เพื่อนๆเคยได้ยินคำนี้กันไหมครับ Wealth Management คำนี้แปลว่า การบริหารความมั่นคง อย่างที่รู้ๆกันว่าเรื่องการเงินเป็นเรื่องที่ไม่มีสอนอยู่ในตำราเรียน ส่วนใหญ่แล้วจะต้องเอามาจากคำสอนของผู้มีประสบการณ์หรือเผชิญปัญหาด้วยตัวเองถึงจะมีความรู้ และ เมื่อเรื่องการเงินไม่มีสอนอยู่ในตำราเรียนทำให้บางคนมองเรื่องการเงินเป็นเรื่องไกลตัว โดยเฉพาะเรื่องการบริหารความมั่นคงแล้วยิ่งแล้วใหญ่ นั้นทำให้เรามักจะเห็นกันอยู่บ่อยครั้งว่าคนหาเช้ากินค่ำในบ้านเรานั้นมีมากกว่าคนที่ใช้ชีวิตเกษียณอย่างสบาย นั้นเพราะคนเหล่านั้นไม่รู้จักกับคำว่าบริหารความมั่นคงนั้นเอง บางคนอายุ 60 กว่าปี แล้วยังต้องทำงานอยู่ทุกวันก็มีให้เห็นกันเต็มไปหมด เพราะฉะนั้น เรื่องการบริหารความมั่นคงเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวและควรเอาใจใส่ ในบทความนี้ผมเลยได้นำคำแนะนำดีๆมาฝากเพื่อนๆกันเกี่ยวกับการบริหารความมั่นคงทางด้านการเงินเพื่อที่เพื่อนๆจะได้มีฐานะที่มั่นคง และเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศกันนะครับ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยครับ ว่ามีคำแนะนำอะไรบ้าง
สำรวจตัวเองเป็นอันดับแรก
คำแนะนำแรก ที่จะนำมาแนะนำเพื่อนๆเกี่ยวกับการบริหารความมั่งคงทางด้านการเงิน คือ เพื่อนๆจะต้องทำการสำรวจตัวเอง สำรวจในที่นี้ให้สำรวจเกี่ยวกับการเงินของตัวเพื่อนๆนะครับ เช่น ตัวเองมีสินทรัพย์ไหม มีสินทรัพย์อยู่เท่าไร มีกระแสเงินสดเข้ามาต่อเดือนจำนวนเท่าไร สินทรัพย์ที่ครอบครองอยู่นั้นในอนาคตจะเป็นสินทรัพย์ที่เพิ่มมูลค่าให้กับตัวของมันหรือลดลงกันแน่ตามกาลเวลา รายจ่ายแต่ละเดือนนั้นพอดีกับกระแสเงินสดไหม มีมากกว่า หรือน้อยกว่า และจำนวนหนี้สินมีไหม มีเท่าไร มีมากกว่าสินทรัพย์หรือไม่ หลังจากสำรวจตัวเองเสร็จแล้วเพื่อนๆจะรู้ได้ทันทีว่าการเงินของตัวเพื่อนๆเป็นยังไง และจะสามารถแก้ปัญหาการเงินได้อย่างง่ายดาย เช่น ถ้ามีหนี้มากกว่าสินทรัพย์ก็ให้เพื่อนๆเริ่มถยอยปลดหนี้ หลังจากปลดหนี้เสร็จก็ให้เริ่มเก็บเงิน เก็บเงินได้แล้วก็นำไปซื้อสินทรัพย์ที่จะเพิ่มมูลค่าขึ้นในอนาคต เช่น ที่ดิน หรือในกรณีที่ไม่มีหนี้ แต่กระแสเงินสดที่เข้ามาต่อเดือนไม่เพียงพอกับรายจ่ายมีน้อยกว่ารายจ่าย ก็แน่นอนว่าต้องหางานทำเพิ่มหารายได้เสริม และเริ่มเก็บเงินต่อหลังจากนั้นก็แบ่งเงินเป็นการลงทุน และ เงินเก็บ แต่ถ้าในกรณีที่ไม่มีหนี้และมีกระแสเงินสดต่อเดือนมากกว่ารายจ่ายในกรณีก็ให้เพื่อนเริ่มเก็บเงินเลยและทำตามคำแนะนำต่อไปกันเลย
คำนวณเงินเก็บและวางแผน
หลังจากที่เพื่อนๆทำตามคำแนะนำแรกไปแล้ว เพื่อนๆก็จะทราบถึงตัวเลข ต่างๆ และเริ่มมีเงินเก็บ หลังจากนั้นก็ให้เพื่อนๆคำนวณเงินเก็บของตัวเพื่อนๆที่ได้มาจากคำแนะนำแรกว่าเพื่อนๆสามารถเก็บเงินได้ เดือนเท่าไร หลังจากที่หักรายจ่ายทั้งหมดไปแล้ว ผมจะยกตัวอย่างเงินเก็บขั้นต่ำสุดที่ทุกคนที่เริ่มเก็บเงินควรจะเก็บให้ได้จำนวนนี้อย่างน้อยๆเลยก็เดือนละ 500 บาทจะมากกว่านี้ก็ไม่ว่ากัน แต่ถ้าตามตัวอย่างเพื่อนๆมีเงินเก็บเดือนละ 500 บาทเท่ากับปีหนึ่งเพื่อนๆจะมีเงินเก็บ 6,000 บาท และหลังจากนั้นก็ให้เพื่อนๆทำสมุดจดบันทึกขึ้น ให้จดบันทึกเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นขึ้นมาทั้งค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในปัจจุบันและในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ ค่าเทอมลูก ปัจจุบันอาจจะยังไม่มีบ้านแต่ก็ควรจะทำการจดบันทึกเอาไว้ เป็นต้น การที่ผมให้ทำสมุดจดบันทึกที่ทำเกี่ยวค่าใช้จ่ายที่จำเป็นทั้งปัจจุบันและอนาคตนั้นก็เพราะว่าถ้าเพื่อนๆหากต้องการมีความมั่นคงขึ้นในชีวิตการวางแผนถึงอนาคตเป็นสิ่งที่จำเป็นและอีกอย่างถ้าสิ่งที่เขียนในสมุดบันทึกเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในอนาคตเกิดขึ้นจริงก็จะทำให้ตัวเพื่อนๆเองสามารถรับมือกับมันได้อย่างง่ายดายนั้นเอง ไปต่อกันที่คำแนะนำสุดท้าย
เลือกการลงทุนที่เหมาะสม
หลังจากที่เพื่อนๆได้ทำตามคำแนะนำแรกและคำแนะนำที่สองไปแล้ว สิ่งที่เพื่อนๆจะได้ คือ การได้รับรู้ถึงตัวเลขต่างๆ และมีเงินเก็บ รวมไปถึง สามารถรับมือกับค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต และนั้นทำให้เพื่อนๆสามารถทำตามคำแนะนำต่อไปได้ นั้น คือ การลงทุน แน่นอนว่าเพื่อความมั่นคงในชีวิต เพื่อนๆก็คงจะต้องคิดถึงการเกษียณ ซึ่งการ เกษียณแปลว่าเพื่อนๆจะต้องหยุดทำงาน แต่ถ้าเพื่อนๆไม่มีการลงทุน ที่ให้เงินทำงานแทนแล้วนั้น เมื่อเพื่อนๆหยุดทำงานการเงินของเพื่อนก็จะสะดุดทันที เพราะฉะนั้น คำแนะนำการลงทุนจะแนะนำถึง การลงทุนที่จะทำให้เงินของเพื่อนๆได้ทำงานแทนเพื่อนๆโดยจะมีอยู่ด้วยกัน 4 การลงทุน และแต่ละการลงทุนก็มีผลตอบแทนและความเสี่ยงที่ไม่เท่ากัน
- การลงทุนที่ 1 เป็นการลงทุนที่ไม่มีความเสี่ยงเลยความเสี่ยงเป็นศูนย์เลยก็ว่าได้ นั้นคือการลงทุนกับเงินฝากประจำโดยผลตอบแทนที่จะได้รับก็อยู่ที่ 2-3% แล้วแต่นโยบายของธนาคารที่เพื่อนๆใช้บริการ
- การลงทุนที่ 2 ก็มีความเสี่ยงต่ำเช่นเดียวกัน นั้นคือการซื้อพันธรัฐบาล ผลตอบแทนก็จะเพิ่มขึ้นมาหน่อยคือ 3-5%
- การลงทุนที่ 3 ความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง แต่ถ้าเลือกได้ดีความเสี่ยงก็อยู่ในระดับที่พอรับได้ นั้นคือ การนำเงินไปซื้อกองทุน ส่วนผลตอบแทนที่จะได้ก็อยู่ที่ 5-10%
- การลงทุนที่ 4 ความเสี่ยงสูงสุด นั้นคือการนำเงินไปซื้อหุ้น และผลตอบแทนที่จะได้รับก็จะอยู่ที่ 10-15% ซึ่งไม่แนะนำสำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้และรับความเสี่ยงได้ต่ำไม่ควรอย่างยิ่ง
และหลังจากรู้ไปแล้วว่าสามารถนำเงินเก็บของเพื่อนๆไปทำอะไรถึงจะได้รับผลตอบแทนแล้วก็ลองศึกษาหาข้อมูลและเลือกการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเพื่อนๆเองและลงทุนดูนะครับ และถ้าเงินที่ลงทุนพวกนี้เติบโต ตอนนั้นและครับ เพื่อนๆจะดู้จักกับการเงินที่มั่นคง ซึ่งถ้าให้ดีผมอยากแนะนำอีกนิดหน่อยเกี่ยวกับการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ จริงอยู่ที่การลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำนั้นได้ผลตอบแทนที่ต่ำเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นวิธีการจะลงทุนประเภทนี้ให้ได้ผลสำเร็จเพื่อนๆจะต้องเป็นคนมีวินัยและทำการลงทุนอย่าสม่ำเสมอคล้ายกับการเก็บออมนั้นแหละแต่การเก็บออมการลงทุนนั้นถึงผลตอบแทนจะต่ำแต่เมื่อวันหนึ่งแล้วมันจะเติบโตได้ในที่สุด เรียกว่าเป็นการลงทุนระยะยาวนั้นเอง ส่วนสำหรับคนที่ต้องการลงทุนระยะสั้น สามารุรับความเสี่ยงได้ผมก็ไม่อยากให้เพื่อนๆไปลงทุนกับการลงทุนที่มีความเสี่ยงมากจนเกินไปนะครับ ให้หาการลงทุนที่ได้ผลตอบแทนประมาณ 5 – 10% ก็พอแล้ว และเมื่อลงทุนเป็นเวลา 5-7 ปี เพื่อนจะสามารถเติบโตได้ถึง 1 เท่าเลยนะครับ ลองเอาคำแนะนำต่างไปใช้ดูนะครับ และเพื่อนๆจะมีความฐานะมั่นคงมากขึ้น ลองดูนะครับ
น้ำผึ้ง
เมื่อเรามีเงินแล้วเราใช้จ่ายเงินในแต่ละวันเงินก็หมดลงไปได้เลยค่ะ วิธีการที่จะช่วยให้เราสามารถทำให้เงินอยู่กับเราตลอดไปได้นั้นก็ถือว่าเป็นเรื่องยาก บทความนี้ช่วยให้ฉันเห็นว่าวิธีการที่เราสำรวจรูปแบบการใช้ชีวิตของเราเอง มีผลต่อเรื่องเงินที่เรามีอยู่มากเลยทีเดียว แล้วยังบอกถึงเกี่ยวกับช่องทางการลงทุนที่จะช่วยให้เราสามารถมีเงินใช้ในอนาคตด้วย
กชกร
ใครๆก็อยากมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งนั้นแต่บางครั้งรู้สึกว่ามันไกลตัวเหลือเกิน ทุกวันนี้ยังมีงานทำอยู่ก็ดีเท่าไหร่แล้ว ต้องแบ่งเงินมาออมแบ่งเงินมาลงทุนอีก เราจะทำได้มั้ยเนี่ย บทความนี้แนะนำดีนะคะมันติดที่ตัวเรานี่แหละ ที่จริงอยากจะลองดูอีกสักตั้งกับการฮึดสู้ในการออมเงิน แต่เรื่องการลงทุนต้องรอไปอีกสักพักให้เก็บเงินได้บ้างก่อนละกัน
นก
คุณภาพชีวิตของเราจะดีไม่ดีขึ้นอยู่กับเรื่องเงินเป็นความจริงค่ะ ยกตัวอย่างเรื่องของสุขภาพนะคะถ้าเรามีเงินสำหรับค่าใช้จ่ายตรงนี้เราจะสามารถดูแลสุขภาพของเราได้มากกว่าคนที่มีเงินไม่เพียงพอและไม่เตรียมเงินไว้ในเรื่องต่างๆ เราจึงค่อนข้างเห็นด้วยกับคำแนะนำในบทความนี้ ถ้าการจัดการเรื่องเงินมันยากอาจจะลองคิดถึงเรื่องสำคัญในชีวิตดูนะคะที่เกี่ยวกับเงินอาจจะทำให้คุณทำตามคำแนะนำเรื่องเงินได้ง่ายมากขึ้นก็ได้ค่ะ
เสาร์
ใช่เลยคนบ้านเรา คนอายุ 60 ยังต้องมาทำงานงกๆ แต่ลองๆดูประเทศที่เจริญด้านการพัฒนาตัวเองดูสิ ไม่ค่อยจะมีคนอายุ60มาทำงานเลย เพราะว่าทางภาครัฐของเขามีการช่วยที่สามารถจับต้องได้ แล้วคนที่ทำงานได้เขาก็จะเข้มงวดกับการเก็บเงินกันมากๆ แบบนี้ไงคนที่บ้านเขาถึงไปอยู่อย่างสบายๆ ถ้าบ้านเราคิดแบบบ้านเค้าก็จะดีมากๆเลย
ปลาย
วิธีบ้านๆที่ผมใช้นะครับก็คือ การที่ผมทำบัญชีรายรับรายจ่ายนั้นเองครับพยายามที่จะบริหารเงินในตอนสิ้นเดือนไม่ให้หมดแต่ให้มีเหลือ ทำแบบนี้ให้เป็นนิสัยครับเราก็จะมีเงินเหลือเก็บแน่นอน เพราะถ้าเราไม่ได้คำนวณค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนก็จะทำให้เราไม่สามารถรู้ว่าเราหมดเงินไปกับ เรื่องอะไรมากที่สุดไม่อย่างนั้นแล้วเราก็เราจะ ไม่ได้ใช้เงินแบบฉลาดนะครับ
กร
วิธีที่ช่วยให้เราสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของเราให้ดีขึ้นได้ ก็คือการที่เราทำให้ความมั่นคงทางด้านการเงินของเรามีอยู่นั่นเอง เราจำเป็นต้องตรวจสอบเกี่ยวกับตัวเองว่า สถานะทางการเงินเป็นอย่างไร ความมั่นคงไหมในเรื่องเงินที่ได้รับในแต่ละเดือน ทั้งเงินเก็บเงินออมของเรา เราสามารถเข้าใจสภาพการของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา และรู้ว่าจะต้องทำยังไงกับเรื่องนี้ต่อไป
ภัครินทร์
เราว่านะ มันอาจเกี่ยวข้องกับความคิดของคนเราก็ได้ คนไทยส่วนใหญ่ อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะปานกลางและส่วนใหญ่มีอาชีพทำไร่ทำนา เ ถ้าจะให้เขามาคิดเรื่องการลงทุนต่างๆ อาจเป็นเรื่องยากสำหรับเขาก็ได้ แต่สำหรับคนที่เป็นคนรุ่นใหม่อาจมีความคิดที่ต่างไป เราว่า อีกไม่กี่ปีหลอกคนไทยก็จะหันมาเริ่มสนใจเรื่องพวกนี้มากขึ้นแน่นอน
หนิง
เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับการเงินของตัวเอง จำเป็นต้องมีการสำรวจตัวเองและเงินที่ตัวเองเก็บไว้ด้วยนะคะ และสิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องเตรียมตัวและสังเกตตัวเองก็คือความสามารถในการผลิตเงินในแต่ละเดือนนั้นเอง ว่าเรามีภาระหน้าที่อะไรที่จะต้องแบกหรือว่าเลี้ยงอยู่ ในแต่ละเดือนเรามีภาระหน้าที่ในการจ่ายเงินเท่าไหร่
อาอาร์ท
ดีมากเลยครับบทความเรื่อง คำแนะนำเรื่องการเงินที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความมั่นคงมากขึ้น ซึ่งบทความนี้ก็ให้คำแนะนำหลายอย่างจริงๆ เรื่องความมั่นคงในชีวิตจะมีมากหรือน้อยสำหรับแต่ละคนคงไม่เท่ากันเพราะมันมีปัจจัยหลายอย่างเหลือเกิน แต่ถ้ามันพอจะช่วยให้ชีวิตเราไม่ติดขัดหรือขาดสภาพคล่องทางการเงินมากนักก็ยังดีครับ
ตัวต่อ
อย่างที่บทความนี้บอกเลยครับ อันดับแรกเราต้องสำรวจตัวเองก่อน ทุกอย่างมันเริ่มที่ตัวเราเองนี่แหละครับ เมื่อก่อนผมก็ไม่ค่อยคิดถึงเรื่องการวางแผนทางการเงิน วางแผนเรื่องค่าใช้จ่ายอะไรพวกนี้มากนัก แต่ตอนนี้ต้องยอมรับครับว่าเรื่องนี้มันต้องใส่ใจกันบ้าง หลังจากได้รับผลกระทบจากโรคระบาดมานี่ ต้องรีบวางแผนเลยครับ
แสนรัก:)
การวางแผนและการเก็บออมเงินยังคงเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้แต่ละคนมีความมั่นคงทางการเงินกันมากขึ้น อย่างตอนที่มีโรคระบาด หลายคนก็แย่เลย พองานที่ทำได้รับรายได้น้อยลงหรือบางคนถึงกับถูกออกจากงาน การใช้ชีวิตในแต่ละวันก็ลำบากเลยอะค่ะ เพราะส่วนใหญ่ไม่มีเงินสำรองกัน ยิ่งเห็นชัดเลยว่าเราต้องสนใจและเอาใจใส่ในเรื่องนี้มากขึ้น
Nilapas#%
เพิ่งรู้จักคำว่า Wealth Management หรือ การบริหารความมั่นคง จากบทความนี้แหละ อ่านแล้วต้องรีบสำรวจตัวเองเลยทันที อย่างที่บทความนี้บอกอะว่าบางอย่างมันไม่มีในตำราเรียน ต้องมาหาข้อมูลเอาเอง ดีค่ะที่ทำบทความดีๆแบบนี้มาบอกกัน หลังจากที่มีโรคระบาดทำให้รู้ว่าการวางแผนและบริหารเงินมันสำคัญมาก หากไม่มั่นคงพอ ลำบากค่ะ
อิ๋วอิ๋ว;)
การลงทุนที่เหมาะสม ต้องเลือกที่มันเหมาะกับเงินของเราที่มีอยู่และความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงของเราด้วย..ถูกต้องมั้ยคะ เราว่านะการยอมรับความเสี่ยงของตัวเราเองนี่ล่ะที่สำคัญ ถ้าทำใจไม่ค่อยเก่งหรือจะเรียกว่าใจไม่ถึงก็ได้ เลือการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำดีกว่าค่ะ ได้ผลตอบแทนน้อยแต่สบายใจกว่า มันก็น่าจะโอเคนะคะ