ธนบัตร เมื่อพูดถึงธนบัตรแล้วธนบัตรก็คือสิ่งที่เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการต่าง ๆซึ่งสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายได้ ธนบัตรจะใช้ควบคู่ไปกับเหรียญกษาปณ์ แต่โดยทั่วไปแล้วธนบัตรมักใช้สำหรับเงินจำนวนมาก ส่วนเหรียญกษาปณ์ใช้กับเงินจำนวนน้อย หรือเศษสตางค์ ธนบัตรสำคัญมากในปัจจุบันเพราะธนบัตรมีบทบาทในการเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ และที่สำคัญธนบัตรมีความสำคัญต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและความมั่นคงทางการเงินของประเทศ ต่อไปเราจะไปดูด้วยกันเกี่ยวกับการเปลี่ยนธนบัตรเป็นของใหม่ในแง่ต่าง ๆ

baht

Chooky Ants/shutterstock.com

โดยปกติธนบัตรจะเป็นของใหม่เมื่อไร?

โดยปกติธนบัตรจะเป็นของใหม่เมื่อไร?

โดยปกติแล้วการเปลี่ยนธนบัตรเป็นของใหม่อาจมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนพระมหากษัตริย์ หรือที่เรียกกันว่าธนบัตรเปลี่ยนรัชสมัย ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนธนบัตรแบบใหม่จากธนบัตรแบบที่16 เป็นแบบที่17 โดยแบบที่16ถูกใช้ครั้งแรกเมื่อ18 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นธนบัตรที่ด้านหลังมีพระบรมราชานุเสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ที่เป็นมหาราชและธนบัตรแบบที่16นี้ยังมีการใช้กันในปัจจุบันอยู่บางส่วนและบางส่วนก็ใช้เป็นธนบัตรแบบฉบับที่17ซึ่งถูกใช้ครั้งแรกเมื่อ 6 เมษายน และ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เป็นธนบัตรที่ใช้ในปัจจุบันด้านหลังมีพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทั้งแบบที่16 และแบบที่17 มีชนิดธนบัตรทั้งหมด5 ชนิดคือ ราคา 20, 50, 100, 500 และ1, 000 บาท หรือการเปลี่ยนธนบัตรเป็นของใหม่อาจเปลี่ยนเนื่องจากการใช้ธนบัตรรูปแบบนั้น ๆนานแล้วซึ่งการเปลี่ยนธนบัตรก็จะทำให้ยากขึ้นต่อการปลอมแปลงธนบัตร ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนธนบัตรแบบใหม่จากธนบัตรแบบที่15 เป็นแบบที่16 โดยแบบที่15ถูกใช้ครั้งแรกเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 เป็นธนบัตรที่มีใช้ในปัจจุบันน้อยมาก โดยในช่วงท้าย ๆ ของชุดที่ 15 ธนบัตร 50 บาทได้เปลี่ยนรูปแบบธนบัตรจากพอลิเมอร์เป็นกระดาษธรรมดาเพื่อลดต้นทุนและป้องกันไม่ให้วัสดุที่ผลิตธนบัตรมีค่ากว่าราคาธนบัตร และธนบัตร1000 บาทได้เพิ่มแถบสีเงิน เพื่อป้องกันการปลอมแปลงและไม่ได้พิมพ์ธนบัตร 10 บาท และมีการเปลี่ยนธนบัตรใหม่เนื่องจากการใช้ธนบัตรรูปแบบที่15นานแล้วเป็นแบบที่16 โดยแบบที่16ถูกใช้ครั้งแรกเมื่อ 18 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นธนบัตรที่ด้านหลังมีพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ที่เป็นมหาราชทั้งแบบที่15 และแบบที่16 มีชนิดธนบัตรทั้งหมด5 ชนิดคือ ราคา 20, 50, 100, 500 และ1,000 บาท

ธนบัตรใหม่ในปี พ.ศ. 2561

ธนบัตรใหม่ในปี พ.ศ. 2561

วันที่ 8 มี.ค. เวลา 11.00 น. ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยแถลงว่า ธปท. หรือธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รับพระราชทานพระราชานุญาตจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ให้จัดพิมพ์และออกใช้ธนบัตรแบบใหม่คือแบบที่ 17 ทุกชนิดราคา เพื่อใช้เป็นธนบัตรหมุนเวียนทั่วไป โดยพระราชานุญาตให้นำธนบัตรแบบใหม่ออกใช้ในปีนี้ มีแนวคิดคือการเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์แห่งราชวงศ์จักรีดังนี้ ชนิดราคา 20 บาท 50 บาท และ 100 บาท ออกใช้ในวันจักรี 6 เมษายน 2561 ชนิดราคา 500 บาท และ 1,000 บาท ออกใช้ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร 28 กรกฎาคม 2561 สำหรับด้านหน้าของธนบัตร ได้รับพระราชทานพระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศของกองทัพอากาศ เป็นภาพประธานในธนบัตรทุกชนิดราคา ด้านหลังธนบัตรแต่ละชนิดราคา เชิญพระบรมสาทิสลักษณ์พระมหากษัตริย์ 2 พระองค์ เรียงตามลำดับรัชกาล โดยมีภาพประกอบเป็นภาพหนึ่งในพระราชกรณียกิจสำคัญของแต่ละพระองค์ ที่มีความโดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ และจารึกอยู่ในความทรงจำของพสกนิกรชาวไทย ธนบัตรแบบ 17 นี้ มีขนาดและโทนสีเช่นเดียวกับธนบัตรแบบ 16 สำหรับลักษณะต่อต้านการปลอมแปลง ยังคงลักษณะสำคัญของธนบัตรไทยไว้ เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างต่อเนื่อง แต่ได้ปรับปรุงใหม่ในบางส่วนให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ ดังนี้ แถบสีโลหะ ปรากฏที่ด้านหน้าของธนบัตร และในชนิดราคา 100 บาท ภายในแถบสีมีการเคลื่อนไหว หมวดอักษรโรมันและเลขหมายอารบิก ปรับวางตามแนวตั้ง แต่ธนบัตรทุกแบบที่ออกใช้ก่อนหน้านี้ยังสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายครับแต่หลายคนก็อาจจะสงสัยว่าจะได้รับธนบัตรใหม่จากไหน?

วิธีรับธนบัตรใหม่

วิธีรับธนบัตรใหม่

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจออนไลน์” รายงานต่อว่า ประชาชนสามารถเบิกถอนธนบัตรแบบใหม่นี้ได้ตามช่องทางปกติ ผ่านธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง รวมถึงธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนบัตรสำคัญกับทุกคนมากในปัจจุบันเพราะธนบัตรเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการต่าง ๆ และก็มีบางคนที่อาจจะปลอมแปลงธนบัตรได้ดังนั้นเราต้องระวังให้มาก ๆสุดท้ายนี้เราอยากจะฝากถึงวิธีการสังเกตธนบัตรปลอม -สังเกตลายน้ำ พระสาทิสลักษณ์ และตัวเลขแจ้งชนิดราคา เมื่อยกส่องกับแสงสว่าง มีความโปร่งแสดงเป็นพิเศษ มองเห็นชัดเจนได้ทั้ง 2 ด้าน -สังเกตด้วยการดูลวดลายเส้นนูน ภาพพระตราประจำพระองค์คำว่า รัฐบาลไทย ตัวอักษรและตัวเลขแจ้งชนิดราคาจะรู้สึกสะดุดเมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือ นี่เป็นเพียงแค่ตัวอย่างคร่าวๆของการสังเกตธนบัตรปลอมแปลง