นักวิจัยพบว่าสาเหตุอันดับหนึ่งที่ทำให้คู่ชีวิตขัดแย้งกันเป็นส่วนใหญ่คือเรื่องเงินค่ะเป็นเรื่องที่ใหญ่และลุกลามเป็นเรื่องเป็นราวจนถึงขั้นจะต้องหย่าร้างไปเลยทีเดียว และหลายๆคนหลายๆคู่ก็เจอกับปัญหาเหล่านี้ซึ่งยากที่จะรับสถานการณ์เช่น เรื่องทรัพย์สินเงินทองเมื่อคู่สมรสของเราก่อนนี่เราจะต้อง เข้าไปร่วมรับผิดชอบหรือเปล่า อย่างไรก็ดีการแต่งหน้าและการจดทะเบียนสมรสนั้นทำให้คุณและคู่ชีวิตของคุณได้รับสิทธิ ในทางกฎหมายต่างๆมากกว่าคู่สมรสที่ไม่ได้จดทะเบียนนั้นเองค่ะอย่างเช่นเรื่องมรดกตกทอดซึ่งทรัพย์สินเรื่องบุตร ลูกๆของเราและมีอีกหลายอย่างมากมายซึ่ง มันต้องส่งผลภาระหนี้สินด้วย ดังนั้นในบทความนี้เราได้นำข้อมูลต่างๆให้คู่ชีวิตที่ยังสงสัยและไม่ได้คำตอบนั้นได้รับประโยชน์ด้วยกันและสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้ เมื่อเราเจอสถานการณ์แบบนี้ค่ะ

เมื่อคู่สมรสนั้นจดทะเบียนกัน

เมื่อคู่สมรสนั้นจดทะเบียนกัน

เมื่อเราจดทะเบียนสมรส และถูกต้องตามกฎหมายก็จะมีข้อดีดังต่อไปนี้ค่ะ

การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยาต้องดูแลซึ่งกันและกันด้วยค่ะ

การจดทะเบียนสมรสทำให้ภรรยาสามารถใช้สิทธิ์ในการใช้นามสกุลของสามีได้หรือไม่ได้ก็ได้ค่ะ

การจดทะเบียนสมรส การจดทะเบียนสมรสทำให้ การจดทะเบียนสมรสทำให้ ฝ่ายหญิงที่เป็นต่างชาติมีสิทธิ์ขอถือเป็นสัญชาติไทย ตามกับคู่ของตัวเองก็ได้ แต่จะต้องเป็นในกรณีที่ตัวเองอยากจะถือสัญชาติไทยนะคะ

การจดทะเบียนสมรสสามีภรรยาจะมีสิทธิจัดการเรื่องสินสมรสร่วมกันได้เป็นสินทรัพย์ที่ได้มาระหว่างคู่สมรสตั้งแต่วันที่ คู่ชีวิตจดทะเบียน สมรสแต่ถ้าหาก มีทรัพย์สินใดก็ขึ้นมาก็จะกลายเป็นสินสมรสทั้งหมดนั่นเองค่ะ

การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยามีสิทธิ์ที่จะรับมรดกของคู่สมรสเมื่ออีกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เสียชีวิตจากไปก่อนนั้นเองค่ะ

การจดทะเบียนสมรสทำให้มีสิทธิ์ ได้รับเงินทางราชการนายจ้างยกตัวอย่างเช่นกรณี ที่คู่สมรสของคุณตายเพราะปฏิบัติหน้าที่ทางราชการหรือนายจ้าง หรือจากการทำงานต่างๆ และการรับเงินสงเคราะห์บุตรตามกฎหมายแรงงานค่ะ

การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีภรรยา มีสิทธิ์ที่จะฟ้องร้องค่าเสียหายต่างๆหรือค่าทดแทนต่างๆจากผู้ที่ทำให้คู่สมรสของตัวเองเสียชีวิตยกตัวอย่างเช่นสามีอาจจะถูกรถชนหรือภรรยาอาจจะประสบอุบัติเหตุ ก็สามารถที่จะเรียกค่าเสียหายถึงชีวิตกับผู้ขับรถชนได้ด้วยค่ะ การจดทะเบียนสมรสทำให้สามีหรือภรรยาสามารถหึงหวงคู่สมรสของตัวเองได้อย่างเปิดเผยหรือออกหน้าออกตาตามกฎหมายแต่ถ้าหากพบว่าคู่สมรสนั้นมีชู้ก็สามารถเรียกค่าเสียหายได้ทั้งจากคู่สมรสของตัวเองและเรียกค่าเสียหายจาก คนที่เป็นชู้ด้วยนั่นเองค่ะ

การจดทะเบียนสมรสทำให้บุตรมีฐานะเป็นบุตรที่ชอบ ด้านกฎหมายจึงสามารถใช้นามสกุลของพ่อได้สมัครเข้าเรียนได้และอีกทั้งยังสามารถรับมรดกทรัพย์สินต่างๆจากผู้เป็นพ่อได้แต่ต้องเป็นบุตรที่มีสิทธิ์ตามชอบทำของแม่อยู่แล้วนะคะ

การจดทะเบียนสมรสทำให้ได้รับการผ่อนภาษีเงินได้ค่ะ

การจดทะเบียนสมรสเรื่องทำให้สามีภรรยาที่ทำผิดต่อกันเช่นสามีลักขโมยเงินของภรรยาหรือว่าภรรยาบุกเข้าบ้านสามีผู้ที่ทำผิดไม่ต้องรับโทษตามกฎหมายนะคะ

การจดทะเบียนสมรสก็ยังทำให้สามีหรือภรรยาฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ที่ทำร้ายผู้สมรสของคุณได้อย่างเช่นภรรยาโดนกระชากกระเป๋าไปสามีสามารถแจ้งความฟ้องร้องดำเนินคดีกับคนร้ายได้หรือว่าสามีโดนพูดจาดูหมิ่น ต่างๆก็สามารถฟ้องหมิ่นประมาทจากฝ่ายตรงข้ามได้เลยค่ะ

ดังนั้นพี่ก็เป็นข้อดีต่างๆนะคะของคนที่แต่งงานและมีทะเบียน สมรสถูกต้องตามกฎหมายค่ะต่อไปนี้เราจะมาดูความหมายของคำว่าสินสมรสด้วยกันค่ะ

ความหมายของคำว่า สินสมรส

ความหมายของคำว่า สินสมรส

ความหมายของคำว่าสินสมรสก็คือ ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส หรือที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรม หรือโดยการให้เป็นหนังสือ เมื่อพินัยกรรม หรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส รวมทั้งทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัวค่ะ

หากปรากฏภายหลังจากจดทะเบียนสมรสแล้ว สามีได้นำสินสมรสไม่ว่าอะไรก็ตามยกให้ผู้อื่นเช่นนี้ ภริยาสามารถเรียกร้องคืนได้เพราะภริยามีสิทธิ์ครึ่งหนึ่งในสินสมรส การสมรสหรืการแต่งงานเมื่อมีการจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายหลังจากงานแต่งงาน สามี-ภรรยาจะมีความสัมพันธ์ในเรื่องทรัพย์สินที่เป็นสินสมรส โดยสามี-ภรรยาเป็นเจ้าของทรัพย์สินต่าง ๆ ร่วมกัน สามี-ภรรยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกัน หรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ในกรณีการจัดการสินสมรสที่สำคัญ ๆนั่นเองค่ะ

หนี้ที่ต้องรับผิดชอบร่วม

นี่เป็นสิ่งที่อีกฝ่ายต้องร่วมรับผิดชอบก็คือหนี้สินที่อีกฝ่ายได้ก่อไว้ถึงแม่ว่าอีกฝ่ายไม่ได้ก่อไว้ ก็จะมีดังต่อไปนี้ค่ะ

หนี้สินเกี่ยวกับการจัดบ้านเรือนและหาสิ่งจำเป็นให้กับครอบครัว หนี้สินเกี่ยวกับการจัดบ้านเรือนและหาสิ่งจำเป็นให้กับครอบครัวดูแล เลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพค่ะ

หนี้สินที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส

หนี้สินที่เกิดขึ้นเป็นเพราะว่าการงานของสามีและภรรยาที่ทำด้วยกันค่ะ

หนี้สินที่สามีหรือภรรยาก่อนขึ้นเพื่อประโยชน์ของฝ่ายเดียวแต่อีกฝ่ายหนึ่งให้สัตยาบันค่ะ

แต่ในส่วนของหนี้สินที่อีกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้กล่าวไว้แต่ว่าพวกคุณทั้งสองคนไม่ได้จดทะเบียนสมรสก็ไม่จำเป็นจะต้องไปมีส่วนร่วมช่วยเรื่องหนี้สินต่างๆของอีกฝ่ายที่ได้ก่อไว้ค่ะ

หนี้ที่ไม่ต้องรับผิดชอบร่วม

หนี้ที่ไม่ต้องรับผิดชอบร่วม

มีหลายกรณีที่ไม่ใช่หนี้ร่วม ดังตัวอย่างต่อไปนี้

    1. ภาระหนี้ที่เกิดจากการค้ำประกันของคู่สมรสฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าอีกฝ่ายจะไม่ได้คัดค้านในการค้ำประกัน แต่ก็ถือว่าไม่เป็นหนี้ร่วม
    1. คู่สมรสฝ่ายหนึ่งกู้เงินมาเพื่อการพนันขันต่อ ไม่ได้นำมาเพื่อใช้จ่ายเกี่ยวกับครอบครัว ถือว่าไม่เป็นหนี้ร่วม
    1. เงินกู้ที่คู่สมรสผ่ายใดผ่ายหนึ่งไปกู้เพื่อใช้จ่ายขณะแยกกันอยู่ โดยที่ไม่ได้แบ่งให้อีกฝ่ายหรือให้เป็นการเลี้ยงดูอีกฝ่าย ถือว่าไม่เป็นหนี้ร่วม
    1. หนี้ที่เกิดจากการที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่ง ก่อขึ้นเพื่อมอบให้กับบุคคลที่สามที่ไม่ใช่คนในครอบครัวหรือชู้ ด้วยความพิศวาสสเน่หา ถือว่าไม่เป็นหนี้ร่วม
    1. ภาระหนี้บัตรเครดิตส่วนตัวของคู่สมรส ที่ใช้จ่ายเพื่อเรื่องส่วนตัวของคู่สมรส ไม่ถือเป็นหนี้ร่วม

หากคู่สมรสเสียชีวิต

หากคู่สมรสเสียชีวิต

เมื่อฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต สินสมรสจะถูกแบ่งเป็นสองส่วนเท่า ๆ กัน โดยครึ่งหนึ่งถือเป็นทรัพย์สินส่วนของคุณ อีกส่วนถือเป็นทรัพย์สินของผู้เสียชีวิตและถือเป็นมรดกที่คุณจะได้รับตามกฎหมาย เจ้าหนี้สามารถทวงถามหนี้กับส่วนที่เป็นมรดกนี้ได้เท่านั้น ภายในระยะเวลา 1 ปีหลังจากคู่สมรสเสียชีวิต โดยการชำระหนี้นั้นหากภาระหนี้มีมากเกินกว่าจำนวนมรดก เจ้าหนี้มีสิทธิ์รับเอาเพียงส่วนที่เป็นมรดกเท่านั้น จะเรียกร้องเกินกว่านั้นไม่ได้นะคะ

อีกเรื่องหนึ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับหนี้บัตรเครดิตในกรณีที่ตายไปแล้วก็คือ เรื่องของอายุความ ตรงนี้กฏหมายกำหนดไว้ว่า หากลูกหนี้ตาย เจ้าหนี้ต้องฟ้องร้องภายใน 1 ปี(โดยไม่ต้องถึงกำหนดชำระหนี้) หากไม่ฟ้องร้องจะถือว่าขาดอายุความ สำคัญตรงไหน ตรงที่ว่าหากเกิน 1 ปีแล้ว เจ้าหนี้ไม่มาฟ้องเอาเงินที่ค้างไว้ เค้าก็ไม่มีสิทธิ์มาเรียกร้องให้ทายาทของผู้ตายนำเงินมรดกมาชำระหนี้ได้อีก ซึ่งหากเจ้าหนี้มาฟ้องร้องให้เราจ่ายเงินหลังจากหมดอายุความไปแล้ว เราก็สามารถเอาเรื่องนี้ไปอ้างกับศาลได้ ถ้าหากเราเป็นหนี้แล้วตายไป เจ้าหนี้ก็สามารถทวงเงินกับทายาทได้เพียงแค่เท่ากับมรดกที่ได้เท่านั้น หากเกินกว่านั้นก็ไม่ต้องจ่าย ส่วนอายุความที่เจ้าหนี้จะฟ้องร้องเรียกเงินจากลูกหนี้ที่ตายไปแล้วคือ 1 ปี ถ้าเกินกว่านี้ก็หมดสิทธิ์ แต่อย่างไรก็ดี เราขอแนะนำว่าหากมีหนี้ก็ควรจะต้องบอกคนในครอบครัวให้รู้แต่เนิ่นๆ อย่าปิดบังกัน เพราะความตายเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน แต่มีหนี้แล้วต้องชำระเป็นเรื่องแน่นอน

สรุป:คู่สมรสจำเป็นต้องใช้หนี้แทนกันหรือไม่

สรุป:คู่สมรสจำเป็นต้องใช้หนี้แทนกันหรือไม่

ก็จะมี สิ่งที่คู่สมรสกับต้องใช้หนี้ร่วมกันและไม่ใช้หนี้ร่วมกันได้ก็จะมีดังนี้ สิ่งที่ต้องใช้หนี้ร่วมกัน

    1. หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัว และการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
    1. หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส เช่น หนี้ค่าจ้างต่อเติมซ่อมแซมบ้านที่เป็นสินสมรส หนี้เงินกู้ยืมมาเพื่อไถ่ถอนบ้านหรือที่ดินที่เป็นสินสมรส ฯลฯ
    1. หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภรรยาทำด้วยกัน เช่น การเปิดร้านหรือกิจการค้าด้วยกัน ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในกิจการค้า เช่น ค่าสินค้า ค่าสาธารณูปโภค ค่าเช่า เป็นต้น
    1. หนี้ที่สามีหรือภรรยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว การลงชื่อเป็นพยานในสัญญากู้ที่คู่สมรสของตนเป็นผู้กู้ หรือการให้ความยินยอมด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือในการที่คู่สมรสเป็นผู้กู้ในสัญญากู้ เป็นต้น

ตัวอย่างที่ไม่จำเป็นจะต้องร่วมรับผิดชอบหนี้สินทุกอย่างของคู่สมรส

    1. ภาระหนี้ที่เกิดจากการค้ำประกันของคู่สมรสฝ่ายหนึ่ง แม้ว่าอีกฝ่ายจะไม่ได้คัดค้านในการค้ำประกัน แต่ก็ถือว่าไม่เป็นหนี้ร่วม
    1. คู่สมรสฝ่ายหนึ่งกู้เงินมาเพื่อการพนันขันต่อ ไม่ได้นำมาเพื่อใช้จ่ายเกี่ยวกับครอบครัว ถือว่าไม่เป็นหนี้ร่วม
    1. เงินกู้ที่คู่สมรสผ่ายใดผ่ายหนึ่งไปกู้เพื่อใช้จ่ายขณะแยกกันอยู่ โดยที่ไม่ได้แบ่งให้อีกฝ่ายหรือให้เป็นการเลี้ยงดูอีกฝ่าย ถือว่าไม่เป็นหนี้ร่วม
    1. หนี้ที่เกิดจากการที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่ง ก่อขึ้นเพื่อมอบให้กับบุคคลที่สามที่ไม่ใช่คนในครอบครัวหรือชู้ ด้วยความพิศวาสสเน่หา ถือว่าไม่เป็นหนี้ร่วม
    1. ภาระหนี้บัตรเครดิตส่วนตัวของคู่สมรส ที่ใช้จ่ายเพื่อเรื่องส่วนตัวของคู่สมรส ไม่ถือเป็นหนี้ร่วม

ดังนั้น เมื่อคุณทั้งสองคนคิดที่จะมีครอบครัว เมื่อคุณทั้งสองคนคิดที่จะมีครอบครัว หรือก่อนที่จะแต่งงานพวกคุณจะต้องคำนึงและคิดให้ดีก่อนว่ามีเรื่องอะไรบ้างที่เราต้องระวังอย่างเช่นเรื่องหนี้สินเมื่ออีกฝ่ายได้ก่อไว้นี่ก็อาจจะต้องถามตัวเองด้วยว่ามันจะทำให้มีผลกระทบต่อครอบครัวคู่สมรสและความสงบสุขหรือเปล่าเมื่อเราคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ก็จะช่วยให้เรา และคนในครอบครัวของเรามีความสงบสุขค่ะ