ความเสี่ยงเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถรับมือได้ด้วยการวางแผนทางการเงินเอาไว้เพื่อรองรับความเสี่ยงตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยเฉพาะเงินสำรองฉุกเฉิน ยิ่งเก็บได้เร็วเท่าไหร่จะยิ่งดีที่สุด! เพราะคนเรามีความเสี่ยงอยู่ตลอดเวลาทั้งในเรื่องอุบัติเหตุ สุขภาพ ความเจ็บป่วย การตกงาน ขึ้นชื่อว่า เงินฉุกเฉิน

นั่นก็หมายความว่า ต้องเป็นเงินที่เราต้องใช้ยามที่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ไม่ใช่เงินสำหรับนำไปลงทุน! นะคะ และเงินก้อนนี้ต้องมีที่เก็บที่ปลอดภัย มีสภาพคล่องสูง มีความเสี่ยงต่ำ และมีผลตอบแทนสูงและที่สำคัญ เมื่อต้องการต้องใช้ต้องนำออกมาได้ทันที

เมื่อพูดถึงเงินฉุกเฉินทุกคนรู้ดีว่าเป็นสิ่งจำเป็นมาก ๆ ที่เราต้องมี แต่หลายคนอาจจะมีคำถามในใจ ค่าใช้จ่ายในแต่ลเดือนก็เยอะอยู่นะแล้วฉันจะกันเงินเอาไว้เผื่อฉุกเฉินได้จริง ๆ หรือ? ถ้าเรามองตามความเป็นโดยฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังอยู่ในขาลงแบบนี้ด้วย การเก็บเงินฉุกเฉินดูๆ แล้วไม่น่าจะเป็นไปได้เลยใช่มั้ยคะ? เรื่องนี้เป็นไปได้ค่ะเพียงแต่คุณต้องเปลี่ยนวิธีคิดและมุมมองใหม่ ไม่มีอะไรที่คนเราจะทำไม่ได้ถ้ายังไม่เริ่มลงมือ

ก่อนอื่นเราต้องถามตัวเองก่อนว่า อาชีพของเรามีความเสี่ยงขนาดไหน? ถ้าเป็นมนุษย์เงินเดือนต้องเก็บอย่างน้อย 6 เท่าของค่าใช้จ่าย แต่ถ้าทำงานฟรีแลนซ์ซึ่งรายได้ไม่ค่อยแน่นอนมีความเสี่ยงสูงควรจะเก็บให้ได้ 12 เท่า ในความเป็นจริงถึงแม้เราอาจจะเก็บได้ไม่มากเท่าไหร่ เพียงแต่เราต้องเก็บให้ได้อย่างสม่ำเสมอก็เป็นการเริ่มต้นที่ดีแล้วหล่ะค่ะ!

ในบทความนี้ดิฉันอยากจะชวนเพื่อนๆ ที่มีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินอยู่แล้ว มาคิดถึงวิธีเก็บเงินฉุกเฉินก้อนนี้ยังไงให้สามาถเอาออกมาใช้ได้ทันที่เมื่อมีเหตุฉุกเฉิน? และจะเก็บเอาไว้ที่ไหนเพื่อให้ได้กำไร และเกิดดอกออกผลให้เราได้มากที่สุด?

วิธีที่เรานำมาฝากเพื่อน ๆ ในบทความนี้น่าจะเป็นวิธีที่สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยการฝากเงินใน บัญชีเงินฝากแบบดิจิทัล, บัญชีเงินฝากประจำแบบปลอดภาษี, และกองทุนรวมตลาดเงิน ดิฉันมั่นใจว่าถ้าเพื่อน ๆ อ่านแล้วลงมือทำตามเงินฉุกเฉินก้อนนี้มีกำไรให้คุณได้อย่างแน่นอนค่ะ!

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เงินสำรองฉุกเฉิน ที่นี่

เก็บเงินฉุกเฉิน ในบัญชีเงินฝากแบบดิจิทัล

เก็บเงินฉุกเฉิน ในบัญชีเงินฝากแบบดิจิทัล

การเก็บเงินฉุกเฉินในบัญชีเงินฝากแบบดิจิทัล หรือบัญชีเงินฝากออนไลน์ที่ไม่มีสมุดเงินฝาก ไม่มี ATM ซึ่งเราสามารถฝาก ถอนได้ตลอดเวลาผ่านทางธนาคารไหนก็ได้ที่เรามี ATM  ซี่งมีสภาพคล่องสูง ความเสี่ยงต่ำ เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ของธนาคารเงินต้นของเราจะไม่ลดมูลค่า และยังให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ธรรมดาคือจะอยู่ที่ 1.2-1.8% แล้วแต่ธนาคาร

เช่น ธนาคาร CIMB ไทย อัตราดอกเบี้ย 2 % แต่ต้องมีเงินฝากตั้งแต่ 10,000-50,000 บาทขึ้นไปนะคะ, ธนาคาร TISCO My Saving  อัตราดอกเบี้ย 2% แต่ต้องฝากตั้งแต่ 50,000-100,000 บาทขึ้นไปค่ะ, ธนาคาร TMB Dream Saving อัตราดอกเบี้ย 1.75% ของทุกช่วงจำนวนเงินฝาก, และ TMRW Saving account ธนาคารยูโอบี  อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 1.60% ของทุกช่วงจำนวนเงินฝาก,  ธนาคารกรุงไทยจะอยู่ที่ 1.5% ต่อปีค่ะ

ถ้าเพื่อน ๆ สนใจอยากจะเก็บเงินฉุกเฉินเอาไว้กับธนาคารไหนและอยากได้รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเข้าไปเช็คได้ที่ เว็บไซต์ MoneyDuck ได้นะคะ

เก็บเงินฉุกเฉิน ในบัญชีเงินฝากประจำแบบปลอดภาษี

เก็บเงินฉุกเฉิน ในบัญชีเงินฝากประจำแบบปลอดภาษี

การฝากประจำแบบปลอดภาษี คือการฝากเงินในจำนวนที่เท่า ๆ กันในแต่ละเดือน โดยที่เราจะเลือกได้เองว่าจะฝากเดือนละเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ฝากประจำแบบปลอดภาษีขั้นต่ำจะอยู่ที่ 1,000 บาท สูงสุด 25,000 บาท เราจะนำไปฝากเองทุกเดือน หรือจะให้มีการตัดผ่านบัญชีอัตโนมัติก็ได้เมื่อครบกำหนดเราก็จะได้เงินต้นคืนพร้อมกับดอกเบี้ยโดยที่เราไม่ต้องเสียภาษี  ส่วนอัตราดอกเบี้ยก็ขึ้นอยู่กับจำนวนเดือนที่เราฝากด้วย อย่างเงินฝากประจำ 24 เดือนจะอยู่ที่ 1-2.5%

สำหรับปีนี้เงินฝากประจำแบบปลอดภาษีที่ให้ดอกเบี้ยสูงที่สุดจะมี 2 ธนาคารด้วยกันค่ะ จะมีของธนาคาร CIMB ไทย บัญชีเงินฝากประจำเพิ่มค่าสบายใจ plus ยอดเงินฝากตั้งแต่ 15,000-25,000 บาทดอกเบี้ยอยู่ที่ 2.150% , และของธนาคาร ไทยเครดิต เงินฝาก 1,000-25,000 บาทดอกเบี้ยต่อปี 2.150%เท่ากันค่ะ

สำหรับที่ให้ดอกเบี้ย 1.250–1.900% ก็จะมี ธนาคาร ICBC ไทย, ธนาคาร ธ.ก.ส, ธนาคารออมสิน, ธนาคารกสิกรไทย, ไทยพาณิชย์, กรุงไทย, กรุงศรีอยุธยา, กรุงเทพ, ทิสโก้ และของยูโอบีค่ะ

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ทริคเก็บเงินให้ได้จริง ที่นี่

เก็บเงินฉุกเฉิน ในกองทุนรวมตลาดเงิน

เก็บเงินฉุกเฉิน ในกองทุนรวมตลาดเงิน

กองทุนรวมตลาดเงิน คือ กองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนในเงินฝากและตราสารที่มีกำหนดชำระเงินต้นเมื่อทวงถาม หรือมีอายุคงเหลือไม่เกิน 1 ปี เป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุดอยู่ในระดับที่ 1 จึงเหมาะมาก ๆ สำหรับการเก็บเงินฉุกเฉิน

ทางกองทุนรวมจะเอาเงินของเราไปลงทุนในเงินฝาก พันธบัตรรัฐบาล และลงทุนตราสารที่มีระยะเวลาที่สั้นที่มีอายุใกล้จะครบกำหนดซึ่งจะมีอายุ 1 ปี เพราะมีความเสี่ยงต่ำ ส่วนผลตอบแทนจะมาจากดอกเบี้ย และส่วนต่างของราคาตราสารหนี้ ซึ่งผลตอบแทนจะขึ้นอยู่กับสัดส่วนของสินทรัพย์ที่ลงทุน รวมถึงอายุของตราสารหนี้ด้วย สำหรับผลตอบแทนจะต่ำเพราะมีความเสี่ยงต่ำนั่นเอง ตอนนี้อัตราดอกเบี้ยลดลงแต่ปีก่อนๆผลตอบแทนจะมากกว่านี้ แต่ถ้าเพื่อน ๆไม่ซีเรียสมากการเก็บเงินฉุกเฉินผ่านทางกองทุนรวมตลาดเงินถือว่าปลอดภัยที่สุดและสามารถนำเงินออกมาใช้ได้ง่ายรวดเร็วถ้าเราขายกองทุนวันนี้พรุ่งนี้เราก็จะได้เงินทันที่

สำหรับผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีของกองทุนตลาดเงินจะอยู่ 1 กว่า ๆ อย่างเช่น ของ TCMF-I บลจ. UOBAM  จะอยู่ที่  1.49%, ของ T-CASH บลจ.THANACHART อยู่ที่ 1.25 %, ของ LHMM บลจ.HL FUND ผลตอบแทนอยู่ที่ 1.22%,  WE-MONEY-R บลจ. We Asset ผลตอบแทนจะอยู่ที่ 1.16% ค่ะ

เก็บเงินฉุกเฉิน มีกำไรให้ด้วยนะ

เก็บเงินฉุกเฉิน มีกำไรให้ด้วยนะ

เงินเก็บฉุกเฉินเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนจะต้องคิดถึง เพราะเหตุหารณ์ที่ไม่ได้คาดล่วงหน้ามักจะเกิดขึ้นได้ทุกเวลาโดยเฉพาะมันมักจะเกิดขึ้นตอนที่เราไม่ได้เตรียมพร้อมนี่แหล่ะ อย่างเช่นถ้าเราลืมต่อประกันรถยนต์เมื่อไหร่มันมักจะเกิดอุบัติเหตุหรือรถเสียทุกที เพื่อน ๆ เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้บ้างมั้ยคะ? เงินสำรองฉุกเฉินก็มีเอาไว้ช่วยเราในกรณีแบบนี้แหล่ะ ถึงแม้หลักการเก็บเงินฉุกเฉินจะต้องเก็บให้ได้ 6-12 ของรายจ่ายแต่ก็ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของแต่ละอาชีพด้วย

ไม่ว่าเราจะมีภาระและค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนมากขนาดไหน แต่ถ้าเรามีวินัย เก็บให้ได้เป็นประจำจากก้อนเล็ก ๆก็จะกลายเป็นก้อนใหญ่ และถ้าเราบริหารเงินก้อนหนี้อย่างดี โดยการเก็บในที่ ๆ มีสภาพคล่องจะเบิกหรือถอนเมื่อไหร่ก็ได้ มีความเสี่ยงต่ำ และให้ผลตอบแทนสูง อย่างฝากบัญชีออนไลน์ ฝากบัญชีประจำแบบปลอดภาษี และลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงิน เมื่อครบเวลาเราก็จะได้เงินก้อนคืนพร้อมกับดอกเบี้ยอีกด้วย หากใครอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามผู้เชี่ยวชาญจาก MoneyDuck ได้ฟรี ที่ลิงก์ด้านล่าง