คนทุกคนก็ต้องมีการจัดการบริหารเรื่องการเงินอย่างดี แต่โดยทั่วไปแล้ว ในการวางแผนการเงิน เราจะเห็นว่า คนในแต่ละช่วงอายุ ต้องให้ความสำคัญแตกต่างกัน เนื่องจากคนในแต่ละวัย ก็อาจจะเจอสถานการณ์ที่เข้ามาในช่วงชีวิตนั้นต่างกัน ดังนั้น วิธีการวางแผน เตรียมตัวรับมือ ก็ย่อมจะแตกต่างกันไปด้วย ตอนนี้เราต้องมาทำความเข้าใจกับคำถามที่เราต้องรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการเงินดังต่อไปนี้
วัยก่อนทำงาน (0 – 21 ปี) บริหารจัดการเงินอย่างไร?
วัย (0-21 ปี) เป็นวัยก่อนทำงาน ซึ่งวัยนี้เป็นวัยที่กำลังอยู่ในการศึกษาเล่าเรียนหนังสือ รายได้ส่วนใหญ่เป็นการพึ่งพาพ่อแม่ของตัวเองเพราะว่าวัยนี้ยังไม่มีรายได้เป็นของตัวเอง แล้วก็ไม่มีภาระหนี้สิน ค่าใช้จ่ายของคนวัยนี้จะเป้นค่าใช้จ่ายส่วนตัว เช่น ซื้อของส่วนตัว ออกไปข้างนอกกับเพื่อนสหาย ช๊อปปิ้ง ดังนั้น การวางแผนทางการงินที่สำคัญของคนในวัยนี้ก็ควรจะต้องเน้นการสร้างวินัยการออมเพื่ออนาคตที่มั่นคง เพราะหากคนวัยนี้มีวินัยการออมที่ดีแล้ว จะทำให้ในช่วงอายุต่อๆ ไป ซึ่งสามารถวางแผนทางการเงินได้ง่ายและเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ ในส่วนการวางแผนการลงทุนของคนในช่วงนี้ก็จะเน้นเป็นการฝากเงินไว้กับธนาคารทั้งในรูปแบบออมทรัพย์ หรือฝากประจำเพราะยังไม่มีเงินลงทุนมากนักนั่นเอง ดังนั้น คนในวัยนี้ก็จะต้องเริ่มคำนึงถึงอนาคตแล้วว่า เมื่ออยู่ในช่วงต่อไปควรที่จะมีเป้าหมายอย่างไรเมื่อโตขึ้นไปอีก เพราะเราจะได้ไม่ต้องมากังวลทีหลังว่า จะทำอย่างไรเมื่อเราอยู่ในวัยทำงาน ซึ่งจะทำงานหาเลี้ยงตัวเองได้อย่างไรนั่นเอง
วัยเริ่มทำงาน (อายุ 22-30 ปี) บริหารจัดการเงินอย่างไร?
วัย (22-30 ปี) คนในวัยนี้จะต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการ รู้จักตัวเอง และมีวินัยทางการเงินอย่างดีและควรที่จะให้วามสำคัญเรื่องกับเรื่องนี้เป็นอย่างดี แต่บางทีเราอาจพบปัญหาที่ว่า อยากที่จะทำงานให้ได้เงินเยอะๆ แต่ไม่รู้จะทำงานอะไร สิ่งที่เราทำให้เกิดคำถามนี้อาจเป็นเพราะในช่วงที่เราเริ่มทำงานเราเพิ่งหาเงินได้ด้วยตัวเองซึ่งมักจะหมดเงินกับการใช้จ่ายชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการกิน เที่ยว ช็อปปิ้ง การใช้เงินไปกับไลฟ์สไตล์ที่ตัวเองชอบ ซึ่งหากงานที่ทำอยู่จ่ายค่าตอบแทนที่ไม่สูงพอที่จะตอบสนองรายจ่ายตามไลฟ์สไตล์ได้ ก็อาจจะเริ่มมีความทุกข์ อยากเปลี่ยนงานเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ถ้าหากไม่รู้จักบริหารเงินที่หามาได้ให้ดี ปัญหาการเงินก็จะตามมา เช่น การมีรายได้ไม่เพียงพอรายจ่าย ใช้จ่ายเกินตัว ก็เริ่มเป็นหนี้บัตรเครดิต รีบร้อนไปซื้อสิ่งของก้อนใหญ่ราคาแพง เช่น ผ่อนรถ ผ่อนคอนโด โดยที่ฐานะการเงินตัวเองยังไม่พร้อม ก็ยิ่งทำให้มีภาระการเงินมากตั้งแต่อายุยังน้อย ที่อาจจะส่งผลกระทบระยะยาวต่ออนาคต ดังนั้นเราจะต้องรู้จักต้วเอง ว่าเราจำเป็นอะไรในชีวิต หรือความสุขที่แท้จริงคืออะไร การเป็นตัวของตัวเองจะช่วยให้เรามีความสุขกับชีวิตมากขึ้นเมื่อเราบริหารการเงินได้นั่นเอง
วัยสร้างฐานะและครอบครัว (อายุ 31-40 ปี) บริหารจัดการเงินอย่างไร?
วัยสร้างฐานะและครอบครัว (อายุ 31-40 ปี) เมื่อก้าวเข้าสู่วัยนี้ จะต้องยิ่งมาค่าใช้จ่ายมากขึ้นไปอีกแค่เฉพาะค่าใช้จ่ายของตัวเอง ก็จะเยอะมากและเราจะเริ่มรู้สึกว่า ภาระทางการเงินมันเยอะจนน่าปวดหัว ถ้าหลายๆคนที่อยู่วัยนี้ก็จะรู้อย่างดี เพราะว่า เป็นช่วงที่เราเริ่มสร้างครอบครัวนั่นเอง ค่าใช้จ่ายต่างๆจึงสูง ภาระเงินที่เราต้องผ่อนอีก เริ่มตั้งแต่สิ่งเหล่านี้คือ ค่าจัดงานแต่งงาน พอมีลูกก็ต้องมีค่าคลอดลูก ค่าเลี้ยงดูลูก ค่าเล่าเรียนลูก ประกันสุขภาพลูก พอเดินทางไปไหนมาไหนร่วมกันหลายคน ก็เริ่มต้องซื้อรถ ต้องมีเงินดาวน์รถ ผ่อนรถ จ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆจากการมีรถ พอย้ายออกมาสร้างครอบครัว ก็ต้องมีเงินดาวน์บ้าน ผ่อนบ้าน รวมถึงค่าเบี้ยประกันชีวิตที่อาจจะต้องพิจารณาทำเพื่อคุ้มครองภาระการเงินให้ครอบครัว จึงทำให้ถ้าใครวางแผนบริหารจัดสรรเงินได้ไม่มี จะกลายเป็นช่วงที่มีปัญหาการเงินได้ง่ายเลยที่เดียว รายได้ไม่พอรายจ่าย เป็นหนี้บัตรเครดิต ผ่อนเกินกำลัง เกิดขึ้นได้ง่ายๆจริงๆ
ดังนั้นคนวัยนี้จะต้องคำนึงถึงสิ่งนี้ คือ วางแผนระเบียบการเงิน ต้องรู้จักเก็บออมให้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน จะต้องเป็นผู้ใหญ่ทางด้านวามคิด และการกระทำ ต้องดูว่าอะไรที่จำเป็นสำหรับครอบครัว เพื่อจะคุมค่าใช้จ่ายอย่างเหมาะสมเราต้องทำสิ่งนี้ เพื่ออนาคตของครอบครัวที่มีเป้าหมายเอาไว้ก็จะได้เอาไว้ใช้เมื่อเรามีแผนต่างๆในอนคตนั่นเอง
วัยก่อนเกษียณ (อายุ 41-55 ปี) บริหารจัดการเงินอย่างไร?
วัยก่อนเกษียณ (อายุ 41-55 ปี) พอมาถึงวัยนี้แล้ว พอจะนึกออกไหมว่าเป็นอย่างไรเมื่อเราอายุมากขึ้น ซึ่งจะเป็นต้องเรื่องดีด้วย คือการมีความมั่นคงทางการเงินดีมากขึ้น เพราถ้าเราวางแผนการใช้เงินอย่างดี ทำให้เราในช่วงนี้มีรายได้สูงขึ้น และภาระอื่นๆจะลดลง อย่างเช่น เรื่องลูกของเรา รวมทั้งหนี้บ้านหนี้รถก็ด้วย ทำให้เป็นวัยที่ควรจะมีเงินเหลือเก็บมากกว่าวัยอื่นๆ การจัดการทางการเงินจึงเน้นไปที่ การวางแผนลงทุน รู้จักนำเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายมาบริหารจัดการ ลงทุนให้เงินเก็บงอกเงยอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อไว้เตรียมไว้ใช้ช่วงหลังเกษียณ หรือเป็นเงินทุนให้ลูกไว้ใช้เรียนในชั้นป.ตรี ป.โท ที่ต้องใช้เงินก้อนใหญ่ หรือลงทุนในทรัพย์สินที่สามารถสร้างรายได้ให้เราเพิ่มเติม เช่น อสังหาริมทรัพย์ นั่นเอง ดังนั้น สำหรับคนที่มีหนี้สิน ที่ยังคงอยู่ เช่น หนี้บ้าน หนี้รถ ก็ต้องจะวางแผนนำเงินส่วนที่เหลือบางส่วน มาจัดการกับภาระหนี้เหล่านี้ เพื่อช่วยเร่งปิดยอดหนี้ที่เหลืออยู่ ก็จะยิ่งช่วยลดภาระการเงินได้เร็วขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมตัวเคลียร์ภาระทั้งหมดก่อนเข้าสู่วัยเกษียณต่อไปนั่นเอง
วัยหลังเกษียณ (อายุ 55 ปีเป็นต้นไป) บริหารจัดการเงินอย่างไร?
วัยหลังเกษียณ (อายุ 55 ปีเป็นต้นไป) มาถึงช่วงนี้ที่เป็นส่วนสุดท้ายที่เราจะพูดถึง คือ 55 ปีเป็นต้นไปนั้น ควรจะเป็นวัยที่มีความมั่งคั่งมากที่สุด เพราะหากวางแผนมาดีแต่ต้น เมื่อเข้าสู่วัยนี้ ภาระหนี้สินและความรับผิดชอบต่างๆ ควรจะต้องลดลงไปมาก หรือหมดไปแล้ว ขณะที่ทรัพย์สินที่มีอยู่ ก็น่าจะมีมากพอจนเป็นเงินก้อนใหญ่ หลังจากที่สะสมและลงทุนมาทั้งชีวิต ในทางการเงินแล้ว วัยนี้จึงต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง การบริหารเงินหลังเกษียณ เพื่อเอาไว้กินใช้ให้เพียงพอให้นานที่สุด การลงทุนจึงเปลี่ยนจากการมุ่งเน้นการเติบโตของเงิน คาดหวังผลตอบแทนสูงๆ รับความเสี่ยงและความผันผวนสูงๆได้ ไปเป็นการลงทุนที่เน้นการรักษามูลค่าของเงิน ผลตอบแทนอาจจะขอแค่ไม่แพ้เงินเฟ้อ ไม่ต้องเสี่ยงมาก และไม่ต้องเผชิญความผันผวนของเงินลงทุนสูงๆแล้ว เพื่อให้เงินเก็บที่หามาทั้งชีวิต หมดลงช้าที่สุด
ดังนั้น ในวัยนี้ควรที่จะ ดูแลรักษากายใจให้ดี เพราะเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยเกษียณ โอกาสเจ็บป่วยก็เริ่มสูงขึ้น และเมื่อเกษียณ มีเวลาว่างมากขึ้น หากไม่มีอะไรทำ ก็อาจจะทำให้ตัวเองรู้สึกเบื่อหน่าย ไม่มีคุณค่า ยิ่งใครที่เป็นโสด หากไม่มีลูกหลานมาแวะเวียนเยี่ยมเยียน ก็อาจจะรู้สึก เหงา ว้าเหว่ ดังนั้น นอกจากต้องรู้จักบริหารเงินแล้ว ก็ต้องรู้จักบริหารสุขภาพกาย ใช้เวลาว่างที่มีขยับร่างกาย ออกกำลังบ้าง เพื่อไม่ให้สุขภาพเสื่อมถอยเร็วเกินไป รวมถึงสุขภาพใจ ที่ต้องรักษาให้แจ่มใสเสมอ โดยอาจจะหาอะไรทำ หรือออกเดินทางบ้าง เพื่อไม่ให้ชีวิตเงียบเหงาจนเกินไปนั่นเอง
ประโยชน์ของการบริหารเงินคืออะไร?
มีอยู่ 4 ประโยชน์ด้วยกันดังนี้
1.การวางแผนการเงินช่วยให้เรารับมือกับความไม่แน่นอน
ความไม่แน่นอนนั้นเกิดขึ้นได้เสมอกับคนเราทุกคน บางทีเราอาจมีชีวิตที่มันคง บางทีอาจจะมีปัญหาหนักที่ต้องรับมือ ซึ่งมันไม่แน่นอนจริงๆ วันนี้เราอาจมีสุขภาพดี แต่อนาคตปีเราอาจจะเจ็บป่วย เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้ ยิ่งเรามีการวางแผนการเงินที่ดีเท่าไหร่ภูมิคุ้มกันความเสี่ยงของเราก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ไม่ใช่เป็นเรื่องแย่ การที่เราไม่มีแผนการเงินในอนาคตก็ยิ่งมีผลเสียกว่า ดังนั้นเราต้องคิดในแง่บวกไว้ว่า ถึงแม้ชีวิตไม่แน่นอน แต่เราก็จะจัดระเบียบการเงินอย่างดีที่สุด ซึ่งจะทำให้เรามีความสุขกับชีวิตมากขึ้นและมีเป้าหมายที่ดี
2.การวางแผนการเงินช่วยให้เราบรรลุเป้าหมาย
แต่ละคนมีเป้าหมายที่แตกต่างกัน อยากมีการงานที่มั่นคง บางคนวางแผนที่จะแต่งงาน หรือบางคนอยากส่งลูกไปเรียนเมืองนอก ใช้ชีวิตแบบสบายๆ ซึ่งเป้าหมายและความต้องการเหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องใช้เงินทั้งสิ้น โดยหากเราไม่มีการวางแผนการเงินที่ดีเราอาจจะไม่ได้ในสิ่งที่เราอยากได้ หรือกว่าจะได้ก็ใช้เวลานานเหลือเกิน แต่สิ่งสำคัญคือการจัดการอย่างดี ว่าตัวเองจำเป็นอะไรมากที่สุดในชีวิต หรือความสุขที่เราตองการจริงๆคืออะไรเงิน หรือสิ่งอื่น ซึ่งเราต้องถามตัวเองกันนั่นเองค่ะ
3.การวางแผนการเงินช่วยให้เราเอาชนะเงินเฟ้อ
ทุกวันนี้ค่าครองชีพเพิ่มขึ้นทุกปี โดยทั่วไปแล้วเงินเฟ้อจะมีอัตราอยู่ที่ 3% ต่อปี โดยหากเรานำเงินเก็บออมของเราไปฝากธนาคารเราก็จะได้ดอกเบี้ยอยู่เพียงแค่ 1– 2% ต่อปี ดอกเบี้ยเงินออมของเราก็จะสู้เงินเฟ้อไม่ได้ แต่ถ้าเรามีการวางแผนการเงินที่ดี รู้จักนำเงินออมไปลงทุนให้ได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อก็จะทำให้เงินของเรางอกเงยและนำไปตอบโจทย์ความต้องการได้นั่นเอง
4.การวางแผนการเงินช่วยสร้างความมั่นคง
ให้กับชีวิตทุกวันนี้คนเรามีอายุเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้นเพราะเทคโนโลยีและความก้าวหน้าทางการแพทย์ จึงยิ่งทำให้เรายิ่งต้องคิดและกังวลมากขึ้นว่าเราจะใช้ชีวิตหลังเกษียณที่มากขึ้นอย่างไร ดังนั้นการวางแผนการเงินก็จะช่วยตอบโจทย์ในการชีวิตหลังเกษียณ โดยช่วยให้เราสามารถคำนวณและวางแผนระยะยาวเพื่อใช้ชีวิตในวัยเกษียณตามที่เราต้องการได้นั่นเอง
สรุป ดังนั้นการบริหารจัดการเรื่องเงินส่งผลกับคนในแต่ละวัยอย่างไร
ส่งผลแน่นอน และเป็นผลที่ดีด้วย การบริหารจัดการเรื่องเงินมีผลดีจริงๆ เช่น คงเหลือไว้แต่ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นเท่านั้น หาทางเพิ่มรายได้ตามกำลังที่มีอยู่ บริหารรายได้ด้วยการออมเงิน เตรียมตัวให้พร้อมในเรื่องของการเสียภาษี ตรวจสอบการส่งเงินสมทบผู้ประกันตนและนายจ้างให้ครบถ้วน เพิ่มเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเต็มอัตรา มองหาการซื้อ LTF RMF เงินออมเพื่อการเกษียณ ทำประกันชีวิต ตรวจสอบแผนการเงินอยู่เสมอ เป็นเรื่องดีที่คนแต่ละวัยควรจะคำนึงถึงเรื่องนี้ ไม่เพียงแต่จะช่วยให้ชีวิตเรียบง่ายแต่เราจะมีความสุขมากขึ้นในครอบครัว เพราะไม่ต้องมากังวัลเรื่องเงิน ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดขวางความสุขในชีวิตนั่นเอง
Krit
หนูอายุ21เริ่มทำงานแล้วค่ะ แต่ก่อนหน้านี้หนูก็มีเงินเก็บนะคะ (เงินที่ได้จากค่าขนมเล็กๆน้อยๆค่ะ) ช่วงนี้หนูพอทำงานได้ก็จะเก็บไว้ส่วนนึงอีกส่วนนึงเอาไว้ลงทุนขายของออนไลน์กับเพื่อนค่ะ อันนี้ทำแบบเป็นเป็นรายได้เสริมนะคะ รายได้หลักก็ได้จากการฝึกงานค่ะ เดี๋ยวถ้าฝึกงานผ่านแล้วบริษัทจ้างต่อก็จะได้รายได้เป็นกอบเป็นกำสักทีค่ะ
รื่นฤดี
ขอบคุณค่ะสำหรับความรู้ที่เป็นประโยชน์ ถ้าเราทำการจัดการเรื่องเงินของเราตามวัยตามที่คำแนะนำนี้พูดถึง จะช่วยให้เราสามารถมีเงินใช้จ่ายได้ตลอดชีวิตเลยค่ะ เพราะตามสูตรการคิดคำนวณที่มีการให้มา ถึงแม้ว่าดูเหมือนว่าตอนเล็กๆเราจำเป็นต้องประหยัดอดออม แต่เราจะเห็นว่าในช่วงบั้นปลายชีวิต หรือในช่วงที่เราทำการเก็บสะสมเงิน ก็สามารถมีช่วงชีวิตดีๆในการใช้เงินได้เหมือนกันค่ะ
สมชาย
ในช่วงชีวิตแต่ละวันของเราการที่เรามีเงินอดออมนั้นหรือรายรับก็ไม่เท่ากัน ดังนั้นจำเป็นต้องมีการที่เราจะวางแผนตามช่วงอายุสำหรับการเก็บออมเงินด้วย บทความนี้ทำให้ผมรู้ว่าช่วงเวลาไหนที่เราจำเป็นต้องทำการอดออมเงินและในรูปแบบไหนด้วย ดีนะครับเหมาะสมกับช่วงวัยและเวลาและกำลังที่เราตอนที่มีเงินอยู่ ทำให้รู้ว่าต้องทำอะไรและเป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินไป
Paradee
โอ้โห! จัดมาให้ดูเป็นช่วงอายุกันเลย ดีค่ะเหมาะกับแต่ละช่วงวัยดี ไม่ว่าใครเข้ามาอ่านก็หลบไม่พ้นต้องทำตามด้วยนะเพราะเขาจัดมาให้แล้ว โดนทุกช่วงอายุล่ะงานนี้ 555 ถ้าเริ่มวางแผนการใช้เงินและออมเงินตั้งแต่วัยเรียนนะมันจะดีมากเลยอะ นอกจากจะเป็นการสร้างนิสัยที่ดีแล้วยังเก็บเงินได้จริงๆด้วยนะ เพราะว่าไม่ได้มีค่าใช้จ่ายอะไรไงยังอยู่กับพ่อแม่แค่ใช้เงินเป็นก็เก็บได้แล้วค่ะ
ครชกรณ์
ทุกช่วงของวัย เงินเข้ามาเกี่ยวข้องจริงๆเลยนะครับ มันเลี่ยงไม่ได้ที่จะไม่ให้มันเข้ามาเกี่ยวข้อง เรื่องสำคัญคือเราเข้าไปเกี่ยวข้องกับมันมากแค่ไหน เพราะคนวัยเดียวกัน ความจำเป็นเรื่องเงินอาจแตกต่างกันไป เป้าหมายของการใช้เงินก็แตกต่างกันไปด้วย แต่สิ่งหนึ่งที่คล้ายกันคือ เราทุกคนต้องการที่จะมีความมั่นคงในชีวิตของเราทุกคน
เนเน่จัง
บทความนี้เหมาะกับคนหลายๆวัยดีนะคะ เราเองก็อยู่ในวัย 22 - 30 ตอนนี้อายุ 27 ค่ะ ที่บอกพฤติกรรมของคนวัยนี้มาก็ถูกหมดเลยนะ แต่เราว่าวิธีการที่แนนะมามันยังไม่ชัดเจนว่าจะให้เราทำยังไงบ้างอะค่ะ แบบยังให้ข้อมูลคร่าวๆไปหน่อย แต่ก้ถือว่าถูกต้องและเป็นความจริงนะ แต่ก็อยากได้คำแนะนำที่ชัดเจนมากกว่าจะได้ทำตามได้มากกว่านี้ค่ะ
เฟิ่งหวง
การออมเงินต้องเริ่มตั้งแต่ช่วงวัยเด็กๆเลยค่ะ ไม่ใช่มาเริ่มเก็บเอาตอนที่อายุ 20 ขึ้นไป ถ้าเพิ่งมาเก็บออมตอนอายุมากมันก็จะมีผลกับเงินตอนเกษียณของเรานะคะ เป็นไปได้ว่าถ้าใครเป็นพ่อแม่แล้ว ควรจะสอนให้ลูกรู้จักออมเงินและใช้เงินตั้งแต่วัยเด็กๆได้ยิ่งดีคะ เพราะในอนาคตเวลาที่เขาต้องการที่จะใช้เงิน...เขาจะได้มีเงินก้อนไว้ใช้ไม่ลำบาก
นุช
จริงๆนะเรารู้สึกว่า ช่วงอายุ 22 เนี่ยเป็นช่วงที่เราใช้จ่ายเยอะที่สุดในชีวิตเลยจนถึงอายุ 28 เพราะว่าช่วงนั้น ทำงานหาเงินใช้เอง อยู่คนเดียวก็ใช้ชีวิตสบายๆ แต่พออายุเข้า 30 ก็เริ่มคิดเรื่องเงินจริงจังแล้วก็รู้สึกเสียดายช่วงเวลาที่ผ่านมาเพราะที่ผ่านมาตัวเองใช้ชีวิตแบบไม่ค่อยได้วางแผนเรื่องเงิน แต่ก็ยังทันช่วง 31 ถึง 40 ปี ก็จะคิดถึงค่าใช้จ่ายให้มากขึ้นเพราะว่าภาระมันก็ต้องมี
ขันธ์ธิปก
วัยที่น่าเป็นห่วง สำหรับผม คือวัยที่กำลังอยู่ในวัยเรียนครับ คนในวัยนี้อย่างที่บอกค่าใช้จ่ายหลักมาจากครอบครัว ดังนั้นถ้าคนในวัยนี้ ไม่รู้จักการบริหารเงิน ใช้เงินมือเติบ เพราะคิดว่าหมดก็ขอใหม่ได้ ถ้าปล่อยไปแบบนี้จะติดและกลายเป็นนิสัยที่ไม่ดี ถ้าทำงานไปก็ยังจะติดนิสัยแบบนี้ อาจมีความเสี่ยงที่จะไม่ประสบความสำเร็จในเรื่องของการออมเงินได้
น้ำตาล
จัดเตรียมให้เสร็จสรรพเลยนะคะทุกช่วงอายุตั้งแต่ 0 ปีถึง 60 ปีเลย เกี่ยวกับวิธีการจัดการเงินในช่วงอายุที่สามารถหาเงินได้ ทำไมเราต้องจัดการเงินของเราทำช่วงอายุก็เพราะว่า ช่วงอายุของเรามีกำลังและความสามารถแตกต่างกัน เราจำเป็นต้องใช้กำลังและความสามารถของเราให้คุ้มค่าเพื่อที่จะได้เงินเป็นก้อน เพื่อช่วยส่งเสริมให้วัยเกษียณของเรามีเงินใช้นั่นเองค่ะ
Panya li
ดีครับบทความนี้ ช่วยให้รู้ว่าวัยของเราต้องบริหารจัดการเงินอย่างไร บางทีคนเราก็ไม่รู้ว่าต้องวางแผนทางการเงินอย่างไร จะบริหารเงินของตัวเองอย่างไร เพราะรู้สึกว่าทุกอย่างมันจำเป็นต้องซื้อ จำเป็นต้องจ่าย แล้วจะเอาเงินที่ไหนมาเก็บมาออม การเงินมันเลยรวนๆน่ะครับ ต้องบอกต่อละบทความนี้ ผมจะให้เพื่อนๆมาอ่านด้วยครับ
อดิรัตน์
กลุ่มอายุที่น่าจะมีปัญหาเรื่องการจัดการเรื่องเงิน เราคิดว่าน่าจะอยู่ ในกลุ่มของคน ที่เริ่มต้นทำงานคะ กลุ่มนี้แหละ มีความเสี่ยงที่จะใช้เงินเกินตัวแล้วก็มักจะสร้างหนี้โดยที่ไม่จำเป็นคะ หนี้ที่เราว่า ก็จะมาจากการไปทำพวกบัตรกดเงินสด หรือพวกบัตรเครดิตนั้นแหละคะ หลายคนใช้บัตรพวกนี้แบบมันมากจนลืมไปว่านี้เป็นการเอาเงินอนาคตเรามาใช้จ่าย
Chi na
น่าอ่านมากครับบทความนี้ "ในแต่ละวัยควรบริหารจัดการเงินอย่างไร" มีมาให้ดูทุกช่วงอายุเลย ไม่ว่าตอนนี้คนที่เข้ามาอ่านบทความนี้จะอายุเท่าไหร่ก็ได้รับประโยชน์ทั้งนั้น ยิ่งเป็นคนที่อายุยังน้อยอยู่ ยิ่งดีเลย มีตัวช่วยเรื่องการวางแผนการเงินด้วย วางแผนดีมีชัยไปกว่าครึ่งครับ คนที่ไม่รู้วิธีวางแผนการเงินก็จะลำบากและสับสนหน่อย