพร้อม มั่นใจ และที่สำคัญความสะอาดก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้รู้สึกว่าสบายใจเมื่อใช้สายการบินนั้น และยิ่งถ้าคุณเป็นคนที่ช่างสังเกตใส่ใจลูกค้าก็จะช่วยให้ลูกค้ารู้สึกยิ้มได้และไม่เครียดจนเกินไป

มีอีกหนึ่งอย่างที่คุณต้องมีก็คือทักษะพิเศษหรือความสามารถพิเศษเช่น ว่ายน้ำเป็น และพูดภาษาได้หลายภาษาจะเพิ่มความสนใจและเป็นประโยชน์ต่อการทำงานมากขึ้นทำให้ผู้สัมภาษณ์รู้สึกประทับใจในตัวคุณตอนที่คุณไปสมัครงานนั่นเอง