สำหรับมนุษย์เงินเดือนทั้งหลายที่มีภาระหนี้สิน ไม่ว่าจะเป็นหนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรกดเงินสด หนี้สินเชื่อรถ หนี้สินเชื่อบ้าน จากการกู้ยืมสินเชื่อต่างๆ จากสถาบันการเงินนั้น สิ่งสำคัญที่ควรพึงระวังให้มาก คือ ความการมีวินัยในการชำระหนี้ให้ตรงเวลา เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการชำระหนี้ล่าช้า หรือการไม่ชำระหนี้ ซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบหลายอย่างเลยทีเดียว เราจะพาไปดูกันว่า จ่ายหนี้ล่าช้า จะเกิดอะไรขึ้น ไปดูกันเลย !

ข้อเสียของการชำระเงินสินเชื่อล่าช้า

ข้อเสียของการชำระเงินสินเชื่อล่าช้า

ในการกู้ยืมสินเชื่อจากสถาบันการเงิน สิ่งที่สำคัญที่ผู้กู้สินเชื่อพึงระวัง คือ การมีวินัยในการชำระหนี้ให้ตรงเวลา เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบการผิดนัดชำระหนี้ หรือไม่ชำระหนี้ ซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบต่อตัวเองในหลายประการ

1. ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น

การผิดนัดชำระหนี้ของสถาบันทางการเงิน ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายตามมามากกว่าปกติทั้งดอกเบี้ยที่เพิ่มมากขึ้น หรือหากเกินระยะเวลาที่กำหนด ก็จะต้องถูกปรับด้วยอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระ และค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถามหนี้ ซึ่งจะถูกเรียกเก็บอีกด้วย

2. เสียประวัติการชำระหนี้

การเสียประวัติผิดนัดชำระหนี้ หรือไม่ชำระหนี้ จะส่งผลเสียคือทำให้เราไม่สามารถขอสินเชื่อได้อีกในอนาคต เนื่องจากสถาบันการเงินจะเข้าไปปดูประวัติการชำระหนี้จากข้อมูลเครดิตบูโรซึ่งเป็นการบันทึกประวัติชำระเงินรายเดือนและจะค้างอยู่ในฐานข้อมูลเป็นระยะเวลา 3 ปี

3. ถูกดำเนินคดีฟ้องร้อง

หากมีการค้างชำระหนี้ในระยะเวลาที่ยาวนาน สถาบันการเงินจะทำการฟ้องร้องคดีแพ่งต่อลูกหนี้ เพื่อให้ชำระหนี้คืน โดยผลกระทบหนักสุดคืออาจจะถูกตัดสินให้เป็นบุคคลล้มละลาย

จ่ายเงินล่าช้ากี่ครั้งถึงจะเสียเครดิตบูโร

จ่ายเงินล่าช้ากี่ครั้งถึงจะเสียเครดิตบูโร

อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนคงสงสัยว่า มีหนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน หรือค้างชำระติดต่อกัน 3 งวด ซึ่งถ้าเจอแบบนี้โอกาสขอสินเชื่อ หรือบัตรเครดิตก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2557 ทางคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เรื่องอายุข้อมูลในการประมวลผลข้อมูล การประมวลผลข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิต และการส่งข้อมูลของสมาชิก โดยระบุว่า อายุข้อมูลในการประมวลผลของบริษัทข้อมูลเครดิต มีกำหนดไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันที่บริษัทข้อมูลเครดิตได้รับข้อมูลจากสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิก

และกรณีที่ลูกหนี้มีการผิดนัดชำระหนี้สินเชื่อ ให้สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกนำส่งข้อมูลของลูกหนี้ต่อไปเป็นเวลา 5 ปี โดยให้เริ่มนับระยะเวลา 5 ปี ในวันถัดจากวันที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ครบ 90 วัน และกรณีที่ข้อมูลของลูกหนี้อยู่ระหว่างการประมวลผลของบริษัทข้อมูลเครดิตมีอายุของข้อมูลเกินกว่า 8 ปี นับแต่วันที่ลูกค้าผิดนัดชำระหนี้เกิน 90 วัน

จะเกิดอะไรขึ้น หากติดเครดิตบูโร

จะเกิดอะไรขึ้น หากติดเครดิตบูโร

หากติดเครดิตบูโร โอกาสการขอทำบัตรเครดิตผ่านก็อาจจะยากขึ้น เพราะสถาบันการเงินจะพิจารณาจากการจ่ายชำระหนี้ของคุณด้วยเช่นกัน การขอสินเชื่อและเงินกู้อาจไม่ได้รับการอนุมัติจากธนาคาร และมีผลกระทบต่อธุรกิจของคุณหากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจหรือกำลังจะเป็นเข้าของธุรกิจใหม่ เพราะธุรกิจต่าง ๆ จำนวนมากต้องการความช่วยเหลือจากเงินกู้ธนาคารเพื่อขยายธุรกิจหรือเริ่มต้นธุรกิจใหม่เมื่อคุณมีประวัติเครดิตบูโรที่ไม่ดีทางธนาคารจะพิจารณาการขอสินเชื่อของคุณไม่ผ่านแม้ว่าแนวคิดธุรกิจของคุณจะดีมากก็ตาม นอกจากนี้ ซื้อรถหรือซื้อบ้านได้ยากธนาคารตรวจสอบเครดิตของคุณก่อนให้สินเชื่อ ด้วยเครดิตที่ไม่ดีของคุณอาจทำให้ธนาคารปฏิเสธการขอสินเชื่อของคุณ หรือหากได้รับการอนุมัติคุณอาจต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยที่สูง

วิธีแก้ไขเครดิตบูโรเมื่อชำระล่าช้าเกินกว่าที่กำหนด

วิธีแก้ไขเครดิตบูโรเมื่อชำระล่าช้าเกินกว่าที่กำหนด

เครดิตบูโรเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลง หรือลบประวัติได้ เว้นแต่ว่าข้อมูลที่ทางสถาบันการเงินนั้นส่งข้อมูลที่ได้ถูกต้องเราสามารถทำเรื่องโต้แย้งได้ แต่คนที่เคยมีประวัติ ติด ก็ยังมีทางแก้ไขและสร้างประวัติการเงินของเราใหม่ และสามารถขอสินเชื่อใหม่ได้ค่ะ ดังนั้นไม่ต้องเคียดจนเกินไปว่าชีวิตนี้ไม่สามารถขอสินเชื่อหรือทำบัตรเครดิตได้อีก ซึ่งมีวิธีการดั้งต่อไปนี้

  1. สรุปรายการหนี้ที่ยังคงค้างชำระอยู่ เช่น เป็นหนี้ให้กับสถาบันการเงินใด เป็นจำนวนเท่าไร ดอกเบี้ยเท่าไร ต้องชำระต่องวด และต้องชำระหนี้ที่เราค้างไว้ทั้งหมด
  2. ใช้หนี้ให้ตรงเวลาทุกงวด เก็บเอกสารการชำระหนี้ทุกชิ้นไว้ทั้งหมด เพราะสามารถนำสเตทเมนท์ที่ชำระตรงเวลานี้ เป็นหลักฐานไปยื่นให้เจ้าหน้าที่ดูเมื่อเวลาต้องการขอสินเชื่อตัวใหม่หลังจากที่พ้นการติดเครดิตบูโร
  3. ถ้าเราไม่ได้ขอสินเชื่อ หรือจะสมัครบัตรเครดิตก็รอให้ธนาคาร หรือสถาบันการเงิน (อดีต) เจ้าหนี้เราส่งข้อมูลอัพเดตเข้าไปที่เครดิตบูโรก็ได้ ซึ่งโดยปกติเขาก็จะส่งข้อมูลรายงานกันเป็นรายเดือน แต่ถ้าเราอยากขอสินเชื่อ หรือสมัครบัตรเครดิต กรณีแบบนี้ ข้อมูลเราอาจอัพเดตไม่ทันสถานการณ์ หรือชื่อเราอาจยังเป็นหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน (อดีต) อยู่

ทริค ทำยังไงให้ไม่ติดเครดิตบูโร

ทริค ทำยังไงให้ไม่ติดเครดิตบูโร

  1. ระมัดระวังในการสร้างหนี้ หมายถึง ก่อนจะใช้บัตรเครดิต ให้คำนึงถึงจำนวนเงินที่เราต้องชำระในแต่ละเดือนก่อน เช่น การผ่อนรถ ผ่อนบ้านเท่าไหร่ต่อเดือน แล้วใช้บัตรเครดิตควรไม่เกินกี่บาทต่อเดือนเพื่อภาระหนี้ในแต่ละเดือนจะได้ไม่สูงเกินไป

  2. ถ้าบัญชีบัตรเครดิตไหนไม่ใช้แล้วก็ปิดไปดีกว่า เพราะถ้ามีจำนวนบัตรเครดิตมาก สถาบันการเงินจะมองว่าเรามีแนวโน้มที่จะเกิดการก่อหนี้มากขึ้นและไม่สามารถชำระหนี้ตามที่กำหนดไว้ได้

  3. ชำระเงินให้ตรงเวลา การที่เราชำระเงินไม่ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ในแต่ละงวด หรือไม่ชำระเงินติดต่อกัน 6-7 งวด แสดงถึงความไม่มีความรับผิดชอบและอาจแสดงให้เห็นว่าเรามีปัญหาทางการเงินเข้าแล้ว ถ้าหากค้างชำระ 1-2 งวดยังไม่เท่าไร แต่ถ้ามากๆ เข้า แบบนี้เครดิตเสียแน่นอนและโอกาสการขอสินเชื่อก็จะเป็นศูนย์ด้วย

  4. ถ้าพบข้อมูลในใบแจ้งหนี้ที่ผิดปกติหรือคลาดเคลื่อน ให้ติดต่อสถาบันการเงินทันทีเพื่อแก้ไขข้อมูล

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ แก้เครดิตเสียยังไง ให้กลับมาดีอีกครั้ง ที่นี่

อ่านมาถึงตรงนี้ ทุกคนคงจะเห็นกันแล้วว่าการจ่ายหนี้ล่าช้า จะเกิดอะไรขึ้น ซึ่งหากเกิดติดเครดิตบูโจากการชำระหนี้ล่าช้าแล้วกว่าจะฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติได้ก็ต้องใช้เวลาหลายปีเลยทีเดียว ดังนั้น ควรวางแผนการเงินในแต่ละเดือนให้ดี หากเริ่มมีปัญหาควรรีบหาทางแก้ก่อนที่ปัญหาจะบานปลาย และส่งผลกระทบในที่สุด หากอยากได้คำปรึกษาดี ๆ สามารถพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญจาก MoneyDuck ได้ฟรี ที่ลิงก์ด้านล่าง