งานวันเด็กของประเทศไทย ถูกจัดขึ้นทุกปี ในวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคม เพื่อนๆที่มีบุตรหลานคงจะรู้จักงานวันเด็กกันเป็นอย่างดี และเมื่อพาเด็กๆไปเที่ยวตามงานวันเด็ก เพื่อนๆคงจะต้องเคยได้ยินเพลง เด็กเอ๋ยเด็กดี ที่เปิดตามงานวันเด็กอยู่เป็นประจำกันใช่ไหมครับ โดยในเนื้อหาของเพลงเพลงนี้ จะบอกถึง 10 ข้อปฏิบัติที่เด็กควรจะทำถ้าหากต้องการเป็นเด็กดี ซึ่งใน 10 ข้อนั้น มี หนึ่งข้อที่ผู้ถึงเรื่องเงินด้วย เพื่อนๆลองไปหาฟังกันดูนะครับ ข้อนั้น คือ ข้อที่ 8  ร้องว่า ข้อ 8 รู้จักออมประหยัด เพื่อนๆเห็นไหมว่า แม้แต่เนื้อเพลงของเด็กก็มีเรื่องการเงินเข้ามาสอดแทรกให้กับเด็ก แปลว่าเรื่องเงินเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆกับทุกเพศทุกวัย

และในบทความนี้ ก็พอดีเลยกับ คุณพ่อคุณแม่ หรือจะเป็นคุณป้าคุณลุง หรือใครก็ตามที่มีเด็กๆต้องดูแล จะเป็นลูกเป็นหลานก็ได้ เพราะ ในบทความนี้ ผมจะบอกถึง 3 ไอเดีย ดีๆ ที่จะช่วยให้เพื่อนๆใช้สอดแทรกสอนให้กับเด็กๆได้ถึงวิธีการใช้เงินและบริหารจัดการทำให้เด็กๆเหล่านั้นโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพได้ ซึ่งการที่ผมบอกว่าแนะนำไอเดียเหล่านี้ให้ไปเป็นการสอดแทรกนั้นก็เพราะการที่จะจับเด็กๆมานั่งสอนแบบตรงไปตรงมาถึงวินัยการใช้เงินคงจะเป็นเรื่องยากและแน่นอนว่าไม่เข้าถึงเด็กๆแน่ๆ ถ้าเพื่อนๆเห็นด้วยกับสิ่งที่ผมพูดแล้ว ลองไปดูกันครับว่ามีไอเดียอะไรบ้าง

มีเป้าหมายการออม และ สอนว่าเรื่องเงินไม่ใช่เรื่องของผู้ใหญ่

มีเป้าหมายการออม และ สอนว่าเรื่องเงินไม่ใช่เรื่องของผู้ใหญ่

ไอเดียแรก จะเป็นไอเดีย เกี่ยวกับการสอนให้เด็กรู้สึกอยากที่จะออมเงินรู้สึกสนุกไปกับการออม แน่นอนว่าถ้าเพื่อนๆสามารถทำให้การออมของเด็กๆสนุกทำให้พวกเขารู้สึกสนุกไปกับการออม พวกเขาจะต้องอยากที่จะออมเงินแน่นอน ซึ่งหลักการของการออมเงิน คือ การสะสมเงินเล็กๆน้อยๆให้มันกลายเป็นเงินก้อนใหญ่ขึ้นมา ซึ่งหลักการมันก็ดูที่จะน่าเบื่อใช่ไหมครับ วิธีการที่จะทำให้มันสนุกขึ้นมาได้สำหรับเด็กๆก็มีวิธีดังนี้เป็นไอเดียง่ายๆ เช่น เปลี่ยนกระปุกออมสินของเด็กๆให้มีลักษณะที่สามารถมองเห็นข้างในได้ และเมื่อเด็กๆสามารถมองเห็นเงินที่อยู่ข้างในเล็กๆน้อยๆที่เขาเก็บเริ่มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆมันก็จะเป็นการเพิ่มความรู้สึกและกระตุ้นให้พวกเขารู้สึกอยากจะทำให้มันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

และสอนตั้งเป้าหมายให้กับพวกเขา เช่น เป็นเป้าหมายง่ายๆเล็กๆก่อน อย่างพวกของเล่น ที่เขาอยากได้ และเมื่อเขาทำสำเร็จ ก็ค่อยตั้งเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และสอนให้เขาตั้งเป้าหมายไปเรื่อยๆจนพอเขาโตเป็นผู้ใหญ่เขาก็จะต้องทำมันเป็นนิสัยอย่างแน่นอน หลังจากที่ใช่ไอเดียเรื่องการออมสำเร็จไปแล้วต่อมา ก็สอนให้เขาเข้าใจเรื่องเงินว่ามันไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของผู้ใหญ่เท่านั้น มันเป็นเรื่องของเด็กด้วยเหมือนกันด้วยการที่ให้เขาเริ่มตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องเงิน

ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่เขาต้องการซื้อของสองสิ่ง แต่ถ้าเมื่อซื้อของสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปแล้วอีกสิ่งหนึ่งก็จะมีเงินไม่พอในการซื้อ เป็นการให้เขาเริ่มตัดสินใจถึงสิ่งที่จำเป็นและเขาต้องการมันจริงๆเป็นการตัดสินใจให้ใช้เงินให้เป็นประโยชน์ และให้เขาลองอธิบายเหตุผลที่เขาเลือกแทนที่จะเลือกอีกอย่างดู โดยที่เราคอยฟังและให้คำแนะนำเกี่ยวกับเหตุผลของเขา แต่ที่สำคัญที่สุดในเรื่องของการสอนให้เขาตัดสินใจนั้นก็คือ ห้ามไปตัดสินการตัดสินใจของเขาเด็ดขาด แม้ว่าเราจะรู้อยู่เต็มอกว่าการตัดสินใจของเขาไปเรื่องที่ผิด

ตัวอย่าง ถ้าสิ่งของสองสิ่งที่เขาอยากจะได้เป็นของวีดีโอเกม กับ รองเท้าฟุตบอล และเมื่อเราบอกเขาว่าสามารถซื้อได้แค่อย่างเดียวให้เขาเป็นคนเลือก ถ้าเขาเกิดเลือกไปที่วีดีโอเกม เราไม่ควรจะตำหนิหรือบอกเขาว่าไม่ได้ ลูกจะต้องซื้อรองเท้าฟุตบอลเพราะมันมีประโยชน์กว่า แต่ให้ถามถึงเหตุผล และให้คำแนะนำถึงผลลัพธ์กับสิ่งที่เขาเลือก และ ลองให้เขาเลือกอีกที แต่ถ้าเขายังเลือกไปที่วีดีโอเกมอีก ก็จะต้องทำตามที่เขาตัดสินใจ และให้เขาเผชิญกับผลลัพธ์ที่เขาเลือกจริงๆดูเพราะถ้าเมื่อไรที่เขารู้ว่าเขาเลือกผิดเขาก็จะจำมันได้ขึ้นใจ สำหรับเด็กบางคน ก็ชอบเป็นเหมือนคำสุภาษิต ที่ว่า ไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งน้ำตา คือ ให้ได้ลองก่อน ซึ่งการให้เขาทำในสิ่งที่ผิดไปก่อนในวัยเด็กนั้นไม่ได้เป็นเรื่องเสียหายอะไรมากเท่าไรเพราะมันก็ยังอยู่ในความดูแลของเราผู้ปกครอง และ เมื่อเขาโตเป็นผู้ใหญ่สิ่งที่เขาตัดสินใจผิดในตอนเด็กแน่นอนว่าตอนโตเขาจะทำมันให้ถูกต้องแน่นอน

สอนว่าการได้สิ่งของต้องเสียเงิน และให้เงินเด็กเมื่อทำงาน

สอนว่าการได้สิ่งของต้องเสียเงิน และให้เงินเด็กเมื่อทำงาน

ไอเดียต่อมาหลังจากที่สอนให้เด็กๆรู้จักการออมและตัดสินใจไปแล้ว ก็มาต่อกันที่ไอเดียที่สอง คือ ไอเดียการสอนให้เด็กรู้ว่า การจะมีเงินเพื่อใช้ซื้อของสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เหตุผลที่ต้องสอนเด็กในเรื่องนี้นั้นก็เพราะว่า เด็กเมื่อเกิดมา เด็กจะเป็นวัยที่เป็นผู้รับมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ ที่พ่อแม่ซื้อให้ คุณลุง คุณป้า น้า คุณตา คุณยาย ซื้อให้ เด็กมีหน้าที่แค่รับของพวกนั้นเพียงอย่างเดียว ซึ่งในความเป็นจริงนั้น สิ่งของเลหล่านั้นต้องมีสิ่งที่ต้องเสียไปเพื่อแลกมานั้นคือเงินของพ่อแม่ คุณลุง คุณป้า น้า คุณตา คุณยาย แต่เด็กที่รับของเขาไม่รับรู้เลย ซึ่งไอเดียที่จะนำไปใช้กับเรื่องนี้ ก็ง่ายๆ ขั้นแรก เวลาไปซื้อของไม่ว่าจะเป็นของกิน ของเล่น หรืออะไรก็ตามที่เป็นของเด็ก ก็ลองให้เงินกับเขาให้เขาไปคนยื่นให้พนักงานเอง เป็นการทำให้เขารับรู้ว่าเขาจะต้องจ่ายเงินเพื่อจะได้สิ่งของเหล่านี้มา ทุกครั้ง

และเริ่มขั้นตอนต่อมา คือ การเพิ่มระดับ หลังจากที่จะยื่นเงินให้เขาง่ายๆในการซื้อของ จะต้องสอนให้เขาอดทนรอ โดยการเอาเวลาที่เขาอดทนรอที่จะซื้อของเป็นการแลกกับจำนวนเงิน เช่น ถ้าเขาอยากได้รถบังคับ ราคา 300 บาท ก็บอกเขาว่าได้แต่มีข้อกฎกติกาว่า เขาจะต้องรอให้ครบ หนึ่งวัน เขาถึงจะได้เงิน 300 เพื่อที่เขาจะนำไปซื้อรถบังคับมา และนั้นจะทำให้เขารู้ว่าการที่จะได้เงินมาก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆไม่ใช่ว่าอยากจะได้อะไรแค่บอกพ่อกับแม่แล้วเงินมันก็จะถูกควักออกมาจากกระเป๋าพ่อแม่ง่ายๆมันต้องแลกมาด้วยอะไรสักอย่างซึ่งในที่นี้ก็จะเป็นเวลาในหนึ่งวัน 24 ชั่วโมงที่เขาจะต้องอดทนรอ หลังจากนั้น ก็ ลองให้เงินเขาด้วยการแลกกับอย่างอื่นนอกจากเวลาดู เช่น ถ้าเขาช่วยคุณพ่อคุณแม่ กวาดบ้าน ล้างจาน ทำงานบ้าน เขาก็จะได้รับเงิน อะไรประมาณนี้ ซึ่งถ้าเขาไม่ทำอะไรเลยเขาก็จะไม่ได้รับเงิน เพื่อนๆลองนำไปใช้ดู ไอเดียนี้จะทำให้เด็กเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่จะรู้สึกรู้คุณค่าของเงินและเป็นการสร้างนิสัยให้กับเด็กให้ชอบช่วยเหลืองานบ้านไม่เป็นคนขี้เกียจ

สอนเด็กเรื่องเงินด้วยตัวอย่างที่ดีเรื่องเงินของพ่อแม่

สอนเด็กเรื่องเงินด้วยตัวอย่างที่ดีเรื่องเงินของพ่อแม่

ไอเดีย สุดท้ายจะบอกว่าเป็นไอเดียก็ไม่เชิง แต่จะบอกว่ามันเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีของผู้สอนถึงจะถูก คือ ถ้าเพื่อนๆเป็นพ่อเป็นแม่คนแล้ว ต้องการจะสอนลูกเกี่ยวกับเรื่องเงิน วิธี ไอเดียที่ผมแนะนำไปก่อนหน้านี้ก็สามารถนำเอาไปปรับใช้ได้ แต่สิ่งที่ดีๆที่สุด คือ ตัวอย่างจากคนเป็นพ่อเป็นแม่จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เด็กเมื่อโตสิ่งที่เรียนรู้ได้ดีที่สุดคือการเลียนแบบ และแน่นอนว่าถ้าพ่อหรือแม่เป็นคนที่มีวินัยเรื่องเงินที่ดีลูกก็จะมีวินัยที่ดีไปด้วย

แต่ในถ้ากลับกัน ถ้าพ่อหรือแม่ยังไม่มีวินัยในเรื่องเงินๆทองๆแล้วนำวิธีหรือไอเดียที่ผมบอกไปสอนเด็กมันก็จะไม่ค่อยจะได้ประสิทธิภาพสักเท่าไร นิสัยของเด็ก เวลาที่เด็กทำอะไรสักอย่างไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีหรือไม่ดี ทุกคนจะมองย้อนไปถึงตัวคนเป็นพ่อเป็นแม่ และการจะสอนอะไรสักอย่าง ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเด็ก ตัวเองหรือผู้สอนจะต้องทำเองให้ได้ก่อนนั้นเป็นอันดับแรกและเป็นสิ่งที่ผู้สอนจำเป็นต้องมีนะครับ

การสอนเรื่องเงินเด็กๆเป็นสิ่งจำเป็นทำให้เขามีความรับผิดชอบ

การสอนเรื่องเงินเด็กๆเป็นสิ่งจำเป็นทำให้เขามีความรับผิดชอบ

มาถึงบทสรุปของบทความนี้ สิ่งที่เพื่อนๆจะได้จากบทความนี้ คือ เพื่อนๆจะได้วิธีการสอนเรื่องการเงินให้กับเด็กๆ หรือ เรียกว่าเทคนิคการสอนเรื่องเงินให้กับเด็กๆที่กำลังอยู่ในวัยซุกซนให้เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น เรื่องเงินไม่ใช่เรื่องของผู้ใหญ่เพียงอย่างเดียวยิ่งสอนเรื่องเงินให้เด็กได้เร็วเท่าไร ยิ่งดี เด็กที่เติบโตมาโดยผ่านการสอนเรื่องเงินที่ดีจากผู้ใหญ่ เด็กคนนั้นจะโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพ ไม่มีปัญหาเรื่องการเงินแน่นอน การจะสอนอะไรให้ติดเป็นนิสัยก็ควรที่จะเริ่มสอนตั้งแต่เด็ก โดย วัยของเด็กที่เหมาะแก่การเริ่มสอนเรื่องการใช้เงิน คือ เด็กที่อายุ ตั้งแต่ 7 ขวบขึ้นไป เพราะมีผลวิจัยมาแล้วจาก มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ว่า นิสัยของการใช้เงินเด็กนั้นจะเริ่มเกิดขึ้นเมื่ออายุ 7 ขวบ โดยจะเริ่มจากการเลียนแบบพฤติกรรมการใช้เงินของผู้ที่เลี้ยงดู หรือก็คือ พ่อแม่ นั้นเอง

เพราะฉะนั้นการสอนที่ดีที่สุดไม่ใช่เทคนิคที่หนึ่งหรือที่สองแต่เป็นเรื่องของนิสัยการใช้เงินของผู้สอนมากกว่า ในฐานะพ่อแม่ที่เป็นผู้สอนควรเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้เงินของตัวเองให้ดีแล้วบางทีอาจจะไม่จำเป็นต้องสอนอะไรมากเด็กคนนั้นก็อาจจะเข้าใจและมีวินัยการใช้เงินเองก็ได้ ขอเป็นกำลังใจให้กับคุณพ่อ และ คุณแม่ ที่เข้ามาอ่านบทความนี้กันนะครับผมหวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับคุณพ่อคุณแม่ไม่มากก็น้อยนะครับ ขอบคุณครับที่เข้ามาอ่านกัน