ฟรีแลนซ์ เป็นชื่อเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษ สำหรับ อาชีพที่อิสระ ไม่ได้ขึ้นตรงกับองค์กรใด หรือหน่วยงานไหน เราคงรู้ดีถึงการต้องจัดตารางเวลาทำงานเอง รูปแบบรายได้ก็อาจมาจากหลายที่ไม่แน่นอน แล้วแต่การตกลงกับลูกค้า หรือทำตามคำสั่งในงานของผู้ว่าจ้าง ไม่มีสวัสดิการให้อุ่นใจ แต่ชีวิตชาวฟรีแลนซ์ย่างเราที่มีกันหลากหลายสาขาอาชีพแบบนี้ ไม่ว่าใครที่เป็นไรท์เตอร์อยู่ เป็นนักแปล โปรแกรมเมอร์ ทำงานด้านการออกแบบหรือกราฟฟิคดีไซน์ นักถ่ายภาพ หรือจิตรกร

และแน่นอนเรื่องการลงทุน เราก็ไม่เป็นรองใครด้วย ไม่ต้องมัวหนักใจกับอนาคตที่จะมาถึงกันอีกแล้ว เราชาวฟรีแลนซ์สามารถมีกองทุนที่ใช่ และตอบโจทย์ชีวิตของเราได้ด้วย เพราะการเก็บออม เพื่อความมั่นคงสำหรับชีวิตในยามเกษียณนั้นจำเป็นสำหรับทุกคน และเป็นสิ่งที่ต้องวางแผนกันมากที่สุดด้วย เพราะเราคงไม่มีใครจะสุขภาพแข็งแรงและดีแบบนี้ไปตลอดกันแน่ๆ หรือเรื่องเงินสำรองยามฉุกเฉินอีกล่ะ ดังนั้น เราจะเลือกกองทุนแบบไหนดี ที่จะมาสร้างความมั่นคงได้ พร้อมเทคนิคดีๆ ไปดูกันเลย

เลือกกองทุน RMF วางแผนเกษียณลงตัว

เลือกกองทุน RMF วางแผนเกษียณลงตัว

กองทุนยอดฮิตของบรรดาเหล่าคนที่เป็นฟรีแลนซ์ ก็คือ กองทุน RMF นี่ล่ะ แถมยังช่วยเราวางแผนการเกษียณได้อย่างลงตัวง่ายๆด้วย เพราะเราไม่มีสวัสดิการจากบริษัทในรูปของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแบบพนักงานบริษัทเขามีกัน เราจึงต้องสร้างเอง ด้วยการลงทุนใน RMF แต่เราก็ต้องมีวินัยในการออม เพื่อนำเงินนั้นไปซื้อกองทุน โดยกองทุนแบบ RMF นั้นจะเป็นกองทุนแบบระยะยาว และชาวฟรีแลนซ์ที่เลือกลงทุนกับ RMF ก็จะขายหน่วยลงทุนคืนได้เมื่ออายุเราครบ 55 ปีบริบูรณ์

มีผลตอบแทนที่มากกว่าได้จริง สำหรับกองทุน RMF เพราะมีผลประโยชน์ทางภาษีให้เราจากการหักค่าลดหย่อนในปีที่เราได้ซื้อหน่วยลงทุน แล้วก็มีผลส่วนต่างของราคาหน่วยลงทุน ในวันที่ขายกับวันที่ซื้อให้เราด้วย ถือว่าชีวิตเรายิ่งลงตัวได้ง่ายขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะมาเป็นตัววัดจริงๆ ก็เกี่ยวข้องกับผลดำเนินงานของกองทุนประกอบด้วย

เราสามารถเลือกเองได้ มีตั้งแต่ความเสี่ยงแบบต่ำๆ จนไปถึงความเสี่ยงแบบสูงนั่นล่ะ เช่น กองทุนที่ลงทุนในตราสารเงิน , กองทุนที่ลงทุนในพันธบัตร , กองทุนรวมผสม ทั้งแบบหุ้นในต่างประเทศ หรือร่วมกับภาครัฐและเอกชนก็ได้ และยังมี กองทุนที่เน้นในการลงทุนในหุ้นไปเลย หรือลงทุนในหุ้นผ่านกองทุนต่างๆ เราก็สามารถเลือกได้ตามผลตอบแทนและความสามารถในการคาดการณ์ที่แตกต่างกันในแต่ละคน

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 6 กองทุนรวม RMF และ LTF ที่ให้ผลตอบแทนดี ที่นี่

เลือกกองทุน LTF ช่วยลดหย่อนภาษีไปในตัว

เลือกกองทุน LTF ช่วยลดหย่อนภาษีไปในตัว

การลงทุนแบบ LTF ก็ยัดจัดเป็นการลงทุนเพื่อระยะยาวที่ชาวฟรีแลนซ์ควรมีไว้ และจุดเด่นของตัวกองทุน LTF หลักๆก็คือ เราสามารถใช้เพื่อลดหย่อนภาษีในฐานะของผู้มีรายได้ และถึงแม้จัดเป็นกองทุนแบบระยะ ก็ยังสั้นกว่า กองทุน แบบ RMF อยู่ดี เพราะผู้ลงทุนอย่างเราสามารถทำการขายคืนหน่วยลงทุนได้หลังจากการลงทุนเป็นเวลา 7 ปีปฏิทิน

ในเรื่องลักษณะและผลตอบแทนก็อาจจะดูคล้ายๆ กองทุนแบบ RMF อยู่ ที่เราสามารถหักค่าลดหย่อยภาษีในปีที่ซื้อหน่วยลงทุน บวกกับส่วนต่างราคาที่เราจะได้จากวันที่ขายและวันที่ซื้อ ตามผลดำเนินงานของกองทุนนั้นๆ แต่อาจจะมีการเสียภาษีบ้างในเงินปันผล ถ้าเราต้องใช้เงินระหว่างปี แต่ถ้าอยากฝากยาวๆ ก็เลือกตัวอื่นที่เหมาะได้ทีหลังด้วย

เลือกกองทุนที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าฝากเงินในธนาคาร

เลือกกองทุนที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าฝากเงินในธนาคาร

เมื่อเรามีรายได้ไม่ประจำ ทำมากก็ได้มาก ทำน้อยก็ได้น้อย จึงต้องรู้จักรายได้ของเราเป็นอย่างดีด้วย อาจลองรวมๆเฉลี่ยงานที่ทำๆอยู่ สัก 6 เดือน แล้วคิดออกมาว่า เราน่าจะแบ่งเงินเพื่อการลงทุนสักเฉลี่ยเท่าไหร่ต่อเดือนดี หรืออีกทางที่ทำได้ ก็แบ่งรายได้ จากทุก 10 % ในแต่ละงานกันไว้เพื่อการลงทุนไปเลย. และเมื่อเราไม่มีสวัสดิการรองรับ มีโอกาสที่จะไม่มีงานติดๆกัน

สิ่งนี้จึงถือว่าเป็นเป้าหมายเพื่อการลงทุนของเราด้วย เพื่อการเลือกระยะเวลาการลงทุน ที่เหมาะกับเรา และสร้างผลตอบแทนได้ ด้วยการลงทุนผ่านกองทุนต่างๆ ที่มีผู้จัดการกองทุนควรจัดการให้ แล้วเลือกนโยบายแต่ละกองว่าเงินของเราจะงอยเงยได้แบบไหน เช่น

ระยะเวลา 1-3 ปี : ถือว่าเป็นแหล่งพักเงินที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าการฝากเงินในธนาคาร เพราะเมื่อเรามีความจำเป็น ก็ถอนออกมาได้ทันที มีโอกาสในการสูญเงินน้อย จึงต้องเลือกกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น กองทุนตราสารเงิน,  กองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เพื่อสภาพคล่องที่สูงขึ้้น

ระยะเวลา 3-7 ปี : ยังถือเป็นการลงทุนแบบเน้นผลตอบแทนเป็นหลัก อาจจะรับความเสี่ยงได้มากขึ้นมาหน่อย เราจึงต้องมีเงินเย็นที่ทิ้งไว้ยาวๆได้ อาจเลือกกองทุนตราสารหนี้ระยะยาว หรือกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ หรือลงทุนในสินทรัพย์เช่นทองคำก็ยังได้

-ออมเงินในหุ้น ก็ถือว่าน่าสนใจด้วยสำหรับผู้มีเงินเย็น ถึงเราจะมีรายได้ไม่สม่ำเสมอ แต่สร้างรายได้ในระยะยาวได้ อาจเริ่มด้วยการออมเงินในบัญชีออมทรัพย์ธรรมดาในแต่ละเดือนในสม่ำเสมอที่สุด พอมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นๆ ก็สามารถนำไปซื้อหุ้นในอัตราที่ปันผลดีมาตุนไว้ได้ ยิ่งเราออมเงินในหุ้นมากเท่าไหน ชีวิตปั้นปลายก็ยิ่งมั่นคงได้ไม่แพ้ใครเท่านั้นด้วย

-รูปแบบประกันชีวิตเพื่อการออม แม้เราไม่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเหมือนพนักงานประจำ แต่การทำประกันชีวิตก็ถือเป็นหลักประกันเรื่องการออมสำหรับเราได้ และถือว่ามีให้เลือกหลากหลายรูปแบบที่น่าจะมีสักตัวที่เหมาะกับความต้องการของเรา โดยถ้าอยากได้เงินก้อนเพื่อชีวิตในบั้นปลาย ก็มีประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ที่น่าสนใจ หรือถ้าต้องการความคุ้มครองยามป่วยไข้ ประกันสุขภาพก็ถือว่าตอบโจทย์ด้วย

แต่เทคนิคดีๆที่อยากแนะนำก็คือ ควรเลือกจ่ายเบี้ยประกันแบบรายปี เพราะว่าส่วนลดที่เราจะได้นั้น มากว่าจ่ายแบบรายเดือนเห็นๆ เราสามารถออมเงินในบัญชีออมทรัพย์ที่มีผลตอบแทนสูงไว้ พอถึงกำหนดชำระเบี้ย ก็ถอนออกมาจ่าย ทำอย่างนี้ถือว่าได้ทั้งประโยชน์และได้ประหยัดไปในตัวด้วยเช่นกัน

สำหรับเรื่องลงทุน การเป็นฟรีแลนซ์นั้นไม่ใช่ปัญหา เพราะอนาคตการเงินที่สดใสของเรา อาชีพไหนก็ลงทุนได้ ไม่มีข้อจำกัด เพียงแค่เรารู้จักออมเงินอย่างมีวินัยและเป็นระบบ จะช่วยให้เราคำนวนค่าใช้จ่ายได้อย่างสม่ำเสมอ ยิ่งบันทึกรายละเอียดอย่างดี ยิ่งทราบข้อมูลทางการเงินได้กันถ้วนหน้า เพื่อมีเงินสำรองและเงินเหลือ ทำให้แม้มองดูเผินๆว่า อาชีพฟรีแลนซ์อาจไม่ค่อยมั่นคง แต่จริงๆแล้ว เราสามารถสร้างความมั่นคงได้ด้วยตัวเองต่างหาก ด้วยสไตล์การลงทุนอย่างถูกวิธี เลือกหากองทุนที่ใช่และดีต่อใจ ก็รวยได้ไม่ติดขัดหรือแพ้ใครเลยล่

อย่างที่บทความนี้เรายกตัวอย่างกันมาแล้ว การมีกองทุนที่ใช่ฉบับชาวฟรีแลนซ์ ไม่ยากเลย ถือว่ามีตัวเลือกดีๆเยอะ ไม่ว่าจะเป็น กองทุนอย่าง RMF ที่ช่วยเราวางแผนการเกษียณได้อย่างลงตัวแม้ไม่มีสวัสดิการจากบริษัทในรูปของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แต่จะเป็นการลงทุนแบบระยะยาว สามารถขายหน่วยลงทุนคืนได้เมื่ออายุเราครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือจะเลือกการลงทุนแบบ LTF ที่สามารถใช้เพื่อลดหย่อนภาษีในฐานะของผู้มีรายได้ จัดเป็นกองทุนแบบระยะ ที่ขายคืนหน่วยลงทุนได้หลังจากการลงทุนเป็นเวลา 7 ปีปฏิทิน

แต่ถ้ายังไม่โดนใจ ก็ยังมีกองทุนที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าการฝากเงินในธนาคาร อีกหลากหลายที่ชาวฟรีแลนซ์คงต้องถูกใจกันบ้าง เช่น ระยะเวลา 1-3 ปี ด้วยกองทุนตราสารเงิน,  กองทุนรวมตลาดเงิน หรือกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เพื่อสภาพคล่องที่สูงขึ้้น หรือมากขึ้นมาแบบ 3-7 ปี ด้วยกองทุนตราสารหนี้ระยะยาว หรือกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ หรือลงทุนในสินทรัพย์ เช่น ทองคำ ก็ยังได้ หรือรูปแบบประกันชีวิตเพื่อการออม  อย่างประกันแบบสะสมทรัพย์หรือประกันสุขภาพก็ถือว่าตอบโจทย์ด้วย

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ลงทุนอะไรดี 5 ข้อดีของประกันชีวิต ที่นี่

สรุปสุดท้ายเราอยากเลือกการลงทุนแบบไหน ก็ถามใจดู แล้ววางเป้าหมายให้ชัด กำหนดเวลาการลงทุนไปด้วยให้ชัวร์ มีวินัยในทุกเดือน หักเงินลงทุนไว้ในทุกๆงาน เดินหน้าสร้างผลตอบแทนที่มั่นใจ เพื่อตุนไว้ในอนาคตก็ทำได้ไม่แพ้สวัสดิการของบรรดามนุษย์เงินเดือน เมื่อวางแผนมาดีแบบนี้ เราก็ไม่เหนื่อยมากกว่า และเกษียณตัวเองได้เร็วกว่าเขาเหล่านั้นด้วยนะ หากใครอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามผู้เชี่ยวชาญจาก MoneyDuck ได้ฟรี ที่ลิงก์ด้านล่าง