‘เกษียณ’ หมายความว่า ‘สิ้นไป, หมดไป ขีดขั้นอายุ’ เราที่เป็นมนุษย์เงินเดือนและทำงานในทุกวันนี้ต่างทราบถึงช่วงวัยเกษียณดี เพราะเป็นการออกจากภาระงานที่รับผิดชอบมาเกือบทั้งชีวิต การวางแผนชีวิตเผื่อช่วงวัยหลังเกษียณจึงนับว่าสำคัญกับเราด้วย เพราะจะทำให้ชีวิตหลังเกษียณมีความสุข มีอายุยาวนานอย่างมีคุณภาพ. แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่พอพูดถึงวัยเกษียณก็อาจจะคิดว่า ยังไกลจากตัวเรา ยังมีเวลาอีกนานกว่าจะมาถึง นั่นก็เป็นได้ แต่เราไม่ควรลืมด้วยว่าวันเวลาในแต่ละปีนั้นก็ผ่านไปอย่างรวดเร็วด้วย จริงๆ แล้วหากหันกลับมามองว่าตัวเอง ในแต่ละเดือนนับจากนี้ไปจนถึง อายุ 60 ปี จะเก็บเงินได้อีกแค่ไหน อาจจะเหลือเวลาไม่เยอะเท่าที่คิดก็ได้
ยิ่งกับเงินของมนุษย์เงินเดือนอย่างเราเทียบกับค่าครองชีพที่จะมากขึ้นตามอัตรา เงินเฟ้อในอนาคต แถมยังต้องเก็บไว้ใช้จนถึงอายุ 70-80 ปี หากเงินหมดก่อนแล้วจะทำอย่างไร
ดังนั้น สิ่งที่เราควรทำตั้งแต่ตอนนี้แน่นอนว่าคือ การเริ่มต้นการวางแผนเกษียณ เพื่อไม่ให้วันเวลาผ่านไปเรื่อยๆ จนพบว่าตัวเราเองนั้นออกตัวช้าจนสายเกินไป เราจึงควรมาดูด้วยกันถึง เทคนิคการจัดการเงินทองเพื่อเตรียมตัวก่อนวัยเกษียณให้สบายใจ ตามแบบฉบับมนุษย์เงินเดือน และคิดให้รอบทุกด้านมากขึ้นเรื่อง ค่ารักษาพยาบาล เงินบำเหน็จบำนาญ หรือสิทธิประโยชน์ด้านภาษีนั่นเอง
ค่ารักษาพยาบาล
เป็นเรื่องจริงที่ว่า ยิ่งเมื่ออายุมากขึ้นก็ยิ่งมีโอกาสที่จะต้องเสียค่ารักษาพยาบาลเพิ่มมากขึ้น ด้วยค่าดูแลสุขภาพ ไปจนถึงค่ารักษาพยาบาล จะเป็นค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่และจะยิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออายุเพิ่มขึ้น เพราะอาการของโรคเริ่มแสดงออกมาชัดเจนและหนักมากขึ้น ขณะที่ค่ารักษาก็แพงขึ้นตามไปด้วย เราจึงต้องเตรียมเงินไว้ใช้จ่ายเพื่อค่ารักษาพยาบาลไว้อย่างดีและพอเพียง โดยค่ารักษาพยาบาลหลักๆแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ:
-
ผู้ป่วยนอก เช่น เจ็บป่วยไม่รุนแรง หรือเป็นไข้หวัด โดยเงินส่วนนี้ อาจจะไม่ได้เป็นก้อนใหญ่มาก เราสามารถเตรียมไว้ซัก เดือนละ 1,000 – 5,000 ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลที่เราเลือกไว้
-
ผู้ป่วยใน เช่น โรคร้ายแรงหรือต้องผ่าตัด สำหรับเงินส่วนนี้ อาจจะต้องเป็นเงินที่ก้อนใหญ่ เพื่อใช้จ่ายจำนวนมากอาจกันไว้เผืออัตราเงินเฟ้อด้วย เช่น ต้องการมีประมาณ 1 ล้านสำหรับค่ารักษาพยาบาล ถ้าตอนนี้อายุ 40 เกษียณ 60 ก็จะเท่ากับว่า เราจะต้องเตรียมเงิน 1.8 ล้านถ้าเงินเฟ้อ 3%.
ดังนั้น มีวิธีให้เราเตรียมเงินสำหรับวัตุประสงเพื่อสุขภาพได้เพิ่มเติมอีก เช่น:
-
การทำประกันสุขภาพเผื่อไว้เลย. วิธีนี้จะทำให้เราหมดห่วง ว่าหากต้องจ่ายค่ารักษาแพงๆ ต้องเข้าโรงพยาบาล หรือป่วยบ่อย / ป่วยนาน ในส่วนนี้บริษัทประกันก็จะมาช่วยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้เรา ทำให้เราอุ่นใจและสบายใจขึ้นหากต้องรับมือกับเจ็บป่วยในอนาคต แต่ที่ต้องใส่ใจเพิ่มเมื่อผ่านเวลามาก็คือ ค่าเบี้ยประกันสุขภาพโดยเฉพาะหลัง 60 ปีขึ้นไป จะค่อนข้างแพง ประมาณ 5 หมื่นบาทขึ้นไป สำหรับแพ็กเกจต่ำสุด ของประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายค่ารักษา ยิ่งถ้าเป็นเบี้ยแบบจ่ายทิ้ง ก็ทำให้ปีไหนที่เราไม่ได้เข้าโรงพยาบาล ก็จะต้องเสียเงินจำนวนมาก จึงต้องคิดเรื่องนี้แต่เนิ่นๆล่วงหน้าก่อนเกษียณหลายสิบปี โดยการคำนวณโดยรวมค่าเบี้ยประกันสุขภาพทั้งหมดที่ต้องจ่าย หลังเกษียณ ว่าเป็นจำนวนเท่าไหร่ แล้วจึงวางแผนเก็บเงิน / ลงทุน สำหรับเงินก้อนนี้ ว่าเราทำได้แค่ไหน อะไรเหมาะกับเราที่สุด และทำได้ล่วงหน้าได้แบบไม่เดือดร้อน
-
การเตรียมเงินด้วยตัวเอง. แม้วิธีนี้ถือเป็นการยอมรับความเสี่ยงเรื่องค่ารักษาไว้กับตัวเองทั้งหมด แต่ก็ดีที่เราไม่ต้องจ่ายเงินทิ้งทุกปีๆ เพื่อเป็นค่าเบี้ยประกัน หากปีไหนไม่ได้เข้าโรงพยาบาล เงินที่เราเตรียมไว้ก็ยังอยู่ และเติบโตต่อไปได้เรื่อยๆ แต่ที่เราไม่รู้ล่วงหน้าจริงๆก็คืออนาคต เราจะเจ็บป่วยหนักขนาดไหน ,ต้องเสียค่ารักษาทั้งหมดเท่าไหร่ ดังนั้น เงินที่เตรียมไว้ ที่คิดว่าน่าจะพอ ก็อาจจะไม่พอก็ได้ จึงต้องมีการประเมินดูว่า โรงพยาบาลที่เราจะใช้บริการคือโรงพยาบาลอะไร มีค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่ ในการเจ็บป่วยแต่ละครั้ง โดยดูจาก ค่าห้อง ค่ายา ค่ารักษาพยาบาล ค่าผ่าตัด หรือค่ารักษากรณีโรคร้ายแรงต่างๆ แล้วจึงอาจจะเตรียมเงินไว้อย่างน้อยประมาณ 5-10 เท่า ของค่ารักษานั้น เพื่อความอุ่นใจ
-
มีประกันอุบัติเหตุเอาไว้อย่างหนึ่งก็ยังดี. เนื่องจากผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายและที่สำคัญ แม้อายุจะมากแล้ว ก็ยังสามารถทำได้กับบางบริษัทด้วยจนถึงอายุ 75 ปี และต่ออายุให้ถึง 99 ปี แต่อัตราค่าเบี้ยประกันอาจจะสูงขึ้นบ้าง และก็ยังมีผลิตภัณฑ์การเงินเพื่อผู้สูงอายุบางอย่างจะแถมประกันอุบัติเหตุให้ผู้ฝากด้วย เช่น เงินฝากพ่วงประกัน ถ้าเราเช็คดูก็จะวางแผนเรื่องนี้ได้นานขึ้นด้วย
นอกจากนี้ เรายังมีสวัสดิการรักษาพยาบาล หรือ “สวัสดิการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” ที่รัฐบาลจัดไว้ให้ประชาชน ที่เราเช็คดูได้อีก เช่น:
-
สวัสดิการข้าราชการ/ช้าราชการเกษียณ. สามารถรับสิทธิรักษาพยาบาลต่อเนื่อง แถมยังได้สิทธิตรวจสุขภาพประจำปีอีกด้วย
-
กองทุนประกันสังคม. แม้ว่าจุดนึงถึงเราจะไม่ได้เป็นมนุษย์เงินเดือนแล้ว แต่ยังต้องการสิทธิรักษาพยาบาลเหมือนเดิมได้ ด้วย “ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (มาตรา 39)”
-
สวัสดิการพนักงานส่วนท้องถิ่น/ข้าราชการหรือลูกจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ส่วนนี้ก็สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาล เมื่อเข้ารับการรักษาที่ รพ.รัฐ หรือ สถานพยาบาลท้องถิ่นได้
-
สวัสดิการของหน่วยงานรัฐอื่นๆ หรือ รัฐวิสาหกิจ. จะมีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล แม้ว่าเกษียณอายุไปแล้ว หรือยังให้สิทธิพนักงานที่เกษียณอายุสามารถเข้ามาใช้บริการห้องพยาบาลขององค์กรได้เช่นเดิม
-
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. อันนี้คนไทยทุกคนที่ไม่มีสิทธิรักษาพยาบาลอื่นจากรัฐบาล จะได้สิทธิรักษาพยาบาลตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ “บัตรทอง” โดยต้องไปลงทะเบียนสมัครกับหน่วยงานที่กำหนด และเลือกโรงพยาบาลรัฐ ที่อยู่ในเขตอยู่อาศัย 1 แห่ง ด้วยเช่นกัน
บำเหน็จ
เงินบำเหน็จ ก็คือ เงินที่เราจะได้รับเป็นก้อนใหญ่แต่เป็นครั้งเดียว ในหลังจากที่เกษียณอายุราชการ โดยจะมีเกณฑ์การคำนวณจำนวนเงิน คือ เอาเงินเดือนที่ได้รับเดือนสุดท้ายไปคูณกับจำนวนปีที่รับราชการ แต่สิทธิ์ที่จะได้รับเงินบำเหน็จมีหลักเกณฑ์ เช่น
ในกรณีที่มีเวลาราชการไม่ถึง 10 ปีบริบูรณ์
-
ออกจากราชการเพราะเหตุทุพพลภาพ หมายถึงการสูญเสียอวัยวะในร่างกายไป หรือร่างกายในส่วนใดส่วนหนึ่งไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ ซึ่งมีผลกับการใช้ชีวิต และการทำงานไปตลอดชีวิต เช่น ตาบอด แขนขาขาด เป็นต้น
-
ราชการให้ออกด้วยเหตุผลทดแทน
-
ออกเพราะถึงอายุเกษียณอายุ
-
ลาออกเมื่ออายุ 50 บริบูรณ์
-
ลาออกจากราชการมีอายุครบ 10 ปี แต่ไม่ถึง 25 ปีบริบูรณ์
-
บุคคลที่มีสิทธิ์ได้รับบำนาญ แต่ขอรับเป็นบำเหน็จแทน
โดยสำหรับเงินบำเหน็จก้อนนี้ จะจ่ายเงินเป็นก้อนให้แก่ผู้เกษียณงาน เมื่ออายุงานถึงช่วงวัยเกษียณแล้ว ดังนั้น วิธีที่ฉลาดสำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างเรา จึงเป็นการลงทุนผ่าน RMF/LTF และ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัท เพื่อสามารถนำเอาเงินก้อนที่ได้รับมาไปใช้ในการลงทุนต่าง ๆ และมีแนวทางได้รับรายได้เลี้ยงชีพตนเองในวัยเกษียณอีกด้วย
บำนาญ
เงินบำนาญ ก็คือ กระแสเงินสดแบบการันตีต่อปีที่จะจ่ายให้เราจนกระทั่งเราเสียชีวิต. โดยจะได้รับเมื่อถึงวัยเกษียณจากการทำงานแล้ว ในปัจจุบันอายุวัยเกษียณจะอยู่ที่ 55-60 ปี เงินบำนาญจะได้รับเงินจำนวนไม่น้อยหรือมากเกินไปเป็นรายเดือน ทำให้ผู้ที่เกษียณอายุงานแล้วยังคงมีรายได้เพื่อเอาไว้ใช้จ่ายในวัยเกษียณ แต่เราก็ควรวางแผนเพิ่มเติมด้วยหากเงินบำนาญไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย การใช้เงินบำนาญที่ได้รับมาแต่ละเดือนจึงต้องระมัดระวังและมีการวางแผนที่ดีเอาไว้อยู่เสมอ พร้อมมองหาวิธีจัดการความเสี่ยง เพิ่มเติม เช่น:
-
เราสร้างบ้าน หรือ คอนโดในเช่า สร้างหอพักหรือบ้านเช่า เพื่อเก็บค่าเช่าในแต่ละเดือนเอาไว้ใช้จ่ายได้แบบยาว ๆ เพื่อจะได้กระแสเงินสด ที่ไม่มีความผันผวนมาก ไม่หวังพึ่งผลตอบแทนจากพอร์ตการลงทุนเพียงอย่างเดียว
-
แบ่งเงินบำนาญที่ได้รับในแต่ละเดือนเอาไว้เป็นค่าใช้จ่าย และแบ่งอีกส่วนเป็นเงินเก็บเพื่อเอาไว้ใช้ในยามจำเป็น หรือเอาไว้ใช้ในยามเจ็บป่วย
-
หากเป็นผู้ที่ต้องใช้ชีวิตอยู่คนเดียวไม่มีคนคอยดูแล หรือไม่มีลูกหลานคอยดูแลในส่วนต่าง ๆ ยิ่งจำเป็นต้องมีเงินเก็บเอาไว้สำรองเสมอ
-
หารายได้เสริมที่ตนเองสามารถทำได้และต้องไม่ใช่งานที่หนักเกินไป สามารถศึกษาและทำความเข้าใจอาชีพเสริมได้ตามสถาบันต่าง ๆ หรือในโลกออนไลน์ เพื่อนำมาประกอบอาชีพในช่วงวัยเกษียณได้เองที่บ้านหรือที่พักอาศัย
-
รักษาสุขภาพของตนเองอยู่เสมอ เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล หมั่นออกกำลังกาย เลือกรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์และพักผ่อนให้เพียงพอ
-
พยายามอย่าสร้างหนี้สิน เพราะว่าด้วยอายุที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี การมีหนี้สินก็จะเพิ่มภาระในด้านการเงินให้เรามากยิ่งขึ้น จึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะสร้างหนี้ในช่วงวัยเกษียณแล้ว
-
นำมาลงทุนค้าขายเปิดร้านขายของหรือร้านอาหาร และการลงทุนอื่น ๆ ที่คิดว่าเรานั้นจะสามารถทำได้และไม่ส่งผลเสียใด ๆ ต่อร่างกาย
-
ประหยัดค่าใช้จ่ายให้ได้มากที่สุดหากไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงิน ก็ควรที่จะเก็บเงินเอาไว้เพื่อที่จะได้มีเงินสำรองใช้ไปนาน ๆ
-
เลือกท่องเที่ยวตามสถานที่ที่ไม่ต้องใช้เงินจำนวนมากก็ได้ท่องเที่ยวเช่นเดียวกัน
สิทธิประโยชน์เรื่องภาษี
เราทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ของภาษีได้เช่นกัน โดยการเลือกลงทุนเพื่อให้ได้เงินคืนภาษีมา เช่น ถ้าทุกๆ 100 บาทที่ลงทุนไปใน RMF/LTF/บำนาญ จะการันตีได้เงินคืน 20% ตามฐานรายได้ในการเสียภาษี นอกจากสิทธิประโยชน์เรื่องการออมเงินและการสร้างวินัยแล้ว กองทุนสำรองเลี้ยงชีพยังได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย โดยมีเงื่อนไข เช่น
- เงินสะสมที่สมาชิกจ่ายเข้ากองทุน สามารถนำมาหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้ โดยหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินปีละ 10,000 บาท สำหรับส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง และไม่เกิน 490,000 บาท ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมกับเงินได้ที่เสียภาษี -สำหรับเงินที่สมาชิกได้รับจากกองทุนเมื่อสิ้นสุดสมาชิกภาพ ส่วนที่เป็นเงินสะสมได้รับยกเว้นภาษี สำหรับเงินสมทบ ผลประโยชน์เงินสะสม และผลประโยชน์เงินสมทบ ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีไม่ต้องเสียภาษีเงินได้เมื่อทำงานจนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือ ตาย ทุพพลภาพ
นอกจากนี้ยังมีสวัสดิการที่ทางรัฐบาลจัดหาให้กับผู้สูงอายุด้วย และมีสิทธิลดหย่อนในเรื่องภาษีที่เราควรเช็คเอาไว้ด้วย
ได้รับการยกเว้นรายได้จากดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่มีระยะการฝากตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ซึ่งเมื่อรวมทุกบัญชีจะไม่เกิน 30,000 บาท ก็จะไม่ต้องเสียภาษี แต่ผู้ได้รับสิทธิ์ต้องมีอายุ 55 ปีขึ้นไป
ดอกเบี้ยอื่นๆ ที่มาจาก เงินปันผลจากหุ้นหรือกองทุน เราก็สามารถใช้สิทธิ์ภาษีหัก ณ ที่จ่ายได้ กรณีที่มีฐานภาษีมากกว่า 15 % โดยที่เราไม่ต้องนำไปคำนวณภาษีอีก สิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินคืนประเภทบำนาญ
สิทธิ์ยกเว้นภาษี ในการขายหุ้นตลาดหลักทรัพย์หรือขายกองทุนรวม สิทธิ์ยกเว้นภาษี จากการขายคืนหน่วยลงทุนสำหรับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
สิทธิ์ยกเว้นภาษี จากเงินบำเหน็จ , บำนาญชราภาพ จากองทุนประกันสังคม อายุเกิน 60 ปี และมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี สามารถให้ลูกหลานเอาไปลดหย่อนได้ 30,000 บาทด้วย
สิทธิ์ยกเว้นภาษีบำเหน็จดำรงชีพของข้าราชการ อายุเกิน 65 ปี หากมีรายได้อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีก็สามารถขอลดหย่อนได้ 190,000 บาทต่อปีด้วย
สรุป
เราจะเห็นว่า ทางเลือกในการเกษียณสำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างเรานั้น จริงๆก็ขึ้นอยู่กับเรานั่นแหล่ะที่จะต้องเตรียมเงินมากหรือน้อยแค่ไหนสำหรับชีวิตในอนาคต เพราะวัยเกษียณเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สามารถเตรียมพร้อมด้านการเงินและซื้อเวลาก่อนที่จะมาถึงได้ การวางแผนการเงินเพื่อเกษียณไม่ใช่เรื่องยาก หากเรารู้จักความต้องการของตัวเองดีพอ วางแผนอย่างรอบคอบ และกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายชัดเจน ไม่ขาดวินัยเรื่องการออม รวมถึงมีการการลงทุนอย่างเหมาะสม ร่วมด้วยกับการประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ไม่ให้กลายเป็นคนมือเติบใช้เงินเกินตัว และทบทวนอยู่เสมอ โดยอาจจะวางเป้าหมายชีวิตวัยเกษียณอย่างคร่าว ๆ ไว้ตั้งแต่ตอนที่เริ่มทำงานใหม่ ๆ เพื่อที่จะได้มีเป้าหมายในการวางแผนชีวิต ให้เป็นไปตามเป้าหมายของเราโดยอาจจะปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาบ้าง ซึ่งเป้าหมายการเกษียณของแต่ละคนก็อาจจะไม่เท่ากัน อย่างบางคนอาจจะตั้งเป้าเกษียณอายุไว้ เมื่อมีอายุ 45 ปี 50 ปี 55 ปี หรือ 60 ปี อันนี้ก็แล้วแต่การวางแผนเอาไว้ ยิ่งเมื่อมีการวางแผนชีวิตที่ดีในทุกๆด้านแล้วล่ะก็ ย่อมเชื่อได้เลยว่า เราจะไม่เป็นภาระของใคร และสามารถประสบความสำเร็จด้านการเงินได้อย่างแน่นอน
Loesan
เรากำลังจะวางแผนเกษียณให้พ่ออยู่เลย แต่ยังไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน แต่พอหาข้อมูลและศึกษาเพิ่มเติมก็พอจะรู้แนวทางแล้วว่าเรื่องไหนบ้างที่ต้องจัดการให้อยู่ในแผน พอวางแผนให้พ่อแล้วคงมีความรู้ที่จะวางอผนให้ตัวเองด้วยเหมือนกันนะคะ บทความนี้ก็ดีช่วยเราได้เยอะเลย เดี๋ยวจะหาบทความเกี่ยวกับการเกษียณในเว็บไซด์นี้อ่านเพิ่มอีก ขอบคุณค่ะ
Albertha
เป็นคำแนะนำที่ใช้ได้สำหรับการเตรียมตัวในการเกษียณนะคะ ไม่เคยคิดมาก่อนเลยค่ะว่าการเตรียมตัวเกษียณเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับอนาคต เพราะว่าวัยเกษียณเป็นวัยนึงที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถเตรียมตัวเพื่อที่จะรับมือกับช่วงเวลาที่ จำเป็นต้องดูแลสุขภาพของตัวเองได้ โดยที่เราต้องมีการวางแผนตั้งแต่ตอนนี้เลยค่ะ
น้ำหนึ่ง
มนุษย์เงินเดือน มีหนทางมากมายที่จะช่วยให้เก็บเงินเพราะว่ามีเงินเดือนประจำอยู่แล้ว แต่การเก็บเงินที่คิดถึงวัยเกษียณก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องคิดเหมือนกันนะคะ บางคนพยายามหมายพึ่งกองทุนรวม เพราะช่วยให้มีเงินก้อนโตและใช้ลดหย่อนภาษีได้ บทความนี้ทำให้มีความเข้าใจมากขึ้นสำหรับมนุษย์เงินเดือน เกี่ยวกับวิธีการเก็บเงินสู่วัยเกษียณที่ดีค่ะ
Rattanatad
ไม่อยากคิดก็ต้องคิดแล้วล่ะครับ ณ ตอนนี้ ว่าชีวิตหลังเกษียณของเราจะเป็นอย่างไร..ไม่ใช่สิ คิดว่าเราอยากให้ชีวิตหลังเกษียณของเราเป็นอย่างไรต่างหาก ขึ้นอยู่กับการเตรียมตัวและการวางแผนที่ดีต่างๆตั้งแต่ตอนนี้เลยครับ ถ้าผมไม่เริ่มทำอะไรเลยสักอย่าง ชีวิตหลังเกษียณของผมคงจำลำบากน่าดู เราต้องพยายามด้วยตัวเองก่อนถูกมั้ยครับ
ถนอมจิตร
การวางแผนเรื่องแบบนี้ คนที่ทำงานประจำเท่านั้นแหละที่สามารถทำได้ อย่างเรื่อง บำเหน็จแล้วก็บำนาญ ใช่ว่าทุกคนจะมีกัน อย่างคนที่ทำไร่ทำนา ไม่มีแน่นอน จะให้เขามาวางแผนเรื่องแบบนี้คงไม่ได้จริงๆ เราเลยเห็นว่า ชาวบ้านที่ทำอาชีพของตัวเอง พอแก่ตัวไป เขามักไม่มีเงินเลย อันนี้ละคะเป็นปัญหาของบ้านเรา ที่ต้องได้รับการช่วยเหลือโดยด่วน
Garden
อ่านคอมเม้นท์แล้วก็เห็นว่าคนเรามักเริ่มวางแผนจากตัวเงินนะครับ แต่ผมเห็นต่างผมว่าผมจะเริ่มวางแผนจากความต้องการของเราก่อนว่าตอนแก่เราอยากจะมีชีวิตแบบไหน ชีวิตแบบไหนที่ทำให้เรามีความสุข อย่างเช่น คิดว่าจะอยู่ที่ไหน ทำอะไร กับใคร พอคิดแบบนี้แล้วค่อยมาคำนวณครับว่าต้องมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร๋ถ้าอยากมีชีวิตแบบนั้น ไม่ใช่เก็บเงินไว้ก่อนแบบไม่มีเป้าหมาย
ใบพลู
ถ้าคนที่ไม่มีเงินบำเหน็จบำนาญแนะนำให้ทำประกันชีวิตไว้ตั้งแต่เนิ่นๆเลยคะเพราะในช่วงเกษียณเราก็จะได้มีเงินใช้พอดี หรือถ้าเป็นไปได้ถ้าคุณทำงานประจำอยู่ คุณควรที่จะแบ่งเงินไปลงทุนด้วยก็ดีนะคะ เช่นซื้อสลากออมสิน หรือพันธบัตรรัฐบาล หรือลงทุนทำธุรกิจอะไรบางอย่างเพื่อที่จะรองรับเวลาที่เราเกษียณ เพราะอย่างน้อยลาออกมาก็ยังมีงานทำอยู่ ทำให้เรามีเงินหมุนเวียนได้อีกทางค่ะ
ปลา
เราเองก็เริ่มคิดถึงชีวิตหลังเกษียณอายุเหมือนกันค่ะ ตอนนี้อาจจะคิดว่ามันเป็นเรื่องไกล แต่ถ้าไม่วางแผนเลยเนี่ยเรารู้สึกว่าเราจะไม่มีเงินเก็บตอนที่อายุมากกว่านี้ กำลังหาข้อมูลวิธีเก็บเงินอยู่ แต่ว่าเราไม่ได้เป็นข้าราชการคงจะไม่ได้เงินบำเหน็จบำนาญ แต่จากที่อ่านหลายๆที่มารู้สึกว่าการวางแผนทางการเงินด้วยการลงทุนอะไรแบบนี้ก็น่าสนใจดีเหมือนกัน
โมริน
เรื่อค่ารักษาพยาบาลเราไม่ค่อยกังวลเท่าไรมากหลอกคะ เพราะเราทำประกันสุขภาพทุกๆปีอยู่แล้ว รักษาได้เลยไม่ต้องคิดอะไร แต่ที่เราหนักใจก็คือ เราทำงานอิสระคะ จะให้มีเงิน บำเน็จบำนาญแบบคนที่รับราชการคงไม่ได้คะ เลยหนักใจจริงๆคะ ว่าจะวางแผนยังไงกับช่วงอายุที่มากขึ้น จะเอาเงินที่มีไปลงทุน ก็ยังกล้าๆกลัวอยู่เลยคะ
สมชาย
สำหรับช่วงวัยเกษียณก็เป็นอีกเรื่องนึงที่เราจำเป็นต้องคิดถึงใครที่เป็นมนุษย์เงินเดือน คงจะหาช่องทางดูวิธีที่จะได้รับเงินก้อนใหญ่วัยเกษียณก็เลี้ยงดูตัวเองในตอนแก่เฒ่าใช่ไหมครับ จริงๆก็มีหลายช่องทางที่เราจะเลือกได้อย่างที่บทความนี้ได้แนะนำ ช่องทางหนึ่งที่เป็นการลงทุนก็คือการมีลูกนั้นแหละครับเมื่อเราอายุมากขึ้นลูกก็จะเลี้ยงดูเราเป็นการลงทุนอย่างหนึ่งครับ
วิรัช
เรื่องหนึ่งที่ เราเห็นว่าต้อง สนใจเลยคือ เรื่องของการรักษาพยาบาลครับ เงินค่อนข้างที่จะใช้มากเลยครับ ถ้าเราอายุมากแล้วต้องมาเจ็บป่วยด้วย เหมือนที่เพื่อนๆบางคนบอกครับ ซื้อประกันชีวิต คู่กับ ประกันสุขภาพเอาไว้ ทำแบบนี้ก็น่าจะพอช่วยได้นะครับ อย่างน้อยการคุ้มครองค่ารักษาของประกันสุขภาพที่เราทำ ก็ช่วยเราได้ระดับหนึ่งครับ