หลายๆคนพยายามเก็บเงินด้วยวิธีต่างๆที่ไม่เหมือนกัน หลายคนก็ทำได้ตามเป้าหมาย ส่วนหลายคนก็ไม่สามารถทำได้ อาจจะด้วยปัจจัยหลายๆอย่าง ดังนั้นเรามาดูกันว่ามีวิธีอะไรบ้างที่จะพอช่วยให้เราเก็บเงินได้มากขึ้น

save money

Billion Photos/shutterstock.com

1.วิธีเก็บเงิน

1.วิธีเก็บเงิน

การใช้ ATM วิธีที่ 1 ฝึกนิสัยการใช้ตู้เอทีเอ็มเป็นประจำ

ใช้ตู้เอทีเอ็มเป็นประจำ เช่น วางแผนกดเงิน 2,000 บาททุกวันศุกร์ หรือ 3,000 บาทต่อสัปดาห์แล้ววางแผนการใช้เงินนั้นว่าจะใช้จ่ายอะไรบ้าง อย่างไรก็ตามมีคนจำนวนมากที่มีความกังวลเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมของ ATM ซึ่งต้องจ่ายเมื่อเราใช้บัตรหรือกดจากตู้อื่น แต่ในปัจจุบัน หลายธนาคารมีแอพพลิเคชั่นที่สามารถกดเงินจากตู้ ATM โดยไม่ต้องใช้บัตร และไม่มีค่าธรรมเนียม เช่น ธนาคารไทยพานิชย์ ข้อดีของการกดเงินโดยไม่ใช้บัตร ATM ไม่จำเป็นต้องพกบัตร ATM ตลอดเวลา แต่ใช้สมาร์ทโฟนที่เราพกติดตัวอยู่แล้วแทน ไม่เสียค่าธรรมเนียมการกดเงิน แม้จะกดที่ต่างจังหวัดก็ตาม ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมบัตร ATM ประจำปี ไม่ต้องกังวลว่าจะลืมบัตร บัตรหาย และต้องไปแจ้งทำบัตรใหม่ วิธีการไม่ซับซ้อน ทำได้ง่าย และรวดเร็ว ไม่กี่นาทีก็เสร็จ ค้นหาตู้ ATM ที่ใกล้เคียงบนแผนที่ เพื่อไปยังตู้ที่ใกล้ที่สุดได้ง่ายขึ้น

สิ่งที่ต้องมีก่อนกดเงินโดยไม่ใช้บัตร บัญชีเงินฝากธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) บัตรประจำตัวประชาชน แอป SCB EASY สำหรับ iOS สามารถดาวน์โหลดฟรีได้ที่ App Store สำหรับ Android ดาวน์โหลดฟรีได้ที่ Google Play หลังจากนั้นให้ทำการสมัครบริการการใช้งานผ่านแอป SCB EASY ให้เรียบร้อยก่อน

วิธีกดเงินโดยไม่ใช้บัตรบนตู้ ATM SCB ผ่านแอป SCB EASY ง่ายๆ ไปที่แอป SCB EASY > แตะไอคอนรูปเงินตรงกลาง > Touch ID หรือกรอกรหัสผ่าน > แตะ กดเงินไม่ใช้บัตร > เลือกบัญชีและระบุจำนวนเงิน > แตะ ตรวจสอบข้อมูล

เลือกเบอร์โทรสำหรับยืนยันการกดเงินที่ตู้ > แตะยืนยัน > นำรหัสกดเงินและเบอร์โทรไปทำรายการกดเงินโดยไม่ใช้บัตรที่ตู้ ATM (รหัสกดเงินมีอายุใช้งาน 15 นาที แนะนำให้ทำรายการให้สำเร็จภายใน 15 นาที) หากต้องการเก็บไว้กดภายหลังหรือให้ผู้อื่นเป็นคนกดเงิน ก็สามารถแตะปุ่มบันทึกด้านล่าง และเก็บสลิปไว้กดเงินภายหลังหรือส่งให้กับผู้อื่นกดเงินได้ (ถ้าส่งให้ผู้อื่นต้องระบุเบอร์โทรและรหัสกดเงินให้ทราบด้วย) กรณีที่ต้องการค้นหาตู้เอทีเอ็มใกล้เคียง ให้แตะ “ค้นหาตู้เอทีเอ็ม” และดูตู้เอทีเอ็มบนแผนที่ได้เลย

จัดระเบียบสภาพแวดล้อม

วิธีที่ 2 จัดระเบียบสภาพแวดล้อมของคุณ ผู้ที่ไม่ได้จัดระเบียบสภาพแวดล้อมของพวกเขามักทำสิ่งต่อไปนี้ ซื้อของเพราะความเครียด ทิ้งสิ่งที่คุณซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้ หรือรับประทาน (ส่วนใหญ่เป็นวันหมดอายุของผลิตภัณฑ์อาหาร) ซื้อสิ่งที่ไม่จำเป็น (สิ่งที่มีอยู่แล้วหรือสิ่งที่คล้ายกัน โดยเฉพาะเสื้อผ้า) การทำแบบนี้อาจจะไม่ได้ช่วยให้เงินเพิ่มขึ้นมา แต่จะสามารถช่วยให้เราจ่ายเงินได้มากขึ้นโดยการไม่ทำสิ่งเหล่านั้น

มีหลายบัญชี

วิธีที่ 3 นั่นคือ การที่เรามีบัญชีธนาคารหลายบัญชี 1 บัญชีสำหรับเงินเดือน เก็บไว้ใช้จ่ายอื่นๆ เมื่อได้รับเดือนมาแล้วแบ่งใส่ไว้ในบัญชีนี้ เก็บเงินตามเป้าหมาย และให้เหลือพอสำหรับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน 2 บัญชีเงินออมฉุกเฉิน เก็บไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน เช่น สำหรับการใช้จ่ายฉุกเฉินเมื่อปัญหาต้องใช้เงินเร่งด่วน เงินในบัญชีนี้ควรจะมีอย่างน้อยๆ ประมาณ 6-12 เท่าของเงินเดือนที่ได้รับเต็มๆ ที่ช่วยให้เราอยู่ได้ อย่างน้อยๆ 1 ปีกรณีตกงาน 3.บัญชีสำหรับใช้จ่ายทั่วไป เช่น ท่องเที่ยว ซื้อของ

2.วิธีประหยัดเงิน

2.วิธีประหยัดเงิน

การลดต้นทุน

ซื้อของมีคุณภาพ จดรายการของที่จะซื้อก่อนออกไปซื้อ ก่อนจะทำอะไรคุณควรจะสร้างเป้าหมายเสียก่อน การไปซื้อของก็เช่นกัน คุณควรสำรวจดูว่าในบ้านขาดเครื่องใช้ในบ้านหรือวัตถุดิบในการทำอาหารอะไรบ้าง จดลงบนกระดาษหรือบนสมาร์ทโฟนก็ได้ เมื่อไปถึงห้าง ให้บอกตนเองว่าคุณต้องการจะมาซื้อของตามรายการเหล่านี้เท่านั้นและที่สำคัญคือต้องซื่อสัตย์ต่อตัวเองด้วย

เทียบราคาก่อนซื้อ เพื่อให้ได้ราคาที่เหมาะสม เป็นธรรมต่อตนเอง และแน่นอนว่า พอดีกับกระเป๋าเงิน เวลาจะเลือกซื้อสินค้าชนิดหนึ่ง คุณควรเทียบราคาสินค้าชนิดนั้นกับหลายๆยี่ห้อเสียก่อน ไม่งั้นอย่างนั้นคุณอาจเผลอจ่ายเงินซื้อสินค้าราคาแพงแสนแพงไปโดยไม่ได้ตั้งใจ นอกจากนี้ สินค้าบางชนิดมีคุณภาพใกล้เคียงกันมาก แต่ต่างแค่ชื่อยี่ห้อเท่านั้น ดังนั้น ยี่ห้อที่ราคาถูกกว่า น่าจะเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่ามากกว่า

อย่าซื้อแต่ของลดราคา แน่นอนว่าทุกๆคนก็ชอบเห็นตัวหนังสือที่เขียนว่า SALE แล้วยิ่งได้เห็นราคาก่อนลดราคาประกอบกับราคาใหม่ด้วยแล้ว บางคนถึงกับต้องวิ่งไปคว้าสักชิ้นสองชิ้น ทั้งที่ไม่ได้มีความจำเป็นที่จะใช้เลยสักนิด รู้หรือไม่ว่าผู้ประกอบการบางแห่งจงใจแปะป้ายลดราคาเพื่อจูงใจให้คนมาซื้อสินค้า ทั้งที่ราคาเดิมนั้นไม่ได้ต่างกันสักเท่าไร หรือไม่ได้ลดราคาเลยด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นอย่าหลงกลป้ายจะช่วยประหยัดเงินไปได้มากเลยทีเดียว

ตุนของที่ใช้ประจำตอนลดราคา ใช่ว่าการลดราคาจะเป็นสิ่งเลวร้าย ของบางอย่างที่ใช้ในบ้านเป็นประจำเช่น น้ำมัน ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน ที่ไม่ว่าจะอย่างไรก็จำเป็นต้องใช้ในบ้าน ถือเป็นสิ่งที่ซื้อตุนไว้ไม่เสียหาย แต่อย่าลืมดูวันผลิตและวันหมดอายุด้วยนะครับ เพราะสินค้าบางอย่างนำมาลดราคาตอนใกล้หมดอายุแล้ว แทนที่จะได้ซื้อไปตุนไว้ใช้ในอนาคต อาจกลายเป็นซื้อสินค้าเก่าที่ใช้การไม่ได้ทีหลัง

ซื้อของสดให้ไปตลาด ถึงแม้ปัจจุบันการไปห้างใกล้บ้านอาจสะดวกสบายกว่าการหาตลาดสดเพื่อไปซื้อของสดเข้าบ้าน แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ของสดบางอย่างในตลาดมีราคาถูกกว่าในห้างถึงเกือบครึ่งเลยทีเดียว นอกจากจะสดกว่าแล้ว ยังราคาถูกกว่าด้วย

3.วิธีช่วยเก็บเงินทีละเล็กทีละน้อย

3.วิธีช่วยเก็บเงินทีละเล็กทีละน้อย

ทำบันทึกรายรับ รายจ่าย

แบ่งสมุดบัญชีด้านรับกับด้านจ่าย เราสามารถขีดเส้นแบ่งด้านรับกับด้านจ่ายเพื่อบันทึกบัญชีคู่กัน เขียนตรงช่องรายการว่ารับ อีกด้านหนึ่งว่าจ่าย เขียนวันที่ไว้ด้านหน้าและทำการบันทึกรายการตามที่เกิดขึ้นจริง ไม่ว่าจะซื้ออะไรก็มาลงรายการและจำนวนเงิน และถ้าได้รับเงินเข้ามาก็บันทึกรายการพร้อมจำนวนเงินลงไปด้วย แค่นี้ก็จะทำให้เราได้รู้ว่าในแต่ละวันนั้นเราได้ใช้จ่ายอะไรไปบ้าง มากน้อยแค่ไหน อะไรจำเป็นไม่จำเป็นและในเดือนนั้นๆ เราได้รายรับรวมเท่าไหร่ เมื่อนำมาคิดคำนวนกับค่าใช้จ่ายแล้วก็จะทำให้เรารู้ว่าเราใช้เงินฟุ่มเฟือยไปมากแค่ไหน

  1. การบันทึกบัญชีทุกครั้ง การบันทึกบัญชีต้องบันทึกทุกครั้งตามความเป็นจริง เมื่อออกไปข้างนอกต้องนำสมุดบัญชีติดตัวไปด้วยและบันทึกเลย นั่นจะทำให้เราติดเป็นนิสัย เหมือนเราติดอะไรสักอย่างแต่เป็นการติดการกระทำที่ดีมีประโยชน์ เป็นการสร้างวินัยในตนเอง แรก ๆ อาจจะยังไม่ชินแต่ขอให้ทำต่อเนื่องแล้วเราจะรู้สึกขาดอะไรไปถ้าไม่ได้ลงบัญชี แต่อย่าลืมว่าจะต้องลงบัญชีตามความจริงทุกครั้ง

  2. ปิดรายการบัญชีประจำวัน เมื่อสิ้นสุดวันให้ใช้ปากกาแดงขีดเส้นใต้ แล้วรวมยอดด้านรับและด้านจ่ายอย่างชัดเจน ทีนี้เรารู้แล้วว่าวันนี้จ่ายมากว่ารับหรือรับมากกว่าจ่ายกันแน่ แล้วนำยอดคงเหลือยกไปวันต่อไปได้เลย ทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนครบ 1 เดือน เราก็จะรู้ว่าสุดท้ายแล้วเรามีเงินเหลือเก็บหรือเป็นหนี้เพิ่ม เมื่อเรารู้แล้วว่าเราใช้เงินอย่างไรในเดือนที่แล้ว ทีนี้เดือนต่อไปเราก็มาปรับใหม่ โดยใช้จ่ายให้น้อยลงและตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป

  3. รับรู้เงินคงเหลือจากสมุดบัญชี เราสามารถสรุปเงินสดในมือได้จากเงินคงเหลือจากสมุดบัญชี เรารู้แล้วว่ามีเงินเท่าไร จะใช้ได้อีกเท่าไร หรือต้องประหยัด สมุดบัญชีช่วยเราได้เสมอ อย่าเพิ่งรูสึกท้อในการทำบัญชีนะครับ ขอให้ทำไปเหมือนเป็นกิจวัตรของเราที่ต้องทำทุกวันแล้วจะรู้ว่าสมุดบัญชีที่เราบันทึกรายการทุกวันนั้นเป็นเหมือนสมุดวางแผนทางการเงินให้เราเป็นอย่างดีเลยครับ 6. วางแผนใช้จ่ายเงินจากสมุดบัญชี เมื่อเราเห็นตัวเลขทุกรายการแล้ว เราก็สามารถวางแผนการเงินของเราได้ โดยเฉพาะคนที่มีครอบครัวแล้ว การจดบันทึกรายรับรายจ่ายจะช่วยบริหารการเงินในครอบครัวได้ดีเลยทีเดียว 7. ทำเหมือนกันทุกวันลงบัญชีจนครบ 1 เดือน ทำไปทุกวัน ลงบัญชีรับจ่ายของตนเองทุกรายการ ทำจนครบ 1 เดือน ปิดบัญชีรายเดือนแล้วขึ้นเดือนใหม่ เพราะหากเราไม่บันทึกเราจะไม่รู้และวางแผนการเงินได้ยากมาก ถ้าเรามองเห็นข้อดีเราจะไม่เบื่อหน่ายในการบันทึกบัญชีครับ

ลดปริมาณขยะ

1.ซื้อของรีไซเคิลได้ ในแต่ละวันเราซื้อของเข้าบ้านกันไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ ถ้าไม่ใช่ของใช้ก็ต้องเป็นอาหารสด อาหารแห้งก็ว่ากันไป ซึ่งบรรจุภัณฑ์ที่เราถือเข้าบ้านเหล่านี้สุดท้ายก็กลายเป็นขยะ ฉะนั้นหากเราอยากจะจัดการขยะในบ้านก็ต้องเริ่มจากการลดปริมาณขยะกันก่อน ด้วยการเลือกซื้อของโดยคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยของบรรจุภัณฑ์ด้วย ควรเลือกบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้ เช่น บรรจุภัณฑ์ที่เป็นกล่องกระดาษ หรือกระป๋องก็สามารถนำกลับไปรีไซเคิลได้ ส่วนบรรดาถุงพลาสติกก็อาจจะนำมาใช้เป็นถุงขยะต่อไป แต่ถ้าเป็นไปได้ ควรลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกด้วยการช้อปปิ้งโดยใช้ถุงผ้าแทนจะดีที่สุด 2. แยกประเภทขยะ เราอาจจะคาดไม่ถึงว่าในบ้านจะมีขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้ง ขยะเหล่านั้นก็คือ ขวดแก้ว กระป๋อง กระดาษอ่อน กระดาษแข็ง กล่องกระดาษ ลัง เศษอาหาร เศษเหล็ก เศษอะลูมิเนียม รวมไปถึงพลาสติกและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ไม่ได้แล้ว ฉะนั้นเราก็ควรแยกประเภทขยะภายในบ้านให้เรียบร้อยก่อนจะทิ้งขยะทุกครั้ง เมื่อถังขยะรีไซเคิลเต็มแล้วก็ขายให้รถรับซื้อของเก่าไป นอกจากจะช่วยลดปริมาณขยะในบ้านและโลกของเราแล้วยังทำให้เรามีรายได้เล็กน้อยจากการขายของเก่า

  1. ดัดแปลงนำมาใช้อีกครั้ง นอกเหนือจากขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้แล้ว ก็ยังมีขยะที่สามารถนำกลับมารียูส (Reuse) หรือนำกลับมาใช้อีกครั้งด้วย เช่น ถุงเท้าเก่า เอามาใช้เช็ดกระจกได้ หรือเสื้อผ้าที่ไม่ได้ใช้แล้ว ก็นำมาเป็นผ้าขี้ริ้วได้เช่นกัน ส่วนกระดาษกรองกาแฟสด ก็นำมาใช้เช็ดกระจกและหน้าจอทีวี แท็บเล็ต หรือโทรศัพท์ได้ด้วย อีกทั้งแผงไข่ไก่ก็ยังนำมาวางขวดซอสในตู้เย็น ป้องกันซอสหกเลอะเทอะต้องเหนื่อยมาเช็ดทำความสะอาด หรือขวดน้ำเก่า นำกลับมาใช้ใหม่ แทนการซื้อ

  2. เลือกใช้ถังขยะใบเล็ก ถังขยะใบเล็กจะช่วยบังคับให้เราต้องนำขยะออกไปทิ้งบ่อย ๆ พอนานวันเข้าก็จะเปลี่ยนนิสัยเราให้ทิ้งขยะในบ้านน้อยลงไปโดยไม่รู้ตัว อีกทั้งการนำขยะไปทิ้งบ่อย ๆ ยังช่วยรักษาความสะอาดให้บ้านแบบทางอ้อมด้วย แต่ทั้งนี้ก็ควรบีบอัดถังขยะให้แน่นทุกครั้ง และมัดปากถุงให้เรียบร้อยก่อนทิ้ง เพื่อให้มีพื้นที่ในการทิ้งขยะมากขึ้น ช่วยลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกไปในตัว

  3. หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ใช้แล้วทิ้ง แม้ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้จะดูสะอาดปลอดภัยดี แต่ของบางอย่างก็ไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรสิ้นเปลืองขนาดนั้น เช่น แก้วน้ำ แทนที่จะใช้แก้วกระดาษบาง ๆ ใช้แล้วทิ้ง ก็น่าจะเปลี่ยนมาใช้แก้วพลาสติก หรือแก้วธรรมดาที่สามารถล้างและนำมาใช้ได้อีกครั้ง เพื่อลดปริมาณขยะ

  4. ลดปริมาณการซื้อของใช้ ของใช้บางอย่างเราก็ไม่ได้ใช้เป็นประจำ หรือบางทีก็มีความจำเป็นต้องใช้ในงานสำคัญแค่ครั้งเดียวเท่านั้นด้วยซ้ำ เช่น แทนที่จะซื้อเสื้อผ้าหรืออุปกรณ์สำหรับงานพิธีสำคัญ ทางที่ดีก็คือ อาจจะขอหยิบยืมจากคนใกล้ตัวดูก่อน หรือจะใช้บริการจากร้านเช่าชุดหรืออุปกรณ์ก็ได้ วิธีนี้นอกจากจะช่วยลดปริมาณขยะแล้ว ยังช่วยลดปริมาณเงินที่ต้องจ่ายออกกระเป๋าได้ด้วย หรือการจัดงานปาร์ตี้ครั้งใหญ่ แทนที่จะใช้จานกระดาษเพราะขี้เกียจล้างจาน ทางที่ดียอมเสียเวลาล้างจานสักหน่อยดีกว่า

  5. รักษาและซ่อมแซม เครื่องใช้ทุกอย่างภายในบ้าน รวมไปถึงเสื้อผ้า กระเป๋า และรองเท้าของเรา ก็ควรใช้งานอย่างถูกประเภท และรักษาของให้ใช้ไปได้นาน ๆ หากชำรุดเสียหายก็ต้องลองซ่อมแซมดูก่อน เผื่อจะสามารถนำกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง โดยเฉพาะเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า

  6. ซื้อของมือสอง อาจจะดูเป็นวิธีที่ไม่ได้ช่วยลดขยะภายในบ้าน แต่ก็เป็นโอกาสที่คุณจะช่วยลดปริมาณขยะให้โลกของเรา เหมือนเป็นการหมุนเวียนของที่ยังใช้ประโยชน์ได้อยู่กลับมาใช้อีกครั้ง เช่นเดียวกันกับการขายของเก่าของเรานั่นเอง นอกจากนั้นการซื้อของมือสองยังช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าเราได้อีกด้วย

และทั้งหมดนี้คือ3วิธีหลักในการช่วยเก็บเงิน และประหยัดเงิน การใช้เอทีเอ็ม การทำบันทึกรายรับรายจ่ายซึ่งจะช่วยให้เรารู้ว่าเรามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ไม่จำเป็น และช่วยให้เรามีวินัยทางการเงินด้วย รวมถึงการลดต้นทุนหรือก็คือการเลือกซื้อของที่มีคุณภาพ การเทียบราคาของที่จะซื้อ ทั้งหมดนี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งของการประหยัดค่าใช้จ่าย ยังมีอีกหลายวิธีซึ่งคิดว่าทุกคนคงมีวิธีในแบบของตัวเอง หรือในอินเทอร์เน็ต ก็มีการให้คำแนะนำอีกมาก