ยิ่งอายุมากขึ้นความกังวลเรื่องเงินในกระเป๋าก็ตามมาด้วยจริงมั้ยคะ? คำตอบก็คงจะจริง เรื่อเงินจำสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆเมื่ออายุมากขึ้น เพราะสิ่งที่น้อยลง คือกำลังความสามารถในการหาเงินของคุณจะลดลงดังนั้นการมีเงินมากขึ้นจึงเป็นเรื่องที่ต้องเอาใจใส่มาก เพราะนั่นจะมีผลไปถึงอนาคตอันไกลของคุณ ถ้าอย่างนั้นตอนนี้ถ้าใครกำลังเข้าสู่ช่วงอายุ 30 ก็ควรหันมาตรวจเช็คดูว่าการเงินของคุณอยู่ในสภาพอย่างไร? มีสุขภาพที่ดีทางการเงินอยู่หรือไม่? เพราะอะไรต้องสำรวจตัวเอง เพราะว่าช่วงวัยนี้ควรเริ่มสร้างฐานะทางการเงินที่มั่นคงได้แล้ว เพราะช่วงวัยเกษียณนั้นก็อยู่อีกไม่ไกลเท่าไหร่แล้ว จะมาทุลักทุเลหัวหมุน หมุนเงินไม่ทันไม่ได้แล้ว บทควาทนี้จึงอยากมาแนะนำให้คุณเริ่มต้นการสร้างฐานะทางการเงินให้อยู่ในสภาพที่ดีตอนอายุ 30 ค่ะ โดยมีเรื่องหลักๆที่ต้องสนใจอยู่สองเรื่องคือ การเงินที่ควรทำเมื่ออายุ 30 , สิ่งที่ต้องทบทวนเรื่องการเงินที่ผ่านมา มาอ่านหาความรู้ไปด้วยกันเลยค่ะ
การเงินที่ควรทำเมื่ออายุ 30
ไม่ว่าก่อนหน้านี้คุณมีการบริหารจัดการการเงินมาอย่างไร แต่ถ้าตอนนี้คุณอยู่ในช่วงอายุ 30 แล้วล่ะก็คุณควรจะเอาใจใส่วิธีการบริหารจัดการการเงินของคุณให้ดียิ่งขึ้น เพื่อมีความมั่นคงและมีสุขภาพที่ดีทางการเงิน เพื่อประสบความสำเร็จแทนที่จะเป็นความล้มเหลว แล้วมีอะไรบ้างที่คุณควรจะทำเพื่อแระสบความสำเร็จ สิ่งที่ควรทำที่นำมาบอกกันมีดังนี้คือ หยุดชำระบิลบัตรเครดิตขั้นต่ำ, ควรมีรายได้มากกว่าหนึ่ง่องทาง, พัฒนาความรู้ความสามารถ, ซื้อที่อยู่อาศัยเพื่อความมั่นคง มาดูรายละเอียดของสิ่งที่ต้องทำแต่ละอย่างไปด้วยกันนะคะ
หยุดชำระบิลบัตรเครดิตขั้นต่ำ
การชำระบัตรเครดิตขั้นต่ำนี้จะเป็นตัวถ่วงอย่างมาต่อความมั่นคงทางการเงินของคุณค่ะ เพราะการชำระบัตรเครดิตขั้นต่ำนั้นจะทำให้คุณเป็นหนี้ และถ้าคุณชำระบัตรเครดิตขั้นต่ำมาเป็นเวลานานจนถึงตอนนี้ก็แสดงว่าคุณมีหนี้ที่พอกเป็นหางหมูแล้วหล่ะ ดังนั้นหยุดซะตั้งแต่ตอนนี้และเริ่มทยอยชำระหนี้บัตรเครดิตซะไม่อย่างนั้นหนี้สินนี้จะไม่มีวันจบสิ้น แล้วจะส่งผลให้คุณไม่สามารถสร้างฐานะทางการเงินที่ดีได้เลยค่ะ แต่ถ้าคุณหยุดตั้งแต่ตอนนี้พยายามใช้บัตรเครดิตให้น้อยลงและเริ่มชำระบัตรเครดิตให้เต็มจำนวนคุณก็จะลดเงินต้นและดอกเบี้ยแล้วค่อยๆหลุดจากการเป็นหนี้บัตรเครดิตไปได้ค่ะ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าในชีวิตนี้จะไม่เป็นหนี้เลย แต่ควรจะเป็นหนี้ที่ดีกว่าหนี้บัตรเครดิตที่ผลาญเงินของเรามากเกินไปนะคะ อย่างเช่นการเป็นหนี้สินเชื่อบางอย่างที่ไม่หนักหนาเกินไปและสามารถสร้างรายได้ให้คุณได้หนี้แบบนั้นก็ดีกว่า แต่ถ้าคุณสามารถหลีกเลี่ยงได้ไม่เป็นหนี้ก็ถือว่าดีที่สุด ปลอดภัยที่สุด สุขภาพทางการเงินจะดีที่สุดค่ะ
ควรมีรายได้มากกว่าหนึ่งช่องทาง
เมื่อคุณมีอายุ 30 แล้ว คุณเองก็น่าจะมีความรู้ความสามารถ และ ประสบการณืที่มากพอที่จะทำให้ตัวเองมีโอกาสสร้างรายได้ที่เข้ามามากกว่าหนึ่งช่องทางได้แล้ว เพราะการทำอย่างนี้จะช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดีทางการเงินเร็วยิ่งขึ้นเก็บเงินออมเงินได้มากขึ้น และสามารถนำเงินไปลงทุนต่อยอดได้อีกด้วย ดังนั้นถ้าใครยังมีรายได้เข้ามาแค่ช่องทางเดียวอยู่ ให้รีบมองหาโอกาสที่สร้างรายได้อีกช่องทางให้กับตัวเองได้แล้ว จะได้มีเงินเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายและการปลดหนี้แถมยังมีเงินออมด้วยนี่คือสิ่งสำคัญที่ต้องทำค่ะ
พัฒนาความรู้ความสามารถ
จากข้อที่แล้ว การที่คุณจะมีรายได้เข้ามามากกว่าหนึ่งช่องทางได้นั้น คุณเองต้องมีความสามารถหลากหลายพอสมควร แต่ถ้าคุณยังไม่มีก็ควรเริ่มลงมือทำเพื่อสร้างความสามารถให้กับตัวเองได้แล้ว อย่างเช่นพัฒนาทักษะด้านภาษา หรือ พัฒนาความสามารถในการทำงานที่ผ่านมาที่เคยทำให้ดียิ่งขึ้น เพราะการทำอย่างนี้จะช่วยให้คุณได้รับโอกาสในการทำงานเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็งานจากการเป็นลูกจ้าง หรือการทำงานของตัวเองโดยมีธุรกิจส่วนตัวก็ตาม ควรเริ่มพัฒนาตัวเองกันได้แล้วค่ะในวัยนี้
ซื้อที่อยู่อาศัยเพื่อความมั่นคง
การที่ย่างเข้าเลขสามแล้วนั้น นอกจากความมั่นคงทางด้านการเงินแล้ว การที่ทรัพย์สินเพื่อดูแลครอบครัวก็ต้องมี เช่นการซื้อบ้านเป็นของตัวเองได้แล้ว ถ้าอายุ 30 แล้วยังต้องเช่าบ้านอยู่แบบนั้นคงไม่ดีแน่ เพราะเมื่ออายุมากขึ้นหว่านี้ทำงานไม่ไหวแล้วจะไปอยู่ที่ไหนถ้าไม่มีบ้านที่ซื้อเอาไว้ ถ้าจะเช่าบ้านต่อๆไปทั้งที่อายุมากขึ้นก็จะเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายหรือสิ้นเปลืองเงินออมของคุณที่ต้องใช้ในช่วงวัยเกษียณอย่างระมัดระวังไปเปล่าๆได้ ดังนั้นคนในวัยอายุ 30 ควรเริ่มมองหาโอกาสและวางแผนการซื้อบ้านเป็นของตัวเองสักหลังได้แล้วค่ะ
สิ่งที่ต้องทบทวนเรื่องการเงินที่ผ่านมา
นอกจากรู้ว่าต้องทำอะไรแล้ว การสำรวจตัวเองก่อนหน้านี้และตอนนี้ก็จำเป็นต้องทำค่ะ เพื่อจะรู้ว่าจะปรับเปลี่ยนแก้ไขส่วนไหนบ้าง ควรดูว่าที่ผ่านมานั้นสุขภาพทางการเงินของคุณเป็นอย่างไร? เป้าหมายทางการเงินของคุณเป็นอย่างไร? ไปถูกทางแล้วหรือไม่? ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนค่าใช้จ่าย การบริหารหนี้สิน การเก็บออมเงินเป็นอย่างไร? นอกจากคำถาที่เหล่านี้ที่ต้องถามตัวเองแล้วก็ยังมีสิ่งที่ต้องทบทวนอีก เช่น หนี้สิน กับ ทรัพย์สินคุณมีอะไรมากกว่ากัน? , มีการวางแผนทำงบประมาณการเงินบ้างไหม? , วางแผนปลอดหนี้สินที่มีบ้างไหม? , วางแผนจัดการบริหารความเสี่ยงทางการเงินบ้างไหม? , มีเงินออม หรือมีเงินสำรองบ้างไหม? , วางแผนเรื่องภาษี และ วางแผนช่วงวัยเกษียณบ้างไหม? มาดูรายละเอียดของสิ่งที่ต้องทบทวนกันค่ะ
หนี้สิน กับ ทรัพย์สินคุณมีอะไรมากกว่ากัน?
ลองมานั่งลงจดรายการหนี้สินที่มี กับทรัพย์สินที่มีดูซิว่ามีอะไรมากกว่ากัน ถ้าคำตอบที่ได้คือ มรหนี้สินมากกว่ากควรปรับเปลี่ยนอย่างเร่งด่วน แต่ถ้าคำตอบคือมีทรัพย์มากกว่าก็ดีแล้วแต่ต้องคอยระวังต้องบริหารอย่างดีไม่อย่างนั้นจะไม่สามารถปลดหนี้ได้นะคะ และไม่ว่าคำตอบจะเป็นอย่างไรต้องคอยระวังการใช้จ่ายให้เป็นไปตามแผนที่ดีตลอดเพื่อไม่มีการร่วงไหลในภายหลังค่ะ
มีการวางแผนทำงบประมาณการเงินบ้างไหม?
การที่คุณมีรายได้เข้ามาต่อเดือนมากๆก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่ต้องวางแผนค่าใช้จ่ายนะคะ เพราะต่อให้ได้เงินมากมายแต่ไม่มีการจัดทำงบประมาณ หรือแผนการใช้จ่ายเงินของคุณจะมาแค่ไหนก็สูญหายไปได้แบบไม่รู้ตัว เพื่อจะได้ไม่เดือนร้อนว่าเงินหายไปไหนใช้อะไรไปบ้าง การจัดทำงบประมาณทางการเงินก็เป็นสิ่งที่ต้องทำ ถ้าทำอยู่แล้วก็ดีมาก แต่ถ้ายังก็รีบลงมือทำเถอะค่ะ
วางแผนปลดหนี้สินที่มีบ้างไหม?
การที่คุณวางแผนแลดหนี้จะทำให้คุณปลดหนี้ได้สำเร็จ แต่ถ้าไม่คุณก็จะไม่สามารถปลดหนี้ได้เลย แต่อาจจะแค่จ่ายดอกเบี้ยของหนี้ก้อนนั้นไปเดือนต่อเดือนเท่านั้น เพราะการปลดหนี้ได้ทั้งหมดจะช่วยให้คุณสามารถมีสุขภาพที่ดีทางการเงินได้เร็วขึ้น ไม่มีอุปสรรคขัดขวาง และการประสบความสำเร็จก็เป็นไปได้มากขึ้นค่ะ และการไม่มีหนี้ก็ช่วยให้คุณสามารถวางแผนทางการเงินได้ในมุมกว้างมากขึ้นไม่มีอะไนติดขัด
วางแผนจัดการบริหารความเสี่ยงทางการเงินบ้างไหม?
ความเสี่ยงในชีวิตของคนเราที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเงินๆทองๆนั้นมีอยู่สามอย่างด้วยกันคือ
- ความเสี่ยงเรื่องสุขภาพเมื่ออายุมากขึ้น และร่างกายที่แก่ลง
- ความเสี่ยงเรื่องการเงิน เรื่องการใช้จ่าย การขาดสภาพคล่องทางการเงิน
- ความเสี่ยงในการดำเนินชีวิต ในการทำงานอาชีพที่ไม่แน่นอน
ความเสี่ยงทั้งหมดนี้ต้องมีการวางแผนเพื่อจะรับมือได้ไม่อย่างนั้นสุขภาพทางการเงินของคุณจะแย่แน่ๆถ้าเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ดังนั้นควรมองให้เห็นภาพว่าในชีวิตเรามีความเสี่ยงอะไรที่อาจจะเกิดขึ้นได้บ้างเพื่อจะรับมือได้ค่ะ
มีเงินออม หรือมีเงินสำรองบ้างไหม?
เงินสำรองเป็นอีกวิธีหนึ่งที่รับประกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตคุณที่มีเรื่องเงินมาเกี่ยวข้อง ซึ่งเงินสำรองนี้จะมีมากแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณเก็บออมมานานแค่ไหนแล้วนั่นเอง เงินสำรองนี้ช่วยป้องกันไม่ให้คุณเป็นหนี้ด้วยนะคะ ดังนั้นไม่ว่าก่อนหน้านี้คุณเคยเก็บออมหรือไม่ ตอนนี้ควรเริ่มเก็บออมได้แล้วเพราะเมื่ออายุมากขึ้นกว่านี้ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นก็จะใกล้เข้ามาทุกทีค่ะ ในทุกเดือนของเงินที่ได้เข้ามาก็ควรแบ่งเก็บอย่างชัดเจนเพื่อจะมีเงินก้อนไว้ออมและรอรับเหตการณ์ฉุกเฉินได้ทันการนะคะ
วางแผนเรื่องภาษี และ วางแผนช่วงวัยเกษียณบ้างไหม?
เรื่องภาษีเป็นเรื่องสำคัญมาก คุณควรศึกษาหาความรู้เอาไว้ และต้องมีการวางแผนจ่ายภาษีอย่างถูกต้องด้วยค่ะ เพื่อป้องกันภาษีมูลค่าเพิ่มโดยไม่รู้ตัว และการที่คุณสนใจศึกษาเรื่องของภาษีนั้นจะสามารถช่วยให้คุณลดหย่อนภาษีได้ด้วยนะ ช่วยให้คุณประหยัดได้ถ้าตอนนี้คุณอายุเข้าเลขสามแล้วควรจะต้องมีความรู้เรื่องนี้เอาไว้บ้างเพื่อจะรู้ทันไม่เสียเปรียบค่ะ
และนอกจากการจัดการเรื่องเงินในช่วงวัยเข้าเลขสามแล้ว ก้ต้องมองการณ์ไกลไปจนถึงช่วยงของวัยเกษียณเลยนะคะ เพราะเวลามันเร็วเหลือเกิน แป้ปๆก็แก่แล้ว เพื่อที่คุณจะมีสุขภาพที่ดีทางการเงินตอนแก่ก็ควรเริ่มวางแผนได้แล้ววันนี้ ไม่ว่าจะเป็นการออมเงินฝากประจำ การทำประกันชีวิต การลงทุนกองทุนรวม หรือลงทุนในหุ้นก็ได้ทั้งนั้น เพื่อจะมีรายได้ในตอนที่คุณทำงานไม่ได้แล้วค่ะ
สรุป
ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่อยู่ในช่วงอายุ 30 แล้วตอนนี้ แล้วยังไม่มีความมั่นคงทางการเงินเลย หวังว่าวิธีที่นำมาฝากให้คุณได้อ่านกันนี้จะสามารถช่วยให้คุณหันมาปรับปรุงแก้ไขแผนการเงินของคุณให้ดีขึ้นได้บ้างนะคะ ก่อนที่จะสายเกินไป เพราะภาระทางการเงินนั้นมากมายยิ่งถ้าคุณไม่มีรายได้ในตอนแก่แล้วก็ยิ่งยากเข้าไปอีกที่จะต้องแบกภาระค่าใช้จ่าย ดังนั้นควรเริ่มวางแผนการใช้จ่ายให้รัดกุม การใช้ชีวิต การจัดการหนี้สิน และการสร้างทรัพย์สินให้ตัวเองตั้งแต่ตอนนี้ได้แล้วค่ะ คุณจะได้มีความสุขกับการใช้ชีวิตในช่วงบั้นปลายอย่าไร้กังวลและไม่เป็นภาระให้ลูกหลานมากเกินไปนะคะ ซึ่งมั่นใจว่าวิธีเหล่านี้จะสามารถทำให้คุณที่เป็นคนในช่วงวัย 30 มีชีวิตทางการเงินที่มั่นคงทั้งในตอนนี้และไปจนถึงอนาคตได้ไม่ยากเลย ลองมาทำสิ่งที่ควรทำ และทบทวนสิ่งที่ผ่านมาและเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นกันค่ะ
เซติอาวัน
เราก็ยังไม่ถึงสามสิบดี แค่ใกล้ๆเฉียดๆ พอได้มาอ่านบทความนี้ถึงได้เข้าใจว่าการเก็บเงินเป็นเรื่องที่สำคัญมากเลย ปกติเป็นคนใช้เงินเกินตัว เพราะเป็นสายกินและสายช้อป แล้วก็เก็บเงินไม่ค่อยอยู่ จะบอกว่าสุขภาพทางการเงินย่ำแย่ก็ว่าได้ แถมมีหนี้สินเยอะแยะ ( จ่ายได้แค่ขั้นต่ำของบัตรเครดิต ) พอคิดถึงอนาคตตอนแก่...สงสัยคงต้องปรับวิธีการใช้เงินใหม่แล้ว
คทา
ผมก็อายุ 30 แล้วครับก็เลยอยากรู้วิธีที่ทำให้เรามั่นคงทางการเงินสักหน่อยเพราะตอนนี้ยังไม่ค่อยดีเลย มาเจอบทความนี้ตรงกับที่อยากรู้พอดีเลย พอได้อ่านแล้วก็จะเอาไปทำตามครับ มีหลายวิธีเลย ผมก็อยากทำตามเรื่องการทบทวนการเงินที่ผ่านมาว่าทำไมจนตอนนี้ถึงไม่ค่อยดีต้องปรับตรงไหนรึป่าว ทบทวนแล้วจะทำตามวิธีอื่นๆต่อครับ
สากล
อายุขนาด 30 ก็ยังพอมีเวลาที่จะเก็บเงินสำหรับมุ่งสู่วัยเกษียณนะครับ ยังมีระยะเวลาแต่ยังมีเรื่องที่ต้องคิดถึงก่อนเรื่องนั้นอยู่อีกคือ การเก็บเงินการหากองทุนที่จะช่วยให้ไปถึงเป้าหมาย การลงทุน การจัดการกับหนี้สิน บทความนี้ช่วยได้มากเลยครับที่ทำให้เห็นว่าแม้เราจะอายุมากถึงขนาดนี้แล้วเราจำเป็นต้องเช็คสภาพการเงินของเราว่าเป็นอย่างไรบ้าง
บุณยภู
รู้สึกว่าสิ่งที่คนอายุ 30 ปีควรจะทำมีหลายอย่างนะครับ แต่ถ้าสำรวจการเงินของตัวเองอยู่ตลอด วางแผนการเงินและการออมตั้งแต่เนิ่นๆในอนาคตจะไม่ลำบากครับ โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ ดูเหมือนมีเวลาอีกหลายปีกว่าจะถึงวันนั้น อย่าลืมว่าเวลาผ่านไปเร็วนะครับ ถ้าไม่รีบเตรียมตัวไว้ก่อนเมื่อวันนั้นมาถึงจริงๆจะไม่ทันการครับ
ณัฐพงศ์
ทำไงดีละครับ ผม อายุ จะ40 แล้วครับ หนี้สินไม่มี เงินออมก็ยิ่งไปใหญ่เลยครับ แถมบ้านและทรัพย์สินยิ่งไม่ต้องพูดเลยครับ ตอนนี้อยู่บ้านเช่าครับ ผมว่ามันเป็นเรื่องที่ท้าทายจริงๆนะครับที่เราจะมีของพวกนี้ได้ ผมว่าผมไม่สามารถมีของพวกนี้ได้แน่นอนครับ อย่าหาว่าดูถูกความสามารถตัวเองเลยนะครับ ของแบบนี้มันอยู่ที่จังหวะและโอกาสจริงๆ ซึ่งผมไม่มีเลย
มาร์ค
สุขภาพการเงินดีอยู่ครับผม แต่สุขภาพร่างการไม่ค่อยดีนัก ป่วยบ่อยๆนะช่วงนี้ แต่ดีที่ผมทำประกันสุขภาพเอาไว้ ใครที่อยู่ในวัย 30 แบบผมเนี่ยอย่าประมาทเลยนะครับประกันสุขภาพจำเป็นแล้วนะ ใครยังไม่ทำไปทำซะเดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน อย่างผมเนี่ยป่วดหัวบ่อยเพราะนอนน้อยทำงานเยอะอย่างน้อยๆก็ไปพบหมอเพื่อหาสาเหตุก่อนได้ไม่ต้องรอให้ป่วยหนัก แต่ใครที่ไม่มีประกันก็จะไม่ค่อยไปพบหมอนะเพราะกลัวเสียเงินผมพูดนี่เรื่องจริงเลยนะ
แหวน
ตอนนี้อายุก็ใกล้ 30 ข้อไปทุกที ที่จริงไม่ค่อยกังวลเรื่องเงินเท่าไหร่เพราะคิดว่าอายุขนาดนี้ก็ยังทำงานหาเงินได้อยู่แต่ถ้าอายุมากกว่านี้อาชีพที่ทำอยู่ตอนนี้กว่าจะไม่มั่นคงด้วยไม่ต้องคิดถึงอนาคตจริงๆจังๆแล้วแต่ถ้าถามสุขภาพทางการเงินตอนนี้ถ้าอ่านแล้วก็เช็คตามเลขที่บทความบอกว่าโอเคนะ แต่ถ้าอายุมากกว่านี้ก็คงต้องมาเช็คกันอีกที ดีหน่อยที่ไม่มีหนี้
สายกิน
ไม่เคยคิดอะไรเลยค่ะ แค่ใช้ชีวิตไปวันๆ พอมีกิน ทำงานได้ ไปเที่ยวได้ มีเงินเก็บแค่นี้ก็พอแล้ว ไม่ได้คิดอะไรเยอะไปกว่านั้นเลยเพราะคิดไปก็ปวดหัวเปล่าๆ ไม่ได้คิดเรื่องเกษียณด้วย เพราะมันเป็นเรื่องของอนาคต คิดแต่ว่าจะต้องทำวันนี้ให้ดีที่สุดในแต่ละวัน ใช้ชีวิตไม่ประมาทมีสติ เรียบง่ายพอเพียง ไม่สร้างหนี้ แค่นี้ก็น่าจะพอแล้วคะ...
สุริยง
อันนี้ขอถามเพื่อนนะครับ คนที่อายุประมาณ30 ปกติแล้วเขาน่าจะมีเงินเก็บกันที่ประมาณเท่าไรเหรอครับ เข้าใจครับว่าแต่ละคนอาจจะแตกต่างกัน แต่ผมกำลังมองหาตัวเลขกลางๆครับ ว่ามันน่าจะมีที่เท่าไร เพราะผมจะได้ตั้งเป้าหมายได้ครับว่าต้องทำยังไงดี พอดีว่าผมกำลังจะเล่นหุ้นนะครับ เลยอยากทราบจะได้เก็บเงินก้อนนี้ไว้ต่างหากนะครับ
เก่ง
เมื่ออายุมากขึ้นก็เริ่มมีประสบการณ์ในการทำงานมากขึ้นด้วยเหมือนกันนะครับ ถ้าอายุมากถึง 30 แล้วน่าจะมีประสบการณ์ในการทำงานในด้านอื่น นอกจากงานประจำที่ทำอยู่น่าจะมีงานเสริมที่เพิ่มเข้ามา ไม่จำเป็นต้องเป็นงานที่ใช้เวลาทำว่าอาจจะเป็นการลงทุน หรืออะไรก็ได้ที่ทำให้เรามีรายได้โดยที่ไม่ต้องใช้เวลาเยอะ จะได้เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการได้รับเงินครับ
การ์ตูน
@สายกิน คิดเหมือนกันเลยนะ เราก็เป็นคนนึงที่ไม่คิดมากวางแผนบ้างแต่ถ้าไม่เป็นไปตามแผนก็ไม่ได้ผิดหวังอะไร แล้วก็ไม่ค่อยทำตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่น ทัศนะความสำเร็จหรือความการประสบความสำเร็จของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เราถือว่าเราไม่มีภาระ ไม่มีหนี้ ดูแลตัวเองได้ หาเลี้ยงครอบครัวได้แค่นี้ก็พอใจแล้วค่ะ แต่บางคนก็ไม่พอใจแค่นี้ก็มีนะ
ขนิฐฐา
ไม่เห็นด้วยเลยคะ ที่บอกว่า คนอายุ30 ต้องซื้อบ้านคะ เราว่า อายุประมาณนี้ทำงานเก็บตังค์ก่อนจะดีกว่าไหมคะ 100% ของคนที่ซื้อบ้าน ไม่ได้จ่ายเงินสดคะ ส่วนใหญ่จะผ่อนกันทั้งนั้นคะ ค่าผ่อนบ้าน ต่ำเลยน่าจะเดือนละ 4,500 บาท นี้ถ้าหักจากเงินเดือนที่คุณได้กันแล้ว ไม่ทราบว่าจะเหลือกันเท่าไรคะ ค่าใช้จ่ายอย่างอื่นด้วย พอไหมคะ
LOL
อายุ 30 แล้วสภาพทางการเงินยังไม่ค่อยดีเลยค่ะ ก็เลยเข้ามาอ่านบทความนี้ยังไงล่ะ ก็มีคำแนะนำที่ดี แล้วก็ช่วยให้ได้คิดหลายเรื่องเหมือนกันนะคะ ก็จะเก็บเอาไว้อ่านด้วยละกันแต่ช่วงนี้วางแผนชีวิตยากจริงๆ ไปดูโพสต์ต่างๆในโซเชียลที่เขาพูดกันก็บอกว่าช่วงนี้ใช้ชีวิตไปวันๆ ใช้ชีวิตเหมือนรวมมิตรมั่วซั่วไปหมด ก็ขำดีนะคะ