เพื่อนๆเคยได้ยินคำนี้กันไหมครับ Wealth Management คำนี้แปลว่า การบริหารความมั่นคง อย่างที่รู้ๆกันว่าเรื่องการเงินเป็นเรื่องที่ไม่มีสอนอยู่ในตำราเรียน ส่วนใหญ่แล้วจะต้องเอามาจากคำสอนของผู้มีประสบการณ์หรือเผชิญปัญหาด้วยตัวเองถึงจะมีความรู้ และ เมื่อเรื่องการเงินไม่มีสอนอยู่ในตำราเรียนทำให้บางคนมองเรื่องการเงินเป็นเรื่องไกลตัว โดยเฉพาะเรื่องการบริหารความมั่นคงแล้วยิ่งแล้วใหญ่ นั้นทำให้เรามักจะเห็นกันอยู่บ่อยครั้งว่าคนหาเช้ากินค่ำในบ้านเรานั้นมีมากกว่าคนที่ใช้ชีวิตเกษียณอย่างสบาย นั้นเพราะคนเหล่านั้นไม่รู้จักกับคำว่าบริหารความมั่นคงนั้นเอง บางคนอายุ 60 กว่าปี แล้วยังต้องทำงานอยู่ทุกวันก็มีให้เห็นกันเต็มไปหมด เพราะฉะนั้น เรื่องการบริหารความมั่นคงเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวและควรเอาใจใส่ ในบทความนี้ผมเลยได้นำคำแนะนำดีๆมาฝากเพื่อนๆกันเกี่ยวกับการบริหารความมั่นคงทางด้านการเงินเพื่อที่เพื่อนๆจะได้มีฐานะที่มั่นคง และเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศกันนะครับ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยครับ ว่ามีคำแนะนำอะไรบ้าง

สำรวจตัวเองเป็นอันดับแรก

สำรวจตัวเองเป็นอันดับแรก

คำแนะนำแรก ที่จะนำมาแนะนำเพื่อนๆเกี่ยวกับการบริหารความมั่งคงทางด้านการเงิน คือ เพื่อนๆจะต้องทำการสำรวจตัวเอง สำรวจในที่นี้ให้สำรวจเกี่ยวกับการเงินของตัวเพื่อนๆนะครับ เช่น ตัวเองมีสินทรัพย์ไหม มีสินทรัพย์อยู่เท่าไร มีกระแสเงินสดเข้ามาต่อเดือนจำนวนเท่าไร สินทรัพย์ที่ครอบครองอยู่นั้นในอนาคตจะเป็นสินทรัพย์ที่เพิ่มมูลค่าให้กับตัวของมันหรือลดลงกันแน่ตามกาลเวลา รายจ่ายแต่ละเดือนนั้นพอดีกับกระแสเงินสดไหม มีมากกว่า หรือน้อยกว่า และจำนวนหนี้สินมีไหม มีเท่าไร มีมากกว่าสินทรัพย์หรือไม่ หลังจากสำรวจตัวเองเสร็จแล้วเพื่อนๆจะรู้ได้ทันทีว่าการเงินของตัวเพื่อนๆเป็นยังไง และจะสามารถแก้ปัญหาการเงินได้อย่างง่ายดาย เช่น ถ้ามีหนี้มากกว่าสินทรัพย์ก็ให้เพื่อนๆเริ่มถยอยปลดหนี้ หลังจากปลดหนี้เสร็จก็ให้เริ่มเก็บเงิน เก็บเงินได้แล้วก็นำไปซื้อสินทรัพย์ที่จะเพิ่มมูลค่าขึ้นในอนาคต เช่น ที่ดิน หรือในกรณีที่ไม่มีหนี้ แต่กระแสเงินสดที่เข้ามาต่อเดือนไม่เพียงพอกับรายจ่ายมีน้อยกว่ารายจ่าย ก็แน่นอนว่าต้องหางานทำเพิ่มหารายได้เสริม และเริ่มเก็บเงินต่อหลังจากนั้นก็แบ่งเงินเป็นการลงทุน และ เงินเก็บ แต่ถ้าในกรณีที่ไม่มีหนี้และมีกระแสเงินสดต่อเดือนมากกว่ารายจ่ายในกรณีก็ให้เพื่อนเริ่มเก็บเงินเลยและทำตามคำแนะนำต่อไปกันเลย

คำนวณเงินเก็บและวางแผน

คำนวณเงินเก็บและวางแผน

หลังจากที่เพื่อนๆทำตามคำแนะนำแรกไปแล้ว เพื่อนๆก็จะทราบถึงตัวเลข ต่างๆ และเริ่มมีเงินเก็บ หลังจากนั้นก็ให้เพื่อนๆคำนวณเงินเก็บของตัวเพื่อนๆที่ได้มาจากคำแนะนำแรกว่าเพื่อนๆสามารถเก็บเงินได้ เดือนเท่าไร หลังจากที่หักรายจ่ายทั้งหมดไปแล้ว ผมจะยกตัวอย่างเงินเก็บขั้นต่ำสุดที่ทุกคนที่เริ่มเก็บเงินควรจะเก็บให้ได้จำนวนนี้อย่างน้อยๆเลยก็เดือนละ 500 บาทจะมากกว่านี้ก็ไม่ว่ากัน แต่ถ้าตามตัวอย่างเพื่อนๆมีเงินเก็บเดือนละ 500 บาทเท่ากับปีหนึ่งเพื่อนๆจะมีเงินเก็บ 6,000 บาท และหลังจากนั้นก็ให้เพื่อนๆทำสมุดจดบันทึกขึ้น ให้จดบันทึกเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นขึ้นมาทั้งค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในปัจจุบันและในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าเทอมลูก ปัจจุบันอาจจะยังไม่มีบ้านแต่ก็ควรจะทำการจดบันทึกเอาไว้ เป็นต้น การที่ผมให้ทำสมุดจดบันทึกที่ทำเกี่ยวค่าใช้จ่ายที่จำเป็นทั้งปัจจุบันและอนาคตนั้นก็เพราะว่าถ้าเพื่อนๆหากต้องการมีความมั่นคงขึ้นในชีวิตการวางแผนถึงอนาคตเป็นสิ่งที่จำเป็นและอีกอย่างถ้าสิ่งที่เขียนในสมุดบันทึกเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในอนาคตเกิดขึ้นจริงก็จะทำให้ตัวเพื่อนๆเองสามารถรับมือกับมันได้อย่างง่ายดายนั้นเอง ไปต่อกันที่คำแนะนำสุดท้าย

เลือกการลงทุนที่เหมาะสม

เลือกการลงทุนที่เหมาะสม

หลังจากที่เพื่อนๆได้ทำตามคำแนะนำแรกและคำแนะนำที่สองไปแล้ว สิ่งที่เพื่อนๆจะได้ คือ การได้รับรู้ถึงตัวเลขต่างๆ และมีเงินเก็บ รวมไปถึง สามารถรับมือกับค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต และนั้นทำให้เพื่อนๆสามารถทำตามคำแนะนำต่อไปได้ นั้น คือ การลงทุน แน่นอนว่าเพื่อความมั่นคงในชีวิต เพื่อนๆก็คงจะต้องคิดถึงการเกษียณ ซึ่งการ เกษียณแปลว่าเพื่อนๆจะต้องหยุดทำงาน แต่ถ้าเพื่อนๆไม่มีการลงทุน ที่ให้เงินทำงานแทนแล้วนั้น เมื่อเพื่อนๆหยุดทำงานการเงินของเพื่อนก็จะสะดุดทันที เพราะฉะนั้น คำแนะนำการลงทุนจะแนะนำถึง การลงทุนที่จะทำให้เงินของเพื่อนๆได้ทำงานแทนเพื่อนๆโดยจะมีอยู่ด้วยกัน 4 การลงทุน และแต่ละการลงทุนก็มีผลตอบแทนและความเสี่ยงที่ไม่เท่ากัน

  • การลงทุนที่ 1 เป็นการลงทุนที่ไม่มีความเสี่ยงเลยความเสี่ยงเป็นศูนย์เลยก็ว่าได้ นั้นคือการลงทุนกับเงินฝากประจำโดยผลตอบแทนที่จะได้รับก็อยู่ที่ 2-3% แล้วแต่นโยบายของธนาคารที่เพื่อนๆใช้บริการ
  • การลงทุนที่ 2 ก็มีความเสี่ยงต่ำเช่นเดียวกัน นั้นคือการซื้อพันธรัฐบาล ผลตอบแทนก็จะเพิ่มขึ้นมาหน่อยคือ 3-5%
  • การลงทุนที่ 3 ความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง แต่ถ้าเลือกได้ดีความเสี่ยงก็อยู่ในระดับที่พอรับได้ นั้นคือ การนำเงินไปซื้อกองทุน ส่วนผลตอบแทนที่จะได้ก็อยู่ที่ 5-10%
  • การลงทุนที่ 4  ความเสี่ยงสูงสุด นั้นคือการนำเงินไปซื้อหุ้น และผลตอบแทนที่จะได้รับก็จะอยู่ที่ 10-15% ซึ่งไม่แนะนำสำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้และรับความเสี่ยงได้ต่ำไม่ควรอย่างยิ่ง

และหลังจากรู้ไปแล้วว่าสามารถนำเงินเก็บของเพื่อนๆไปทำอะไรถึงจะได้รับผลตอบแทนแล้วก็ลองศึกษาหาข้อมูลและเลือกการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเพื่อนๆเองและลงทุนดูนะครับ และถ้าเงินที่ลงทุนพวกนี้เติบโต ตอนนั้นและครับ เพื่อนๆจะดู้จักกับการเงินที่มั่นคง ซึ่งถ้าให้ดีผมอยากแนะนำอีกนิดหน่อยเกี่ยวกับการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ จริงอยู่ที่การลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำนั้นได้ผลตอบแทนที่ต่ำเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นวิธีการจะลงทุนประเภทนี้ให้ได้ผลสำเร็จเพื่อนๆจะต้องเป็นคนมีวินัยและทำการลงทุนอย่าสม่ำเสมอคล้ายกับการเก็บออมนั้นแหละแต่การเก็บออมการลงทุนนั้นถึงผลตอบแทนจะต่ำแต่เมื่อวันหนึ่งแล้วมันจะเติบโตได้ในที่สุด เรียกว่าเป็นการลงทุนระยะยาวนั้นเอง ส่วนสำหรับคนที่ต้องการลงทุนระยะสั้น สามารุรับความเสี่ยงได้ผมก็ไม่อยากให้เพื่อนๆไปลงทุนกับการลงทุนที่มีความเสี่ยงมากจนเกินไปนะครับ ให้หาการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนประมาณ 5 – 10% ก็พอแล้ว และเมื่อลงทุนเป็นเวลา 5-7 ปี เพื่อนจะสามารถเติบโตได้ถึง 1 เท่าเลยนะครับ ลองเอาคำแนะนำต่างไปใช้ดูนะครับ และเพื่อนๆจะมีความฐานะมั่นคงมากขึ้น ลองดูนะครับ