ทุกวันนี้ หลายครอบครัวอาจกำลังพบเจอกับปัญหาเรื่องดอกเบี้ยส่งบ้าน อยากจะปิดให้หมดไวๆ เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายส่วนอื่นบ้าง หรือเราอาจได้ยินเรื่อง ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยก็น่าจะลดลง ดังนั้น การผ่อนสินค้าต่าง ๆ เช่น บ้าน รถยนต์ เห็นอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงมากแล้วเรา ๆ ก็ต้องอยากจะได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าดอกเบี้ยที่เรากู้ยืมกันอยู่กันแน่. หรือเจ้าของกิจการมีการใช้สินเชื่อจากหลายแห่ง หนึ่งในสินเชื่อยอดฮิต ที่ใช้ง่าย สะดวก และขออนุมัติได้รวดเร็วคือสินเชื่อบัตรเครดิต บางคนอาจมีบัตรเครดิตหลายๆ ใบ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับตนเอง และการทำธุรกิจ แต่บางครั้งที่ธุรกิจส่วนตัวเกิดมีปัญหา ประสบกับปัญหาสภาพคล่องที่ตกต่ำอาจจะทำให้เจ้าของธุรกิจ SME เกิดชักหน้าไม่ถึงหลัง หรือหมุนเงินไม่ทัน และที่น่าเป็นห่วงที่สุดก็คือ ดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่สูงถึง 28% หากมีปัญหาด้านสภาพคล่องขึ้นมาจริงๆ การรีไฟแนนซ์บัตรเครดิตจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกยอดนิยมของใครหลายๆ คน รวมทั้งคนที่ทำธุรกิจที่ต้องการเงินหมุนเวียนอยู่ตลอดๆเลือกใช้. ซึ่งวิธีการลดดอกเบี้ยด้วยการ “รีไฟแนนซ์” จะมีหลักการอย่างไรบ้างนั้น ลองมาศึกษากันดูได้

refinance loan

Constantin Stanciu/shutterstock.com

#รีไฟแนนซ์คืออะไร?

#รีไฟแนนซ์คืออะไร?

รีไฟแนนซ์ (Refinance) หมายถึง การชำระเงินกู้ที่มีอยู่ในปัจจุบันทั้งหมด ด้วยเงินกู้ใหม่ และใช้สินทรัพย์ตัวเดิมเป็นหลักประกัน. โดยขอกู้เงินจากสถาบันการเงินแห่งใหม่เพื่อนำไปปลดภาระเงินกู้เก่าที่มีอยู่ หรือข้อเสนอที่ดีกว่าจากจากเงินกู้ก้อนใหม่ เช่น ดอกเบี้ยน้อยกว่าในวงเงินที่มากขึ้น จึงสามารถนำเงินที่ได้จากเงินกู้ก้อนใหม่ (ที่มีข้อเสนอที่ดีกว่า) มาเคลียร์หนี้ก้อนเก่านั่นเอง เพื่อรับผลประโยชน์ หรือสัญญาเงินกู้ฉบับใหม่ ในธนาคารหรือสถาบันการเงินเจ้าใหม. แต่เราก็ต้องวิเคราะห์ให้ดีๆ ก่อนด้วยว่าส่วนต่างค่าประหยัด หรือดอกเบี้ยที่ลดลงจากการรีไฟแนนซ์ กับค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการรีไฟแนนซ์นั้น คุ้มค่ากันหรือไม่ ตัวอย่างเช่น รีไฟแนนซ์ในกรณีที่เราผ่อนบ้าน คอนโด หรือรถไม่ไหว หมุนเงินไม่ทัน หนี้ก้อนเดิมที่มีอยู่อัตราดอกเบี้ยสูง หรือต้องจ่ายเงินงวดต่อเดือนสูง เป้าหมายของการรีไฟแนนซ์ ก็อย่างเช่น เราจะได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง ค่างวดที่ต้องจ่ายต่อเดือนลดลง หรือระยะเวลาเป็นหนี้นานขึ้น โดยอาจจะขอกู้จากสถาบันทางการเงินที่เป็นเจ้าหนี้รายเดิมหรือเป็นสถาบันการเงินเจ้าใหม่ได้.

จุดประสงค์ของการรีไฟแนนซ์

จุดประสงค์ของการรีไฟแนนซ์

เหตุผลที่รีไฟแนนซ์อาจจะมีหลายปัจจัยด้วยกัน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วการรีไฟแนนซ์เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่ลูกหนี้นิยมใช้เพื่อเป็นช่องหาในการลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลง ทั้งยังช่วยลดค่างวดที่ต้องจ่ายต่อเดือน ยืดระยะเวลาการผ่อนชำระให้นานขึ้นไปอีก รวมไปถึงได้วงเงินเพิ่มขึ้นด้วย เช่น จากเดิมที่เคยกู้เงินซื้อคอนโดในราคา 1,500,000 บาท ผ่านไป 3 ปี ราคาประเมินปรับเป็น 2,000,000 บาท แบงค์ก็จะนำราคาประเมินรอบล่าสุดมาใช้ ทำให้เราได้ส่วนต่างจากเงินก้อนใหม่มาใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ได้บ้าง. จริงๆ แล้วการ รีไฟแนนซ์ สามารถทำได้กับสินเชื่อประเภทอื่นๆ ด้วยเช่น การรีไฟแนนซ์บ้าน รีไฟแนนซ์รถ แต่การรีไฟแนนซ์บัตรเครดิตก็เป็นที่นิยมกันมากเช่นเดียวกัน และการที่ SME หรือบุคคลใดๆ ที่ต้องควบคุมค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงค่าใช้จ่ายในส่วนของดอกเบี้ย หากเกิดภาวะติดขัดในเรื่องของสภาพคล่อง อัตราดอกเบี้ยที่สูงของการใช้บัตรเครดิต (28%) จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยในการรีไฟแนนซ์ที่จะช่วยลดอัตราดอกเบี้ยจากเดิมให้ต่ำลงได้ ช่วยให้ค่างวดที่ต้องจ่ายคืนต่อเดือนต่ำลง และยืดระยะเวลาในการผ่อนชำระ รวมถึงมีโอกาสได้รับวงเงินกู้ที่มากขึ้นได้อีกด้วย ซึ่งสามารถทำได้โดยการกู้สินเชื่อบุคคลที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของหนี้บัตรเครดิตเพื่อมาปิดหนี้บัตรเครดิตที่มีอยู่.โดยทำได้กับสถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการด้านแหล่งเงินทุนได้เลยโดยตรงมาจากการเลือกจากเงื่อนไขต่างๆ ของผู้ให้บริการ ว่าตรงกับความต้องการของผู้ขอสินเชื่อหรือไม่ เช่น อัตราดอกเบี้ยของผู้ให้บริการสินเชื่อดีกว่ากันแค่ไหน ค่าธรรมเนียมในการบริการ ความยุ่งยากในการจัดเตรียมเอกสาร และความรวดเร็วในการดำเนินการของแต่ละผู้ให้บริการ และเป็นความจริงที่ว่า อัตราดอกเบี้ยของทุกธนาคารจะถูกเพียง 3 ปีแรกเท่านั้น เพราะเป็นโปรโมชั่นของสินเชื่อที่อยู่อาศัย แต่หลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยจะปรับเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ลูกหนี้หลายคนเลือกรีไฟแนนซ์กับแบงค์ใหม่ที่ให้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า. และการรีไฟแนนซ์สามารถทำได้ทุกคน ทุกเวลา ทุกสถาบันการเงิน ขึ้นอยู่กับความสามารถของลูกหนี้นั่นเอง.(หากรีไฟแนนซ์ก่อนครบกำหนด 3 ปี จะถูกปรับ 3% ของวงเงินกู้) ตัวอย่าง การผ่อนดาวน์ซื้อบ้าน หรือคอนโด ยังดำเนินการจ่ายไม่หมด แต่เกิดปัญหาฉุกเฉิน เช่น ตกงาน ไม่สามารถผ่อนได้เหมือนเดิม สามารถไปจัดไฟแนนซ์ใหม่ กับเจ้าเดิม หรือเจ้าใหม่ได้ โดยสามารถนำเงินที่ยังค้างผ่อนชำระทั้งหมดมาขยายโครงสร้างหนี้ใหม่ได้ เช่นคุณส่งบ้านทั้งหมด 5 ปี 5,000,000 บาทแต่ส่งไปแล้ว 2 ปี 2,000,000 บาทเหลือ อีก3ปี กับยอดเงินที่ยังผ่อนชำระไม่หมดอีก อีก 3,000,000 บาท ทางธนาคารก็จะรีไฟแนนซ์ 3 ปีหลังนี้ขยายให้เราส่งน้อยลงแต่ระยะ ยาวขึ้นดอกหน้าจะเพิ่มขึ้น แล้วแต่ธนาคารที่ทำการรีไฟแนนซ์.

เตรียมเอกสารสำหรับรีไฟแนนซ์ • สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน (พร้อมฉบับจริง) • บัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน • สลิปเงินเดือน • สำเนาใบเสร็จรับเงินการผ่อนชำระค่าบ้าน ย้อนหลัง 6 เดือน • โฉนดที่ดิน หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด และภาพถ่ายแสดงกรรมสิทธิ์หลักประกัน • สัญญาซื้อขาย

8ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์

8ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์

ขั้นแรก ที่อยากให้เราได้พิจารณาเป็นลำดับแรก ก็คือ ตรวจสอบกับธนาคารว่าได้ให้อัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด ในเงื่อนไขที่ดีที่สุด. ขั้นที่สอง เมื่อได้ข้อมูลอัตราดอกเบี้ยจากสถาบันทางการเงินต่าง ๆ มาแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการคำนวณ โดยเราจะต้องนำข้อมูลสินเชื่อในสัญญาเก่า เช่น การกู้ซื้อบ้านอันเก่าที่ยังคงเหลืออยู่นำมาเปรียบเทียบกับสัญญาเงินกู้ที่จะรีไฟแนนซ์ฉบับใหม่ (ค่างวดเก่า – ค่างวดใหม่) พิจารณาดูว่าเมื่อรีไฟแนนซ์แล้ว จะประหยัดค่างวดลงได้เยอะหรือไม่ จากนั้น ก็ตัดสินใจยื่นเรื่องขอรีไฟแนนซ์กับธนาคารที่เราคำนวณว่าเห็นจะคุ้มค่าที่สุด ขั้นที่สาม ติดต่อกับธนาคารเก่าเพื่อขอสเตทเมนต์สรุปยอดหนี้เงินกู้ และนำเอกสารสรุปยอดหนี้ที่ได้มาไปทำเรื่องยื่นกู้กับธนาคารใหม่ที่เราจะขอรีไฟแนนซ์ มีค่าใช้จ่ายหรือไม่ ขึ้นอยู่กับนโยบายของธนาคารนั้นๆ ขั้นที่สี่ ทำเรื่องยื่นกู้ใหม่กับธนาคารใหม่ที่เราจะขอรีไฟแนนซ์ ซึ่งขั้นตอนการรีไฟแนนซ์นั้นเหมือนกับการขอสินเชื่อใหม่เหมือนเดิมทุกประการนั่นเอง ขั้นที่ห้า รอผล อนุมัติ" หรือ "ไม่อนุมัติ" จากธนาคาร ขั้นที่หก เมื่อธนาคารอนุมัติแล้ว ที่นี้ก็ให้เราติดต่อธนาคารเก่า เพื่อนัดวันไถ่ถอนที่สำนักงานที่ดิน ซึ่งธนาคารเดิมจะสรุปยอดหนี้ให้อีกครั้ง พร้อมทั้งแจ้งชื่อผู้รับมอบอำนาจของทางธนาคารที่จะไปทำนิติกรรมที่สำนักงานที่ดิน เราต้องแจ้งยอดหนี้ เป็นเงินต้นรวมดอกเบี้ยจนถึงวันไถ่ถอนแก่ธนาคารใหม่ในส่วนของสินเชื้อบ้าน ขั้นที่เจ็ด ติดต่อนัดธนาคารใหม่ เพื่อนัดวันทำสัญญาและโอนทรัพย์ที่ใช้จำนองต้องเป็นวันเดียวกันกับที่นัดกับที่เดิมไว้ ขั้นที่แปด ทำเรื่องโอนและ ทำการจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้เรียบร้อย โดยถ้ายอดกู้สูงกว่าราคาไถ่ถอน ธนาคารใหม่จะออกเช็คให้เรา 2 ใบ ใบหนึ่งจ่ายให้กับธนาคารเก่า และอีกใบหนึ่งให้เรา เมื่อจ่ายเงินเรียบร้อยแล้ว มอบโฉนดหรือหลักทรัพย์ค้ำประกันให้กับธนาคารใหม่ที่เราเป็นหนี้ ก็ถือว่ารีไฟแนนซ์เสร็จเรียบร้อย เราก็จะเป็นหนี้กับธนาคารใหม่แล้ว แต่จะได้อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ประหยัดได้มากขึ้น.

ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์

ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์

ซึ่งเราควรนำมาพิจารณาในการขอรีไฟแนนซ์ เพื่อประเมินว่าคุ้มไหม ประกอบด้วยกัน 6 ส่วนมีดังนี้ ค่าปรับการคืนเงินกู้ก่อนกำหนดตามสัญญาที่มีอยู่ ประมาณ 2-3% ของวงเงินกู้ทั้งจำนวน โดยบางแห่งคิดจากมูลหนี้ที่เหลืออยู่ (จ่ายให้กับผู้ให้กู้เดิม หากรีไฟแนนซ์ทั้งก้อนก่อนครบกำหนด 3 ปี) ค่าจัดการสินเชื่อตามสัญญาใหม่ ประมาณ 0-1% ของวงเงินกู้ใหม่ (จ่ายให้กับผู้ให้กู้ใหม่) ค่าธรรมเนียมในการจำนอง ประมาณ 1% ของราคาประเมิน (ไม่เกิน 200,000 บาท) (จ่ายให้กับกรมที่ดิน และไม่ต้องจ่ายถ้ารีไฟแนนซ์กับที่เดิม) ค่าประเมินราคาหลักประกัน ประมาณ 2,500 บาท-0.25% ของราคาประเมิน (จ่ายให้กับผู้ให้กู้ใหม่ และอาจไม่ต้องจ่ายถ้ารีไฟแนนซ์กับที่เดิม) ค่าทำประกันอัคคีภัย ประมาณ 2,000 บาทสำหรับบ้านมูลค่า 1 ล้านบาท (จ่ายให้กับผู้ให้กู้ใหม่) ค่าอากรแสตมป์ ประมาณ 0.05% ของวงเงินกู้ใหม่ (จ่ายให้กับผู้ให้กู้ใหม่)

ข้อดีของการทำรีไฟแนนซ์

ข้อดีของการทำรีไฟแนนซ์

อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่ที่ถูกกว่า ทำให้เราผ่อนชำระได้ดอกเบี้ยถูกลงกว่าเดิม ปรับโครงสร้างสินเชื่อใหม่ ลดภาระหนี้ที่ต้องผ่อนชำระต่อเดือนลงได้ได้เงินก้อนมาใช้ใหม่ อาจกู้ที่ใหม่เพื่อมาจ่ายหนี้เดิมและเหลือเงินไว้ให้ด้วย ในบางกรณีอาจจะทำให้ได้วงเงินกู้ที่มากขึ้นกว่ายอดค้างเดิม ลดภาระหนี้ จำนวนเงินที่ต้องผ่อนต่อเดือนลดลง กรณีที่เราหมุนเงินไม่ทัน หรือประสบปัญหาในการผ่อนชำระ ได้เงินส่วนต่างจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ทำให้มีเงินเหลือใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ ที่จำเป็นได้มากขึ้น สามารถนำไปหมุนเวียนใช้จ่ายหรือหมุนเวียนในธุรกิจได้

ข้อเสียของการทำรีไฟแนนซ์

ข้อเสียของการทำรีไฟแนนซ์

ทำให้ระยะเวลาผ่อนชำระนานขึ้น เป็นหนี้ต่อไปและมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เสียค่าจัดรีไฟแนนซ์ใหม่ เสียค่าใช้จ่ายจิปาถะในการดำเนินการ เสียเวลา และอาจต้องเสียค่าปรับหากมีการไถ่ถอนก่อนกำหนด มีความยุ่งยากในการเตรียมเอกสาร เช่น เอกสารเกี่ยวกับรายได้ของผู้กู้ หากปัจจุบันผู้กู้ตกงาน ไม่มีรายได้ ไม่สามารถหาเอกสารที่ยืนยันรายได้ของตนเอง อาจทำให้ไม่สามารถทำการรีไฟแนนซ์ได้ ระยะเวลายาวขึ้นจากที่ จากเดิมต้องจ่ายอีก 3ปี อาจนานขึ้นเป็นเป็น5-6ปี • หากในการกู้คอนโดครั้งแรกคุณได้ทำประกันเอาไว้ หลังจากรีไฟแนนซ์คุณอาจจะขอคืนเงินประกันได้ แต่อาจจะได้ไม่ครบ หรือในบางสัญญาคุณอาจจะไม่ได้เลย

ดังนั้น จากที่กล่าวมาทั้งหมด การรีไฟแนนซ์ที่ถูกต้องจะต้องเป็นการกู้เงินที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตัวผู้กู้มากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนค่าใช้จ่ายรวมสุทธิทั้งหมดกับหนี้สินที่เกิดจากการกู้ยืมก่อนหน้านี้ อธิบายได้ง่าย ๆ ก็คือ เมื่อทำการรีไฟแนนซ์มาแล้วหนี้สินสามารถลดลงจากของเดิมนั่นเอง. โดยอยากแนะนำเคล็ดลับ ในการพิจารณาว่าการรีไฟแนนซ์แต่ละครั้งจะคุ้มค่าหรือไม่ ควรดูส่วนต่างที่ประหยัดได้จากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง (เปรียบเทียบจากค่างวดที่ต้องผ่อนระหว่างธนาคารเดิมและธนาคารใหม่) รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรีไฟแนนซ์และจุดคุ้มทุนของการรีไฟแนนซ์ ถ้าเราพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วคุ้มค่า ก็ดำเนินการได้ทันทีเพราะเวลาไม่รอใครจริงๆ.